FILMVIRUS SHORTS : WILD TYPE 2010 call for submissions
สำหรับพวกเราแล้ว เดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ของแต่ละปี เป็นเสมือนช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันคือช่วงเวลาที่มูลนิธิหนังไทย จัดฉายหนังในรอบมาราธอน นั่นหมายถึงฉายหนังทุกเรื่องที่ส่งมาเพื่อร่วมประกวดในเทศกาลหนังสั้นประจำ ปี หนังจำนวนเกือบห้าร้อยเรื่อง ถูกจัดฉายเรียงลำดับตัวอักษร ในทุกวัน บางคราวใช้เวลาเป็นเดือนๆ ก่อนที่บรรดาหนังสั้นเหล่านั้นจะถูกคัดเลือกเหลือเพียงจำนวนสามสิบหรือสี่ สิบเรื่องเพื่อเข้าฉายและเข้าประกวดในเทศกาลหนังสั้นช่วงปลายเดือนสิงหาคม
สำหรับ พวกเราแล้วความสุขประการหนึ่งคือการได้นั่งในห้องมืดของรอบมาราธอน ดูหนังสั้นจากทุกสารทิศทั่วประเทศไทย ค้นหาภาพและเสียงใหม่ เรื่องราวใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ความแปลกพิสดารพันลึก ความดิบหยาบของงานสร้าง ความกล้าหาญ กระทั่งความไร้เดียงสาในการนำเสนอประเด็นหนักหน่วง แน่นอนว่าไม่ใช่หนังสั้นทั้งหมดจะเป็นหนังสั้นชั้นเลิศประหนึ่งเพชรในตมจาก ดินแดนห่างไกล บางเรื่องเป็นผีมือของเด็กมัธยมที่เพิ่งเริ่มจับกล้อง หรืออาจจะเป็นเพียงคนเดินถนนสามัญที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหนังมาก่อน เป็นเพียงหนังที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน นำเสนอในหน่วยงาน ไปจนถึงการบันทึกเหตุการณ์สำคัญโดยบังเอิญ ทำส่งอาจารย์ในวิชาต่างๆ หรือกระทั่งตั้งใจทำเพื่อสอนสั่งศีลธรรมอันดีแก่สังคม ความสนุกสนานเหล่านั้น ความน่าเบื่อหน่ายเหล่านั้น ความตลกโปกฮาเหล่านั้น ความไม่ได้เรื่องได้ราวเหล่านั้นคือพลังของสื่อใหม่อย่างภาพยนตร์ ซึ่งในที่สุดได้ปลดแอกออกจากเรื่องของมืออาชีพ นักเรียนหนัง นายทุน สตูดิโอ เจ้าของอุปกรณ์ หรือผู้รู้ไดๆ ใครก็อาจบอกได้ว่าถึงที่สุดภาพยนตร์ก็หล่นจากสวรรค์ลงมาอยู่ในมือคนเดินดิน ด้วยความอุดหนุนของเทคโนโลยีซึ่งทำให้อุปกรณ์ถ่ายทำถูกลง และใช้ง่ายขึ้น จนในที่สุดใครก็ทำหนังได้แล้ว
อย่างไรก็ดี ใครต่อใครอาจจะเชื่อเรื่องความมักง่าย เชื่อว่า หนังเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าอะไร เป็นเพียงของเล่นที่ไร้สาระ เป็นเพียงเรื่องขำๆของเด็กจิตป่วย ไม่มีสิ่งใดพอให้ใส่ใจ แต่สำหรับเราแล้วเราคิดต่างไป เราคิดว่านี่ต่างหากคือขุมทองของภาพใหม่เสียงใหม่ ภาพและเสียงซึ่งไม่ได้รับการขัดเกลา หากเต็มไปด้วยความกล้าหาญและจริงใจ หนังซึ่งคว้าจับภาพชีวิตธรรมดาสามัญของมนุษย์ทั่วไปซึ่งไม่เคยถูกกระทำใน ฐานะมนุษย์ที่ไม่ใช่ตัวละครในหนังมาก่อน หรือการคว้าจับภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมอันสดใหม่ วัฒนธรรมย่อยซึ่งถูกกดให้อยู่ชายขอบ ปากเสียงของคนที่ไม่เคยมีปากเสียงหรือถูกทำให้มีเสียงเพียงรูปแบบเดียว ไปจนกระทั่งสุนทรียศาสตร์แบบใหม่ๆในการรับรู้โลกเดิม ความหลากหลายอันงดงามเหล่านี้เองทำให้เรารู้สึกว่าหนังสั้นมาราธอน คือปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง คือแสงแวววาวของเหลี่ยมเพชรจำนวนมากซึ่งบางครั้งการเจียระไนต่างหากที่ทำให้ หมองไป
ด้วยข้อจำกัดของการประกวด และปริมาณหนังสั้นที่มีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ถึงที่สุดแล้วดูเหมือนการประกวดของมูลนิธิหนังไทย อาจไม่เพียงพอรองรับการขยายตัวทั้งทางกว้างและทางลึกของหนังสั้น จำนวนมากได้อีกต่อไป เรากลุ่ม filmvirus ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการรวมตัวกันหลวมๆของนักดูหนังจำนวนหนึ่ง เห็นว่ามีนหนังสั้นจำนวนมากที่ตกสำรวจไปในแต่ละปี และเราเสียดายอย่างยิ่งที่หนังเหล่านั้น หรือคนทำหนังเหล่านั้นจะต้องสูญหายไปท่ามกลางกระแสหนังสั้นที่มีเป็นจำนวน มาก
ดังนั้น เท่าที่กำลังเราพอจะทำได้คือการรวบรวมหนังสั้นเหล่านี้กลับมาฉายอีกครั้ง หนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมที่พลาดได้พบปะกันอีกครั้ง และให้หนังเหล่านี้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อสองปีที่แล้วเราเริ่มจากการจัดโปรแกรมหนังสั้น Filmvirus Shorts : Wild Type เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานครบรอบสิบสามปีดวงกมลฟิล์มเฮาส์(Filmvirus) และก็พยายามสานต่อโปรแกรมฉายนี้อีกในปีต่อมา
ในปีนี้ เราจะยังคงจัดโปรแกรมนี้ต่อ เรายังคงเลือกหนังจากรอบมาราธอนมาหาที่ทางจัดฉายกันอีกครั้ง หากในปีนี้เราพยายามจะขยายโปรแกรมนี้ออกไปอีก ดังนั้น นอกจากเราจะจัดฉายหนังที่เราคัดเลือกไว้ เรามีความยินดีจะชวนเชิญทุกท่านร่วมกันส่งหนังมาฉายในโปรแกรมฉายนี้ด้วย โดยมีข้อแม้แค่ว่าขอให้ยาวไม่เกินหนึ่งชั่วโมงและสร้างภายในปี2552
อย่าง ไรก็ดี เราขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกหนังของท่าน ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคลของเราเองเพียงเท่านั้น การที่หนังของท่านไม่ได้รับการคัดเลือกไม่ได้หมายความว่าหนังของท่านไร้คุณ ค่าแต่อย่างใด หากสิ่งที่เรามุ่งหน้าไปคือการมองหาภาพและเสียงใหม่ๆ ภาพที่ยังไม่ถูกมองเห็นและเสียงที่ยังไม่เคยได้ยิน ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นและได้ยินมัน รวมทั้งได้ช่วยเป็นกระบอกเสียงสำหรับเสียงเหล่านั้น
ส่งหนังของท่านพร้อมข้อมูลเบื้องต้น มาที่ Filmvirus 135 ถนนภูเก็ต อ.เมือง ภูเก็ต 83000 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่
filmsick@gmail.com
ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อเราจะได้คัดเลือกและจัดเป็นโปรแกรมสำหรับฉายต่อไป
กลแสงแห่งปี 2009 : A TRICK OF THE LIGHT TOP OF THE YEAR 2009 LIST ภาค 4
ศาสตร์ อินทรวารี นักวิจารณ์ศิลปะ
Top 5 WTF Moments ในแวดวงศิลปะไทยในปี 2009
5) การเปิดหอศิลป์ กทม. อย่างเป็นทางการครั้งที่สองในเดือนสิงหาคมปี 2009
หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมือเดือนกันยายนปี 2008 และใช้จัดกิจกรรมต่างๆ มาแล้ว 13 เดือน
4) หนังสือ “ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่: ความขัดแย้งและความลักลั่น” โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา และ “Behind Thai Smiles: Selected Writings, 1991-2007” โดย อภินันท์ โปษยนันท์
หนังสือด้านศิลปะไทยที่ดีที่สุดสองเล่มของปีที่แล้ว จัดพิมพ์โดยทุนกระทรวงวัฒนธรรมจึงไม่สามารถจัดจำหน่ายได้ คนทั่วไปจึงไม่สามารถหาซื้อได้ และเมื่อไปถามทางกระทรวงก็ได้รับคำตอบว่าหนังสือไม่ได้อยู่ที่กระทรวง อยู่ที่นักเขียนทั้งหมด ซึ่งถ้าถามนักเขียน นักเขียนก็คงบอกว่าให้ไปเอากับกระทรวง แล้วจะพิมพ์ออกมาทำไมหากไม่ต้องการแจกจ่าย ต้องการเพียงกำจัดงบประมาณเท่านั้นหรือ
3) การจัดงานศิลปะในที่สาธารณะบางกอกกล๊วยกล้วย (Bangkok Bananas)
เป็นการจัดเทศกาล public art ที่ใช้เงินจำนวนมากโดยเฉพาะในการขนส่งและติดตั้งงานประติมากรรมขนาดใหญ่ รวมถึงการ commission งานใหม่หลายงาน แล้วนำมาติดตั้งตามลานหน้าศูนย์การค้าเป็นเวลาเพียงสิบวัน นอกจากนี้ทางผู้จัดได้กล่าวอีกว่าที่ตั้งชื่อว่า banana เป็นการล้อกับ biennale (งานเทศกาลศิลปะระดับสากลที่จัดขึ้นทุกสองปี) ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมพอจะจัด biennale จึงจัดเป็นแบบกล้วยๆไปก่อน ไม่เข้าใจว่าถ้าไม่พร้อมจะจัดมั่วๆ ทำไม เหมือนเป็นการดูถูกคนดูด้วย
2) ซุ้มประเทศไทย (Thai Pavilion) ในงานเทศกาลศิลปะ Venice Biennale
งานศิลปะและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องนำไปติดตั้งในเทศกาลงานศิลปะ Venice Biennale ซึ่งส่งจากไทยใส่ตู้สินค้าไปทางเรือเป็นเดือนๆ ก่อนงานนั้น ไปไม่ทันงานเปิดเทศกาล เพราะทางผู้จัดงานต้องการประหยัดเงินจึงเลือกบริษัท barter ที่วนรอรับสินค้าจนเต็มก่อนค่อยเดินทางไปเวนิส ทำให้ไม่มีกำหนดเวลาถึงที่แน่นอน ดังนั้นในวันเปิดงาน Venice Biennale ซุ้มประเทศไทยจึงแทบไม่มีงานศิลปะอยู่เลย ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่าตัวงานที่ติดตั้งสมบูรณ์แล้ว (หลังงานเปิด 5 วัน) ก็เป็นงานศิลปะที่ล้าสมัยทั้งรูปแบบงานและแนวความคิด (เล่นเรื่อง “ความเป็นไทย” อีกแล้ว)
1) นโยบาย creative economy + creative cities ของรัฐบาลไทย
นโยบายนี้ผิดตั้งแต่คิดว่าประเทศเรามีบุคลากรและระบบที่พร้อมสำหรับ creative economy แล้ว เงินหนึ่งพันสามร้อยล้านบาท สุดท้ายก็ถูกนำมาให้กับโครงการที่ใหญ่และมีทุนอยู่แล้ว และก็ไม่รู้ว่าโครงการเหล่านั้น creative อย่างไร เช่น ภาพยนตร์นเรศวรภาคใหม่ของท่านมุ้ย อุทยานประวัติศาสตร์ที่อยุธยา อุทยานแห่งชาติที่สุโขทัยและเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยของเสถียรธรรมสถาน และเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ เท่าที่เห็นโครงการที่ได้ทุนมากๆ มักเป็นโครงการด้านการท่องเที่ยวและศาสนาด้วยซ้ำ หลักในการคัดเลือกคืออะไรก็ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เหมือนเป็นการสร้างนโยบายที่ฟังดูดีน่าสนใจ แต่ในทางปฎิบัติก็นำมาครอบโครงการแบบเดิมๆอยู่ดี
ของแถม
The Best of 2009
นิทรรศการศิลปะในประเทศไทย
Never Ending Courage โดยกลุ่มศิลปินอินโดนีเซีย Taring Padi ที่ Conference of Birds
กลุ่มศิลปินกลุ่มนี้เป็น artist-activist ที่ทำงานต่อสู้เพื่อสังคมและชุมชนมาหลายสิบปี และได้ส่งตัวแทนมาเมืองไทยเพื่อมาทำกิจกรรมช่วยคนงาน Triumph ประท้วงเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม และใช้งานศิลปะในการทำเสื้อ และป้ายประท้วงต่างๆ ร่วมกับคนงานด้วย น่าสงสัยว่าศิลปินไทยที่ทำงานเกี่ยวกับสังคมและชุมชนอย่างจริงจังอยู่ที่ไหนกัน
นิทรรศการศิลปะในต่างประเทศ
Singapore Pavilion, Venice Biennale
ไม่ใช่งานที่ดีที่สุดในปีที่แล้ว แต่เป็นงานที่เป็นบทเรียนให้ประเทศไทยได้มากที่สุด งานศิลปะที่ซุ้มประเทศสิงคโปร์นั้นได้รับรางวัลจากคณะกรรมการของ Venice Biennale ว่าเป็นหนึ่งในงานที่ดีที่สุดของทั้งเทศกาล ประเทศไทยเรียนรู้เรื่องการทำงานในเทศกาลศิลปะอย่างมีเป้าหมาย ทิศทาง และประสิทธิภาพจากสิงคโปร์ได้มาก หากต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดของตน เช่น เรื่องการเลือกสถานที่ตั้งซุ้ม (สิงคโปร์อยู่ใกล้ศูนย์กลางเมืองและใกล้ซุ้มประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ส่วนไทยอยู่สุดขอบเมืองและไม่ได้ใกล้ใครเลย) เรื่องบุคลากร (สิงคโปร์มีคนในทีมสี่คน ไทยมีประมาณยี่สิบกว่าคน) เรื่องระยะเวลาและการคัดเลือกโครงการ (สิงคโปร์มีเวลาให้ศิลปินทำงานเป็นปี ไทยมีประมาณสี่หรือห้าเดือน) ฯลฯ
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ศิลปะมายาวนานและมีศิลปินระดับโลกและระดับสากลอยู่มากกว่าสิงคโปร์ แต่เมื่อทำงานเป็นระบบไม่ได้ก็คงต้องย่ำอยู่กับที่กันต่อไป
ศาสวัต บุญศรี บลอกเกอร์ อ. มหาวิทยาลัย
10 การ์ตูน (manga) แนวบู๊ที่น่าจดจำตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการ์ตูนญี่ปุ่นอันมีศัพท์เฉพาะตัวว่า manga ตีพิมพ์และได้รับการแปลออกมาเป็นภาษาไทยจำนวนมาก ชาวไทยเปิดใจต้อนรับวัฒนธรรมการ์ตูนนี้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าเรื่องไหนที่ญี่ปุ่นดัง เมืองไทยเราก็ต้องได้อ่านด้วยแน่นอน ผมได้ลองเลือกการ์ตูน 10 เรื่องที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละเรื่องได้รับการตีพิมพ์อยู่ในช่วงทศวรรษที่แล้ว บางเรื่องจบไปแล้วและบางเรื่องยังคงดำเนินเรื่องอยู่ ทั้งสิบเรื่องนี้เป็นผลงานที่อ่านแล้วน่าประทับใจยิ่งนัก ทั้งเนื้อหาและลายเส้น ร่วมถึงจุดขายที่ตรึงใจนักอ่านส่วนใหญ่ที่ได้สัมผัส
ด้วยข้อกำหนดที่ให้เลือกมาเพียง 10 เรื่องเป็นการยากยิ่งนักในการตัดชอยส์การ์ตูนเรื่องอื่น ๆ เพราะการ์ตูนแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ย่อมมีข้อดีแตกต่างกันไป ประกอบกับมีการ์ตูนอีกจำนวนมากที่ตัวผมเองก็มิได้อ่าน อาจทำให้ตกหล่นงานดี ๆ ไป แต่เอาเป็นว่านี่คือ 10 เรื่องที่ผมได้อ่านและผมรักมันอย่างเต็มหัวใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
One Piece : เออิจิโร โอดะ
วันพีซ การ์ตูนแนวโจรสลัดตามหาสมบัติ โดยตัวเอกของเรื่องมีความสามารถพิเศษเป็นมนุษย์ยาง นอกจากลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของเออิจิโร โอดะ แล้ว เนื้อหาของเรื่องยังสามารถพัฒนาไปสู่คำว่า “ตำนาน” และ “คลาสสิค” ได้ไม่ยาก เพราะเมื่ออ่านมาจนถึงตอนที่ตีพิมพ์ปัจจุบันทั้งในรวมเล่มและตอนล่าสุดของญี่ปุ่น (ในรวมเล่มคือเล่ม 53 ตามหลังที่ญี่ปุ่นราว 3 เล่ม) จะพบว่าผู้เขียนได้วางพล็อตเรื่องไว้ยาวเหยียดตลอดทั้งสิบกว่าปีที่ตีพิมพ์ หากนักอ่านท่านใดย้อนกลับไปอ่านเล่มแรก ๆ จะพบว่ามีหลายปมและหลายตัวละครที่ผู้เขียนเคยทิ้งไว้ราวกับไม่มีความหมาย ทว่าหลายปีต่อมา นั้นคือชนวนสำคัญให้เราได้อึ้งกัน
นอกจากนั้นการวางปมเรื่องและการดำเนินเรื่องที่สนุกเร้าใจ โดยเฉพาะตั้งแต่เล่ม 52 เป็นต้นมา ล้วนแล้วยากในการคาดเดาทิศทางของเรื่อง มีฉากให้ได้ลุ้นทุกตอนเสมอ ที่สำคัญระดับความตื่นเต้นนั้นเทียบเท่ากับการได้ชมซุนโกคูระเบิดพลังเป็นซุปเปอร์ไซย่าทางช่อง 9 สมัยเด็กเลยทีเดียว
Real : ทาเกฮิโกะ อิโนอุเอะ
ผลงานชิ้นนี้ของอิโออุเอะผู้ลือชื่อจากสแลมดังค์และวากาบอนด์ ดูจะเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดและหลายคนปฎิเสธที่จะอ่านมาจนจบ อ.อิโนอุเอะวาดงานชิ้นนี้ควบคู่ไปกับการวาดวากาบอนด์ โดยเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกีฬาบาสเกตบอลวีลแชร์ (กีฬาบาสของคนพิการไม่สามารถเดินได้)
ความน่าสนใจของการ์ตูนเรื่องนี้คือ นี่คือเรื่องแรกที่หยิบเอาประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ทั้งร่างกายและแรงใจมานำเสนอผ่านกีฬาอย่างบาสเกตบอล ตัวเอกของเรื่องต้องประสพภาวะปัญหาจากทั้งปัญหาทางกายที่เดินไม่ได้ และปัญหาทางใจเช่น การทะเลาะกับพ่อ การทะเลาะกับคนรอบข้าง ฯลฯ สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจการ์ตูนเรื่องนี้เป็นพิเศษคือ ผมเป็นนักกีฬา และเมื่อลองคิดหากวันหนึ่งเราไม่สามารถวิ่งได้ เดินได้ เล่นกีฬาได้อย่างที่เคยทำมาตลอดชีวิต ชีวิตของเราจะเป็นเช่นใดหนอ!
Blame : ทซึโตมุ นิเฮ
การ์ตูนแนว Post-Apocalypse เมื่อโลกสิ้นสลายเหลือเพียงการสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ดำทะมึน คิลลี พระเอกของเรื่องผู้ลึกลับเดินทางหามนุษย์ผู้มียีนส์ปลายทางเนตเพื่อใช้ในการต่อเข้าโลกของเนตได้อย่างถูกกฎพร้อมด้วยปืนพลังงานสูงที่สามารถระเบิดตึกได้ด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีการอธิบายเหตุผลให้ชัดเจนว่าทำไมต้องหา หรือถ้าหาได้แล้วเกิดอะไรขึ้น
ความเด่นประการสำคัญของเบลมคืองานด้านภาพ นิเฮเป็นสถาปนิก เขาจึงเชี่ยวชาญการวาดตึกระฟ้า ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของตัวละครแล้ว จะเป็นได้ว่าคิลลีนั้นกลายเป็นเพียงมดตัวกระจ้อยร่อย ตอนจบของเรื่องยังคงแนวที่สายการ์ตูนยุคหลังวันทำลายโลกชื่นชอบคือ จบแบบไม่จบ คนอ่านก็ยังไม่เข้าใจว่าคิลลีกำลังหาอะไร แก้ปัญหาได้ไหม เสมือนเป็นความดำมืดในคนได้ใช้เวลาตีความเอาเอง
อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย : โมโตโร มาเสะ
ญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้อยากให้คนใส่ใจกับคุณค่าของชีวิตมากขึ้น จึงผ่านกฎหมาย “กฎหมายเพื่อผดุงความรุ่งเรืองแห่งชาติ” ที่ให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนทุกคน โดยในวัคซีนจะมีบางคนที่ได้รับแคปซูลพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และก่อนวันครบกำหนดที่ยาพิษจะทำงานหนึ่งวัน อิคิงามิจะนำเอาใบมรณบัตรไปมอบให้เพื่อให้เตรียมทำใจยอมรับการเสียชีวิต
ปฎิกิริยาของคนที่ได้รับอิคิงามิแตกต่างกันไป แต่โดยไม่ต่างกันเท่าใดนักเพราะล้วนมีสัญชาติญาณในการรักชีวิต ทว่าพื้นฐานเรื่องราวที่บีบคั้นชีวิตของแต่ละคนนั้นต่างกัน ทำให้ชีวิตก่อนตายของแต่ละคนดำเนินไปคนละแนว บางคนเลือกที่แก้แค้นคนที่ตนเกลียด บางคนเลือกที่จะทำดี และบางคนที่เลือกที่แก้แค้นรัฐที่ผลิต “กฎหมายเพื่อผดุงความรุ่งเรืองแห่งชาติ” อันน่าชิงชัง
อิคิงามิถือได้ว่าเป็นผลงานที่เศร้าและสะเทือนขวัญยิ่งนัก ที่สำคัญสามารถเรียกน้ำตาได้หลาย ๆ ตอน นอกจากนั้นยังเป็นประเด็นคำถามสำคัญถึงการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามกับชีวิตประชาชนมากเกินไป จนถูกลิดรอนเสรีภาพแม้แต่การจะมีชีวิตอยู่ของตน ไปจนถึงคำถามเชิงปรัชญาที่ว่า “ความหมายของชีวิตคืออะไรแน่”
Gantz : โอกุ ฮิโรยะ
กันซึเป็นผลงานแนวแอคชั่นไซไฟที่บู๊และมีฉากโป๊เป็นของแถมให้แก่นักอ่าน จนเจอกระแส ‘หลุมดำ’ ทำเอาต้องหยุดพิมพ์และหยุดขายสร้างความเซ็งให้แก่ผู้อ่านพอสมควร (ทุกวันนี้หาอ่านได้ตามเวบ scan ในอินเตอร์เนท)
เรื่องมีอยู่ว่า คุโรโนะ พระเอกของเรื่อง (หรือเปล่า) บังเอิญเจอกับคาโต้ ทั้งสองลงไปช่วยคนบนรางรถไฟ โดยคุโรโนะไม่เต็มใจเท่าใดนัก ทว่าพวกเขาก็พลาดเพราะเป็นช่วงเวลาที่รถไฟกำลังเข้าสถานีพอดี ซึ่งแน่นอนว่า พวกเขากลายเป็นเศษซากใต้รถไฟใต้ดินคันนั้น ทั้งสองปรากฎตัวขึ้นในห้อง ๆ หนึ่ง พร้อมกับโลหะทรงกลมกลางห้อง ที่ชื่อว่า กันซึ โดยกันซึจะมอบภารกิจให้ไปสังหารมนุษย์ต่างดาว มีกติกาว่าถ้าได้คะแนนตามที่กำหนดจะได้รับรางวัลตอบแทนตามที่กันซึกำหนด และความยอกย้อนของการ์ตูนเรื่องนี้คือคนเขียนหักมุมตลอด ตัวละครตายเป็นว่าเล่น ที่สำคัญใครที่เราคิดว่ามันเป็นพระเอกมันก็อาจจะจากเราไปได้ง่าย ๆ แบบไม่ทันร่ำลา….
มังงะเรื่องนี้เป็นผลงานอีกชิ้นที่คนอ่านไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลยทั้งสิ้น ทั้งแนวโครงเรื่องและชะตากรรมของตัวละคร แม้ว่าตัวละครตัวนั้นจะเป็นตัวเอกก็ตาม สิ่งที่ทำได้คือ หมดหวัง หมดหวัง แล้วก็หมดหวัง
Beck : ฮาโรลด์ ซากุอิชิ
ผมคิดว่าใครชอบดนตรี หรือคิดอยากจะมีวงดนตรีต้องชื่นชอบการ์ตูนเรื่องนี้อย่างมาก ๆ แน่นอน Beck เป็นชื่อวงดนตรี (ชื่อเป็นทางการคือ มองโกเลียน ช็อบ สแควด) โดยมี โคะยูกิ นักร้องนำที่มีเสียงร้องอันแสนมีมนต์เสน่ห์และมือกีตาร์ (ที่ฝีมือห่วยมาก) รวมกับเพื่อนอีก 4 คน เพื่อตั้งวงดนตรีตามฝันของตัวเอง แต่ทว่าเส้นทางของเบคก็แสนยาวไกลเพราะต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย เป็นการ์ตูนที่อ่านแล้วทำให้ใครอยากมีวงดนตรีขึ้นมาทันพลัน
สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับคนอ่านได้หลาย ๆ คน คือ เมื่ออ่านฉากที่มีการร้องเพลง คนอ่านกลับรู้สึกได้ถึงเสียงดนตรีที่สว่างจ้าและอบอุ่นออกมาจากหน้ากระดาษ ความรู้สึกนั้นชวนให้รู้สึกซาบซึ้ง ขนลุกและน้ำตาไหลได้ง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเสียงดนตรีสักน้อยนิดออกมาให้ได้ยิน (ถ้าเป็นอุปาทาน ก็คงต้องบอกว่าเป็นกันอย่างถ้วนหน้าต่างที่ต่างเวลา)
นอกจาก ตัวเรื่องที่สนุกมาก ๆ แล้วคนเขียนยังชอบเอาปกซีดี มิวสิควิดีโอ ฯลฯ มาล้อ โดยเอาตัวละครในเรื่องใส่เข้าไปแทน ที่ผมชอบมากคือการล้อมิวสิควิดีโอเพลง “”Karma Police” ของ Radiohead โดยให้ตัวละครหนึ่งไปวิ่งหนีรถยนตร์ในถนนที่แสนมืดได้เหมือนมาก ๆ หรือการให้เจ้าหมาเบคในเรื่องไปยืนแทนวัวในหน้าปกเรียนแบบอัลบั้ม Atom Heart Mother ของ Pink Ployd
The Wonder Boy : ยามาชิตะ คาซุมิ
อ.คาซุมิเป็นผู้มีผลงานดัง ๆ อันเป็นที่รู้จักของชาวไทยก็คือ ป๋าอัจฉริยะ หรือ ป๋ายานางิซาวา ผู้ที่สนใจศึกษาไปเสียทุกทสิ่ง ใน The wonder Boy เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง (น่าจะเป็นเทวดา อารมณ์นกวิหคเพลิงในฮิโนโทริ) ผู้สามารถเดินทางไปยังห้วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตยันอนาคต โดยมีนิสัยเหมือนป๋ายานางิซาวาไม่มีผิดคือ อยากรู้ชีวิตจิตใจของมนุษย์ไปเสียหมด สิ่งที่มนุษย์อมตะผู้นี้ตั้งคำถามเสมอก็คือ “มนุษย์นี้คืออะไรกันหนอ” นอกจากจะสงสัยแล้ว หลายครั้งยังแสดงออกให้เห็นว่าสมเพษสิ่งที่มนุษย์กระทำ
The Wonder boy ต่างไปจากการ์ตูนปรัชญาในแนวทางเดียวกันอย่าง ฮิโนโทริ เพราะตัวละครอย่าง Wonder Boy นั้นเต็มไปด้วยความฉงบสนเท่ห์ตลอดเวลาและเมื่ออ่านจบแต่ละตอนก็อาจจะต้องขบคิดมากเป็นพิเศษถึงปมประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเราก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครรู้สึก อย่างไรก็ดีนี่เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมในการถกเถียงถึงคุณค่าของความมนุษย์ได้ไม่แพ้การ์ตูนเครียดอย่าง อิคิงามิ
ฤทธิ์ดาบไร้ปราณี : ฮิโรอากิ ซามูระ
การ์ตูนสุดโหดมากจากคนเขียนที่สันทัดแนว Guro ถ้าจัดเรทแบบหนังคงต้องให้เรท NC-17 เพราะฉากฆ่าฟันกันนั้นโหดมาก คอขาดแขนขาดกันกระจาย ข้อดีของการ์ตูนเรื่องนี้คือวาดลายเส้นด้วยพู่กันได้สวยมาก ที่สำคัญเนื้อเรื่องเยี่ยม เป็น Coming of Age สไตล์ซามูไรที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ริน เด็กสาววัยสิบสี่ บุตรีเจ้าของสำนักดาบลือชื่อแห่งหนึ่ง ได้ว่าจ้างให้มันยิ นักฆ่าร้อยศพผู้เป็นอมตะทำการล้างแค้นให้แก่ตระกูล ซึ่งถูกฆ่าล้างสำนัก รินกับมันยิเดินทางเพื่อล้างแค้น องค์กรที่ชื่อว่า อิตสึโทริว โดยระหว่างทางก็ต้องพบกับอุปสรรคและคู่ต่อสู้มากมาย เคยแม้แต่กระทั่งต้องหนีไปพร้อมกับหัวหน้าของอิตสึโทริว ผู้ที่ตนแค้นเคือง จึงทำให้รินได้เรียนรู้ความโหดร้ายในโลกความจริงมากยิ่งขึ้น
ความสนุกของฤทธิ์ดาบไร้ปราณีอยู่ที่ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน ตัวร้ายอย่างอิตสึโทริวกลับกลายมาเป็นมิตรได้ในภายหลัง แถมการสู้ศึกแต่ละครั้งล้วนต้องใช้ปัญญาและฝีมือ ที่สำคัญล้วนคาดเดาไม่ได้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าพี่มันยิของเราจะเป็นอมตะก็ตาม
Death Note : ทาเคชิ โอบาตะ และ สึงุมิ โอบะ
ถ้าวันหนึ่งคุณได้สมุดโน้ตที่เขียนชื่อใครไปแล้ว คน ๆ นั้นต้องตาย คุณจะทำอะไรอย่างไรบ้าง ตื่นนอนแต่เช้า เกลียดใครก็เขียนชื่อคนนั้นลงไป แล้วก็นอนหลับฝันดีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า
ไลท์ นักเรียนอัจฉริยะผู้รักความยุติธรรมได้สมุดโน้ตมาไว้ในมือ เขาจัดการพิพากษานักโทษต่าง ๆ ตายเรียบด้วยการเขียนชื่อลงในสมุดโน้ตจากนรกเล่มนั้น แต่แล้วเมื่อมีคนไล่ตามจับหาปมฆาตกรรมหมู่นี้ ไลท์จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนอยู่รอดและในที่สุดไลท์ก็โดนความมืดเข้าครอบงำ
ประเด็นของเดธโน้ต รุนแรงทั้งในเรื่องของอำนาจ และ เสรีภาพในการมีชีวิต มังงะเล่มนี้เต็มไปด้วยบทพูดที่ต้องใช้พลังงานอย่างสูงกว่าจะอ่านจบแต่ละเล่ม (โดยแต่ละเล่มใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง) เนื่องจากตัวละครต่อสู้กันด้วยตรรกะเหตุผลที่ขมวดเกลียวกันเครียดสุด ๆ
20th century boys : นาโอกิ อุราซาวา
หากพูดถึงความยิ่งใหญ่ ในวันข้างหน้า อ.นาโอกิจะก้าวย่างอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับที่ อ.เทะซึกะ โอซามุ หรือ อ.โทริยามะ อากิระ ได้รับ 20th century boys เป็นผลงานมาสเตอร์พีซของ อ.นาโอกิ ต่อจาก ยาวาระ Monster และ แฮปปี้
ใครจะรู้ว่าหนังสือการ์ตูนเล่มแรกหน้าปกเด็กสามคนทำท่าอุลตราแมนจะสนุกได้ขนาดนี้ แน่นอนว่านี้ไม่ใช่การ์ตูนตลก แต่เป็นการ์ตูนแนว Thriller สยองขวัญ อ่านจบแต่ละเล่มก็ได้แต่คิดว่าเมื่อไหร่เล่มใหม่จะออกเสียที 20th Century Boys เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับเหตุการณ์ร้ายที่เกิด ขึ้นในวันสิ้นศตวรรษ (มีหุ่นยนต์ยักษ์มาปล่อยเชื้อไวรัสเพื่อคร่ามนุษย์) โดยคนกลุ่มนี้ต่างล้วนเป็นเพื่อนกันตั้งแต่ยังเด็ก และพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่างเหมือนกับแผนการณ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาเคยคิดไว้เมื่อครั้งเป็นเด็ก!!! และเหตุการณ์ทั้งหมดมี ‘เพื่อน’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
ความสนุกของเรื่องคือการไม่เดินเรื่องตามลำดับเวลา แต่สลับเหตุการณ์จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต ที่สำคัญคือการทิ้งปมไว้ตอนท้ายเล่มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเล่มหน้าสร้างความกระวนกระวายใจให้แก่คนอ่านยิ่งนัก และช่วงที่ดูเหมือนว่าเคนจิ ตัวเอกของเรื่องกำลังจะกลับมา เพลง กูตาลาลา ซือตาลาลา ที่ไม่มีใครเคยฟังทำนองแม้สักน้อยนิดก็ดังไปทั่วทั้งประเทศ ชื่อ msn ของหลายคนตั้งตามเนื้อเพลงท่อนนี้ กลายเป็นประเด็นฮอตที่คนอ่านการ์ตูนพร้อมใจกันพูดถึง
อีกจุดที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่พูดถึงจนถึงทุกวันนี้นอกจากปมปริศนาที่ต้องกลับไปไล่อ่านมากมายแล้วก็คือ ใครเป็น ‘เพื่อน’ ตัวจริงกันแน่ ว่ากันว่าทุกคนที่ได้อ่านตอนจบจะอยู่ในสภาวะเดียวกันคือ “มันคือใครว่ะ?” ทำให้ต้องย้อนทวนกลับไปอ่านตั้งแต่เล่มแรกใหม่อีกครั้ง
Kyo Readingroom
Top 10 Quotes of 2009
We do political work when we are compelled to react to events. In some way you become political when you don’t have a chance to be poetic. I think human beings would much prefer to be poetic. I think every human being would like to have peace, to enjoy life, to have good food, good sex, good wine, good friends and pleasure. Maybe this will never be possible…. Maybe we have a need to know the truth.
Cildo Meireles
[On young hip artists]
It’s a cool school based on an older cool school, and it gains attention the way a child of a celebrity does.
Jerry Saltz
“I love clichés because they’re mostly true.”
Dan Graham
… it is critical to recognize that the art world as it stands hardly lives up to the historical standard – of setting the stage for social change – they desire of it. (Indeed, one should note that historical standards themselves are to some degree constructs.) Far removed even from the robust debates of postmodern times, the protagonists of contemporary art most often reside at a safe and cool distance from the machinations of the greater culture, even as they are totally immersed in them; moreover, these protagonists too often manage to be critically aloof when it comes to uncomfortable problems embedded in various artistic, curatorial, and art-historical projects circulating through art’s institutional veins. What is the mentality of the art world we actually know, the one we experience day to day, … [is] “Theory is bad, political thought in art is wrong, activism is jejune, the free market is good, individualism is great, the amoral artist is genius.”
Tim Griffin [about a correspondence with a colleague on a bleak outlook of critical art, in Artforum, Nov. 09]
“What does it mean to write? It’s a very primitive and manual activity, of putting one sign after another, like an industrial worker in the 19th century, accumulating time into text. So actually, if you look at the contemporary world, only a writer functions in the contemporary world as a classical industrial worker. The text is produced by your own hands; the text accumulates the time invested. There are no other workers like that now.
…
There a story about Maxim Gorky: that whenever he saw somebody writing, he began to cry. There’s something very sentimental about it as an activity. Writers live in a completely different epoch from artists and curators.”
Boris Groys [- In conversation with Brian Dillon, Frieze, Mar.09]
… [the] twentieth-century memory are either avowedly nostalgo-triumphalist – praising famous men and celebrating famous victories – or else, …they are opportunities for the recollection of selective suffering.
Tony Judt
Most people say that the purpose of poetry is communication: that sounds as if one could be contented simply by telling somebody whatever it is one has noticed, felt or perceived. I feel it is a kind of permanent communication better called preservation, since one’s deepest impulse in writing (or, I must admit, painting or composing) is to my mind not “I must tell everybody about that” (i.e. responsibility to other people) but “I must stop that from being forgotten if I can” (i.e. responsibility towards subject).
Philip Larkin [letter to John Shakespeare]
… film is like fire, photography is like ice. Film is all light and shadow, incessant motion, transience, flicker, a source of Bachelardian reverie like the flames in the grate. Photography is motionless and frozen, it has the cryogenic power to preserve objects through time without decay.
Peter Wollem [Fire and Ice]
When someone demands to know how we are going to replace newspapers, they are really demanding to be told that we are not living through a revolution. They are demanding to be told that old systems won’t break before new systems are in place. They are demanding to be told that ancient social bargains aren’t in peril, that core institutions will be spared, that new methods of spreading information will improve previous practice rather than upending it. They are demanding to be lied to.
I don’t believe that literature is so important for society. On the contrary, I think that literature has always only been important for a minority, for a handful of people. And I think, when it comes to literature, that people should be free to read what they please. Lots of my fellow writers like to proclaim loudly that literature has to have an obligatory character, that young people should be made to read it. I don’t like that. Everything in our society is starting to feel obligatory – we should let people decide for themselves whether they want to engage with literature or not. People should read if they want to. It will give them many joyous moments in their lives, but people who don’t read can also be very happy. It has become very fashionable to encourage people to read, there are even foundations for it. I suspect that the people who are paid good money to work there, never read. We, the real readers, are moving away from propagating reading. Perhaps because we have learned that it is the freest activity that one can possible engage in.
Cesar Aira [in “Letras Libres, 15 Nov. 09]
เก้าอี้มีพนัก : Film Programmer
Favourite films of 2009
(เท่าที่พอจะงัดแงะแกะเกาออกมาจากความทรงจำ)
ต้องขอโทษผู้ที่ติดตามอ่านมาทุกปีด้วย(มีด้วยหรือ?)ที่ไม่มีคำบรรยายใดๆ ธุรกิจรัดตัวจริงๆ แหะๆ
The Living World (Eugene Green, France, 2003)
General Della Rovere (Roberto Rossellini, Italy, 1959)
Hinterland (Jacques Nolot, France, 1998)
Asthenic Syndrome (Kira Muratova, USSR, 1989)
The Class (Laurent Cantet, France, 2008)
Green Rocking Chair (Roxlee, Philippines, 2008)
The Rat Herb (Julio Bressane, Brazil, 2008)
The Rose King (Werner schroeter, Germany, 1986)
The Man Who Had His Hair Cut Short (Andre Delvaux, Belgium, 1965)
Train of Shadows (Jose Luis Guerin, Spain, 1997)
Romance of Astrea and Celadon (Eric Rohmer, France, 2007)
I Forgot the Title (Christelle Lheureux, Italy, 2008)
A Mischievous Smile Lights up Her Face (Christelle Lheureux, France, 2009)
Flooding in time of Drought (Sherman ong, Singapore, 2009)
Heremais (Lav Diaz, Philippines, 2006)
Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000 (Alain Tanner, Switzerland, 1976)
Los Herederos (Eugenio Polgovsky, mexico, 2008)
A Letter to a Child (Vlado Skafar, Slovenia, 2008)
They All Lie (Matias Pineiro, Argentina, 2009)
Ossos (Pedro Costa, Portugal, 1997)
Few of Us (Sharunas Bartas, Lithuania, 1996)
The Man Who Had His Hair Cut Short (Andre Delvaux, Belgium, 1965)
The Ascent (Larisa Shepitko, USSR, 1977)
The Unscrupulous Ones (Ruy Guerra, Brazil, 1962)
The Invitation (Claude Goretta, Switzerland, 1973)
Rocco and His Brothers (Luchino Visconti, Italy,1960)
Appaloosa (Ed Harris, USA, 2008)
The Earrings of Madame de… (Max Ophuls, France, 1953)
The Masseurs and a Woman (Hiroshi Shimizu, Japan, 1938)
Captain Achab (Philippe Ramos, France, 2007)
The Road (Darezhan Omirbayev, Kazakhstan, 2001)
Mudane History (Anocha)
The Wet Season (Brigid Mccaffrey&Ben Russell, USA, 2008)
Independencia (Raya Martin, Philippines, 2009)
In Comparison (Harun Farocki, Germany, 2009)
A Lake (Philippe Grandrieux, France, 2008)
Father of My Children (Mia Hansen-Love, France, 2008)
This Longing (Azharr Rudin, Malaysia, 2008)
A Virus in the City (Cedric Venail, France, 80min)
Class Relation (Jean Marie Straub & Daniele Huillet, Germany, 1984)
Gulabi Talkies (Girish Kasaravalli, India, 2008)
Out of the Past (Jacques Tourneur, USA, 1947)
The Ape Woman (Marco Ferreri, Italy, 1962)
Naked (Mike Liegh, England, 1993)
The Blue Angel (Josef von Sternberg, Germany, 1930)
Under the Pavement Lies the Strand (Helma Sander, West Germany, 1974)
Sex & Philosophy (Mohsen Makhmalbaf, Iran, 2005)
Katsu Kanai’s films
จิตร โพธิ์แก้ว
http://celinejulie.blogspot.com
FAVORITE STAGE PERFORMANCES IN 2009
การแสดงบนเวทีหรือข้างถนนที่ชอบมากๆในปีนี้ ได้แก่เรื่อง
1. LOVE & MONEY (กำกับโดย อัจจิมา ณ พัทลุง)
2. วิมานมายา (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
3. เพื่อนสาวผีดิบ (BLOOD CANNOT BE CHANGED) (กำกับโดย วรรณศักดิ์ สิริหล้า)
4. TOUCH (ออกแบบท่าเต้นโดย Luca Bruni, แสดงโดยคณะ Oplas Danza จากอิตาลี)
5. COFFEE LOVE (กำกับโดย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส)
6. ช่อมาลีรำลึก (กำกับโดย ปานรัตน กริชชาญชัย)
7. การแสดงเชิดหุ่นกระบอกของคณะ Edo Marionette Group จากญี่ปุ่น
8. THE MERCHANTS OF BOLLYWOOD (กำกับโดย Toby Gough)
9. MUSINGAI (แสดงโดย Hiroyuki Miura และ Masanori Hoshika, ออกแบบเสียงโดย Haco)
10. SHE WALKS IN BEAUTY LIKE THE NIGHT (ออกแบบท่าเต้นโดย Lee Swee Keong จากมาเลเซีย)
FILMSICK
PRESENT FILM 2007 -2009
1. DEATH IN THE LAND OF ENCANTOS (LAV DIAZ /2007/PHILIPPINES)
สิ่งวิเศษในหนังความยาวสิบชั่วโมงเรื่องนี้อยู่ที่การได้ค้นพบสุนทรียศาสตร์ ชนิดใหม่ที่ขยายขอบเขตความหมายของคำว่าภาพยนตร์ให้กว้างขวางออกไป ความกล้าหาญ และไม่ประนีประนอมของหนังเป็นเหมือนผลไม้อันสดฉ่ำที่กัดกินครั้งแรกอาจฝาดขม ปาก หากความชุ่มฉ่ำจะปรากฏในตอนท้าย เลยพ้นไปจากนั้น ประเด็นพื้นที่ของศิลปินในโลกการเมืองอันเหี้ยมโหด ความล่มสลายทางวิญญาณที่เราถูกความอยุติธรรมในสังคมดูดกลืนไป ช่างนำเสนอได้อย่างชวนสะพรึง ใครกันเล่าจะลืมบทสนทนาย้อนแสงอันโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่รัฐกับกวีหนุ่มได้ ลง
2. A LAKE (PHILIPPE GRANDRIEUX/2008/FRANCE)
ขอแสดงความเสียใจกับทุกท่านที่พลาดชมหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ เพราะนี่คือหนังที่การชมด้วย DVD นั้นเป็นเรื่องง่อยเปลี้ยเสียขาโดยแท้ หนังเรื่องนี้คือการพาผู้ชมไปสู่สุดเขตแดนของภาพยนตร์ด้วยกาก่อร่างภาพอันสั่นไหวคลุมเครือ เรื่องเล่าอันบางเบาเป็นเพียงเส้นด้ายเล็กๆอันไร้ความหมายใดๆในการเชื่อมโยงความมืดอันพิลาศพิไลเข้าไว้ด้วยกัน นี่คือหนังที่ต้องการความมืด แสงเพียงเล็กน้อยจากช่องทางเดินอาจทำลายหนังลงหมดสิ้นได้ และในความมืด ท่านผู้ชมทั้งหลายเอ๋ย หนังเรื่องนี้จะกลืนกินเราด้วยความงามอันลึกลับและหมิ่นเหม่ ขอบเหวของเซลลูลอยด์ที่งามจนเราอาจตายเพราะลืมหายใจ
3. IMBURNAL (SHERAD ANTHONY SANCHEZ /2009/ PHILIPPINES)
หนังเด็กแวนซ์สาวสก๊อยส์ที่ล่อกันถึงเลือดถึงเนื้อถึงจู๋ถึงจิ๋ม นี่คือสี่ชั่วโมงอันไร้ความประนีประนอมทั้งภาพและเสียง เนื้อหาและวิธีการ สรรพสิ่งเคลื่อนที่ไปไม่ปะติดปะต่อ กิจกรรม กิจกามของเหล่าเด็กวัยรุ่นชาวสลัมชนชั้นต่ำสุดในประเทศฟิลิปปินส์ หนังนำเสนอด้วยลีลาสารคดีที่ไม่แคร์ความต่อเนื่องหรือการเล่าเรื่อง บทกวีอันโสมมกลางดงน้ำครำจึงกลายเป็นหนังสุดห้าวหาญที่ทั้งตรงไปตรงมาและ เจ็บปวดรวดร้าวจนไม่อาจละสายตาไปได้
4. HUACHO (ALEJANDRO FERNANDEZ ALMENDRAS/2009/CHILE)
หนังบางเรื่องชอบเล่าเรื่องเล็กๆด้วยวิธีการใหญ่ๆ แต่นี่คือหนังที่เล่าเรื่องใหญ่ๆแทรกสอดอยู่ในชีวิตหนึ่งวันที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ของคนเล็กๆในครอบครัวเล็กๆหลังเขา เรื่องเล็กๆอย่างการอยากเล่นเกม อยากได้ผ้าใหม่ ไม่มีแรงทำงานหรือการขายของ กลับส่องสะท้อนปัญหาโลกาภิวัฒน์อย่างคมคายจนาน่าทึ่ง การตายของสิ่งเก่าๆ การรุกคืบเข้ามาของสิ่งใหม่ที่เราไม่อาจรับมือหรือขัดขืน หนังตอกย้ำเรื่องที่ว่า POLITICAL IS PERSONAL โดยการทำให้เห้นขึ้นมาจริงๆว่าเรื่องเล็กๆของเราผูกโยงเป็นแขนขากับระบบ ใหญ่ๆำได้อย่างไร ทั้งนี้โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งร่ายสาธกยกนิทาน แต่ปล่อยให้เราเดฝ้าสังเกต การแหลกราญลงอย่างช้าๆของบรรดาชีวิตที่พอจบวันก็เหนื่อยล้าเกินกว่าจะต้าน ขืนอะไรได้อีกต่อไป
5.SYNEDOCHE, NEW YORK ( CHARLIE KAUFFMAN/2008/US)
เราอาจกล่าวได้ว่านี่คือหนังที่ใช้อธิบาย โลกแห่งปัจจุบันขณะได้อย่างน่าทึ่ง โลกที่สรรพสิ่งกระจัดกระจาย พลัดหาย แุดมไปด้วยการแทรกซ้อนของของทำเทียม ตัวแทนของสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การแผ่ขยายออกไปไม่รู้จบขอละครที่ไม่มีใครได้ดูได้แตกเศษเสี้ยวตัวตนของนัก เขียน ผู้ซึ่งแท้ที่จริงแล้วประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของมายาภาพมากหลาย เคลื่อนไหวทั้งเวลาจริงและเวลาเทียม ความไ่รู้หน้ารู้หลังของหนัง ความซับซ้อนซ่อนกล เหนือจริงเหนือฝันของหนังคือภาวะที่แท้จริงของโลกในปัจจุบันขณะซึ่งเราอาศัย โลกซึ่งไม่ได้เป็นเส้นตรงอย่างที่เราเข้าใจอีกต่อไปแล้ว แต่เลยพ้นไปจากความคมคาย และความซับซ้อนของหนังนี่คือหนังที่พูดเรื่องความเจ็บปวดของปัจเจกบุคคลผู้ ซึ่งไม่อาจต่อกรกับโลกได้อย่างโศกเศร้าร้าวรานที่สุดเรื่องหนึ่ง
6.ฺBEACHES OF AGNES (AGNES VARDA/2009/FRANCE)
ใครๆก็อาจจะรู้AGNES VARDA ดีอยู่ แต่เมื่อเธอลงมืทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตตัวเองเธอก็ได้เผิดเผยให้เราเห็น ทะเลของอาญส์ จักรวาลซึ่งประกอบขึ้นด้วยสิ่งละอันพันละน้อย ภาพของผู้อื่น ชีวิตของผู้คนที่เธอสนใจคว้าจับมาเล่าเรื่องตลอดชีวิตของเธอ หนังรุ่มรวยไปด้วยอารมณ์ขันและห่างไกลจากากรเป็นหนังเล่าเรื่องตัวเองที่ เต็มไปด้วยความหลงตัวเอง เรื่องราวอาจเริ่้มต้นทั้งหมดโดยมีตัวเธอเป็นศูนย์กลาง แต่ยิ่งหนังดำเนินไปเราก็เห็นชีวิตมากหลายที่คลี่ขยายออกไปจากจุดเร่ิมต้น ของ ‘คุณป้าอ้วนๆที่พูดมาก’แสนน่ารักผู้นี้ ในขณะเีดียวกันหนังยังคงแสดงภาพความรักอันนุ่มนวลที่เธอมีต่อคู่ชีวิตผู้ ล่วงลับอย่างฌาคส์ เดอมี ความแก่เฒ่าของเธอ นี่คือชายหาดอวลลมอุ่นน้ำทะเลกระจ่างสะท้อนภาพของหญิงผู้หนึ่งซึ่งสวย งามอย่างยิ่งแม้ร่วงโรยลงแล้ว สำหรับผมนี่คืน้ำฝนชื่นใจปลายปี ในแบบเดียวกับที่ HAPPY GO LUCKY เคยเป็นในปีที่ผ่านมา
7.FRONTIERS OF DAWN (PHILIPPE GARREL/2008)
เราพอจะกล่าวกันได้เลยว่านี่คือ ‘หนังผี’ที่หวานที่สุดในประวัติศาสตร์ Philippe Garrel ยังคงทำหนังด้วยวิธีการน้อยแต่มาก เหมือนเดิม หนังขาวดำเหมือนเดิม และเล่าเรื่องรักเดียวที่ลอยลับเหมือนเดิม น่าแปลกที่ไม่ว่าเขาจะเล่าเรื่องเดิมกี่ครั้งในหนังของเขามันก็ยังคงสดฉ่ำ เสมอ บทสนทนา ท่าทางเล็กๆน้อยที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญ ภาพเหตุการณ์ที่เล่าเฉพาะที่จำเป็นถักทอสานสายใยอันโหยเศร้าของคู่รักผิด เวลาได้อย่างเจ็บปวด น่าสนใจที่หนังรักซึ่งมีมุมมองแบบเพศชายอย่างหนังของGarrel กลับสร้างตัวละครเพศหญิงได้น่าทึ่งทุกครั้งไป
8.THE WHITE RIBBON (MICHAEL HANEKE/2009/AUSTRIA+GERMANY+FRANCE)
หนังเรื่องนี้คือการพาผู้ชมไปพบกับ ‘ระยะฟักตัว’ การซักซ้อมลองมือในละครแขวนคอเรื่องสำคัญที่จะถูกเล่ในอีกไม่กี่ปีต่อมา ละครที่ว่าด้วยการล้างผลาญเผ่าพันธุ์มนุษย์ในชื่อว่าสงครามโลก หนังขาวดำหน้าตายที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นนี้ระอุไปด้วยความอันตรายอัน ลึกลับภายใต้กรอบคิดของความถูกต้อง หนังตีแสกหน้าผู้คนเคร่งศีลธรรม(ที่บูดๆเบี้ยวๆ)ได้อย่างคมคาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาเทียบกับเหตุการณ์ในบ้านในเมืองของเรา
9.สีบนถนน (วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 2009 / ไทย)
ตลอด 62 นาทีของหนังเราจะได้เห็นแต่เพียงภาพของบรรยากาศ สถานที่ ฝุ่นควัน แสงไฟ ถนนหนทาง ซากตึก โดยไม่มีคนอยู่บนจอ มีเพียงสถานที่ และบรรยากาศ ภาพผู้คนที่เราได้เห็นคือภาพฉายของคนที่เขาผ่านพบระหว่างทาง นี่อาจไม่ใช่หนังเล่าเรื่องง่ายๆ สำหรับทุกคน แต่ความส่วนตัวของมัน ความลุ่มหลงทางการจ้องมองของมัน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การมองกรุงเทพในอีกแบบหนึ่งซึ่งไมได้พบเห็นบนจอบ่อย ครั้งนักยิ่ง หนังใช้ภาพเป็นทั้งหมดของเรื่อง เราเข้าใจเรื่องจากภาพ รู้สึกร่วมกับตัวละครก็จากภาพ มีเพียงภาพที่มีศักยภาพในการแสดง ตึกรามงามหรู หรือ เสาไฟฟ้าแรงสูงเศร้ารันทดได้ เพียงการเลือกจ้องมอง และนี่คือพลังของสิ่งที่เราเรียกกันว่าภาพยนตร์
10. LA PIVELLINA (TIZZI COVI + RAINER FRIMMEL /2009/ITALY)
หนังรันทดที่เล่าด้วยลวดลายของสารคดีซึ่งชวนวนให้คิดถึงหนังของสองพี่น้อง ดาร์แดนน์ หนังกวาดตามองไปยังบรรดาชีวิตของคณะละครสัตว์เร่ร่อนที่ถูกมองเป็นตัวก่อ ปัญหาในอิตาลี ผู้ำกับลงไปขลุกอยู่กับคนกลุ่มนี้เป็นสิบปี ทำสารคดีมาหลายหน คราวนี้็เลยเซตเป็นหนังเสียเลย แสดงเล่นเองโดยบรรดาชาวละครสัตย์ที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพถ่ายกันในบ้านของพวก เขาเองทีมงานก็มีแคู่้กำกับสองคนผัวเมีย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นหนังโคตรทรงพลังที่แม้ตั้งใจจะพูดถึงปัญหาแต่ว่า ไม่ฟูมฟายเลยแม้สักนาที ที่จริงแสงจริง จนฉากสุดท้ายคนดูแทบจะละลายไปแสงที่ค่อยๆมืดลง มืดลง
11. MILK (SEMIH KAPLANOGLU/2008/TURKEY)
มีเหตุผลส่วนตัวง่ายๆที่ทำให้เราไม่สามารถสลัดหนังเรื่องนี้ออกจากหัวได้ คือ การที่หนังเรื่องนี้มันชวนให้คิดถึงชีวิตช่วงหนึ่งของตัวเองเมื่อครั้งที่ ยังคิดฝันอะไรๆละม้ายคล้ายกับตัวเอกของหนัง แต่เลยพ้นไปจากนั้น นี่คือหนังที่พูดถึงจุดจบของเยาว์วัยได้อย่างเจ็บปวด ความสิ้นหวังซึ่งคืบคลานมาอย่างเชื่องช้า ทั้งต่อผู้คนที่เรารักและต่อชีวิตของเราเอง ฉากหนึ่งในหนังที่ทำให้เราแทบร้องให้ออกมา คือฉากที่พระเอกไปเยี่ยมเพื่อนกวีที่ตนอนนี้กลายเป็นคนงานโรงงาน เขาเอาบทกวีที่ได้ลงหนังสือไปอวด และเพื่อนส่งสมุดจดเล็กๆเขรอะๆให้ แล้วบอกให้ช่วยพิมพ์ให้หน่อย ภาพเขาที่มองเพื่อนจากหัวจรดเท้าด้วยความรู้สึกโศกลึกอันอธิืบายไม่ได้ ทำให้ฉากนี้กลายเป็นฉากแห่งปีในทันที ยิ่งเมื่อมันวนมาตบกระโหลกเราในฉษกจบ มันยิ่งจี๊ดเป็นสามเท่า มากกว่านั้นใฐานะหนังรอยต่อจาก EGG มันเจ็บปวดกว่า สิ้นหวังกว่า แลยังคงสืบเนื่องอารมณ์เหนือจริงอิงธรรมชาติที่น่าทึ่งมาก อ้อ นี่คือหนังคารวะครูทาร์คอฟสกี้ (โดยเฉพาะMIRROR) ที่จิ๊ดมากๆ
12. AGONISTES ( -on progress version)(LAV DIAZ /2008/ PHILLIPINES)
ย้ำก่อนว่านี่เป็นเพียง หนังที่ยังสร้างไม่เสร็จ Lav แอบฉายให้เราดูเมื่อครั้งเดินทางมาฉายหนังที่กรุงเทพ นังยาวห้าชั่วโมงที่มีแต่การขุดเรื่องนี้มันไปไกลยิ่งกว่าคำว่า MINIMALIST ความยาวของหนังทำให้เราดิ่งลึกลงในการขุดดินที่ในที่สุดเราเมหือนอยู่ในนรก ล่าสุดLav บอกว่าจะเดินทางไปถ่ายภูเขาไฟมายอนช่วงกอ่นที่มันจะระเบิดอีกครั้ง(หนังถ่าย ทำกันตรงตีนภูเขาไฟนั่นแหละ) อยากดูฉบับเต็มมากๆๆ คงตายไปเลยจริงๆ หวังว่าจะเสรี็จทันเวนิซปีหน้าหนอ!
13. MELANCHOLIA( LAV DIAZ /2008/PHILLIPINES)
LAV อีกแล้ว ไม่ไหวจะเคลียร์! เราไม่ได้ชอบหนังของLav เพียงเพราะว่าเป้นคนจัดงานฉายหนังLav แต่เรารักหนังของLav เพราะมันขยายขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับภายนตร์ของเราออกไปแต่ไม่แค่นั้น มันยังเต็มไปด้วยประเด็นและเป็นหนังที่ทั้งวิธีการและตัวหนังคือการต่อสู้ โดยตัวของมันเอง Melancholia อาจเป็นหนังของLav ที่ชอบน้อยที่สุด แต่บอกได้เลยว่ามันอยู่ไกลจากหนังที่ชอบเรื่องอื่นๆมาก หนังพูดเรื่องบาปที่ไม่อาจถอนไถ่ของนักต่อสู้ (เทียบบ้านเราก็คงเป็นคนเดือนตุลา) ที่กระทั่งการเป็นโสเภณีก็ไม่ช่วยเยียวยาจิตใจ หนังเจ็บปวดมากเพราะมันบอกเราว่า ผู้คนไม่มีทางหลบพ้นเรื่องการเมืองได้ สุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะเป็นนักต่อสู้ หรือเป็นญาติที่เหลือรอดก็ไม่สามารถกู้คืนความเศร้าอันยิ่งใหญ่นั้นมาได้ นี่คือหนังที่ตบหน้าทั้ง นักการเมือง และนักต่อสู้ไปพร้อมๆกัน
14.GULABI TALKIES (GIRISH KASARAVALLI/2008/INDIA)
ป้ากูลาบีส์ขี้เมาท์กับทีวีสีของเธอที่นำเรื่องวุ่นวายมสู่หมู่บ้านบนเกาะ เล็กๆปลายขอบโลก หนังอินเดียเพื่อชีวิตที่ทั้งคมคายและเจ็บปวด พูดเรื่องความสัมพันธ์ของคนมุสลิมกับฮินดูผ่านแบบจำลองของหมู่บ้านชาวประมง เรื่องของคุณป้าหมอตำแยคนรักนหนังที่ทุกคืนต้องต่อเรือไปดูหนังในเมือง จนกระทั่งวันหนึ่งคุณป้าได้จานดาวเทียมและทีวีสีเป็นของกำนัลที่ไปทำคลอดลูก คนมีเงิน แกก็กลายสภาพจากคนที่ไม่มีใครคบไปเป็นหญิงฮอตที่บรรดาเมียๆต้องไปสุมหัวดู ทีวีกันตอนเย๋็น ภายใต้ฉากหลังช่วงก่อนการปะทุแตกของสงครามกลางเมืองระหว่างฮินดูและมุสลิมใน ต้ยุคแปดสิบ หนังแสดงภาพคนสามัญที่ตกเป็นเยื่อของการเมืองได้อย่าเงข้มข้นและเจ็บปวดจน จุกอก ที่สำคัญ มันเอามาใช้เป้นแบบจำลองเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ได้เลยทีเดียว
15.THE TIMES THAT REMAINS (ELIA SULIEMAN /2009 /PALESTINE)
อิีเลีย สุไลมาน ยังคงทำหนังหน้าตายร้ายลึกที่วนเวียนอยู่ในประเด็นอิสราเอล ปาเลสไตน์ มาคราวนี้ยิ่งขำ และเหมือนมีแผลอยู่ในอก เพราะยิ่งขำก็ยิ่งเจ็บคราวนี้เขาทอดตากลับไปตั้งแต่ครั้งที่พอ่ของเขายัง หนุ่มไปจจนจวบจบที่แม่ไม่ดูพลุฉลองวันชาติ นางผู้มาจากโลกเก่าบัดนี้หูตามืดมนจนไม่ได้ยินเสียงพลุลั่นบ้านอีกแล้ว สุไลมานมองปัญหาอันยืดเยื้อเรื้อรังของปาเลสไตน์ และ อิสราเอล ก้วยความเสียดเย้ยขั้นสุดโดยการใช้แบบจำลองของครอบครัวตนเอง ปัญหาซึ่งเริ่มในคนรุ่นก่อนหน้า และยังคงยืดเยื้อไปจนถึงคนรุ่นหน้าซึ่งหมดความสนใจต่อมัน ชืดชาเฉื่อยเนือยล่องไหลไปตามคลื่นโลกาภิวัฒนืเสียแล้ว การเป็นคนซึ่งติดอยู่ตรงกลางจึงกลายเป็เรื่องขมขื่นอันชวนขบขันและคลั่งบ้า อย่างยิ่ง แม้เราไม่รู้อะไรมากพอจะออธิบายยืดยาวเรื่องปาเลสไตน์ แต่ดูแล้วจุกอกทุกครั้งที่ที่เราหัวเราะ และมันยังคงติดอยู่ในใจแม้จะดูไปนานแล้วก็ตาม
16. TULPAN (SERGEI DVORTSEVOY/2008/ KAZAHKSTAN)
เรื่องของไอ้หนุ่มที่พากเพียรไปขอเมียโดยไม่เคยเจอสาวเจ้า เพราะถ้ามีเมีย เขาก็จะสร้างครอบครัวแบบชาวทะเลทรายเร่ร่อนได้ แต่ยิ่งไปยิ่งไกล โลกปัจจุบันทำให้ชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นภาพฝันที่ร้าวรานและรันทดยิ่ง ไม่ว่าจะมองหนังเรื่องนี้ในฐานะหนังเล่าเรื่องไอ้หนุ่มขอเมีย หรือสารคดีชีวิตทะเลทราย ของชาวบ้านร้านถิ่นในคาซัคสถาน กระทั่งมองว่านี่คือหนังที่ใช้เรื่องเล่าเพื่อเปรียบเปรย ภาพร่างของโลกาภิวัฒน์ หนังเรื่องงนี้ก็สมารถทำได้ถึงทั้งสามแบบ ยี่คือหนังแบบที่มอบสุขนาฏกรรมของความเปิ่นเทิ่งแบบชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็เล่าเรื่องหนักแน่นจริงจังโดยไม่มีสายตาแบบสงสารสมเพช และเช่นกัน ตัวหนังก็ขึงขังและสรวลเสเฮฮาไปเช่นกัน
17. PETTITION ( ZHAO LIANG/2009 /CHINA)
นี่อาจจะเป็นสารคดีทื่อทึ่มที่ทำเพียงร้อยเหตุการณ์โญงไปอธิบายประเด็น สำคัญ หนังเต็มไปด้วยบทสัมภาษณ์และ ข้อความที่ขึ้นเพื่อร้อยเชื่อมแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน แต่ใครกันห้ามทำสารคดีแบบนี้ เพราะไม่ว่ามันจะตรงไปตรงมากแค่ไหนมันก็โคตรจะทรงพลังอยู่ดี นี่คือหนังที่ผู็กำกับพาเราไปติดตามดูชีวิตของผู้ร้องทุกข์จากทั่วทุกข์สาร ทิศของจีนที่เดินทางมาร้องเรียนยังสำนักงานร้องทุกข์ในปักกิ่ง พวกเขากินนอนข้างถนน แออัดอยู๋ในหมู่บ้าน ถูกตามล่าจากตำรวจลับท้องถืิ่นที่ไม่ต้องการให้มีการร้องเรียน เรื่องที่ยื่นไว้ก็ไม่เคยคืบหน้าถูกจับส่งรถไฟกลับบ้าน หนำซ้ำถ้าหกนักข้อก็จะถูกหาว่าเป็นบ้าส่งเข้าโรงพยาบาลบ้าไป หนังใช้เวลาติดตา่มผู้คนมากหน้าเป็นเวลาร่วมสิบปี จนกระทั่งตัวผู้กำกับก็กลายเป็นซับเจคต์ก้วยเสียเลย เพราะเขาติดตามเด็กญิงคนหนึ่งจนเธอโตเป็นสาว เมื่อเธฮหนีไปจากแม่ เธอสั่งความไว้กับผู้กำกับ! หนังทรงพลังมาก จนดูไปร้องให้ไป รู้สึกกอยากอ้วกไป และตอนจบของหนั้งทำให้เราตัดสัมพันธ์กับจางอี้โหมว เพราะในขณะทีเฮียจาง(ที่เคยทำหนังชีวิตเล็กๆอันน่ารันทด)ทำพิธีเปิดโอลิมปิก ไปอ้พิธีเปิดนี้เองที่ให้สิทธิ์เจ้าหน้าที่ทำลายผมู่บ้านผู้ร้องทุกข์ราบ เป็นหน้ากลอง!
18. MOTHER ( BONG JOON HO /2009/KOREA)
โอเค มันเป็นหนังว่าด้วยแม่ที่ทำทุกอย่างเพื่อช่วยลูกทึบๆของเธอให้พ้นจากการต้อง ตกเป็นฆาตกรในคดีฆาตกรรมเด็กสาว แม่คนหนึ่งที่มีชนกัติดหลังเรื่องเป็นหมอเถื่อน ไม่ค่อยมีใครชอบขี้หน้า ต้องพิสูจน์ความจริงนี้ด้วยตนเอง หังพลอตแล้วเรารู้ว่าคุณคิด แต่อย่าได้คิด ไอ้หนังประเภทสู้เพื่อลูกนั่นน่ะ มันเป็นแค่ส่วนเล็ฏๆในหนังเรื่องนี้ วึ่งมีความลับที่เปิดเผยไม่ได้ และทำให้เราต้องมอง ‘ความเป็นแม่’ ด้วยท่าทีใหม่ๆซึ่งหนังถ่ายทอดออกมาได้ระกับเดียวกับหนังอย่าง THE HEADLESS WOMAN อย่ามองข้ามวอนบิน เขาอาจจะหล่อเกินเป็นไอ้หนุ่มทึ่ม แต่ความหล่อของเขากลายเป็นไม้เด็ดในหนังเหมือนกัน หนังเป็นเหมือนภาคต่อ ภาคแยก และภาคกลับของTHE HOST ซึ่งทำให้เรากร๊ีดบองจุนโฮสุดจิต!
19. BUDDHA COLLAPSED OUT OF SHAME(HANA MAKMALBALF/IRAN/2007)
เริ่มต้นจากภาพกาทำลา่ยล้างพระพุทธรูปในยุคตาลีบัน หนังที่ดูเหมือจะเป็นหนังเด็กเรื่องนี้เล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงซึ่งอาศััยอ ยู่ในถ้ำแถบที่เขาระเบิดพระพุทธรูปที่อยากเรียนหนังสือ เริ่มจากถาพสมจริง หนังค่อยๆคลี่ขยายไปเป็นหนังเหนือจริงผ่านแบบจำลองของเด็กๆ ทเริ่มจากการไปเรียนหนังสือที่ถูกกีดกันอย่างรุนแรงจากสังคมเพศชาย จบท้ายที่หนังหลุดไปสู่ภาวะเหนือจริงของสงคราม ซึ่งเจ็บปวดกว่าหนังสงครามเพราะหนังใช้การละเล่นของเด็กๆเป็นแบบจำลอง เด็กตัวเล็ก ห้าหกขวบเล่นไล่จับผู้ร่้ายกันอย่างน่าสะพรึง ตอนจบของหนังเป็นอะไรที่จุกอกมากๆ
20. อีส้มสมหวังชะชะช่า(โน้ต จูเนียร์ /2009/ไทย)
กล่าวอย่าภาคภูมิใจว่านี่คือหนึ่งในหนังที่ผมเข้าไป ‘ร้องให้ในโรงหนัง’เสียหลายยก หนังหัวเราะทั้งน้ำตาเรื่องนี้เล่าเรื่องต่อจากภาคแรก (ที่ไร้พลอตและรื่นรมย์มากๆ)หนังเริ่มต้นที่การจบสิ้นของความงามพื้นถิ่น วงดนตรีแตกสลายจนบรรดาสมาชิกต้องพลัดพรายเข้ามาในเมืองหลวงเพื่อผเชิญโชคตาม ด้วยเหตุการณ์ต่างๆนาๆซึ่งช่างพ้องพานกับโครงสร้างสังคมยุคปัจจุบันที่คน ต่างจังหวัดต้่องแตกกระสานซ่านเว้นเข้ามเป็นแรงงานในเมืองกรุงบางคนก็”ด้ด ีมีโชค บางคนก็พ่ายแ้พ้ บางคนก็ถูกเมืองกลืนกินไป และหนังเรื่องนี้พาเราไปสังเกตการณ์ด้วยสานจาที่มาจากคนชนชั้นเดียวกัน (ซึ่งพบได้น้อยเหลือเกืินในหนังทย) น่าเศร้าที่หนังถูกประเมินจากท่าทีของมันมากกว่าตัวหนังจริงๆ ในหสังคมดูหนังฉาบฉวยเพื่อเสริมรสนิยมมากกว่าดูหนัง หนังเรื่องนี้จึงภูกปฏิเสธจากผู้คนมากมาย กล่าวตามสัตย์ฉาก มิวสิคัล เพลง คนบ้านเดียวกัน พอจะเรียกได้ว่าเป็นฉากสำคัญของปีนี้ เพราะใช้เพลงหนึ่งเพลงอธิบายโครงสร้างสังคมในตอนนี้ได้เลยทีเดียว
21. 35 SHOTS OF RHUM (CLAIRE DENIS/ 2008/FRANCE)
ถ้าเรียกว่านี่เป็นงานรีเมค มันก็เป้นงานรีเมคที่เรียกได้ว่าต่อยอดออกไปได้อย่างลึกซึ้ง แต่ถ้ามองว่านี่เป้นหนังใหม่ของแคลร์ เดอนีส์ ก็พูดได้เลยว่านี่คือหนังที่นุ่มนวลที่สุดของเธอ เดินีส์เดินลึกเข้าไปถึงแก่นกลางของหนังแบบโอสุ นั่นคือสมดุลแห่งความสัมพันธ์อันแสนงดงามของคนในครอบครัว ความสัพันธ์ที่ลึกซึ้งไปกว่านิยามโ.่ๆของพ่อแม่ลูก ความสัมพันธ์ที่ค่อยๆุถูกทำลายลงเพื่อให้ชีวิตดำเนินสืบต่อ หนังของโอสุไม่ได้เป็นหนังเชิดชูสถาบันครอบครัว มันตรงกันข้ามด้วยซ็ำ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์ซับซ้อนเกินนิยามเหล่านั้น ซึ่งเดอนีส์ รับมาสานต่อได้อย่างยอดเยี่ยม มีอะไรมากมายอยู่ในทุกฉากของหนัง นี่คือหนังที่เรียกได้ว่าปราณ๊ตจากต้นจนจบ ในความเรียบง่ายของมันนั้นลึกซึ่งยิ่ง
22. WHERE THE WILD THINGS ARE (SPIKE JONZE /2009/US)
ถ้าหนังเรื่องนี้เป็นหนังเด็ก มันก็เป็นหนังเด็กที่เหงาที่สุดในโลก หนังเด็กที่สร้างจากผู้ใหญ่เหงาๆที่เคยเป็นเด็กเหงาๆมาก่อนและไม่เคยได้รับ การเยียวยา หนังเลือนโลกจริงกับโลกเหนือจริงเข้าด้วยกันอย่างน่าทึ่ง และพาเรากระโดดเข้าไปในโลกจินตนาการของเด็กร้ายๆที่ร้ายเพื่อตอบโต้ความโดด เดี่ยวของตัวเอง จากฉากแรกที่ไอ่้หนูมุดถ้ำหิมะทำเอง หรือเล่นอยู่ในผ้าห่ม เราก็รู้ได้ทันทีว่ามีแต่การสร้างอาณษจักรจองตัวเองขึ้นมาแล้วเสกเพื่อนเอา จากสิ่งของเท่านั้นคือวิธีที่จะทำให้เขาไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป การก้าวข้ามไปยังอาณาจักรลึกลับก็ไม่ต่างกัน ที่เศร้าคือเขาได้เรียนรู้แล้วว่าเขาทำลายมันลงได้อย่างไรฉากการวิ่งกลับ ย้านในตอนท้ายอาจไม่ใช่ฉากจบที่แฮปปี้เอนดิ้งก็ได้
23. DRAG ME TO HELL (SAM RAIMI / 2009 / US )
พลอตสุดเชย เล่าเรียงลำดับตรงไปตรงมาเชยๆ ด้วยวิธีการเชยๆ (ไม่ต้องถามหาเรื่องหักมุม หรือเทคนิคทางภาพเว่อร์ๆ) ไม่มีการทรมานคนดู จัดแสงแบบเชยๆ(สว่างจ้าอย่าทั่วถึงกันราวกับละครหลังข่าวก็มิปาน) เสียงประกอบเชยๆทีมาเป็นชุดราวระเบิดลง และการแสดงแบบเชยๆ ที่วูบหนึ่งดี วูบหนึ่งร้าย ตัวละครแบบขาวขัดดำจัด กล่าวอย่างง่าย นี่คือหนังที่แทบไม่ต่างจากซีรีส์สยองขวัญจบในตอนที่ออกฉายไปแล้วยี่สิบปี อย่างTALES FROM CRYPTแต่องค์ประกอบสุดเชยเหล่านี้ เมื่อตกอยู่ในมือของSAM RAIMI อดีตผู้กำกับหนังสยองขวัญยอดฮิตตลอดกาลอย่างEVILE DEAD ทั้งสามภาค (แม้คนจะรู้จักเขาในฐานะคนกำกับ SPIDERMAN มากกว่า) เขากลับนำมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะนี่คือหนังที่ ‘จงใจเชย’ โดยหยิบเอาองค์ประกอบของความเป็นหนังทีวีดาดๆ มาเล่าอย่างตั้งใจและมั่นใจ หนังสุดเชยเรื่องนี้จึงเดินหน้าเล่าเรื่องโดยไม่ต้องแต่งองค์ทรงเครื่อง ร่วมสมัยแต่อย่างใด อาศัยเพียงเรื่องเล่าที่เข้มแข็ง การคารวะหนังทีวีโบราณแบบไม่ออกตัว และประเด็นทางสังคมลึกซึ้งแข็งแรง เดินหน้าด้วยวิธีการแบบอเมริกันแท้ๆ และเล่าเรื่องแบบอเมริกันแท้ๆ สำรวจตรวจสอบค่านิยมของอเมริกันชนอย่างน่าทึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความบันเทิงสุดขีดในฐานะในหนังสยองขวัญด้วยเช่นกัน
24. INGLORIOUS BASTERDS( QUENTIN TARANTINO/2009/US)
นี่คือหนังที่ดูจบแล้วอยากก้มกราบตีน ตารันติโนเสียเหลือเกิน ค่าที่ว่ามันกร่างกล้าจนแสดงให้เห็นว่าสามารถทำหนังห้าแบบลงในห้าบทของหนัง แล้วทำให้มันเป็นหนังเรื่องเดียวกันได้อย่างกลมกืนซึ่งมีทั้งหนังฮอลลีวู้ด เต็มสูบ หนังสวะ(แต่สนุก)จากยุค 70’s ไปจนถึงหนังแบบหนังของJEAN PIERRE MELVILLE และ LENI RHIEFENSTHAL มากไปกว่านั้น ตารันติโนคารวะคนทำหนังด้วยการจับนักวิจารณ์มาฆ่า (อย่าส่งนักวิจารณืไปกู้โลก!) แล้วบอกว่า คนทำหนังสิที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นี่ล่ะ การล้างแค้่นของนังหน้ายักษ์!!!!!
25. SHINJUKU INCIDENT(DEREK YEE /2009/HK)
เอ๋อตงเซินจะรู้ว่าจะเอาประโยชน์จากเฉินหลงได้ยังไง หนังใช้ คาแรกเตอร์ คนดีศรีสังคมที่ตกทุกข็ได้ยาก ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ผูกขาเฉินหลงมาตลอดยุคแปดสิบ-เก้าสิบ (ลองนึกถึงหนังอย่างRUMBLE IN TH BRONX) แต่ในขณะที่เฉินหลงเองกลับเล่าหนังตัวเองเป็นทีเล่นทีจริงชวนหัว เอ๋อตงเซินกลับหยิบจุดนั้นมาเติมความลึกของมนุษย์ลงไป เลยทำให้มันมีน้ำหนักอันเข้มข้นและกลายเป็นประเด็นหลัดที่หนังเอามาเล่นได้ อย่างเจ็บปวด (มันทำให้คิดถึงวิธีการเดียวกันที่ P T ANDERSON เคยทำกับADAM SANDLER ใน PUNCH DRUNK LOVE คือดึงความเป็นมนุษย์จากคาแรกเตอร์การ์ตูนๆออกมา) หนังคมคายทั้งในแง่ของการพูดถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ(ครึ่งแรกของหนังทรงพลัง มากจนเราคิดว่ามันสูสีกับหนังพี่น้องดาร์แดนน์ด้วยซ้ำ) ขณะที่ครึ่งหลังหนังเดินหน้าแบบหนังฮ่องกงเต็มสูบ และทำได้พีคสุดๆในฉากพี้อน้องทำลายกันเอง ซึ่งในทางหนึ่งมันคือการท้าทายรือ้ทพลายค่านิยมพวกพ้องน้องพี่ของจีนเดิมไม่ เหลือ อย่าลืมว่าโดยทั่วไปหนังแบบนี้มักจะทำให้พี่น้องต้องห้ำหั่นกันเพราะมีคนใด คนหนึ่งเลว ซึ่งเท่ากับว่าการรักพี่น้องยังเป็นค่านิยมที่ใช้ได้ ผิดที่ปัจเจกบุคคลต่างหากขณะที่หนังเรื่องนี้ (และ WARLORD ของ ปีเตอร์ ชาน) ได้บอกกับเราเป็นนัยว่า ตัวค่านิยมนี้ต่างหากที่มีปัญหา เพราะในโลกที่ซับซ้อนนี้ มันมีปัจจัยอื่นที่เขช้ามบีบคั้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น อำนาจรัฐ (ในWARLORDS) หรืออำนาจเงิน (ความอยู่รอด ปากท้อง หรือกระทั่งการลงหลักปักฐาน) ในหนังเรื่องนี้ ชอบการแสดงของเฉินหลงในหนังเรื่องนี้มากๆๆ เพราะดูเหมือนเอ๋อตงเซินไม่ได้เรียกร้องการแสดงขั้นเทพ ทเขาถึงกับแค่ต้องการให้เฉินหลงเป็นเฉินหลงนั่นแหละ แต่เป็นเฉินหลงที่อยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปแล้วเท่านั้น
26. IMPORT/EXPORT(ULRICH SEIDL /2007/AUSTRIA)
เรียกหนังเรื่องนี้ว่าหนังสยองขวัญเถอะ เพราะนี่คือหนังที่ดูแล้วชวนขนหัวลุกขั้นรุนแรง หนังเล่าเรื่องของอีสาวบ้านนอกที่เริมต้นจากการเป็นางโชว์เวบแคม แล้วมาลงเอยเป็นพยาบาลดูแลคนชราในโรงพยาบาลกับไอหนุ่มยามที่ลงเอยด้วยการ เป็นคนขนตู้เกมเถื่อน ชีวิตปผกผันของการข้ามพรมแดน จากประเทศยากจนไปสุ๋ประเทศศิวิไลซ์ และในทางกับกลันข้ามจากประเทศรุ่งเรืองไปยังแดนอันตราย แตสรุปลงเอยได้ง่ายๆว่า’ชิบหายพอกัน’ สำหรับท่านที่เรียกร้องสวัสดิการรัฐ ฉาวอร์ดคนแก่ใกล้ตายในโรงพยาบาลอาจชวนให้ท่านขนหัวลุกเกินจินตนาการไปถึง ใครจะไปเชื่อว่าแฟลตอยู่อาศัย(แบบแฟลตการเคหะ) จะเป็นรกบนดินไปได้! ดูสิ หลังจากความหน้าตายร้ายลึก ULRICH SEIDEL ขยับไปอีกขั้น ด้วยการใช้ความเญ้นชาทิ่มลงไปในความสะอิดสะเอียนของมนุษยชาติ น่แหละ ทรมานบนเทิงของแท้!
27. MAD DETECTIVE(JOHNNY TO+ WAI KA FAI/2007/HONGKONG)
อีก หนึ่งหนังฮ่องกงที่เรากรี๊ด ว่าด้วยนายตำรวจที่กลายเป็นบ้า เพราะเขาสามารถมองเห็น บุคลิกที่แตกต่างกันแยกออกเป็นตัวเป็นๆในมนุษย์แต่ละคน ไม่ต้องเสียเวลาทำCG หนังใช้วิธีง่ายๆด้วยการคนหลายๆคนเดินพร้อมกันไปเลย หนังเป็นเหมือนภาคต่อของMUSCLE MAN (RUNNING ON KARMA) หนังพี่หลิวตัวยักษ์ที่ว่าด้วยคนมองเห็นกรรม และหนังทั้สองเรื่องก็ตบหน้ามนุษย์ได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน (แอบชอบMAD DETECTIVE มากกว่านิดหนึ่ง) หนังถึงับบอกว่า มนุษย์เราถลำลงไปในความชั่วร้ายได้อย่างไร บุคลิกที่ไม่เคยมีถูกสร้างขึ้นใหม่แปรไปตามประสปการณ์ชีวิต มากไปกว่านั้เราให้คะแนนหนังเรื่องนี้เป้นพิเศษ ค่าที่มันเล่าเรื่องของคนที่แปลกแยกต่อโลกโดยสิ้นเชิง(กราบ หลิวชิงหวิน เล่นได้จ๊าบมากพี่) ฉากที่เขาต้องผเชิญหน้ากับ เมียที่เขามองเห็น กับ เมียจริงๆของเขาเป็นฉากที่ทั้งคมคาย และโคตรจะเจ็ปวดรวดร้าวไปพร้อมๆักัน
28.ฝันโคตรโคตร (พิง ลำพระเพลิง/2552)
พิง ลำพระเพลิงเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาทำหนังจากปมด้อย และในฝันโคตรโคตรนี้เขาตีตรงปมด้อยของตัวเองอย่างหนัก เขาเคยพูดหลายต่อหลายครั้งว่าเขาอยากดัง และในหนังเรื่องนี้เขาตีแผ่ความอยากดังอย่างไม่ลืมหูลืมตา และในเรื่องนี้เขาเอาความอยากดังของตัวเองมาเล่นได้อย่างน่าสนใจ เพราะในฝันโคตรโคตร หนังไม่ได้เล่นกับแค่ระดับของความฝัน-จริง แต่ยังเล่นกับเวลา อดีต – อนาคต (นาฬิกาทรายไม่ใช่แค่เครืองมือเข้าความฝัน แต่เป็นเครื่องมือข้ามเวลาไปอนาคตด้วย) และหากความฝันเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาว ความจริงคงเป็นเรื่องของคนแก่ แต่คนแก่ที่มีความฝัน คนแก่ที่กำลังฝัน ใยมิใช่คนที่บาดเจ็บที่สุดเล่า กล่าวโดยสรุป ฝันโคตรโคตรยังคงครบรสหนังแบบพิงพิงเต็มที่ หนังล้นๆของคนล้นๆที่ไม่ได้ต้องการจะเป็นที่รักของคนดู แต่ในที่สุดเขาได้พิสูจน์แล้วว่าเขามีความสามารถ และมีความเป็นศิลปินมากพอจะสร้างหนังส่วนตัวด้วยวิธีการอันไม่ประนีประนอม ภายใต้โลกฝันแบบโรแมนติกซึ่งอาจทำให้ถูกมองข้ามให้เป็นเพียงหนังดาดๆได้ อย่างง่ายๆ ซึ่งนี่เป็นมายาคติที่น่าเสียดายยิ่งซึ่งเราพบเห็นเสมอๆในหนังไทย ในโลกของการดูหนังที่ท่าที่ต่อหนังสำคัญกว่าตัวเนื้อหา
29. I FORGOT THE TITLE (CHRISTELLE LHEUREUX/2009/FRANCE)
หนังเรื่องนี้ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนความทรงจำ ที่เธอมีต่อหนังเก่า เธอเอาตัวละครจากหนัง A มาพบกับตัวละครจกหนัง B พวกเขาสนทนากันด้วยบทสนทนาของหนังC ในสถานที่ซึ่งเป็นฉากหลังของหนัง D จากนั้นเดินจากกันไป ไปตามหาคนที่หายไปจากหนังE ทั้งหมดทั้งมวลคือชิ้นส่วนความทรงจำทุติยภูมิ (ซึ่งเกิดจากการดูหนัง ) ความทรงจำนั้นแตกต่างจากข้อเท็จจริง ความทรงจำเป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ เพราะมันคือข้อเท็จจริงที่ผสมเอาความรู้สึก ความคิด ภูมิหลัง กระทั่งภาพลวงที่ผู้จำสร้างขึ้นเอง ทั้งหมดทั้งมวลถูกนำมาปะติดปะต่อ กวนเข้าด้วยกันแล้วเคี่ยวจนข้นด้วยวันเวลา จนกระทั่งตกผลึกมาเป็นชิ้นส่วนของความทรงจำ ในทางภาพยนตร์ I FOGOT THE TITLE คือเศษเสี้ยวของความทรงจำจากหนังอิตาเลียน ที่ก่อร่างขึ้นใหม่ ได้สาบสูญความหมายดั้งเดิมของมันลงสิ้น แต่ก็สร้างความหมายใหม่ขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้อีกแล้วว่านี่คือชิ้นส่วนขอ STROMBOLI ของL’AVENTURA ของ LA NOTTE มันกลายเป็นสิ่งใหม่ ความทรงจำใหม่ซึ่งไหลทับใบหน้าเดิมของความทรงจำเดิม สุดท้ายมันก็สร้างข้อเท็จจริงใหม่ ความทรงจำใหม่ และการหลงลืมชนิดใหม่ขึ้นในเรา
30. FLOODING IN THE TIME OF DRAUGHT(SHERMAN ONG/2009/SINGAPORE)
หลังจากปีที่แล้ว Sherman Ong พาความรื่นรมย์มาพบผู้ชมกับ HASHI ที่เริ่มต้นและดำเนินต่อไปโดยไร้ทิศทางที่แน่ชัด สร้างเรื่องขึ้นจากเรื่องของนักแสดงลอ่งไหลไปอย่ารื่นรมยย์ ปีน้เขากลับมาอีก ด้วยความรื่นรมย์แบบร้ายกาจ เปลี่ยนจากสาวยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ ไปเป็นผู้คนนาชาติ หนังแบ่งตัวเองเป็นหนังสองเรื่อง (ซึ่งไม่สั้น เพราะเรื่องละชั่วโมงครึ่ง สองเรื่องก็สามชั่วโมงพอดี!)ทั้งหมดทั้งมวลเป็นแค่บทสนทนาของคนนั้นคนนี้ ซึ่งมีทั้งคนสิงคโปร์ คนแขกในสิงคโปร์ คนมุสลิมในสิงคโปร์ คนญี่ปุ่นในสิงคโปร์ คนเกาหลีในสิงคโปร์ บทสนาเล่าเรื่องตอบโต้สนทนาความเป็นไปในสังคมปัจจุบันซึ่งทั้วสนุกสนานและคม คาย ในขณะเดียวกันมันก็มีอารฒณืเจ็บปวดด้วย (โดยเฉพาะเรื่องของคู่สามีภรรยาชาวอินเดียในครั้งแรก ) เอาเฉพาะพาร์ตคนไทยหนังก็เล่นกับประเด็นสามจังหวัดได้แสบสันต์แบบที่ยังไม่ เคยเห็นมาก่อนเลยในหนังไทย:)
HORNORABLE MENTION
UPRISE(SANDRO AGUILAR/2009/PORTUGAL)
SURVIELLANCE ( JENIFER LYNCH/2009/US)
THE HURT LOCKER(KATHRYN BIGELOW /2009/US)
BURN AFTER READING (JOEL + ETHAN COEN/2008/US)
เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงษ์ /2009/ไทย)
ECCENTRICITIES OF A BLONDE HAIR GIRL(MANOEL DE OLIVIARA/2009/PORTUGAL)
IN THE HOUSE OF STRAW (YEO SIEW HUA/2009/SINGAPORE)
THE WRESTLER (DARREN ARONOVSKY/2009/US)
ท้าชน (ธนกร พงษ์สุวรรณ/2009/ไทย)
หลวงพี่กับผีขนุน (ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล /2552/ไทย)
DOUBLE TAKE (JOHAN GRIMONPREZ /2009/ BELGIUM)
เฉือน (ก้องเกียรติ โขมศิริ/2552/ไทย)
THEY ALL LIE (TODOS MIENTEN/2009/ARGENTINA)
SHANGHAI, WAITING FOR PARADISE(SLYVIE LEVY /2007/CHINA)
IN COMPARISON (HARUN FAROCKI /2009/GERMANY)
THE FOURTH KIND ( OLATUNDE OSUNSANMI/2009/US)
INDEPENDENCIA (RAYA MARTIN / 2009 /PHILIPPINES)
สวรรค์บ้านนา (อุรุพงษ์ รักษาสัตย์/2009/ไทย)
THE SONG OF SPARROWS ( MAJID MAJIDI /2009/IRAN)
EVERYONE ELSE (MAREN ADE /2009/GERMANY)
THE LIMITS OF CONTROL(JIM JARMUSCH /2009/US)
WATCHMEN(ZACK SNYDER/2009/US)
เชือดก่อนชิม(ทิวา เมไธยสงค์/ 2009/ ไทย)
Butterflies Have No Memories(lave Diaz/2009/Philippines)
GREEN ROCKING CHAIR(ROXLEE/2008/PHILIPPINES)
BILAL (SOURAV SARANGI/2009/INDIA)
OLD FILM (20006 and earlier)
1.EVOLUTION OF FILIPINO FAMILY( LAV DIAZ /2004/ PHILIPPINES)
ถ้าต้องนับกันจริงๆหนังเรื่องนี้คือหนังที่อชบที่สุดในรอบปี และอาจโจนทะยานขึ้นไปเป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในชีวิตตลอดกาล ในList หนังยุคปัจจุบันพูดถึงลาฟไปากแล้วไมพูดซ้ำ กาจะว่ากันเฉพาะหนังนี่คือหนังที่พาเราไปสำรวจประวัติศาสตร์ภาคประชาชนซึ่ง มีแต่ความฉิบหายอันไม่สุดสิ้น ความยาวของหนังอาจทำให้คนเบือนหน้าหนี (เรื่องนี้ยาสุด 11 ชั่วโมง) แต่ลองได้ดูมันจะกลายเป็นหนึ่งความทรงจำประจำชีวิตการดูหนัง ใครกันจะหลงลืมฉากการเดินไปตายยาวยี่สิบนาทีที่ทำให้รู้สึกประหนึ่งผู้ชทจะ ขาดใจตายลงไปด้วยโดยไม่ต้องสงสัยนี่คือหนังสำคัญที่ยังถูกมองข้ามอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน
2. THE TIME TO LIVE , THE TIME TO DIE (HSIAO – HSIEN HAO/ 1985/TAIWAN)
หนังอีกเรื่องที่โจนทะยานไปติดทอปหนังที่ชอบที่สุดตลอดกาล หนังซึ่งค่อยกัดเซาะหัวใจผู้ชมให้หลอมละลายไปกับประวัตศาสตร์ส่วนบุคคลของ ตัวละคร (ซึ่งจำลองมาจากชีวิตของผู้กำกับ) หนังพูดถึงการก้าวพ้นวัยของเด็กชายที่เติบโตขึ้นเป็นคนหนุ่มผ่านทางเรื่อง เศร้าประจำครัวเรือนเช่นความตาย การพลัดพราก โดยมีฉากหลังไกลลิบเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของไต้หวัน หนังเล่าอย่างละมุนละม่อมจนเปิดโอกาสให้ผู้ชมนำเอาชีวิตตัวเองไปสวมครอบ บรรดาผู้คนในหนังแทรกซึมมาเป้ฯส้วนหนึ่งในครอบครัวซึ่งในที่สุดเราจะค่อยๆ สูญเสียไปในวิถีทางที่แตกต่างกัโหว เคยให้สัมภาษณว่าเขารู้สึกห่างไกลจากแผ่นดินจีน ขณะเดียวกันเขาก็รู้ว่าเขาไม่ใช่คนไต้หวัน และหนังเล่าเรื่องความเข้ากันไม่ได้กับแผ่นดินนี้ออกมาได้งดงามยิ่งนัก กล่าวตามสัตย์ นี่คือหนังCOMING OF AGE ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ผมเคยดูมา
3.คนกราบหมา (อิ๋ง เค /1997/ไทย)
หนังไทยที่กล้าหาญ ตลก และคมคายที่สุดเรื่องหนึ่งที่เคยดูมาหลังจากถูกแบนอยู่เป้นสิบปี นี่คือหนังที่ชวนให้นึกถึงหนังยุคต้นของ จอห์น วอเตอร์สในบริบทของสังคมไทย แม้หนังจะพูดภาษาอังกฤษทั้งเรื่องแต่นี้คือหนังที่ตีแสกหน้าอาการหน้าไหว้ หลังหลอก ความงมงายละเมอเพ้อ พกแบบไทยๆที่มาดูตอนนี้ก็ยังร่วมสมัยจนอดคิดไม่ได้ว่านี่เป็นเพราะหนังมัน ล้ำยุคหรือเพราะสังคมเราไม่เคยก้าวไปไหนกันแน่ ขอบคุณ คุรอิ๋งเค อย่างยิ่งที่ทำให้การรอคอยอกันยาวนานสิ้นสุดลง และสำหรับคนที่แบนหนังเรื่องนี้ ไปกราบหมาเถอะไป๊!
4. I CAN NO LONGER HEAR THE GUITAR (PHILLIPE GARREL /1991/FRANCE)
ไม่มีเสียงกีตาร์(ตามชื่อหนังในหนังเรื่องนี้) เรื่องเล่าทั้งหมดถูกตัดทอนออกจนเหลือเพียงบทสนทนาที่อยู่โดยรอบเหตุการณ์ บทสนทนาเลื่อนลอยกึ่งปรัชญาที่ดูเหมือนไร้ความหมายเหล่านั้นกลับซ่อนนัยยะ ลึกซึ้งของตัวละคร จึงควยามหึงหวงถึงความโหยหา จากความลังเลถึงความมั่นคง และจากความเกลียดชังไปถึงความรัก อาจเพราะบางทีขณะที่เขาทำหนังเรื่องนี้เขาไม่ได้มีโอกาสฟังเสียงกีตาร์ ของNICO อีกแล้วน่าแปลกที่หนังซึ่งไร้ความเร้าอารมณ์เรื่องนี้ ในที่สุดค่อยๆแทรกซึมลงในจิตใจเรา จนกระทั่งความเจ็บปวดของตัวละครกลายเป็นความเจ็บปวดของเรา ความตายของตัวละครเป็นการสูญเสียของเรา บางทรีหนังเรื่องนี้คล้ายเป็นข้อพิสูจน์ว่า เรื่องสำคัญๆของมนุษย์ที่แท้ล้วนเกิดขึ้นอย่างไร้ความหมาย และศิลปินมีภาระหน้าที่ในการคว้าจับความไร้ความหมานั้นออกมา เพื่อสร้างแรงสะเทือนลึกลับให้กับคนดู ครั้งแล้วครั้งเล่า
5. PERFUMED NIGHTMARE (KIDLAT TAHIMIK/1978/PHILIPPINES)
หนังเซอร์เรียลสุดพิลาศพิไลจาก ฟิลิปปินส์ ที่พูดเรื่องไอ้หนุ่มรถสองแถวผระธานชทรมคนรักนักบินอวากาศที่มีลูฏไล่เป็ฯเด็ฏๆตัวกะเปี๊ยก ที่พารถสองแถวบุโรทั่งของตัวบินข้ามฟ้าไปถึงอเมริกา แต่ว่าแค่ข้ามสะพานกระจำหมู่บ้านไปอีกฝั่งยังยากเย็น หนังเป็นเรื่องเล่าเหนือจริงไม่ปะติดปะต่อที่ผสมเอาฟุตเตจถ่ายใหม่เข้ากับฟุตเตจแบบเอากล้องไปถ่ายคนนั้นคนนี้ ภาพสามัญถกึ่งสารคดีแสดงความทุกข์ยากของคนยากคนจนในฟิลิปปินส์ถูกนำมาร้อยเรียงกับเรื่องราวสุดพิลึกจนกลายเป็นหนังกึ่งESSAY FILM ที่เสียดสีสังคมได้อย่างแสบทรวง หนังเสียดสีทั้งสังคมข้นแค้นในฟิลิปปินส์ไปจนถึงตีแสกหน้าอเมริกาชาติที่เข้ามาเป้นเจ้าอาณานิคมแล้วทิ้งร่องรอยเอาไว้มากมาย นี่คือหนังที่เหมาะเจาะไม่ว่าจะเอาไปศึกษาในฐานะหนังเมจิคัลเรียลลิซึม หรือหนังวิพากษ์อาณานิคม
6. JONAH WILL BE 25 AT THE YEAR 2000(ALAIN TANNER/1976/SWITZERLAND)
หนังเล็กๆที่ทั้งเสร้าสร้อยและเปี่ยมความหวังเรื่องนี้เล่าเรื่องของตัวละคร ผู้พ่ายแพ้จากการปฏิวัติในปี 68 และพยายามก่อร่างสร้างอะรไขึ้นมาอีกครั้งในห้วงเวลาสั้นๆอันสุกปลั่งแล้ว ค่อยๆเลือนจางลง หนังไม่ใช่การสำรวจภาคตัดขวางของอุดมการณ์งามหรู หากเป็นการติดตามชีวิตที่แท้ในเส้นทางของอุดมการณ์นั้น มันอาจเป็นการง่ายที่จะใส่เหตุการณ์หักเหเพื่อทำลายอุดมการณ์ลง แต่TANNER แสดงให้เราเห็นว่าอุดมการณ์ทั้งหลายไม่ได้ถูกทำลายลงอย่างฉับพลัน จุดจบของมันไม่ใช่ความล้มเหลวในการปฏิวัติ หากแต่เป็นการค่อยๆถูกบ่อนเซาะทำลายทีละน้อยจากระบบซึ่งยิ่งใหญ่กว่าหนัง ทุกตัวละครในหนังค่อยๆค้นพบว่าแรงเฉื่อยในจิตวิญญาณของเขาไม่อาจต้านขืนการ ผลักไป ของกระแสสังคมได้ ช่วงเวลาสุกสว่างของอุดมการณ์นั้นไม่เป็นนิรันดร์ มันเป็นเพียงแสงซึ่งสว่างวาบแล้วค่อยๆซีดจางลง
7. THE GLEANERS AND I (AGNES VARDA /2002/ FRANCE)
สารคดีสุดวิเศษที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่าไงม่น่าเชื่อ นี่คือสารคดีที่เริ่มต้นจากภาพวาดโบราณของพวกสาวรับจ้างเก็บเกี่ยว นำไปสู่ นักเก้บเกี่ยวร่วมสมัยที่มีตั้งแต่ชาวบ้านยากจนไปเก็บของเหลือตามตลาด หรือบรรดามันฝรั่งคัดทิ้งที่ถูกนำมาปล่อยให้เปื่อยเน่า ไปจนถึงนักวิชาการหนุ่มที่ตัดสินใจใช้ชีวิตด้วยการเก็บของเหลือกิน AGNES VARDA และดวงตาอันอ่อนโยนของเธอพาเราไปสำรวจหลากรูปแบบของมนุษย์ ภาพชีวิตของผู้คนถูกถ่ายทอดอย่างอ่อนโยนและให้เกียรติ ในขณะเดียวกันหนังก็มีประเด็นวิพากษ์อันแข็งแรงและคมคาย ป้าวาร์ดาขึ้นชื่อเรื่องการพกกล้องเป็นอวัยวะติดตัว และเธอแสดงประสิทธิภาพของมันในหนังเรื่องนี้ และในอีกสแงปีต่อมาเมื่อเธอกลับไปติดตามบรรดาผู้คนที่เคยอยู่ในหนังเรื่องนี้อีกครั้ง(ในภาค2) ซึ่งมันแสดงให้เห็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งคือป้าวาร์ดาไม่ใช่เพียงคนที่เอาประโยชน์จากผู้อื่น บรรดาผู้คนในหนังของเธอท้ายที่สุดค่อยๆกลายเป็นเพื่อนเธอไปจริงๆ ถ้าจะมีคนทำหนังที่เป้นมนุษย์นิยมอยู่สักคนบนโลกยี้ ป้าวาร์ดาคือคนคนนั้น
8. SINK OR SWIM (SU FRIEDRICH /1990 /US )
หนึ่งในหนังESSAY FILM ที่จับใจที่สุดที่เคยดูมาในชีวิต หนังใช้เสียงเล่าเรื่องของ ‘ฉัน’ และความสัมพันธ์ของฉันกับพ่อ โดยใช้ตัวหนังสือ A -Z แบ่งบท เล่าจาก Z ZYGOTE ขึ้นมาจนถึง A ภาพที่ใช้ มีทั้งฟุตเตจส่วนตัวของผู้กำกับเอง (SU FREIDRICH เป็นผกก.หนังทดลองหญิงชาว อเมริกัน เธอเป็นเลสเบี้ยน เป็นเฟมินิสต์ นิยมทำกนังจากภาพสามัญดาษดื่นทั่วไป ภาพของการเอากล้องไปถ่ายสิ่งต่างๆรอบๆตัว หรือผสมกับฟุตเตจเก่าทั้งของเธอเองและของคนอื่น) หนังใช้เสียงที่สัมพันธ์กับภาพไม่ใช่ในการเล่าเรื่อง แต่ในชิงอุปมาอุปไมย ภาพของการประกวดหญิงงาม (แบบโชว์กล้าม) ภาพเก่าๆของครอบครัว กระทั่งภาพของตัวเธอเอง ถูกนำมาใช้อุปมาอุปไมยถึงความสัมพันธ์ของเด็กหญิงที่ค่อยๆเติบโตขึ้นและห่าง เหินกับพ่อของเธอมากขึ้นทุกที หนังเศร้าและจับใจมากจนหลายๆตอนทำให้เรารู้สึกอยากร้องให้ ทั้งๆที่หนังไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเร้าอารมณ์เลย ชื่อเรื่องมาจากการที่พ่อสอนเธอว่ายน้ำ ถ้าไม่ว่ายก็ต้องจม ตอนหนังจบเรารู้สึกว่าเธอว่ายน้ำได้แล้ว แต่เธอจะไม่ว่ายกลับมาที่เดิมอีก
9. BONES (PEDRO COSTA/1997/PORTUGAL )
หนังเป็นเสมือนสารคดีซึ่งจับจ้องมองชีวิตความเป็นไปของคนในชุมชนอย่างอืด เนือย ขณะเดียวกันCOSTA ก็สร้างบทขึ้น และซักซ้อมกับนักแสดงของเขาอย่างแน่นหนา กล่าวโดยง่ายคือหนังของเขานั้นเป็นหนังมีเรื่องเล่า หากอาศัยภาวะแวดล้อมของการถ่ายทำเยี่ยงสารคดี และดวงตาแหลมคมในการเลือกใช้ภาพทั้งมุมกล้อง แสง เสียงประกอบไปจนถึงเรื่องสำคัญที่สุดคือจังหวะเวลาและการเคลื่อนไหวบนจอ ภาพยนตร์ การจับจ้องไปในชีวิตของคนทุกข์อาจทำได้ง่ายได้ผ่านเรื่องเล่าทรงพลังเร้า อารมณ์ การใช้เทคนิคทางภาพยนตร์บีบคั้น หากในหนังCOSTA เขากลับเลือกใช้วิธีให้คนดูจับจ้องมองเหตุการณ์ที่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราอาจจ้องมองเด็กสาวสูบบุหรี่ เหม่อลอย ทำงานบ้านซ้ำๆ หนังถ่ายทำทั้งหมดโดยใช้แสงจริงในชุมชน ผลทีได้คือภาพชีวิตในหมู่บ้านผู้อพยพนั้นมืดหม่น ตลอดเวลา หนังตัดทอนเหตุการณ์ที่ไม่จำเป็นทั้งหมดออก และคงไว้เพียงเฉพาะเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆ ที่ดูเหมือนไม่สำคัญแต่สำคัญจนขาดไม่ได้ หากเรามุ่งคว้าจับรายละเอียดเชิงลึกของชีวิต ภาพการนิ่งเฉย ความเหม่อมอง สรรพสิ่งในความมืด เสียงจากสิ่งอื่น การจับจ้องความครุ่นคิดหรือเหม่อลอย ทิ้งร่องรอยบางๆให้คนดูต้องคิดต่อว่าเหตุการ์ณใดนำไปสู่เหตุการณืใด และมันจะดำเนินไปทางไหน หนังเต็มไปด้วยร่องรอยเว้าแหว่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละตัวละคร ภาพของความมืด ความสกปรกตามผนัง ทางเดินเล็กแคบ และเสียงที่เราจะได้ยินเสมอไม่ว่าอยู่ที่ไหน สิ่งนี้เด่นชัด(อย่างคลุมเครือ) อยู่ในหนัง ซึ่งเป็นเหมือนการจ้องมองที่เราสัมผัสได้ แต่จะไม่มีวันเข้าใจตลอดกาล
10. THE MOUTH AGAPE (MAURICE PIALAT/1976/FR)
เป็นการยากยิ่งที่จะเขียนถึงหนังของ MAURICE PIALAT เพราะสำหรับหนังบางเรื่องที่เป็นวรรณกรรมมากๆเราอาจย่อยมันออกมาเป็นตัว หนังสือได้ไม่ยาก พอๆกับหนังที่เป็นชุดรูปแบบของสัญลักษณืเราก็เขียนโดยเพริดไปกับการตีความ พลิกแพลงครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สำหรับหนังที่เป็นหนังจริงๆ หนังที่ถูกออกแบบมาให้เป็นประดิษฐกรรมภาพเคลื่อนไหว หนังเล่านี้ชกเราด้วยหมัดตรงๆ ทำให้เราจุกจนพูดไม่ออก และยากที่จะ มันไม่ได้มีหรอก มนุษย์ผู้ขาววสะอาด หรือมนุษย์ที่ดำมืด มีแต่มนุษย์ที่รายรอบด้วยเหตุการณ์ต่างซึ่งก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความดีกับความชั่ว และที่สำคัญที่สุดมันไม่ได้ร้อยเรียงอย่างเป็นระบบขั้นตอนแบบที่เราเห็นกันในหนังเลยแม้แต่น้อย เหตุการณ์หนึ่งในชีวิต อาจถูกคั่นด้วยเหตุการณ์ไร้เหตุผลอีกจำนวนหนึ่ง และตามต่อด้วยชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน มนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ในห้วงเวลาระนาบเดียวแบบเวลาของภาพยนตร์ หากอยู่ในระนาบเวลาซึ่งซ้อนทับกองก่าย เมื่อเขาหรือเธอทำสิ่งหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลกันแบบลูกโว่ และ PIALAT บันทึกสิ่งนี้ด้วยการตัดต่อเรียงร้อยฉากต่างๆในหนังออกมา
11. LA MONDE VIVANT (EUGENE GREEN/2003/FR)
เราอาจพูดได้เลยว่านี่เป็นหนังโง่ๆ เพราะมันไม่สิ่งใดถูกตกแต่งฉาบเคลือบ เพื่อให้เกิด ‘ความสมจริง’ ซึ่งในทางหนึ่งความสมจริงนี้เองที่ผลักให้เรื่องเล่าทำเนียนเป็นเรื่องจริงได้ คนดูพร้อมจะเชื่อเรื่องจริงในหนัง(ซึ่งอาจไม่เหมือนความจริง) ขอแค่มันอยู่ในร่องในรอยของความสมจริง และสิ่งนั้นถูกรื้อทำลายทิ้งในหนังเรื่องนี้ ด้วยกลวิธีอันร้ายกาจนั่นคือการกลับไปเป็นเด็ก กลับไปทำเสมือนเด็กๆเล่นละครในตอนบ่ายวันหยุดฤดูร้อน สมมติตัวเองเป็นเจ้าหญิงเจ้าชาย ฝันกันเอาเองว่าเหาะได้ มีดาบวิเศษ และต่อสู้กับเหล่าร้าย วธีการที่ดูเหมือนเพ้อฝันที่สุด ในที่สุดได้ปอกลอกเอาสิ่งที่ซ้อนอยู่ในผ้าคลุมของเรื่องเล่ามาคลี่ให้เราเห็นได้อย่างน่าทึ่ง
12. PLATFORM (JIA ZHANG KE /2000/ CHINA)
เจี่ยจางเคอะพาเราทัวร์จีนผานการจับจ้องมองห้วงเวลาอันยาวนานของคณะละคร ซึ่งเริ่มต้นในยุคเหมา เคลื่อนคล้อยยาวนานไปจนจีนเปิดประเทศ หนังจพลองภาพของประชาชนคนตัวเล็กภายใต้การเปลี่ยนแปลงนี้อย่างแหลมคมผ่านชะตาชีวิตของชาวคณะ ตั้งแต่ร้องเต้นเล่นละครสรรญเสริญประธานเหมาในยุคต้น จนกลายเป็นวงดนตรีร๊อคง่อยๆที่เดินสายไปยังหมู่บเนห่างไกล หนังมีทั้งคนที่กลายไปเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ คู่รักที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐจับตา ฝาแผดที่ต้องขายตัวแลกการตั้งเวที หนังจับตาจีนใหม่ได้แม่นมั่น เจ็บปวดยิ่งร้าวรานยิ่ง และท้องหมดทั้งมวลไม่มีฉากโคลสอัพแต่อย่างใด หนังตั้งกล้องแบบมาสเตอร์ชอตจากระยะไกล แล้วกวาดสายตาจับจ้องตลอดเรื่อง ภาพอันห่างเหิน ตัวละครในทัศนียภาพที่กดข่ม การดิ้นรนที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฉากจบของหนังอาจจะเรียกได้ว่าปรานีปราศรัยที่สุดเท่าที่จะให้ได้ เจี่ยประกาศว่าเขาได้วิธีการวางกล้องมาจาก โหวเชี่ยวเฉียน และเขานำมันมาใช้อย่างน่าทึ่ง
โดยไม่ต้องสงสัยนี่คือมาสเตอร์พีซของแท้แน่นอน
13. CHOCOLAT (CLAIRE DENIS /1988/FRANCE)
ภาพยนตร์เรื่องแรกของ Claire Denis ที่เป็นเหมือนกึ่งอัตชีวประวัติในวัยเด็กของเธอ หนังเล่าเรื่องเด็กหญิงตัวเล็กๆลูกสาวของท่านทูตที่ประจำการในแอฟริกา และความสัมันธ์ของเธอกับทาสผิวสีที่คอยรับใช้เธอ เมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ของเธอ CHOCOLAT อาจดูง่ายที่สุด ตรงไปตรงมาที่สุด หากนี่คือหนังที่ประจุไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวของการไม่มีวันเข้ากันได้ระหว่างเจ้าอาณานิคมกับคนพื้นเมืองแม้จะเป็นเพียงความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลที่บริสทธิ์สักปานใด ในขณะที่พลังในการวิพากษ์ความเป็นเจ้าอาณานิคมก็เข้มข้น คมคายลึกซึ้งอย่างยิ่ง
14. HOUSE (NOBUHIKO OBAYASHI/1977/JAPAN)
ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนคือนิยามที่เราอาจจะพอบอกได้เวลาเราพูดถึงหนังเรื่องนี้ เพราะ HOUSE เป็นส่วนผสมของหนังกึ่งการ์ตูน ที่เป็นเสมือนการปะทะสังสรรค์ของการ์ตูนสยองขวัญแบบ อุเมซึ คาสึโอ กับการ์ตูนตาหวาน ( แบบเจ้าสาวซาตาน) และอิทธิพลจากหนังผีโบราณของญี่ปุ่นที่เน้นการเขียนฉาก จัดวางองค์ประกอบศิลป์อันมลังเมลือง (ลองนึกถึงหนังแบบKWAIDAN) การประสมกลมกลืนอันอิหลักอิเหลื่อ และตามใจตนเอง อย่างยิ่งนี้ อาจไม่ได้ให้ผลที่เป็นขั้นสุดยอด แต่กลับสร้างรสชาติแปลกประหลาดแปร่งเพี้ยน ฉิบหายวายป่สง หัวร่องอหาย กระทั่งตกอกตกใจ ถึงขั้นรำพึงว่า คิดได้ยังไง ชนิดที่ไม่อาจหาพบได้ง่ายนักทั้งจากหนังญี่ปุ่นร่วมยุค หรือกระทั่งในยุคปัจจุบัน ก็ตาม
15. HEREMIAS BOOK1 + BOOK2 –on progress(LAV DIAZ /2006/ PHILIPPINES)
กล่าวตามสัตย์หนังของ Lav Diaz ที่ได้ดูในปีนี้ล้วนติดอันดับหนังแห่งปีทุกเรื่อง เรื่องนี้ก็ด้วย หนังยาวเก้าชั่วโมงเรื่องนี้อาจเล่าเรื่องง่ายๆของการเดินทางของชายอาภัพนาม HEREMIAS คนทุกข์ที่เร่ร่อนไปพบว่าโลกนี้มันต่ำช้าเสียทั้งหมดทั้งมวล ความหวังอันทึ่มทื่อ ความดีงามอันหรุบรู่ของเขาต้องปะทะกับแรงขับจากพลังคอรัปชั่นกินเมือง จนมิพักจะช่วยเหลือใคร แค่ตัวเองก็อาจเอาตัวไม่รอด Lav ละเว้นเรื่องเล่าปูมหลังทั้งหมดไว้เหลือแต่เรื่องราวเปลือยเปล่าและการลอบสังเกตชีวิต ซึ่งทำได้อย่างน่าทึ่ง ใครจะลืมฉษกคนเมายาที่เป็นLONGSHOT ยาวหนึ่งชั่วโมงลงไปได้! มากไปกว่านั้น ใน BOOK 2 Lav กลับไปย้อนเล่าชีวิตของHEREMIAS ในวัยเด็ก หากกระจัดกระจายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนกลายเป็นหนังที่อาจดูไม่รู้เรื่องที่สุด แต่ทรงพลังที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
16. MESSIDOR (ALAIN TANNER/1979 /SWITZERLAND)
MESSIDOR เล่าเรื่องของสาวสองชนชั้น คนหนึ่งเป็นนักศึกษาสาว อีกคนเป็นสาวโรงงานทั้งคู่พบกันระหว่างการโบกรถและตัดสินใจจะเดินทางไกลไป เที่ยวบ้านของเด็กสาวโรงงาน แต่ยิ่งใกล้บ้านเจ้าตัวก็ยิ่งไม่อยากกลับไป ทั้งคู่จึงลงเอยด้วยการเล่นเกมง่ายๆด้วยการเดินทางต่อไปเรี่อยๆ ให้ไกลที่สุดจากเงินเท่าที่เหลืออยู่ หนังตั้งคำถามว่า การมีชีวิตอยู่โดยปราศจากเงินจะเป็นอย่างไร ยิ่งเราเห็นการดิ้นรนของเด็กสาว (ซึ่งเป็นคล้ายตัวแทนจิตวิญญาณเสรีที่เพียงอยากจะท่องไป โดยปฏิเสธทุกค่านิยมทางสังคม รวมถึงการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา) เรายิ่งพบว่าระบบการแลกเปลี่ยนโดยอาศัยเงินเป็นเครื่องมือ ได้กลายเป็นระบบ(ที่มนุษย์สร้างขึ้น)แต่ค่อยๆครอบงำมนุษย์ไปเสียแล้ว หนังติดตามเด็กสาวทั้งสองคนไปเรื่อยๆ หนังแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าในการที่พวกเธอค่อยๆทำลายตนเอง ไม่ใช่ระบบสังคมเพียงอย่างเดียว หากมันคือแรงเฉื่อยทางจิตวิญญาณของพวกเธอที่ค่อยๆหน่วงลง
17. FEW OF US ( SHARUNAS BARTAS/1996 )
FEW OF US มีความตั้งใจเพียงพาเรากลับไปยังคุณสมบัติขั้นต้นของภาพยนตร์นั่นคือ ‘การจ้องมอง’ BARTAS ไม่ได้ทำหน้าที่สร้างเรื่องเล่าเพื่อหันเหผู้คนจากการจ้องมองไปสู่การดู เรื่องเล่าในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวอีกต่อไป เขาเปลี่ยนทางให้ผู้คนจ้องมองเพียงอย่างเดียว การแสวงหาเรื่องเล่าเป็นหน้าที่ของจินตนาการที่จะค่อยๆต่อเติมส่วนที่ขาดหาย ไป กล่าวตามตรงกับการรับรู้(จ้องมอง) สิ่งของ ผู้คน เรื่องราวต่างๆในชีวิต ใช่หรอืไม่ที่ทั้งหมดไม่ได้ถูกร้อยเรียงตรงหน้า หากมันถูกเชื่อต่อด้วยข้อต่อในหัวเราที่ชื่อจินตนาการ
18. อีพริ้ง คนเริงเมือง (เริงศิริ ลิมอักษร /2523 /ไทย)
หนังไทยด่าไฟแลบเรื่องนี้อาจดูน้ำเน่าน่ารังเกียจ ยิ่งหนังเล่าเรื่องนางหญิงมากผัวตัวแสบที่พ่นคำผรุสวาทเป็นไฟ ใจยักษ์ ยิ่งทำให้ผู้ชมจำพวกเคร่งศีลธรรมเกิดอาการปรี๊ดแตกกับความแรด แรง ร่าน ของอีพริ้งได้อักโขวิยะดา อุมารินทร์เล่นหนังเรื่องนี้ได้บาดจิตจนไม่แปลกใจที่เธอจะเป็นที่จดจำจากบทนี้จนถึงวันนี้ หนังเต็มไปด้วยบทสนทนาด่าทอระดับฮาร์ดคอร์ชนิดแม่ค้ายังอายจนกลายเป็นที่เลื่องลือจนถึงวันนี้ (ในแง่ที่ว่านี่คือหนึ่งในหนังที่มีบทสนทนาแรงที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศษสตร์หนังไทย) หนังเริ่มต้นจากการเป็นละครทีวีก่อนจะกลายเป็นหนังใหญ่ในปีต่อมา และถ้าเข้าใจไม่ผิดหนังมีการรีเมคแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แม้ตัวหนังจะไม่ได้มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าตัวเรื่องและการแสดง แต่เมื่อพิจารณาว่านี่คือหนังที่ยาวสองชั่วโมงต้นๆ เราพบว่านี่คือหนังที่เล่าเรื่องได้สนุกสนานมาก เสียดายที่หนังถูกจัดประเภทเป็นหนังน้ำเน่าแย่งผู้ชาย จนทำให้บริบทอื่นๆของหนังลดความสำคัญลงไป เพราะหากวิเคราะห์ดูในอีกทางหนึ่งเป็นไปได้เหลือเกินที่อีพริ้งและผัวทั้งเจ็ดของเธอที่แท้อาจคือแบบจำลองความสัมพันธ์ของประชาชนกับรัฐไทย หลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ในรูปรอยเดียวกับ THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN ของFASSBINDER
19. KILLED THE FAMILY AND WENT TO CINEMA(Julio Bressane/1969/Brazil)
พลอตก็ตามเรื่องเลย นี่คือหนังที่ว่าด้วยการ ฆ่าครอบครัวให้หมดแล้วไปดูหนัง! ฟังดูพิลึกพิลั่นผิดศีลธรรมขั้นร้าย แต่ขอบอกว่านี่มันแค่พลอต เพราะจริงๆหนังเรื่องนี้แทบจะไม่มีอะไรอธิบายได้โดยง่ายอีกต่อไป นี่คือผลผลิตของกลุ่ม CINEMA MARGINAL คนทำหนังในบราซิล ที่ทำหนังออกมาเพื่อต่อต้านทุกกรอบกฏเกณฑ์ หนังเรื่องนี้ใช้นักแสดงแค่สามคนวนเวียนกันรับบทเดิมไปมา ไม่มีความปะติดปะต่อเชื่อมโยง คนหนุ่มเชือดพ่อแม่ด้วยมีดโกนแล้วไปโรงหนัง สาวเลสเบี้ยนที่พอแม่รู้ความจริงก็ฆ่าแม่ตัวเอง ตัดสลับกับเรื่องการทรมานนักโทษการเมืองและเพื่อนสาวที่พูดคุยเรื่องหนังลงเอยด้วยการฆาตกรรมกันและกัน! ความคาดเดาไม่ได้ ความกวัดไกวไปมาระกว่างหนังเสียดสีขั้นสุดกับหนังของคนทำหนังไม่เป็น รสชาติเพี้ยนพิลึกแบบที่เราจะไม่เคยได้รับจากที่ไหนมาก่อน อย่ามาถามหาศีลธรรมเสียให้ยาก แล้วก็อย่าสั่งสอนริจะแบนหนังเรื่องนี้ ไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะเอาไปทำตาม เพราะจะว่าไปแล้ว คงไม่มีเด็กหน้าไหนทนความพิศวงงงวยของหนังได้เกินสิบนาทีแรกหรอก ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่นี่คือหนังที่เรายึดจับอะไรมได้อีกต่อไป และทำลายความเป็นหนังที่เราคุ้นเคย(ถ้าจะบอกว่าหนังแบบครอบครัวก็คงได้)ลงไม่มีชิ้นดี
20. STILL LIFE (SOHRAB SHAHID SALLES)
นหนังเรื่องนี้ SALESS จับจ้องดูชีวิตของคนงานการรถไฟวัยชรา ที่ทำงานมาทั้งชีวิตเพื่อจะไม่เหลืออะไรไว้เลย หนังฉายภาพสามัญในช่วงชีวิตแต่ละวันของสองผัวเมียที่อยู่ด้วยกันมานานจนไม่ เลืออะไรให้พูดกันอีก พวกเขาตื่นขึ้น ต่างคนต่างทำกิจวัตรของตนเอง เหลือเรื่องให้พูดคุยกันไม่มาก เรื่องของน้ำตาล ในน้ำชา เรื่องของผ้าคลุมหน้าผืนใหม่ เรื่องความขี้ลืมของเขา หรือเรื่องทางรถไฟจะโดนน้ำท่วม พวกเขาพูดซ้ำๆ เดินช้าๆ หนังทิ้งคนดูไว้กับภาพเหล่านี้ยาวนานจนเราค่อยๆจมลงในชีวิตซึ่งเป็นดั่งภาพ นิ่งของคนทั้งคู่บนพื้นที่ชื้นแฉะมีน้ำจัง ต้นไม้แห้งตายซาก ป้อมยามเก่าๆสกปรก ห้องเปิดโล่งที่สีหลุดล่อน ชีวิตของพวกเขาดำเนินไปเช่นนั้นราวกับมันวนอยู่บนเส้นเกลียวของนิรันดร์ กาล จนกระทั่งไม่ว่าใครก็ตาม(นอกเหนือจากขบวนรถไฟไร้นามที่วิ่งผ่านไปตลอดเรื่อง ) ล้วนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มาเคลื่อนไหวในภาพนิ่งนี้ หากภายใต้ภาพฉายอันนิ่งงันนี้ SALESS จำลองโลกของคนตัวเล็กซึ่งดูเหมือนตัดขาดจากสรรพสิ่งแล้ว แต่แท้ที่จริงกลับยังคงมี ‘มือที่มองไม่เห็น’ทั้งในรูปแบบของรัฐ (การรถไฟ) และเอกชน(คนซื้อพรม) มาคอยกำกับชักใยทำได้กระทั่งลบชื่อพวกเขาออกจากตำแหน่งแห่งที่ปลายขอบโลกอันกันดารนี้
21. INPRAISE OF LOVE (JEAN LUC GODARD /2001 /FRANCE)
นี่คือหนังที่สวยงามและแสนพิศวงของJEAN LUC GODARD หนังซึ่งประกอบด้วยสองส่วน หนึ่งคือภาพขาวดำอันสวยงามตัดกับภาพวีดีโออิ่มสีจนไหลเยิ้มซึมลงบนเนื้อเซลลูลอยด์ เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย กระทั่งจดจำเนื้อหาของเรื่อง กล่าวให้รวบรัดที่สุด มันว่าด้วยชายผู้หนึ่งที่อยากจะหานักแสดงมาทำหนังรักที่มีสามคู่ อันว่าด้วย คู่รักสามคู่ หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ วัยชรา และพูดถึงสี่องค์ของความรักที่ประกอบด้วย การพบพาน ความปรารถนาทางกาย การพลัดพราก และการหวนคืนมาใหม่ พลอตคร่าวๆอาจมีเท่านี้ แต่โกดาร์ดกลับย้อนทวนสวนความหมายรื้อสร้างทุกองค์ประกอบของภาพ บทสนทาบังเกิดซ้ำ ผู้คนต่างกรรมต่างวาระ ปรัชญา การเมือง ประวัติศาสตร์ และความรักหลากไหลอยู่ในหนังอันงดงามเหมือนบทกวี ซึ่งเราคงเล่าอะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้ เพราะนี่คือหนังอันแปลกหระหลาด ซึ่งเรื่องราวจะเจือจางลงไปอย่างรวดเร็ว หากความรู้สึกกลับเข้มข้นขึ้นเป็นทวีคูณหลังจากหนังจบลง
22. MANILA : IN THE CLAWN OF NEON (LINO BROCKA /1975 / PHILIPPINES)
หนังเพื่อชีวิตพันธุ์แท้จากฟิลิปปินส์ โดยฝีมือของผู้กำกับคนสำคัญ LINO BROCKA หนังเล่าเรื่องทื่อๆของไอ้หนุ่มที่มาตามหาคนรักในเมืองลงเอยด้วยการเป็นคนงานก่อสร้างที่ถูกกดค่าแรงแถมตายไปก็ไม่มีใครดูดดำดูดี ไม่เกินคาดเดาหนังเพื่อชีวิตเรื่องนี้ถ่ายทอดความทุกข์ยากของผู้คนออกมาอย่างตรงไปตรงมาแทบทึ่มทื่อ เร้าอารมณ์กันอย่างไม่ปิดบัง แต่ในอีกทางหนึ่งมันก็คว้าจับเอาภาพสังคมข้นแค้นออกมาเล่าได้อย่างถึงเลือกดถึงเนื้อ ภาพฝันอันลอยลับ การคอรัปชั่นที่ซึมถึงราก ความล่มสลายของคนเล็กคนน้อย ถูกเล่าอย่างทรงพลังในหนังเรื่องนี้จนเราไม่อาจมองข้ามมันได้
23. TICKET OF NO RETURN (ULRIKE OTTINGER/1979 /GERMAN)
หนังพิสดารพันลึกจองคุณป้า ULRIKE OTTINGER ที่พาเราไปร่วมผจญภัยกับหญิงสาวที่ตีตั๋วเที่ยวไปเยอรมันเพื่อ ดื่มให้ลืมเธอชนิดที่จะไม่ดลับมาอีกแล้ว พลอตเรื่องน่ะมีแค่นี้ ที่เหลือเป็นภาพ และเสียงสุดพิสดารของบรรดาสาวๆที่เหมือนมาจากนอกโลก ทั้งเมาทั้งเพี้ยน แต่งตัวประหลาดโลก ร้องรำทำเพลงกันอย่างบ้าคลั่ง ล่องไหลไปในงานภาพบ้าบอคอแตก และตัวละครเฮี้ยนเพี้ยนเพ้อคลั่ง แต่กระนั้นก็ดี หนังกลับแสดงภาพความทุกข์แห่งเธอออกมาได้อย่างน่าทึ่ง อันนี้เขาเรียก เปรี้ยวเยี่ยวราดแต่บาดลึก!
24. EVDOKIA (ALEXIS DAMIANOS/1971/GREECE)
หนังกรีซจากยุค เจ็ดสิบที่เล่าเรื่องรักของหญิงโสภณีประจำเกาะ กับนายทหารหนุ่มจากแดนไกล เขาและเธอพบกัน ตกหลุมรักกัน ตัดสินใจแต่งงานกัน ต่างคนต่างมอดไหม้ด้วยไฟรัก ไฟปรารถนา ภายใต้แรงกดของสังคมที่ยังเห็นเธอเป็นเพียงหญิงคนเที่ยวกระทั่งทุกสิ่งดำเนินไปสู่โศกนาฏกรรมที่ไม่คาดเดาได้ไม่ยาก พลอตเรื่องนั้นอาจฟังน้ำเน่าแต่นี่คือหนังที่รุนแรงในทุกอณูของเนื้อหนังตั้งแต่การแสดงแบบระเบิดอารมณ์ไม่ยั้ง ไปถึงการตัดต่อที่แทรกฉากประหลาดซ้อนเข้ามาตลอดเวลา หรือกระทั่งพฤติการณ์ตัวละครที่คาดเดาไม่ได้และคลั่งบ้า ถ้าคุณชอบหนังของฟาสบินเดอร์ นี่คือหนังของคุณ !
25. THE SALAMANDER (ALAIN TANNER /1971 /SWITZERLAND)
THE SALAMANDER เล่าเรื่องสองหนุ่มที่จะเอาข่าวฉาวเก่าๆมาแปลงให้เป้นบทหนัง ข่าว่าด้วยตาเฒ่าที่ทำปืนลั่นใส่ตัวเอง แต่บอกว่าหลานสาวจอมแรดเป็นคนทำ พวกเขาเริ่มต้นจากหลานสาวแล้วค่อยๆค้นพบความแตกต่างของเรื่องจริงกับเรื่องเล่า มากไปกว่านั้น ความแตกต่างของเรื่อง กับ ชีวิตจริงๆ ประเด็นหลักของหนังอาจอยู่ที่การวิพากษ์โลกทุนนิยมที่มองมนุษยืเป็นหนึ่งหน่วยผลิต และความรู้สึกแปลกแยกจากงานที่ทำของชนชั้นแรงงาน การขบถขืนต้านอย่าเศร้าๆซึ่งหนังจบลงอย่างให้ความหวัง ขณะเดียวกันยังซ่อนประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าและความเป็นจริง เมื่อชีวิตจริงของหญิงชนชั้นแรงงานได้ทำลายทั้งชิ้นส่วนข้อเท็จจริง และงานฝันวรรณกรรมของปัญญาชนทั้งสองลงอย่างราบคาบ ชีวิตจริงนั้นหลากหลายซับซ้อนที่พวกเขาไม่อาจเอามาเขียนเป็นเรื่องเล่าได้ง่ายๆอีกต่อไป
26. DEATH BY HANGING (NAGISA OSHIMA/1968/JAPAN)
นาย อาร์.ผู้ต้องหาคดีฆ่าข่มขืนหญิงสาวสองราย เด็กหนุ่มชาวเกาหลีขี้ครอกถูกตัดสินโทษประหารด้วยการแขวนคอทุกอย่างเป้นไปตามหมายกำหนดการเย่าเรียบร้อยผิดก็แต่ว่านายอาร์ ไม่ได้ตกตายในเวลาที่กำหนด ! ภายใต้รูปแบบของหนังที่แกว่งไปกว่งมาจากหนังสารคดี ไปจนถึงหนังเหนือจริง หนังตั้งหน้าตั้งตาวิพากษ์ประเด็นหนักๆอย่างถึงลูกถึงคน โดยหนังเริ่มต้นจากประเด็นสากลอย่างเช่น เมื่อเราไม่สามารถจดจำตัวตนของเราได้เรายังเป็นเราอยู่หรือไม่ เรายังจำต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ร่างกายของเรา (หรือจิตวิญญาณเก่า)ของเราทำไว้หรือไม่ ความผิดบาปของมนุษย์นั้นยึดติดพ่วงผูกอยู่กับร่างกายที่มองเห็นได้ หรือติดอยู่กับวิญญาณซึ่งเป็นสิ่งนามธรรมที่มองไม่เห็น
27. GUNGA JAMUNA(NITHIN BOSE/ 1961/INDIA)
ปีนี้ได้ดูหนังบอลลีวู้ดชั้นเลิศมากมายจนสามารถแยกเขียนเป็นลิสต์ได้ต่างหากแต่ถ้าต้องเลือกสักเรื่องก็ขอเลือกเรื่องนี้ หนังว่าด้วยสองพี่น้องที่คนหนึ่งเป็นตำรวจคนหนึ่งเป็นโจร แล้วต้องกลับมาห้ำหั่นกัน หนังเล่นใหญ่ประสาบอลลีวู้ดเต็มที่ เรื่องราวเล่าอารมณ์ ประกอบเพลงไพเราะและการร้องเต้นสุดอลังการ หนังเข้มข้นด้วยการต่อสู้ของชาวนากับนายทุนที่ดิน ในขณะเดียวกันก็เล่าเรื่องอย่างมาดมั่น นี่คือหนังที่ให้อารมณืแบบหนังรุ่นเก่า สนุก ซาบซึ้งโศกเศร้า ด้วยวอารมณ์ที่โหมกว่าระดับปกติหลายเท่า ซึ่งอาจจะทำกันเกร่อแต่ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะให้ผลมากมายขนาดนี้
28. LONG WEEKEND (COLIN EGGLESTON/1978/AUSTRALIA)
หนัง ออสเตรเลียสุดระทึกที่เพิ่งเอามารีเมคใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องนี้เล่าเรื่องของคู่รักที่กำลังระหองระแหงเดินทางไกลหมายจะใช้วันหยุด สนสุขริมหาดลึกลับ ฝ่ายชายชอบแดดจ้าท้าลม ฝ่ายหญิงใจจริงกลับอยากนอนโรงแรมหรูมากกว่า แต่ข้อโต้แย้งของพวกเขาก็ตกไปเมื่อเขาเริ่มรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามจากนกหนู ปูปลาในบริเวณนั้น กระทั่งเขาพบซากปลาโลมาตายที่เคลื่อนที่เข้ามาหาพวกเขาทุกที รถตู้ร้างริมหาด และนกที่จ้องทำร้ายอย่างไร้เหตุผล ความสัมพันธ์กลัดหนองก็ยิ่งอักเสบปริแตกออกมาทุกทีๆ บางทีอาจเป็นไปได้ว่าธรรมชาติละเล่นตลกและย้อนกลับมาไล่ฆ่าพวกเขาเยี่ยง ฆาตกรโรคจิต หนังกดดันคนดูด้วยการคุกคามจากธรรมชาติรอบตัวอย่างทรงพลัง หนังเริ่มด้วยฉากการคุกคามธรรมชาติจากน้มือของคนทั้งคู่ การกางเตนท์ท่องเที่ยว การฉีดสเปรย์ไล่แมลง การฆ่าสัตว์ หรือโค่นต้นไม้อย่างไร้เหตุไร้ผล ทั้งหมดนำมาซึ่งการโต้คืนอย่างสาสม เนื่องจากหนังมาจากยุคเจ็ดสิบ เราจึงไม่ได้เห็นซีจี หรือเทคนิคพิเศษง่อยๆ ความสะพรึงทั้งหมด มาจากภาพ ดนตรีประกอบ บทสนทนา จังหวะการเล่า การดึงเอาพลังมืดของต้นไม้ นก ป่า ทะเล ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่หนังเรื่องนี้ทำให้การท่องเที่ยววันหยุดกลายเป็นนรกโดยไม่ต้องพึ่งการฆ่าโหดเลือดสาดเลยแม้แต่ฉากเดียว
29. TRAINS OF SHADOWS (JOSE LUIS GURIN /1997/ SPAIN)
นี่คือหนังของผู้กำกับ IN THE CITY OF SYLVIA ซึ่งเขาประกอบสร้างขึ้นจากภาพฟุตเตจถ่ายเล่นที่เขาบังเอิญพบ โดยนำมันมาฉษยซ้ำ จากนั้นขยับไปหาสถานที่ซึ่งเคยเป็นฉากหลังเหตุการ์ณ์ ภ่ายภาพอาคารสถานที่อันเงียบใบ้ ก่อนทรี่องค์สุดท้ายเขาจะสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่จากจินตนาการล้วนๆ ภาพฟุตเตจเก่าถูกว่อนความรักลับๆที่ไม่อาจเอื้อนนเอ่ย ทั้งหมดอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่นี่คือพลังอันสวยงามของจินตนาการซึ่งมีการมองเป็นองค์ประกอบสำคัญ หนังหนักหนากว่า SYLVIA หลายเท่าเพราะปราศจากบทสนทนาโดยสิ้นเชิงมีเพียงการมอง การลอบมอง การมองหาส่วนเชื่อมโยงและการสร้างความเชื่อมโยงขึ้นมาใหม่ นี่คือการสร้างหนังจากหนัง และเป็นเรื่องวงในที่ผลิดอกออกผลได้เฉพาะกับสือภาพยนตร์เท่านั้น
30.แม่นาคพระขโนง(ฉบับหนังเงียบ) (ไม่ทราบผู้สร้าง/ปีที่ฉาย)
ขอขอบคุณ คุณ มานัสศักดิ์ ดอกไม้ แห่งหอภาพยนตร์ที่แนะนำให้ดูหนังเรื่องนี้ นี่คือแม่นาคพระโนงต้นฉบับของแท้ ตัวหนังนั้นเป้นหนังเงียบยุคก่อนสงครามโลก และว่ากันว่าเป็นต้นแบบของแม่นาคฉบับของสเน่ห์โกมารชุน ในอีกหลายปีต่อมา หนังถ่ายอย่างง่ายจนคล้ายเป็นการคว้าจับภาพสังคมไทยในสมัยนั้นได้อย่าน่าตื่นตะลึง และในฉากผีแม่นาคนั้นหนังก็ทำเพียงห่อผ้าขาวทั้งตัว ใส่หน้ากากผีแล้วยืนอยู่ไกลๆใต้แสงสลัวขอลอดผ่านต้นไม้ใหย๋ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ขนลุกกรูเกรียวแล้ว นี่คือหนึ่งในหนังที่ต้องจดจำไว้ว่ามีบุญแค่ไหนที่ได้ดูมัน (ท่านที่อยากดู ไปดูได้ที่หอภาพยนตร์ครับ )
SHORT FILMS
1.ของเหลวที่หลั่งจากกาย (รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค /2552)
2. TIME WITHIN TIME (MENNO OTTEN/2009/NETHERLANDS)
3. NOW SHOWING (นิติพงศ์ ถิ่นทัพไทย/2009/ไทย)
4. ALL MOUNTAINS ARE LOOK ALIKE(CHRISTELLE LHEUREUX/2008/FRANCE)
5. LETTER TO UNCLE BOONME(APICHATPONG WEERASETHAKUL/2009/THAI)
6.กู่ก้องบอกรักนิรันดร/เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง
7.มธุรส (ธณัชชัย บรรดาศักดิ์)
8.กระเป๋านักเรียนของหงสา (ศุกโมกข์ ศิลารักษ์ /2008/ไทย)
9. กาลนิรันดร์/อิสระ บุญประสิทธิ์
10. FOUR SEASON (KEREN CYTTER /2009/GERMANY)
11.ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้นหายตัวไป (เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง)
12.หนังสั้นสีขาว (ชั่วแสงเทียน) ปราบต์ บุนปาน
13.FEATHER STARE AT THE DARK (NAOYUKI TSUJI/2003/JAPAN)
14.THE HANGMAN( LES GOLDMAN+PAUL JULIAN / 1964 / USA )
15. Turbulent (Shirin Neshat /1998/Iran)
16.แมวสามสี (นฆ ปักษนาวิน)
17.ต้อม/ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์/
18. There/รัชกร โพธิโต
19. FRANCAIS (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์)
20.Old Haert (อโนชา สุวิชากรพงษ์)
21.ดุ๊กดิ๊ก/ณัฏฐา หอมทรัพย์
22. BEYOND SIGHT (นิสมน )
ALBUM OF THE YEAR
สิ่งที่ดีที่สุดในรักสามเศร้าของยุดเลิศ คือเสื้อยืด ‘กูฟังเพลงไทย’เพราะถูฏต้องแล้วกูนี้แหละฟังเพลงไทไม่มีตก สิ้นปีแล้วมาทำอัลบั้มแห่งปีกันดีกว่า
เดี๋ยวนี้มนุษย์มักหูพิการ ฟังเพลงมักง่ายมักโหลด โหลดเอามาแต่เพลงที่ชอบ ยอดขายซีดีก็ร่วงเพลงก็รุ่งริ่ง คอนเซปต์อัลบั้มอย่าได้หวังทำ ฉะนั้นเราขอสนับสนุนการซื้อซีดีมาลูบคลำพลิกคว่ำพลิกหงายดูเนื้อเพลง ซึ่งหมายความว่าต้องนอนลง ‘ฟังเพลง’จริงๆ ไม่ใช่เอาหูฟังยัดหูรอเวลารถติดแต่อย่างใด หวังว่าปีหน้ายอดขายซีดีเพิ่มขึ้นมาบ้าง (แต่ข้าพเจ้ายังต้องโหลดอยู่ เพราะขืนซื้อทุกอัลบั้มที่โหลด คงต้องมีเงินเดือนเดือนละแสนห้า)
ปีนี้ตลก แกรมมี่อาร์เอส ลดคูรภาพประหนึ่งโรงงานลดเกรดวัตถุดิบ (ซึ่งก็ลดมาหลายปี) อินดี้ก็ svae ass กันถ้วนหน้า พี่บอย พี่ป๊อดเลยต้องร้องเพลงหวานจ๋อยไปเรืยๆ ฝั่งเพื่อชีวิตยิ่งรันทดหนักมีแต่เพื่อชีวิตกู มากกว่าเพื่อชีวิตผู้คน จนหูหาเรื่องอย่างข้าพเจ้าได้แต่ต้องหวังพึ่งเพลงลูกทุ่งเป็นหลัก!!
และนี่คือ11 อัลบั้มแห่งปีที่เลือกมา อย่าได้ถามว่าทำไม่มีอัลบั้มนู้น อัลบั้มนี้ เพราะต่อให้มีอีกร้อยหูก็คงฟังเพลงใหม่ๆไม่ทันหมด เอาเป็นว่านี่เป็นอัลบั้มแห่งปี เท่าที่หูได้ยิน อัลบั้มไหนรอดหู(รอดตา) เก็บไว้ว่ากันปีหน้านะพี่นะ
GREASY CAFE : ทิศทาง
เพลงร็อครักรันทด ฟังแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองเป็น EDWARD NORTON ยืนกุมมือของHELENA BONHAM CARTER ดูเมืองทั้งเมืองกำลังระเบิดเป็นจุณในฉากสุดท้ายของFIGHT CLUB
ไผ่ พงศธร ชุดที่5: มีเธอจึงมีฝัน
ข้อพิสูจน์ว่า วสุ ห้าวหาญเป็นมือวางนักแต่งเพลงอันดับต้นๆของประเทศไทย ทั้งเพลงหวาน และเพลงชีวิต ที่ทำให้เพลงเพื่อชีวิตต้องมุดดินหนี เพลง ทบ.2 ลูกอีสาน เป็นเพลงพูดเรื่องภาคใต้ที่น่าสนใจที่สุดนับจาก ฝากใจไปบ้านของ พจนาถ พจนาพิทักษ์ (แน่นอนว่าดีกว่าเพลง ราตรีสวัสดิ์ประมาณ สามล้านเท่า) อย่าแปลกใจถ้าจะได้ยินเสียงพี่ไผ่ ในมือถือผู้เขียน (ซึ่งสมยอมต่อระบบทุนไปแล้ว) เพราะจะเอามีเธอจึงมีฝันที่หวานบาดจิตมาเป้นเสียงรอสายไว้ออ้นสาว อ้อนหนุ่ม!
ลูกแพร อุไรพร : หัวหงอกหยอกสาว
อย่าประมาท เสียงอีสาน ไม่มีดีไม่ครองใจคนทั้งอีสาน ลูกแพรอัลบั้มใหม่ อาจจะไม่ครีเอททำนองเอง(ก๊อปเพลงดังๆมาทั้งนั้น) แต่เนื้อหามันคนละเรื่อง นี่คือการประสานกำลังระหว่างเพลงฝรั่งสุดฮิปที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมรองรับ เนื้อหาชาวบ้านร้านตลาด ทั้งไอ้หนุ่มเครื่องไฟ พ่ายรัก พี่ที่พูดคำเดียวที่เหลือเมียเว่าทั้งหมด ไปจนถึงไอ้หนุ่มแอปเปิ้ล นกแก้ว ที่ยังไงก็ไม่เคยเปลี่ยนยี่ห้อแฟน! เพลงเรียกคืนอัตลักษณ์ชนชั้นที่อาจจะไม่ตระหนักรู้ แต่เอาจริง!
WILD SEED : DEMO SEED
สารภาพตามสัตย์ ผู้เขียนเพิ่งได้ฟังเพลงในอัลบั้มนี้ได้แค่สองเพลง และยังไม่สามารถหามาเป็นเจ้าของได้เนื่องจากทำน้อยขายน้อย จนถึงบัดนี้ยังหาซื้อไม่ได(เข้าใจว่าคงเกลี้ยงไปแล้ว) WILD SEED เคยออกอัลบั้มกับMILESTONE มาอัลบั้มหนึ่งหลายปีที่แล้ว ซึ่งข้าพเจ้าหลงไหลได้ปลื้มเป็นอย่างยิ่ง กลับมาคราวนี้เครื่องดนตรีน้อยชิน แต่ยังคงคมคายขั้นเทพเหมือนเดิม! ใครก็ได้ช่วยเอาไปปั๊มเยอะๆมาขายที พี่ขอ!
วรรธนา วีรยวรรธน : EVERYTHING I-SEA
ถ้าพูดตามตรง เราค้นพบว่า อัลบั้มล่าสุดของพี่เจี๊ยบคนโปรด ไม่มีเพลงที่ติดอันดับเพลงแห่งปีเลย เพลงของพี่เจี๊ยบจริงๆยังคงเหมือนเดิมทุกประการ ดังนันหลังจากพีคสุดๆใน Ticket to the moon อัลบั้มนี้เลยกลายเป็นงานพักร้อนกลายๆไป แต่เอาเข้าจริงพอไปเชค Last FM ของตัวเองพบว่าถ้าเป็นอัลบั้มใหม่ในปีที่ผ่านมา อัลบั้มนี้ติดอยู่ในอัลบั้มยอดนิยมของข้าพเจ้า เนื่องจากมันมียอดฟังสูงสุด (มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เปิดวนทั้งวันเลยทีเดียว) กล่าวอย่างง่ายคือมันเป็นงานแบบที่ต้องฟังยกอัลบั้มถึงจะิอิน ฉะนั้นถ้าต้องเลือก10 things ไปทะเล อันดับที่5 น่าจะเป็นอัลบั้มนี้มากกว่าป๋าแจค เหมือนในเพลงนะพี่นะ
ต่าย อรทัย: หมอลำดอกหญ้า
เพลงเก่าร้องใหม่ยกอัลบั้ม เรียบเรียงดนตรีก็งั้นๆ เสียงเครื่องดนตรีเท่าๆกันหมด เหมาะสำหรับเปิดฟังง่ายๆมากกว่าจะเอาจริงทางดนตรี) แต่กลับเป็นอัลบั้มที่มีเสน่ห์เหลือหลาย ต่าย อรทัยดึงความเศร้าในเนื้อเสียงมาใช้ในการตีความเพลงได้อย่างน่าทึ่ง ฟังแล้วอยากท่องอีสานไปเยี่ยมสาวภูไท ไหว้พระธาตุพนม กันเลยทีเดียว เพลงดีคือเพลงดี กี่สิบปีไม่มีตก อย่าพลาดเพลง แรงงานข้าวเหนียวเป็นอันขาด ฟังรอบแรก ข้าพเจ้าถึงกับหลั่งน้ำตา!
YARINDA : SCHOOL
กลับมาใหม่แบบใส่สดหมดหม่นหมอง ฟังแล้วสบายอกสบายใจลั้นลาไปหลายวัน แม้จะมาพบในภายหลังว่ามีเพลงหนึ่งในอัลบั้มที่จังหวะและเทคนิคช่างคล้ายคลึง กับเพลงของ Shugo Tokumaru แต่ก็ไม่ได้ทำใหชอบลดลงฮวบฮาบมากนัก คู่กัน ไดโนเสาร์ เมื่อไหร่จะหลับ ให้อารมณ์สดใสซาบซ่าปิ๊งๆเหมือนดื่มกาแฟเย็นในวันที่ร้อนระอุ ในขณะที่ HEROES คือน้ำเย็นเฉียบที่บาดลึกในคืนเปลี่ยว
ลูกทุ่ง ไฮ ไฟ: หลายคน ภายใต้การควบคุมของบรรณ สุวรรณโภชิน
แอบชอบพี่บรรณมานาน ตั้งแต่ครั้งออกอัลบั้มกับอาณืเอส ซื้อมั่งไม่ซื้อมั่ง (ไม่ชอบฟังเพลงแปลง แล้วก็ไม่บ้าบอล เลยพลาดสองอัลบั้มนี้ไปอย่างตั้งใจ) กล่าวตามจริงเราไม่ชอบเพลงไหนในอัลบั้มนี้เลย ปัญหาหลักของมันคือมันเต็มไปด้วยความพยายามจะเป็นลูกทุ่ง แต่ใช้กรอบคิดแบบคนเมืองมาจับ มันเลยลักลั่นอิหลักอิเหลือไปหมด ความเก่าที่เอามาใช้่ในเนื้อเพลง มันกระเดียดไปทางลูกกรุงมากว่าลูกทุ่ง ฟังทั้งอัลบั้มเลยรู้สึกเหนื่อยหน่ายอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าหากต้องจัดอันดับอัลบั้มน่าสนใจแห่งปี อัลบั้มนี้คงอยู่อันดับหนึ่ง เพราะมันเอามาวิเคราะห์ ความไม่เข้ากันของคนชั้นกลางในเมืองกับชาวบ้านร้านตลาดได้อย่างน่าสนใจ ไม่เชื่อลองเปรียบเทียบ เสียงครวญจากหนุ่มไทย กับ สาวเกาหลี ของพี สะเดิดดู จะรู้ว่าแบบไหนมันเป็นแบบไหน
อย่างไรก็ตาม เราก็ชื่นชมอัลบั้มนี้มากๆๆๆๆ น้องนักร้องเด็ดขาดทุกคน ถ้าพี่บรรณทำภาคสอง ลองชวนครูเพลงมาแจมเนื้อไหมพี่!
เขม : SPACE STATION
ถ้าพูดกันตามตรงนี่คืออัลบั้มที่ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา ทั้งภาคดนตรีและเนื้อหา เพลงบรรเลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้ผสมออกมาอย่างลงตัวและน่าทึ่ง ในขณะที่ภาคเพลงร้องก็คมคายไม่น้อย อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้เราไม่ชอบอัลบั้มนี้สุดๆคือมันจืดจาง sense of popไปอยู่บ้าง (ซึ่งก็ดีแล้ว) อย่้างไรก็ตามเพลง คนจากอดีต คนจากอนาคต คือเพลงแห่งปีเพลงหนึ่งของเราเลยทีเดียว สรุปง่ายๆว่า เยี่ยมมาก แต่ไม่ใช่ทางของเราเท่าไหร่ (ชอบสองอัลบั้ีมที่ผ่านมาของเขามากกว่านิดนึง)
เกี่ยวก้อย : ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
ที่จริงอัลบั้มนี้ออกมาเจ็ดแปดปีแล้ว อ.ไวท์เคยบอกว่า ตอนที่บ้านน้ำท่วม มาสเตอร์อัลบั้มนี้มันหายไปหมด ฉบับเดียวที่มีจึงเป็นเทป คาสเสตต์ ซึ่งบัดนี้มันหมดท่าไปแล้ว กราบขอบพระคุณกะทิกะลาจริงๆที่ในที่สุดอัลบั้มนี้กลับมาจนได้ เพราะนี่คืออัลบั้มหนึ่งในอัลบั้มเพลงไทยที่ชอบที่สุดตลอดกาล แน่นอนว่าเพลงของ อ.ไวท์ไม่ได้มีเครื่องดนตรีครบครัน ทำนองการเรียบเรียงก็เล่นกันง่ายๆ แต่ที่เหนือใครคือเนื้อเพลงที่ฟังแล้วล่องลอย ของแท้ ใครอยากไปดวงจันทร์ หรือติดปีกนก โดยไม่ต้องเสียกะตังค์ ฟังอัลบั้มนี้คุณจะบินได้!
บุตรของนายเฉลียวและนางอำไพ : มาโนช พุฒตาล +สมพงศ์ ศิวิโรจน์
อันนี้ขี้โกง เพราะมันเป็นอัลบั้มของปีที่แล้ว แต่เรายังฟังต่อเนื่องข้ามปีมาเรื่อยๆ อัลบั้มสุดเก๋ ที่ใช้วิธีทำเอามัน ปั๊มน้อยขายน้อย แต่เด็ดมาก งานนี้พี่ซันปะทะ คุณสมพงศ์ อดีตคนแต่งเพลงของมาลีฮวนน่า ดวลกันคนละเพลงสองเพลง ทั้งสี่เพลงอยู่ในขั้นพีคสุดจิต แต่ขอเทใจให้ เพลงช้าง นี่สิเพลงแห่งปี(ที่แล้ว)ตัวจริงเสียงจริง