a trick of the light : a place for cinephiles

ROBERT BRESSON : บิดาแห่งนักทำหนังตบกระโหลก

บทความขนาดสั้น :  โดย FILMSICK

ROBERT BRESSON

ตลอด 40 ปี ของการทำหนัง ROBERT BRESSON ทำหนังไว้เพียง 13 เรื่องเท่านั้น   สำหรับบางคนหนัง 13 เรื่องอาจไร้ความหมายเสียทั้งสิ้น แต่สำหรับเขา ทั้ง13 เรื่องล้วนแล้วแต่เป็น มาสเตอร์พีซที่ยังได้รับการกล่าวถึงอยู่จนถึงทุกวันนี้ และหนังทั้ง 13 เรื่องเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้กำกับรุ่นหลังอย่าง ANDREI TARKOVSKY หรือ MICHAEL HANEKE    และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ROBERT BRESSON จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้กำกับที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก

ROBERT BRESSON เกิดและโตในฝรั่งเศส แรกเริ่มเดิมทีเขาใฝ่ฝันจะเป็นจิตรกร ก่อนที่จะเบนเข็มมาสู่การทำหนังหลังจากหัดทำหนังสั้นเรื่อง Les Affaires publiques (1934) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นเชลย และใช้ชีวิตอยู่ในค่ายกักกันเป็นเวลานับปี จนเมื่อสิ้นสงครามเขากลับบ้านและลงมือสร้างภาพยนตร์อย่างจริงจัง

ROBERT BRESSON ทำหนังโดยมีแรงบันดาลใจสามประการ หนึ่งคือการที่เขาเป็น แคธอลิคอันคร่งครัด ทำให้หนังของเขามักพูดเรื่องของความขัดแย้งแห่งเจตจำนงเสรีกับชะตากรรมที่ไม่อาจขัดขืน มีหนังสามเรื่องของเขาที่สร้างเพื่อตั้งคำถาม ทางศาสนา และจิตวิญญาณ  ตั้งแต่   Diary of a Country Priest  (1950)  ซึ่งเล่าเรื่องที่เกิดในคอนแวนต์ , The Trial of Joan of Arc ( 1962) ที่ตีความเรื่องเล่าของโจนออฟอาร์ค ใหม่และ Au Hasard Balthazar (1966) ที่แสดงภาพของพระผู้ไถ่บาปผ่านทางชะตากรรมเศร้าสร้อยของลาตัวหนึ่ง และเด็กสาวผู้เป็นเจ้าของมัน เมื่อครั้งเยาว์วัย รวมไปถึงหนังเรื่องสุดท้ายอย่างL’Argent  ( 1983)  ที่ไม่ได้พูดถึงศาสนาโดยตรงแต่ตั้งคำถามถึงความเป็นมนุษย์ และปีศาจร้ายที่มีเชื่อว่า เงิน

                แรงบันดาลใจต่อมาคือสองคือการที่เขาเริ่มอาชีพด้วยการเป็นจิตรกรทำให้เขาเคร่งครัดกับการจัดวางองค์ประกอบภาพอย่างยิ่ง   เฉกเช่นจิตรกร ผู้ซึ่งต้องตัดสินใจในในทุกสิ่งที่ปรากฏอยู่บนเฟรมภาพ BRESSON คัดเลือกให้ภาพบนจอปรากฏเฉพาะแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และปล่อยให้คนดู สร้างเหตุการณ์ต่อว่าสิ่งใดที่ปรากฏอยู่นอกจอ   เขาไม่ได้สนใจความงดงามของภูมิทัศน์ หรือการจัดแสงอันมลังเมลือง  แต่ยิ่งไปกว่านั้นเขามุ่งสนใจองค์ประกอบภาพ ตำแหน่งการจัดวาง ความสามัญดาษดื่นในภาพของเขาล้วนผ่านการคิดมาแล้ว และมีขึ้นเพื่อรับใช้สารสำคัญของหนังทั้งสิ้น ภาพของBRESSONไม่ได้มาเป็นชุดๆเพื่อเล่าเรื่อง เขาจะใช้เพียงคัตหนึ่งในการเล่าเรื่องเรื่องหนึ่ง ก่อนที่คัตต่อไป เรื่องจะคืบหน้าไป โดยไม่ต้องซ้อนภาพขยายความ ทุกสิ่งทุกอย่างรวมอยู่หน้าเลนส์ กล้องเพียงปาดไปมาเล็กน้อยก็สามารถเล่าเรื่องทั้งหมดได้

บ่อยครั้งที่เขามักถ่ายภาพมือ แขน ขา ของตัวละคร เพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์  ภาพกิจกรรมนำหน้าความเป็นมนุษย์ ROBERT BRESSON เชื่อมั่นว่า สำหรับเขานักแสดงเป็นเพียง แบบจำลอง – สำหรับBRESSON เขาแทบไม่สนใจ การแสดงใดๆ เขามักเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่ เคี่ยวกรำซักซ้อมนักแสดงซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งนักแสดงอ่อนล้า และเทคที่เขาต้องการ นักแสดงจะเพียงพูดประโยคในบทออกมาโดยไม่แสดงอารมณ์อะไรอีก ความอ่อนล้า เมินเฉย และ ไร้ความรู้สึก คือวิธีที่ตัวละครในหนังของ BRESSON แสดงออก

อิทธิพลสำคัญชิ้นสุดท้ายที่มักปรากฏในหนังของ BRESSON คือ ช่วงเวลาที่เขาตกเป็นเชลยในคุก ทำให้หนังของเขามักเต็มไปด้วยฉากมี่เกิดในคุก หรือตัวละครมักวนเวียนเข้าออกจากคุก   หนังอย่าง A Man Escaped นั้นเป็นเสมือนการจำลองชีวิตช่วงหนึ่งขณะที่เขาตกเป็นเชลยเอาไว้   ในขณะที่หนังอย่าง Pickpocket (ที่ดัดแปลงมาจาก Crimea and Punishment ของ ตอลสตอย)  หรือ L’Argent (ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของตอลสตอยเช่นกัน) ตัวละครหลักก็เฉียดคุกเฉียดตะรางอยู่ตลอดเวลา การถูกคุมขัง การถวิลหาเสรีภาพ โดยพกพาเอาความสำนึกในบาปติดตัวไปด้วย  กลายเป็นธีมหนังสำคัญของBRESSON มาเสมอ

โดยรวมหนังของ ROBERT BRESSON มักห่างเหินเย็นชา ต่อผู้คน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเขารังเกียจมนุษย์ แต่เพราะสำหรับเขาการสร้างภาพยนตร์ไม่ใช่การคว้าจับความเป็นมนุษย์โดยมีกล้องเป็นพาหนะ (ซึ่งต่างจากผู้กำกับที่บันทึกความเป็นมนุษย์อย่างสมจริงจนกระอัก อย่างJOHN CASSAVETES หรือพี่น้องDARDENNE )  หากคือการใช้ -ตัวละคร – เป็นแบบจำลอง ในการตั้งคำถามกับ -ความเป็นมนุษย์-อีกขั้นหนึ่ง ดังนั้นหนังของBRESSON จึงไม่ต่างจำภาพเขียนที่เคลื่อนไหว สิ่งสำคัญที่ต้องคว้าจับไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครหากคือ  ภาพเชิงโครงสร้าง ที่มีตัวละครประกอบเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่  จากนั้นสถานการณ์ ชะตากรรม จะสร้างความหมายขึ้นเองนอกจอ

หนังของเขาจึงเย็นชา แทบจะแล้งไร้ความเป็นมนุษย์ (ซึ่งMICHAEL HANEKE รับเอากรอบคิดและวิธีการนี้มาวิพากษ์มนุษย์จนชวนขนลุกได้อย่างยอดเยี่ยมยิ่ง) หนังของBRESSONมักมองโลกในแง่ร้าย และจบลงอย่างเศร้าสร้อยหดหู่ ความหวังไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ ควรมี หากความสำนึกบาปสิที่สำคัญ   ROBERT BRESSON เสียชีวิตในปี 1999 ด้วยอายุ 98 ปี ปิดตำนานของผู้กำกับระดับปรมาจารย์คนสำคัญ  ทิ้งเพียงร่องรอยทางภาพยนตร์ให้ผู้กำกับมากหน้าหลายตาไปได้ศึกษาต่อไปในอนาคต

บทความคู่ขนาน

L’ARGENT (ROBERT BRESSON / 1983 ) : อำนาจเงิน

AU HASARD BALTHAZAR( ROBERT BRESSON /1966 )  เพลงรำลึกบาป*

A MAN ESCAPED (ROBERT BRESSON /1956 ) : มนุษย์ กับ การหลบหนี

THE DEVIL PROBABLY ‘s dialogue

รวมภาพ มือ ของBRESSON

PICKPOCKET

PASSION OF JOAN OF ARC

L’ARGENT

A MAN ESCAPED

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s