SYNDROMES AND A CENTURY: THAILAND’S EDITION OR WHEN “BABETTE’S FEAST” MEETS “SALO”
by celinejulie http://celinejulie.blogspot.com
I went to see SYNDROMES AND A CENTURY: THAILAND’S EDITION (2008, Apichatpong Weerasethakul, A++++++++++) on Saturday. I haven’t seen SYNDROMES AND A CENTURY (2006, Apichatpong Weerasethakul) yet.SYNDROMES AND A CENTURY: THAILAND’S EDITION is a unique experience for me. I have been wanting for a long time for movies being censored in Thailand to do something like this-to be upfront about it and tell the audience exactly what parts have been censored or cut off, instead of keeping this fact a secret. Many films which have been censored in Thailand don’t tell the audience that they have been censored. I don’t know why. Maybe the film releasing company thinks that the audience will choose to watch a pirated video instead, if they tell the audience the fact that they have been censored.
Sholay : บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องทบต้นทบดอก !!
โดย : Jesse James
ในประวัติศาสตร์หนังคาวบอย เราอาจแบ่งกลุ่มหนังคาวบอยออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ตามถิ่นฐานและองค์ประกอบหลัก ๆ ในแต่ละประเภท ได้แก่ ภาพยนตร์คาวบอยอเมริกัน และภาพยนตร์คาวบอยอิตาเลียน
ภาพยนตร์คาวบอยอเมริกัน ยึดมั่นที่คุณธรรมน้ำมิตรระหว่างลูกผู้ชาย , การเผชิญโชคและเหล่าวายร้ายด้วยความกล้าหาญตามแบบฉบับวีรบุรุษ ตัวละครหลักมักเป็นนายอำเภอผู้ยึดมั่นในคุณธรรม (My Darling Clementine) , คนเลี้ยงม้าผู้ถูกกดขี่ข่มเหง (The Man from Laramie) หรือกระทั่งชายหนุ่มพเนจร ผู้เปรียบประดุจเทวทูตที่ลงมายังดินแดนมนุษย์เพื่อกวาดล้างเหล่าร้ายด้วยกระสุนปืน (Shane) ภาพยนตร์คาวบอยอเมริกัน จึงมักมีสูตรสำเร็จให้ดำเนินไปตามครรลองอยู่ไม่กี่แบบ พระเอกเผชิญปัญหา – ประสบความสิ้นหวัง – ได้รับแรงกระตุ้นจากคนรอบข้างหรือการกระทำอันเลวร้ายของวายร้าย – ลุกขึ้นสู้กับปัญหา – ประสบชัยชนะในท้ายที่สุด
ทว่าก็มีภาพยนตร์คาวบอยอเมริกันแท้ ๆ ที่เลือกจะแหกกรอบการเล่าเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในกลุ่มนี้ได้แก่ High Noon (นายอำเภอผู้แสดงความหวาดกลัว) กระทั่ง The Man Who shot Liberty Valance (เจมส์ สจ๊วต เลือกจะต่อสู้กับเหล่าร้ายด้วยกฎหมายในมือ ทว่า จอห์น เวย์น กลับเป็นผู้พิชิตเหล่าร้ายด้วยกระบอกปืน) หนังยังแสดงให้เห็นถึงการประทะกันระหว่างแนวทางการยืนหยัดต่อความอยุติธรรมแบบ “อเมริกัน” ระหว่าง ยุคสมัยใหม่ (ด้วยการใช้กฎหมาย) และ ยุคตะวันตก (ด้วยการใช้ปืน)
ขณะที่ภาพยนตร์คาวบอยอิตาเลียน (หรือที่รู้จักกันว่า “Spaghetti Western”) ซึ่งแตกหน่อออกมาจากรูปแบบของกลุ่มภาพยนตร์คาวบอยอเมริกันอีกที หากการแตกหน่อครั้งนี้ เป็นการสร้างแนวทางใหม่ของรูปแบบภาพยนตร์คาวบอย ด้วยการนำเสนอภาพความรุนแรงในหนังอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ , การละกรอบที่ พระเอกต้องเป็นนายอำเภอ , คนเลี้ยงม้าผู้ถูกรังแก หรือ อาจถึงขั้นการละ “จิตใจอันงดงาม” ของตัวละครเอกในภาพยนตร์คาวบอยอเมริกันแท้ ๆ เลือกจะใส่ความ “สมจริง” ของมนุษย์ นั่นคือ อารมณ์ ดี – ชั่ว , โลภ – หลง เข้ามาแทน ทำให้ตัวละครในภาพยนตร์คาวบอย
อิตาเลียน สร้างกระแสในด้านความรุนแรงต่อแวดวงภาพยนตร์แนวคาวบอยในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 จวบจนถึงกลางศตวรรษที่ 70 ได้อย่างต่อเนื่อง
กระแสความนิยมของภาพยนตร์คาวบอยทั้งสองประเภท (โดยเฉพาะภาพยนตร์คาวบอยอิตาเลียน) ได้สร้างกระแสการดัดแปลงภาพยนตร์คาวบอยลูกผสมขึ้นในหลายประเทศ ลูกผสมในที่นี้คือการสร้างหนังคาวบอยขึ้นด้วยรากฐานของวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ เป็นหลัก โดยปรับแต่งให้ “รสชาติและกลิ่น” ของหนังคาวบอยถูกคอผู้ชมในประเทศดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเองช่วงยุค พุทธศักราช 2500 – 2520 มีการสร้างภาพยนตร์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากหนังคาวบอยเป็นอย่างมาก (หนังดังอย่าง “ชุมแพ” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน) เราเรียกกลุ่มภาพยนตร์ไทยแนวคาวบอยนี้ว่า “หนังบู๊ภูธร” มักจะมีตัวละครแต่งกายคล้ายคลึงกับคาวบอย คือ สวมกางเกงยีนส์ , เสื้อหนัง , ร้องเท้าบู๊ธ บ้างถึงขั้นติดสปอร์ที่ข้อเท้า ขณะเดียวกันการดวลปืนในเรื่องก็เป็นไปตามขนบหนังคาวบอยอเมริกัน ทั้งสองฝ่ายต้องออกมายืนกลางแจ้ง ประจันหน้ากัน ก่อนจะนับถอยหลังถึงเวลาดวลซึ่งต่างต้องชักปืนให้ไวกว่ากันเพื่อปลิดชีวิตอีกคนให้ได้
ขณะเดียวกัน แม้จะยึดมั่นในความถูกต้อง , ยุติธรรม ทว่าหนังคาวบอยลูกผสมเหล่านี้ เน้นการนำเสนอในเรื่องความรุนแรงไม่แพ้ภาพยนตร์คาวบอยอิตาเลียนแม้แต่น้อย พระเอกไม่ยึดวิธีตายตัวใด ขอเพียงให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ วิถีทางเช่นนี้อาจทำให้พระเอกไม่ต่างอะไรกับผู้ร้าย แม้กระทั่งการปลอมตัวเพื่อลอบสังหารเหล่าร้าย (ชัดเจนในเรื่อง “ชุมแพ” )
เมื่อกระแสความนิยมของหนังคาวบอยแพร่สะพัดไปทั่วโลกเช่นนี้ การสร้างหนังคาวบอย (หรือหนังที่ปรับเอารูปแบบของหนังคาวบอยมานำเสนอใหม่ เช่น เรื่อง “โยยิมโบ” ของ อากิระ
คุโรซาว่า) จึงเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่หนังจากดินแดนภารตะ ประเทศอินเดีย
ความโด่งดังของวงการภาพยนตร์อินเดีย คือ การตั้งธงตามกระแสภาพยนตร์ฮอลลีวูดอย่างเต็มตัว (กระทั่งชื่อวงการหนังอินเดียยังเป็น Bollywood) หนังอินเดียนิยมสร้างตามโครงเรื่อง ,
แบบแผน ของภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นหลัก แต่นำเสนอในกลิ่นอายวัฒนธรรมของอินเดียเป็นสำคัญ หนังจึงออกมากล่มกล่อมในหมู่คนดูชาวอินเดียเป็นอย่างมาก หนังฮอลลีวูดน้อยเรื่องที่จะสามารถตีตลาดหนังอินเดียได้ เพราะพวกเขาเอง ไม่จำเป็นต้องง้อหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวูดแต่อย่างใด
การสร้างหนังคาวบอยแบบอินเดียจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อกระแสความนิยมของหนังคาวบอยแพร่สะพัดไปทั่วโลก หนังคาวบอยอินเดียมีชื่อเรียกเช่นกันว่า “Curry Western” ส่วนเรื่องที่โด่งดังที่สุดและเป็นตำนานของหนังคาวบอยอินเดียตลอดกาล ..
ย่อมหนีไม่พ้นเรื่อง “Sholay”
Paris, Texas ใครจะเชื่อ … ในอเมริกาก็มี “ ปารีส ”

โดย มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ดอกเบี้ยรายสัปดาห์ วันที่ 12-18 ก.ค. 2535 ปีที่ 2 ฉบับที่ 60 )
เอกลักษณ์เฉพาะทางภาพยนตร์ของเยอรมนี เป็นสิ่งที่ถูกเฟ้นหาคำตอบพอๆ กับในหนังไทยเลยก็ว่าได้ ตรงที่ความเป็นมาในอดีตช่วงหนึ่ง ซึ่งกินเวลานานติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 30 ปี เนื่องจากสหรัฐได้เข้าไปควบคุม “ความประพฤติ” ของเยอรมนี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการวางแผนการจัดการทุกอย่างใหม่หมด ซึ่งรวมทั้งการสร้างอิทธิพลครอบงำทางศิลปวัฒนธรรมและภาพยนตร์ … อาจไม่เป็นไปโดยทางตรงโดยผ่านกลไกด้านการแข่งขันทางการตลาดและการจัดเก็บภาษีหนังนำเข้าจากสหรัฐในอัตราที่ต่ำ มีผลให้การอยู่รอดของหนังเยอรมนีเองอยู่ในฐานะลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1942 ถึง 60 ตอนต้น
จริงๆ แล้วอิทธิพลจากหนังสหรัฐในหนังเยอรมนีได้ปรากฏว่าเริ่มตั้งเค้ามาตั้งแต่ยุค 1930 ตอนต้นแล้ว หนังเก่าๆ ของเยอรมนีส่วนหนึ่งจึงดูเบาสบาย ผิดกับตอนปลายของทศวรรษ 1920 ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองขนานแท้ของศิลปะในภาพยนตร์ของเยอรมนีและเป็นความโดดเด่นทางเอกลักษณ์ที่เห็นได้ชัดมาก ก่อนที่นักสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์จะพากันอพยพลี้ภัยฮิตเลอร์ไปยังต่างประเทศกันขนานใหญ่โดยมากมักเลือกไปที่สหรัฐ แล้วได้นำลักษณะเฉพาะในส่วนนี้ไปเจือปนในผลงานเรื่องต่อๆ มาที่ได้สร้างขึ้นในต่างประเทศ กลายเป็นการเคลื่อนไหวของศิลปะภาพยนตร์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้ปรากฏรูปเป็นหนังในแนวฟิล์มนัวร์ เหลือไว้แต่คนทำหนังส่วนหนึ่งที่ยังตกค้างอยู่ในเยอรมนีตามเดิมซึ่งพากันสวามิภักดิ์ต่อพรรคนาซี โดยการทำหนังเพื่อเชิดชูและโปรปะกันดา ฮิตเลอร์ และอุดมการณ์แห่งชาติทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเพื่อความอยู่รอดเพียงสถานเดียว
PERSEPOLIS มุสลิมลืมต้น
โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’ kalapapruek@hotmail.com

ในที่สุดก็มีโอกาสลงโรงฉายในเมืองไทย สำหรับหนัง animation เรื่องเยี่ยมอย่าง Persepolis ที่นอกจากจะคว้ารางวัลขวัญใจคณะกรรมการหรือ Jury Prize จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เมื่อปีกลายมาแล้ว หนังยังมีโอกาสข้ามฟากไปร่วมชิงชัยในเวทีออสการ์สาขา animation ยอดเยี่ยมกันถึงฝรั่งอเมริกาอีกด้วย
หนังเรื่องนี้สร้างจากการ์ตูนภาพอัตชีวประวัติชื่อเดียวกันของ Marjane Satrapi ศิลปินหญิงชาวอิหร่านที่โยกย้ายไปพำนักอาศัยและทำงานอยู่ในฝรั่งเศสหลังพบคำตอบว่าเธอไม่สามารถใช้ชีวิตในประเทศบ้านเกิดของตนเองได้อีกต่อไปแล้ว โดยเธอได้เล่าเรื่องราวชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัย จากวัยเด็กสู่วัยสาว และจากวัยสาวสู่วัยผู้ใหญ่ภายใต้บรรยากาศการเปลี่ยนแปลงทางเมืองของอิหร่าน อันเป็นมูลเหตุสำคัญให้เธอต้องระหกระเหเร่ร่อนไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลาหลายขวบปี ซึ่งใน Persepolis ฉบับหนังนี้ Marjane Satrapi ก็มีโอกาสได้รับหน้าที่เป็นผู้กำกับร่วมกับ Vincent Paronnaud เพื่อนนักวาดการ์ตูนชาวฝรั่งเศสอีกคน
บางประเด็นเกี่ยวกับโรงเรียน :ภาพสะท้อนอำนาจนิยมในโรงเรียนผ่านภาพยนตร์เรื่อง KES
โดย : สมชาย บำรุงวงศ์
เพื่อนผมเขาเห็นผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องเด็กเรื่องโรงเรียน ได้เอื้อเฟื้อหนังมาให้ผมดูเรื่องหนึ่งชื่อ เคส เป็นหนังจากอังกฤษที่สร้างตั้งแต่ปีค.ศ. 1969 แม้จะผ่านมาตั้งสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ประเด็นที่หนังนำเสนอยังดูทันสมัยไม่พ้นยุค อดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง
สถานที่ของเรื่องคือบาร์นสลีย์ เมืองอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ เรื่องย่อมีว่า
เด็กชายคนหนึ่งชื่อบิลลี่ อยู่กับแม่ (พ่อแยกทางไปก่อนนานแล้ว) และพี่ชายที่วัยห่างกันมาก ในสภาพค่อนข้างอัตคัด ทั้งในบ้านยังหาความสงบสุขไม่ได้ บิลลี่ต้องทำงานหาเงินด้วยการส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้านในตอนเช้า จากนั้นจึงไปโรงเรียน วันหยุดบิลลี่ชอบเที่ยวไปตามป่าละเมาะแถวบ้าน วันหนึ่งเขาได้ไปเจอเข้ากับรังเหยี่ยวชวาบนหลังคาสูงของบ้านหลังหนึ่ง การได้เห็นการบินร่อนอันสง่างามของมัน ทำให้บิลลี่นึกอยากเลี้ยงลูกเหยี่ยวไว้ฝึกบิน เขาเสาะหาตำราการฝึกเหยี่ยวมาอ่าน ก่อนจะปีนขึ้นไปขโมยลูกเหยี่ยวมาเลี้ยงและฝึก และทำได้สำเร็จ
บิลลี่ไม่ลงรอยกับจู๊ด พี่ชายที่ชอบข่มเหงเขาทั้งด้วยวาจาและกำลัง ทั้งสองเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด โดยบิลลี่เป็นฝ่ายยอมลงให้ วันหนึ่งจู๊ดซึ่งชอบเล่นพนันแทงม้า ทิ้งเงินและฝากโพยให้บิลลี่ไปแทงแทน แต่บิลลี่ซึ่งเกลียดการพนันได้ไปสืบดูจนเชื่อได้ว่า ม้าที่จู๊ดสั่งให้แทงแทบไม่มีโอกาสชนะ และเขาก็เชื่อเช่นนั้น จึงยักยอกเงินของจู๊ดไว้ ซึ่งหากม้าที่จู๊ดสั่งแทงแพ้จริงๆ จู๊ดก็จะไม่สนใจเงินที่เสียไป
แต่เป็นโชคไม่ดีของบิลลี่ที่การณ์กลับเป็นตรงกันข้าม ม้าของจู๊ดถูกรางวัล จู๊ดเมื่อรู้ความจริงจึงเดือดดาลมาก เขาออกตามหาบิลลี่ แต่บิลลี่ก็ไหวตัวทัน จึงหลบหนีและไม่กลับเข้าบ้านในวันนั้น จนรุ่งเช้าจึงโผล่ไปที่บ้าน และได้รู้ว่าจู๊ดได้ฆ่าลูกเหยี่ยวที่เขารักและฝึกมากับมือเสียแล้วเป็นการทดแทน
The Man Who Shot Liberty Valance : เมื่อกฏหมายปะทะกฏหมู่
โดย Jesse James
หนังเรื่องนี้ สร้างเมื่อปี ๑๙๖๒ นับถึงตอนนี้ ก็อายุครบ ๔๕ ปีพอดี แม้จะเก่าขนาดที่เรา ๆ เรียกลุง เรียกอาได้แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ ก็ยังคงทำหน้าที่ตอบคำถามถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่เราเรียกกันว่า “กฏหมาย” ได้อยู่เสมอ…
..เป็น ครั้งแรก และครั้งเดียว ที่มีการจับเอาสตาร์ชั้นนำของแวดวงหนังตะวันตกมาประทะกันอย่างยิ่งใหญ่ ดาราระดับตำนานหน้าหนึ่งของหนังคาวบอยอย่าง จอห์น เวย์น รับบท ทอม โดนิฟอน นักเลงปืนและเจ้าของไร่ปศุสัตว์แห่งดินแดนตะวันตก ผู้ยึด “กฏหมู่” เป็นเครื่องมือในการตอบโต้กับเหล่าคนนอกกฏหมาย “กฏ” ของ โดนิฟอน ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน คือ การใช้ปืนตัดสินผิด-ถูกใน ชั่วเวลาลั่นไก… , เจมส์ สจ๊วต อีกหนึ่งตำนานของหนังคาวบอย และผู้รับบทนำในหนังชั้นดีของ อัลเฟรด ฮิทค๊อค อย่าง Vertigo, Rope มาครั้งนี้ รับบทเป็น แรนซั่ม สต๊อคดา์ร์ด นักกฏหมายจากแดนห่างไกล ที่ตัดสินใจมายังบ้านป่าเมืองเถื่อน เพื่อใช้ “กฏหมาย” เป็นเครื่องมือผดุงความยุติธรรมตามความมุ่งมั่นของเขา .. , ขณะที่ ลี มาวิน ดาราขาประจำของผู้กำกับ จอห์น บัวแมน มารับบทเป็น ลิเบอร์ตี้ วาแล๊นซ์ วายร้ายตัวฉกาจประจำเมือง ที่ท้าทายอำนาจ “กฏหมาย” ในมือของ สต๊อคดา์ร์ด ..
(เพิ่มเติม…)
JEANNE DIELMAN 23 QUAI DU COMMERCE ,1080 BRUXELLES : บ่วงแห่งความเป็นหญิง
โดย FILMSICK : http://filmsick.exteen.com
คุณนาย JEANNE DIELMAN อาศัยอยู่ในตึกหมายเลขยี่สิบสาม เธออาศัยอยู่กับลูกชายที่กำลังเรียนหนังสือ ในแต่ละวันเธอจะตื่นเช้ามาทำอาหาร ขัดรองเท้าให้ลูกชาย ปลุกเขา แล้วปูโต๊ะทานอาหารเช้า พอลูกไปโรงเรียนเธอก็เก็บเตียงของลูกชายพับเข้าเป็นโซฟา เก็บโต๊ะ ล้างจาน จากนั้น ออกไปหาซื้อข้าวของเข้าบ้าน ไปตลาด ไปไปรษณีย์ส่งจดหมาย แวะสนทนากับผู้คนก่อนจะกลับเข้าบ้านตรวจดูตู้จดหมาย ขึ้นลิฟท์ไป แล้วลงมือทำอาหารสำหรับมื้อเที่ยงที่เธอจะกินอย่างง่ายๆ และเตรียมมื้อเย็นให้ลูกชาย บางทีเพื่อนบ้านก็มาฝากลูกทารกไว้กับเธอตอนที่หล่อนไปตลาด เธอจะนั่งคิดบัญชีรับจ่าย ปัดกวาดเช็ดถูบ้าน ปอกมันฝรั่ง รอจนเพื่อนบ้านมารับลูกคืน แวะคุยกับเธอเกี่ยวกับเรื่องนั้นเรื่องนี้เธอจะรับฟังอย่างเฉยชา จากนั้นไม่นานก็จะมี ผู้ชายมาที่บ้าน เธอลงมือทำงานของเธอเพื่อหาเงินเข้าบ้านระหว่างนั้นเธอจะต้มมันฝรั่งไว้บนเตา งานจะเสร็จในช่วงเย็น เธอส่งผู้ชายออกจากห้อง พร้อมคำสัญญาสำหรับสัปดาห์หน้า จากนั้น เธอจะมาจัดการเตรียมมื้อเย็น มันฝรั่งจะสุกได้ที่ เตรียมซุปและอาหารอื่น ลูกชายกลับถึงบ้านในตอนเย็น ทำการบ้านบนโต๊ะกินข้าว จนถึงมื้อเย็น เธอจะลงมือปูตะกินอาหารเย็นกันเงียบๆ จากนั้น เธอกับลุกชายจะออกไปข้างนอก พอกลับเข้ามา ลูกชายจะนั่งอ่านหนังสือขอร้องให้เธอเปิดวิทยุ เธอหยิบนิตติ้งที่ถักค้างไว้มาถัก พอวิทยุบอกเวลาเธอจะปิดมัน กางเตียงให้ลูกชาย ดูแลเครื่องทำความร้อน ให้ลูกเข้านอน จากนั้นเธอจะเข้าห้อง เปลี่ยนเป็นชุดนอน หวีผมของเอจนเข้ารูปจากนั้นก็เข้านอนก่อนที่วันใหม่ กิจกรรมเดิมจะบังเกิดซ้ำขึ้นอีกครั้ง