a trick of the light : a place for cinephiles

Author Archive

ผู้หญิงในหนังของ ริวอิจิ ฮิโรกิ (Ryuichi Hiroki)

โดย Filmvirus

เลือกแผ่นดีวีดีมาเพราะปก ไม่นึกว่าจะได้เจอของดี หนัง 3 เรื่องนี้แหละที่อยากให้เป็นต้นแบบของหนังร่วมสมัยซึ่งแทบสัมผัสได้ในการเคลื่อนตัวของแสง และเส้นรุ้นเส้นแวงแห่งอารมณ์เร้นที่เกินเอื้อนเอ่ยเรียกว่าจะไม่แลกโอกาสได้ดูหนังแบบนี้ หรือหนังแบบ “ที่รัก” ของ ศิวโรจณ์ คงสกุล กับหนังแบบ อากิระ คุโรซาว่า, คิทาโน่ หรือ มิอิเกะ เด็ดขาด แม้ว่าเราจะชอบหนัง คุโรซาว่า บ้างบางเรื่องก็เถอะตอนแรกได้ดูเรื่องนี้ก่อน Kimi no Yubisaki (きみのゆびさき / เพียงปลายนิ้วของเธอ) ของ Hiroshi Ishikawa ตอนแรกดูก็ไม่รู้ว่าเป็นหนังสั้น เห็นมีแต่สองสาวเดินไปเดินมาบนดาดฟ้าตึก ฝนตกพรำ ๆ ก็หิ้วร่มวิ่งไปที่ทะเล คุยกันจุ๊กจิ๊กริมหาด เหมือนกับว่าอีกคนกำลังจะย้ายไปอยู่โรงเรียนอื่น แต่ดูมีนัยยะอะไรผูกพันอะไรที่ยังพูดไม่ออกบอกไม่ถูก แต่ละมุนละไมโคตร
อ้าว กำลังดูเพลิน ๆ ดันจบเสียได้ เรื่องนี้มีสองสาวดาราวัยรุ่นยอดนิยม คือ Maki Horikita กับ Meisa Kuroki (สาวผิวคล้ำจากโอกินาว่าคนนี้เล่นหนังแอ็คชั่นเรื่อง Assault Girls ของ Mamoru Oshii (Ghost in the Shell) ในดีวีดีมีเบื้องหลังถ่ายทำ มีบทสัมภาษณ์สองสาว เสียดายฟังไม่ออก ไม่มีซับอังกฤษ แต่ทำเก๋ตรงที่มานั่งเก้าอี้แบบในห้องเรียนอยู่หน้าห้อง หันหลังให้กระดานดำ และหันหน้าตรงเข้าหากล้อง มีช่วงหนึ่งในการสัมภาษณ์ที่ Maki ลุกมาเขียนชอล์คบนกระดาน น่ารักดี
ถัดจากนั้นไม่กี่วัน จากดีวีดีที่ซื้อในวันเดียวกัน ดูเรื่อง Love on Sunday: Last Word (หนังปี 2006) มี Maki Horikita นางเอกจากเรื่องนั้นมาเล่น
เธอเล่นเป็นสาวที่ใกล้จะตายเลยเขียนจดหมายทิ้งไว้ ขอพ่อกลับไปหวนหาอดีตที่บ้านเก่า กลับไปหาผู้ชายที่เธอเคยรัก ผู้ชายคนนี้ก็ต้อนรับขับสู้เธอดี แต่หัวใจเขาไม่คิดอะไรอื่นไกล เพราะไปอยู่กับคนที่ใกล้กว่าคือผู้หญิงมีลูกมีผัวแล้ว หนังเด่นมากตรงที่สะท้อนชีวิตเรียบ ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนักที่บ้านนอก แล้วก็ให้ภาพนางเอกที่ไม่ใช่คนดีนักหนา เพราะเธอเริ่มออกลายร้ายเงียบ เพราะเธอไม่ได้ดั่งใจหวัง หนังอาจจะดราม่ารุนแรงกว่านี้ได้ แต่สุดท้ายนางเอกก็เป็นคนธรรมดาไม่ได้ดีชั่วอะไรพิเศษ สุดท้ายเธอก็ไม่ได้ตีโพยตีพายบอกใครด้วยซ้ำว่าใกล้จะตายอยู่รอมร่อ แต่ฉากบนรถเมล์ที่เธอไล่ยาวโมโนล็อกนั่นแหละ คนดูหลายคนขอตายแทน
เรื่องนี้จิ้งหรีดญี่ปุ่นที่ปกติทำงานดีแล้ว ยิ่งร้องดีเข้าไปอีก เหมาะกับหนังมากขึ้นกว่าหนังญี่ปุ่นทั่วไป
ดูแล้วทึ่งกับการกำกับนักแสดงและบรรยากาศ ทำให้สะดุดชื่อผู้กำกับขึ้นมา คือ ริวอิจิ ฮิโรกิ (Ryuichi Hiroki – 廣木 隆) โชคดีเหลือเกินว่าจากดีวีดีที่ซื้อมาในล็อตเดียวกันมีหนังของคนนี้อีกเรื่อง เลยรีบดูซะ

Girlfriend: Someone Please Stop the World (หนังปี 2004) หนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสองสาว สาวคนหนึ่งมีพรสวรรค์ทางถ่ายภาพแต่ชอบเมาเละ และมักตื่นมาพบตัวเองนอนกับชายแปลกหน้า อีกคนหนึ่งติดใจว่าพ่อของเธอทิ้งเธอไปตอนเด็ก จนเธอได้พบเขาอีกและลังเลว่าจะเผชิญหน้าคุยกับเขาดีไหม หนังง่ามแง่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของคนถ่ายกับคนถูกถ่ายที่เกือบจะเป็นคู่เลสเบี้ยน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสัมพันธ์ที่งดงามในแสงเงาเกินกว่าจะนิยามขอบเขต
เหมือนชีวิตสองสาวนี้ก็มีความสุขดี ไม่ได้ลำเค็ญเหลือแสน การอยู่โดยไม่มีพ่อมันก็อยู่ได้ มันไม่ทำใครตายสักกะหน่อย ส่วนสาวตากล้องก็ไม่ได้ถูกทารุณหรือกดขี่ชีวิต อย่างน้อยคนก็รับรู้ในฝีมือและได้ทำงานในแบบที่อยากทำ (หรือใกล้เคียง) มันก็แค่คนสองคนที่พบคนที่ถูกคอถูกใจช่วยถมถางความโหวงเหวงในใจ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะต้องเกี่ยวกับเซ็กส์เสมอไปอย่างที่คนดูหนังเราจะคุ้นเคย แม้แต่ในฉากถ่ายแบบเปลือยของช่างภาพ-โมเดล (ที่ชวนนึกถึงฉากของ Juliet Binoche กับ Lena Olin ใน Unbearable Lightness of Being – แต่เรื่องนี้คนละอารมณ์กัน) มันก็ให้เข้าใจอุณหภูมิอารมณ์ของสองสาวที่เปิดเผยสีสันในใจใต้ผิวหนังได้ดีขึ้น ละเอียดอ่อนดีเหลือเกินทำหนังแบบนี้ ถึงแม้ตอนดูจะงงนิดหน่อย เหมือนมีทั้งแฟลชแบ็คและแฟลชฟอร์เวิร์ด ปรับสมองตามไม่ทันในช่วงแรก แต่เรื่องอารมณ์คนแสดงและการกำกับมือหนึ่งเลยแหละ
หนังสองเรื่องนี้ทำให้รู้สึกว่าผู้กำกับ ริวอิจิ ฮิโรกิ ทำหนังเกี่ยวกับผู้หญิงเก่ง วางมือละเมียดละไมแบบชีวิตธรรมดาที่ดูจริงซึ่งหาได้ยากในหนังญี่ปุ่น เพราะส่วนใหญ่จะละเมียดแบบบีบซึ้งเสียมากกว่า
พอค้นข้อมูลดูยิ่งทึ่งว่า ริวอิจิ เคยทำหนัง Pink Film มาก่อน (เพิ่งเห็นว่าเคยทำ 1 ในหนังสั้นอีโรติกผู้หญิงปี 2005 ชุด Female – หนังชุดนี้เคยดู แต่ไม่รู้ว่าเขาทำตอนไหน?) แล้วเขาก็ทำหนังหลายแนว ตั้งแต่ April Bride, Vibrator, Tokyo Trash Baby, M (I Am an S+M Writer), New Type: Just for your Love หรือกระทั่งหนังสารคดี ออกจะมีหนังหลายเรื่องที่รุนแรงพอสมควร แต่ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวแรงสุดโต่ง หวานเย็น หรือเรียบง่าย ดูเหมือนเขาพอจะเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่กดผู้หญิง และถ่ายทอดได้ถึง ไม่ขนาดเจาะลึกแบบหนัง Eric Rohmer, R.W. Fassbinder หรือ Ingmar Bergman หรอก แต่ก็นับว่าเหนือชั้นมาก พูดจริง ๆ แล้วชอบแบบนี้มากกว่า คนส่วนใหญ่เขาไม่ถกจิตวิญญาณหรือดราม่าเกลียดกันลึก 34 ชั้นแบบหนังฟาสบินเดอร์ หรือ เบิร์กแมน หรอก
เจอบทสัมภาษณ์ Ryuichi Hiroki น่าสนใจที่นี่http://www.vertigomagazine.co.uk/showarticle.php?sel=bac&siz=1&id=649

เห็นในบทสัมภาษณ์นี้เขาบอกว่า เขาปล่อยตัวเองไปตามสถานการณ์ โอกาสทำหนังเรื่องไหน แนวอะไรก็เข้ามา ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังเล็ก หนังใหญ่ หรือเป็นหนังส่วนตัวเขียนบทเอง เขาชอบท้าทายตัวเองชอบทำหนังที่ต่างไปจากแนวเดิม ๆ ไม่อยากซ้ำรอยตัวเอง แล้วต้องรอทำหนัง 3 ปีเรื่อง

ในเรื่อง Love on Sunday: Last Word ริวอิจิ บอกว่า Maki Horikita นางเอกทีนไอดอลคนดังมีตารางเวลาให้ถ่ายหนังแค่ 1 อาทิตย์ เขาก็เลยรีบทำหนังแบบเรียบง่ายที่สุด ใช้โลเกชั่นเดียว ตอนหลัง มากิ สบายใจในการทำงานมาก เลยเพิ่มเวลาให้ถ่ายได้อีก 3 วัน


หรรษาประสาอิตาลีกับ MARIO MONICELLI ที่เทศกาล MOVIEMOV 2011

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’ kalapapruek@hotmail.com

ยิ่ง ใหญ่และน่าสนใจกว่าทุก ๆ ปี สำหรับงานเทศกาลภาพยนตร์อิตาลี ประจำปี ค.ศ. 2011 นี้ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน ณ โรงภาพยนตร์ SFX CINEMA ชั้น 6 ศูนย์การค้า EMPORIUM ซึ่งทางสถานทูตอิตาลีประจำประเทศไทย พร้อมแนวร่วมทั้งหลายได้ผนึกกำลังกันขนหนังเด่นหนังดีมาให้ผู้ชมชาวไทยได้ดู กันถึงที่ โดยกิจกรรมนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลศิลปะวัฒนธรรมอิตาลีทั้งยังมีการ ตั้งชื่อใหม่ให้ฟังดูเก๋ไก๋ว่า MOVIEMOV ครั้งที่ 1 ซึ่งก็นับเป็นงานอีกที่บอกได้วลีเดียวว่า ‘จงไป’ เพราะนอกจากจะฉายพร้อมคำบรรยายภาษาไทยแล้วทุกเรื่องยังเชิญชวนให้ดูแบบฟรี ๆ ชนิดมิต้องออกแรงควักกระเป๋าซื้อตั๋วกันเลยทีเดียว ใจดีกันถึงขนาดนี้หากจะมีการแจก panini กับ macchiato ให้ได้ดื่มเคี้ยวกันในโรงด้วยนี่ก็คงไม่แปลกใจ เพราะผู้จัดงานเขาเหมือนตั้งใจจะให้บริการกันแบบไม่ยอมให้เราต้องหมดเปลือง แม้แต่สลึงเฟื้องเดียวเลยจริง ๆ
เหลียวดูโปรแกรมหนังที่จะนำมาฉาย นอกเหนือจากหนังอิตาลีของผู้กำกับรุ่นใหม่ ๆ ที่ได้รับเสียงชื่นชมจากเทศกาลต่าง ๆ ในรอบปีที่ผ่านมา ผู้เขียนก็มีอันต้องสะดุดตากับกิจกรรมในสาย Classic Retrospective ที่เป็นการเปิดเวทีสดุดีผลงานของ Mario Monicelli ผู้กำกับที่เพิ่งจะลาจากโลกนี้ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลาย จนอดไม่ได้ที่จะต้องขอออกหน้าอาสาเป็นกองเชียร์ชักชวนผู้ที่สนใจทั้งหลายให้ ได้ลองสัมผัสกับงานของหนึ่งในปรมาจารย์ด้านการทำหนังตลกรายสำคัญของโลกท่าน นี้ดู Mario Monicelli เป็นผู้กำกับเพียงไม่กี่รายที่สามารถสร้างงานที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้าน การตลาดและการกวาดคำชมจากนักวิจารณ์ในฐานะงานศิลปะ จากผลงานหนังขนาดยาวจำนวน 50 กว่าเรื่องที่เขาทำมาอย่างต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ. 1950 – 2006 Monicelli มีทั้งหนังที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมจนต้องทำออกมาเป็นภาคต่ออย่าง Totò Looks for an Apartment (1950) Big Deal on Madonna Street (1958) For Love and Gold (1966) กับ My Friends (1975) พร้อม ๆ กับการเป็นผู้กำกับมือรางวัลเจ้าของรางวัลสิงโตทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมือง เวนิสจากเรื่อง The Great War (1959) ไม่เพียงเท่านั้น เขายังมีหนังเข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ถึง 5 วาระ แถมยังจะเคยคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลินมา แล้วถึง 3 เด้ง เคล็ดลับสำคัญที่ทำให้งานของ Monicelli สามารถชนะใจได้ทั้งในหมู่ผู้ชม นักวิจารณ์ รวมทั้งคณะกรรมการก็คือ หนังของเขาเป็นงานที่สนุกและดูง่ายจนแทบไม่ต้องป่ายปีนกระได หากยังแฝงไว้ด้วยเนื้อหาสาระที่สะท้อนธรรมชาติทั้งด้านดีและร้ายของมนุษย์ ได้อย่างลึกซึ้งคมคายไม่แพ้ผู้กำกับชื่อดังรายอื่นไหนเลย งานของเขาจึงน่าจะใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีว่าสาระและความบันเทิงมิ ใช่สองสิ่งที่จำเป็นจะต้องเดินสวนทางกัน ทุกอย่างมันขึ้นกับ ‘ฝีมือ’ ของคนทำมากกว่าว่าจะรักษาองค์ประกอบสองส่วนนี้ได้อย่างเข้มข้นแค่ไหน ดังที่ Monicelli ได้เคยแสดงไว้ในผลงานหลาย ๆ ชิ้นของเขา
สำหรับงานเทศกาล MOVIEMOV ครั้งนี้ก็จะมีหนังของ Mario Monicelli มาฉายให้ดูจำนวนทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ซึ่งผู้เขียนก็ขอถือโอกาสหยิบเอาผลงานจำนวน 4 เรื่องที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ดูแล้วมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านที่อาจยังไม่ได้ดู ได้รับฟัง สำหรับงานเทศกาล MOVIEMOV ครั้งนี้ก็จะมีหนังของ Mario Monicelli มาฉายให้ดูจำนวนทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ซึ่งผู้เขียนก็ขอถือโอกาสหยิบเอาผลงานจำนวน 4 เรื่องที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ดูแล้วมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านที่อาจยังไม่ได้ดู ได้รับฟัง ว่าหนังของ Monicelli จะมีมุกกวน ๆ ฮา ๆ แบบไหนอย่างไรมาให้เราได้หัวร่องอหายกันบ้าง . . .

BIG DEAL ON MADONNA STREET (1958)

หนึ่ง ในหนังที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำมากที่สุดของ Mario Monicelli เรื่องนี้ยังมีดีกรีเป็นหนังเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่าง ประเทศยอดเยี่ยม ประจำปี ค.ศ. 1959 อีกด้วย Big Deal on Madonna Street เป็นหนังที่จะพาเราไปติดตามเบื้องหลังการทำงานของกลุ่มโจรกระจอกที่วางแผนจะ จารกรรมเงินในตู้นิรภัยของโรงรับจำนำของรัฐบาล โดยพวกเขาจะบุกผ่าน apartment หลังที่อยู่ติดกันในยามวิกาลด้วยการงัดแงะและเจาะผนังโดยปราศจากเสียงดัง เพื่อแอบเข้าไปยังจุดเก็บเงิน ซึ่งจอมโจรทั้งสี่นี้ก็ประกอบไปด้วย Peppe (Vittorio Gassman) อดีตนักมวยหนุ่มผู้ตกอับ Tiberio (Marcello Mastroianni) หัวขโมยพ่อลูกอ่อน Capannelle (Carlo Pisacane) โจรชราจอมตะกละ และ Ferribotte (Tiberio Murgia) ลูกสมุนหนวดงาม และแม้ว่าพวกเขาจะวางแผนการต่าง ๆ ไว้อย่างดิบดีเพียงไร แต่ความเฟอะฟะไม่เอาไหนของพวกเขาก็มีอันต้องทำให้อะไร ๆ ต้องผิดแผนได้เสมอ
ความเจ็บแสบของ Big Deal on Madonna Street คงไม่ได้อยู่ที่วิธีการที่เหมือนจะแยบยลของจารชนกลุ่มนี้ แต่กลับอยู่ที่การนำเสนอตัวละครของ Monicelli ที่แสดงความเป็น ‘มิจฉาชีพ’ ของพวกเขาราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่สืบทอดทางสายเลือดและมันอาจเป็นครรลอง ชีวิตเพียงรูปแบบเดียวที่พวกเขาสามารถยึดถือได้ในสภาวการณ์อันโหดร้ายของ บ้านเมืองในช่วงเวลานั้น หนังจงใจถ่ายทอดให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของแหล่งชุมชนแออัดในกรุงโรมกัน อย่างตรงไปตรงมา ชวนให้รู้สึกว่าคนอิตาลีนี่เขาช่างกล้าเปิดเผยความเป็นไปในแง่ร้ายของบ้าน เขาเมืองเขาให้เราได้ดูกันอย่างจริงใจโดยไม่ต้องเสียเวลามาสร้างภาพอะไรกัน ให้เหนื่อยเพลีย หนังเกี่ยวกับจอมโจรมาเฟีย หรือนักการเมือง corruption ทั้งหลาย จึงได้รับการสนับสนุนให้ไปอวดโฉมในเวทีระดับนานาชาติได้ ไม่ยักกะเหมือนบ้านเราเลยสักนิด Monicelli เล่าเรื่องราวทั้งหมดใน Big Deal on Madonna Street ด้วยบทสนทนาที่ช่างคิดช่างหาแก๊กมาได้อย่างสุดยียวน ชวนให้ต้องส่ายหัวไปกับความบ้าบอคอแตกของเหล่าตัวละครกลุ่มนี้ และถึงแม้ว่าหนังจะสร้างมาแล้วกว่า 50 ปี แต่เนื้อหาและความฮาของมันกลับไม่มีอะไรตกสมัยไปกับกาลเวลาเลย

THE GREAT WAR (1959)

ถัด จาก Big Deal on Madonna Street เพียงหนึ่งปี Monicelli ก็มีโอกาสทำหนังแดกดันสงครามเรื่อง The Great War ที่ได้นักแสดงคู่บุญอย่าง Alberto Sordi มารับบทคู่กับ Vittorio Gassman หนังได้เข้าร่วมประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิส และสามารถคว้ารางวัลใหญ่อย่างสิงโตทองคำมาได้พร้อม ๆ กับเรื่อง Generale della Rovere (1959) ของ Roberto Rossellini สำหรับใน The Great War นี้ Monicelli ได้เล่าถึงประสบการณ์ในกองทัพของสองหนุ่ม Oreste (Sordi) และ Giovanni (Gassman) ที่ถูกเกณฑ์เป็นทหารอย่างไม่เต็มใจในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งสันดานของการเป็นคนหัวใสของทั้ง Oreste และ Giovanni ก็ทำให้พวกเขาพยายามทุกวิถีทางที่จะหนีห่างจากภารกิจจำเป็นในครั้งนี้ แต่ฟ้าก็ยังอุตส่าห์ลิขิตให้พวกเขาไม่สามารถหลบหนีไปไหนได้ แถมยังต้องเสี่ยงอันตรายไปร่วมรบในแนวหน้าคอยหลบห่ากระสุนจากข้าศึกกันอย่าง อุตลุดอลเวง
หนังเริ่มต้นด้วยเนื้อหาแนว ‘กองพันทหารเกณฑ์’ เล่าเรื่องราวสนุกสนานของทหารใหม่ในกองทัพกันอย่างเบาสมอง ก่อนที่ประสบการณ์ของทั้ง Oreste กับ Giovanni จะค่อย ๆ นำพาผู้ชมไปสัมผัสกับเรื่องราวสะเทือนใจ เมื่อพวกเขาต้องเสียเพื่อนร่วมรบไป แถมยังจะได้เจอกับภรรยาของทหารกล้ารายนั้นโดยบังเอิญที่สถานีรถไฟในภายหลัง โทนหนังในช่วงนี้จะค่อย ๆ ทวีความจริงจังผ่านการตั้งคำถามต่อความไร้สาระของสงครามมากขึ้น ๆ ซึ่งก็จะนำไปสู่บทสรุปอันน่าใจหายที่อาจจะพัฒนาจากความตลกโปกฮาไปเสียไกลจน ไม่น่าจะมีใครกล้าหัวเราะได้อย่างเต็มเสียงอีก เรื่องราวที่อิงกับบริบทของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในบางช่วงอาจเป็นอุปสรรค ในการทำความเข้าใจสำหรับผู้ชมชาวไทย แต่เนื้อหาโดยส่วนใหญ่ของ The Great War ก็ยังสากลพอที่ ‘คนนอก’ อย่างเรา ๆ จะสามารถร่วมสัมผัสและเข้าใจไปกับความรู้สึกเจ็บปวดเหล่านั้นได้ จนกลายเป็นหนังตลกที่ชวนให้ขื่นใจได้มากที่สุดเรื่องหนึ่งของ Monicelli เลยทีเดียว นอกจากจะได้รับรางวัลสิงโตทองคำมาแล้ว The Great War ยังติดโผเป็นหนึ่งในหนังที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศ ยอดเยี่ยม ประจำปี ค.ศ. 1960 เช่นเดียวกับ Big Deal on Madonna Street อีกด้วย

AN AVERAGE LITTLE MAN (1977)

แม้ จะสร้างมาจากนิยายชื่อเดียวกันของ Vincenzo Cerami แต่ An Average Little Man ฉบับหนังนี้ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็น Monicelli ไม่แพ้หนังที่เขาเขียนบทเองเรื่องอื่น ๆ เลย An Average Little Man เราเรื่องราวขำขันของ Giovanni (รับบทโดยขาประจำ Alberto Sordi ) เจ้าหน้าที่หนุ่มใหญ่วัยใกล้ปลดเกษียณ ณ หน่วยราชการแห่งหนึ่ง ผู้ซึ่งอาศัยอยู่กับภรรยาและบุตรชายในกรุงโรม เมื่อบุตรชายอายุถึงวัยที่จะได้ออกทำงาน Giovanni จึงวาดฝันที่จะให้เขาเจริญรอยตามความสำเร็จที่คุณพ่อได้ปูทางเอาไว้ในที่ทำ งานแห่งนี้ ด้วยการพยายามทำทุกวิถีทางที่จะดันให้ทายาทของตัวเองสามารถช่วงชิงตำแหน่ง เก้าอี้นักบัญชีที่มีผู้สนใจสมัครกันเป็นจำนวนหลักพันให้จงได้
หนังใช้เรื่องราวของ Giovanni มาตีแผ่เบื้องหลังการทำงานของหน่วยราชการในอิตาลี ที่โต๊ะทำงานของพนักงานแต่ละรายล้วนพะเนินเทินทึกไปด้วยกองเอกสารจากงานที่ คั่งค้างซึ่งตั้งกองเอาไว้จนสูงท่วมหัว แถมตัวเจ้านายเองก็ดูจะห่วงกับปริมาณรังแคบนหนังศีรษะมากกว่าจะใส่ใจกับภาระ งานตรงหน้า แต่ที่แสบเสียยิ่งกว่าก็คงเป็นการแฉถึงกระบวนการในการใช้เส้นใช้สายที่อาศัย ความสนิทชิดใกล้มาเป็นเครื่องมือในการลำเลิกความเห็นใจจากผู้มีอำนาจทั้ง หลายโดยไม่แคร์ถึงความยุติธรรม และแน่นอนว่าการจงใจลำเอียงช่วยเหลือกันเช่นนี้คงมิใช่สิ่งที่จะทำกันให้ เปล่า ๆ ได้ คุณพ่อ Giovanni จึงจำใจต้องละศักดิ์ศรีของตัวเองทิ้งไป ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกชายของตัวเองได้มีอนาคตที่มั่นคง ณ สำนักงานแห่งนี้ แต่หลังจากที่หนังกัดแขวะการทำงานในระบบราชการของอิตาลีกันจนหนำใจ ก็จะถึงเวลา surprise ด้วยพลิกเรื่องราวไปสู่โหมดสะเทือนขวัญกันแบบไม่ทันตั้งตัว ด้วยการนำเสนอบุคลิกในอีกมุมด้านของ Giovanni ที่ถูกสถานการณ์บีบคั้นให้ต้องแสดงอารมณ์เบื้องลึกบางอย่างออกมา ซึ่งก็ต้องขอเชิญชวนให้ได้ลองติดตามกันด้วยตาตัวเองว่าเนื้อหาของมันจะพัฒนา จนเลยพ้นจากความคาดหมายได้ถึงขนาดไหน! หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี ค.ศ. 1977

THE MARQUIS OF GRILLO (1981)

หนัง ตลกย้อนยุคที่อ้างอิงจากชีวประวัติที่เล่าขานกันมาของขุนนาง Onofrio del Grillo ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมี Alberto Sordi รับบทเป็นขุนนาง Marquis del Grillo จอมทะเล้นที่เห็นทุกอย่างเป็นเรื่องเล่นไม่เว้นแม้กระทั่งการปั่นหัวพระ สันตะปาปา ขุนนาง Marquis del Grillo เป็นชายที่มีพร้อมทั้งสมบัติพัสถานและอำนาจสั่งการ แต่วัน ๆ เขากลับมุ่งหาความสำราญแกล้งคนโน้นแกล้งคนนี้โดยไม่เคยมีกะจิตกะใจจะดูแล ราษฎร ความกะล่อนแบบไม่เกรงใจใครของ Marquis del Grillo อาจทำให้หลาย ๆ คนไม่ชอบขี้หน้า แต่เขาก็สามารถทำตัวเป็นพ่อปลาไหลเลื้อยมาเลื้อยไปจนใคร ๆ ก็จับไม่ได้ไล่ไม่ทันเลยสักที ชนิดถ้าได้เจอกับคุณพี่ ‘ศรีธญชัย’ ก็คงจะควงแขนไปวัดไปวาด้วยกันได้ ค่าที่ต่างก็หัวหมอและช่างฉ้อในระดับพอ ๆ กัน
The Marquis of Grillo อาจเป็นหนังที่ สนุก ครื้นเครง โกลาหล และอลเวง ได้มากที่สุดเรื่องหนึ่งของ Monicelli เพราะดูเหมือนครั้งนี้เขาจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมสำราญกับเรื่องราวอย่างเต็มที่ โดยไม่มีเรื่องหนัก ๆ ให้ต้องเสียจังหวะความฮา แต่สุดท้ายเนื้อหาของมันก็ยังอุตส่าห์สะท้อนสัจธรรมได้ประการหนึ่งว่า ลักษณะของการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้นั้นบางครั้งอาจไม่จำเป็นต้อง อาศัยคุณธรรมจริยธรรม เพียงสามารถทำตัวกะล่อนยอกย้อนปลิ้นปล้อนเล่นละครจนมะกอกร้อยตะกร้าก็ปาไม่ ถูกเท่านั้น ก็คงไม่มีวันที่ใครจะทำอะไรได้ตราบใดที่พวกเขาฉลาดพอ ดั่งที่จะเห็นจากกรณีของพ่อขุนนาง Marquis of Grillo รายนี้เป็นต้น หนังเรื่องนี้ได้เข้าร่วมประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลินและคว้า รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่สามจากเวทีนี้แก่ Monicelli หลังจากที่ Like Father, Like Son (1957) กับ Caro Michele (1976) เคยทำสำเร็จมาก่อนแล้ว

สำหรับภาพยนตร์อีก 3 เรื่องที่เหลือที่ฉายในโปรแกรมนี้ บางเรื่องนี่ต้องขอเตือนไว้เลยว่าอาจยังไม่สามารถหาดูในรูปแบบ DVD หรือ VDO ที่มีคำบรรยายภาษาใด ๆ ได้ เพราะฉะนั้นหากคุณผู้อ่านสนใจจะชมเรื่องไหนก็ขอให้รีบติดต่อสำรองที่นั่งกัน ที่ moviemovitalfilm2011@gmail.com อย่างเร็วไว เพราะของดี ๆ ฟรี ๆ แบบนี้มีหรือที่ใคร ๆ จะไม่อยากดู!

ติดตามรายละเอียดโปรแกรมเทศกาล MOVIEMOV ทั้งหมดได้ที่
http://www.thaitch.org/news/moviemov-bangkok-italian-film-festival-2011



โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข (Death is Bliss)

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข (Death is Bliss)  ร่วมชมภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความตายอันแสนหวานชื่นขื่นขมระทมชีวิตจากนานาชาติ

ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 5-26 มิถุนายน 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ชมฟรี ฉาย ที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0- 2613-3530

โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข

5/6/11

12.30 THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)

14.30 DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)

12/6/11

12.30 SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)

14.30 THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US)

19/6/11

12.30 IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)

14.30 BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)

26/6/11

12.30 LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)

14.30 THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)

เรื่องย่อ

1. THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)

เด็กหนุ่มในปารีสคนหนึ่งค้นพบว่าไม่ว่าเขาจะตั้งใจเรียน จะมีคนรัก หรือเข้าร่วมกับการปฏิวัติ  อ่านไปฟังบทกวี การใช้ชีวิตเยี่ยงเสรีชน การถกปรัชญา การอ่านบทกวี หรือไปพบจิตแพทย์ เขาก็ไม่อาจเข้าใจในความอึดอัดขัดข้องของชีวิตได้  ยิ่งนานวันคำถามต่อชีวิตยิ่งรุมเร้าราวกับโรคร้ายที่ค่อยกัดกินเขาทีละน้อย และบางที ความตายเท่านั้นจึงเป็นทางออกที่แสนสุข

ภาพยนตร์เรื่องท้ายๆของปรมาจารย์ ROBERT BRESSON   ที่ตั้งคำถามต่ออาการของโรคปัจเจกชนนิยม ความเหนื่อยล้าประจำยุคสมัยได้อย่างแหลมคม ตรงประเด็น และยังคงความยอดเยี่ยมแบบน้อยได้มาก ของBRESSONไว้ครบถ้วน

https://atrickofthelight.wordpress.com/2008/04/06/robertbresson/

 

2. DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)

เขาเป็นไกด์ทัวร์นำเที่ยวเยี่ยมชมเกาะแก่งต่างๆและเธอเป็นล่ามสื่อสารระหว่างเขาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส บนเรือเขาตามจีบเธอ เธอบอกให้เขาเล่าเรื่องความงามให้เธอฟังเขาจึงเริ่มต้นเล่า ภาพประทับสีเดียวที่สะท้อนไปมาระหว่างเรื่องเล่าอีกจำนวนมาก จากนั้นเขาก็เริ่มเล่าเรื่อง เรื่องราวไม่ปะติดปะต่อ เรื่องของช่างภาพผู้ไม่อาจจะยิ้มได้ หรือชายที่ถูกสังหาร  เรื่องของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบล เขาบริภาษสังคมอย่างรุนแรงผ่านจอโทรทัศน์  ไปจนถึงเรื่องการถูกกักขังในคุกห่างไกลโดยผู้คุมที่ไม่เคยหลับ และ เล่าถึงอัตวินิตบาตรกรรมของเขาเอง

นี่คือหนังสุดประหลาดที่ไม่ปะติดปะต่อหนังอาจจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆของหนังต่อต้านสงคราม การต่อสู้กับคอรัปชั่น  การบันทึกความเศร้าของโลก ความไมปะติดปะต่อของมันไม่ได้ข้ามเฉพาะสถานที่ แต่ยังข้ามเวลาอีกด้วย

http://filmsick.exteen.com/20101006/diary-of-a-sucide-stanislav-stanojevic-1972-fr

3. SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)

ผู้กำกับหนุ่มสร้างหนังร่วมกับคนรักของเขา หนังซ้อนหนังที่ว่าด้วยคู่รักสองคู่ คู่หนึ่งในชีวิตจริง อีกคู่ในจินตนาการ และหนังเรื่องหนึ่ง ซึ่งเล่าผ่านความฝันห้าความฝัน หนังซึ่งว่าก้วยการสร้างหนังขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับการถือกำเนิดของเด็กน้อย

ภาพยนตร์ขนาดยาวขาวดำ ที่ปะปนกันทั้งเรื่องเล่า และความจริง เป็นทั้งบันทึกการสร้างหนัง โครงร่างความสัมพันธ์ของคู่รัก ไปจนถึงหนังผี และสารคดีบันทึกความเจ็บปวดต่อความตายอันปรากฏขึ้นในขณะนั้น (JEAN EUSTACHE ผู้กำกับร่วมรุ่นของPHILIPPE GARREL ผู้กำกับหนังเรื่องนี้(ซึ่งนำแสดงเองด้วย)เสียชีวิตขณะเขาทำหนังเรื่องนี้ ภาพความเสร้าในหนังจึงเป็นภาพบันทึกความเศร้าอันจริงแท้ของตัวGARREL เอง) นี่คอืหนังที่เลือนพรมแดนทั้งของเรื่องเล่า ของการทำหนัง และของบรรยากาศในห้วงขณะนั้นเข้าหากัน อย่างละเมียดละไมยิ่ง

4. THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US) 

ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากจดหมายสองสามฉบับระหว่างNEAL CASSIDY และ JACK KEROUAC สองนักเขียนหนุ่มจากบุคยบีทนิค  หนังเล่าเรื่องของนีล นักเขียนหนุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จ  เขาทำงานหนักเพื่อสร้างครอบครัวกับ JOAN รักชั่วนิรันดร์ของเขา เขารักเธอมาก แต่เธอก็ฆ่าตัวตายอยู่ดี และเขาไม่สามารถเข้าใจได้ว่าทำไมเธอถึงทำ  หลังฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ JOAN หนีไป ทิ้งเขาไว้กัยบเพื่อรักเขียนแสนดีขี้เหล้า สาวอายุสิบหกที่เขาเริ่มจะหลงไหล และกวีหนุ่มที่น่าจะรักเขามากว่าเพื่อน จนกระทั่งการกลับมาของJOAN ทำให้สรรพสิ่งร่วงดิ่งลง

ว่ากันว่าตัวจริงของNEAL CASSIDY คือต้นแบบของตัวเอกในนิยายบีทอมตะอย่างON THE RAOD ของKERUAC  และนี่คือหนังที่บรรจงถ่ายทอดบรรยากาศของห้วงยามนั้นออกมาอย่างหมดจดงดงามยิ่ง

5. IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)

ยังมีนิทานปรัมปราเล่าว่า มีคนบางจำพวกที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลบของดวงจันทร์  ปีใดที่เป็นปีของดวงจันทร์ผู้คนเหล่านั้นจะต้องทุกข์ทนทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่มีดวงจันทร์ 13 ดวง ผู้คนเหล่านั้นจะเจ็บปวดทุกข์ทนจนถึงที่สุด และELVIRA ก็เป็นหนึ่งในนั้น  ที่จริงเธอไม่ได้ชื่อ ELVIRA แต่ชื่อ ERWIN คตนหนุ่มโรงฆ่าสัตวืที่แอบหลงรัก ANTON เพื่อนร่วมงาน จนในที่สุดเขาตัดสินใจไปผ่าตัดแปลงเพศเพื่อหวังจะได้รับยรักตอบกลับ หากที่ได้คืนคือการปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ขณะนี้ ELVIRA อาศัยอยุ่กับชายคนรักที่ทุบตีเธอ พวกเด็กหนุ่มที่เธอพบในสวนสาธารณะก็กระทืบเธอ ANTON ผู้ร่ำรวยก้ไม่เคยใส่ใจเธออีก ทั้งหมดดำเนิไปสู่โศกนาฏกรรมของคนที่เกิดแต่กรรมของจริง

ภาพยนตร์สุดแสนอ่อนไหว ท้าทายและกล้าหาญที่สุดเรื่องหนึ่งRAINER WERNER FASSBINDER ว่ากันว่าเขาสร้างหนังเรื่องนี้เพื่ออุทิศให้กับคนรักของเขาที่ฆ่าตัวตายไป หนังเป็นทั้งคำสารภาพและการไถ่บาปที่ไม่อาจถอนได้ของตัวเขาเอง

6.BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)

เธอมาจากดักการ์ มากับชุดสวยและกระเป๋าเดินทาง มาพร้อมกับรองเท้าส้นสูง ต่างหูรูปดอกไม้ และความหวังเกี่ยวกับความมลังเมลืองของปารีส  ที่ท่าเรือคุณผู้ชายมารับ เขาพาเธอใส่รถส่วนตัวกลับไปยังอพาร์ทเมนท์อุดอู้ ที่มีแค่ ห้องครัว ห้องนอน ห้องนั่งเล่น  ทำกับข้าวแบบเซเนกัลให้คุณนาย ชงกาแฟให้คุณนาย ไปจ่ายตลอดให้คุณนาย ปารีสนอกหน้าต่างห้องของเธอคือรีเวียร่า แต่ที่เหลือก็แค่ห้องครัว และคุณนายจู้จี้จุกจิก  เธอมาปารีสเพื่อมาดูแลเด็ก แต่ไม่มีเด็กให้เธอดูแล มีแต่งานบ้านไม่หยุดหย่อน คุณนายไม่ชอบชุดสวยของเธอ เธอพูดกับคุณนายไม่รู้เรื่อง คุณนายบอกว่าถ้าเธอไม่ล้างจานก็ไม่ต้องกินข้าว แม่เธอเขียนมาหา คุณผู้ชายอ่านให้เธอฟังแต่เธอรู้ว่านั่นไม่ใช่แม่เธอ แม่เธอเขียนหนังสือๆไม่ได้ และเธอก็ด้วย คุณผู้ชายจะเขียนจดหมายตอบให้เธอ แต่เธอลุกขึ้นมาฉีกจดหมายทิ้ง เข้าห้องไปร้องให้ และตัดสินใจจะพูดบ้างแล้ว

ภาพยนตร์โดย Ousmane Sambene หัวหอกคนสำคัญ ปรมาจารย์ของวงการหนังแอฟริกัน หนังของSambene อาจจะเล่าเรื่องตรงไปตรงมาแต่คมคายตัวประเด็นเข้มข้นจากชาติที่ตกเป็นอาณานิคมตัวจริงเสียจริง หนังของเขาทรงพลังทั้งเรื่องเล่าและประเด็นทางสังคมจนไม่อาจละเลย และ BLACK GIRL คือหนึ่งในตัวอย่างหนังชั้นยอดของเขา

http://filmsick.exteen.com/20100927/black-girl-ousmane-sambene-1966-senegal

7. LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)

เขาเดินเข้าไปในป่า กระโจนลงไปเล่นน้ำตก ย่ำค่ำผิงไฟในป่ากว้าง กู่ตะโกนเพียงลำพัง พึมพำกับตัวเอง ทำอาหาร สวมชุดชั้นในผู้หญิง หลับไป และตื่นขึ้น เล่นปืน นั่งเหม่อริมน้ำ อุ้มลูกแมว เขียนจดหมายลาตาย เล่นดนตรี ไปผับ และดับชีวิตตัวเอง นั่นคือทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นในหนังนิ่งๆที่ว่าด้วยวันสุดท้ายของนักดนตรีร๊อคผู้หนึ่ง หนังซึ่งว่าด้วยความเศร้าน้อยๆ นิ่งเงียบ และสงบงาม ของความตาย

นี่คือไหนังปิดไตรภาคความตายของ ผู้กำกับ gus van sant โดยทั้งสามเรื่องไดรับแรงบันดาลใจจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และจบลงด้วย ความตาย ใน gerry เล่าเรื่องของชายสองคนนามเจอร์รี่ที่หลงทางอยู่ในทะเลทรายเวิ้งว้าง ( ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากข่าวของเด็กที่ติดอยู่ในทะเลทราย ) ตามด้วย elephant ที่เล่าเรื่องวันอันสงบในโรงเรียนมัธยม ก่อนที่จะสิ้นวันด้วยการที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งเอาปืนมายิงเพื่อร่วมชั้น (ซึ่งแน่นอได้แรงบันดาลใจจากคดีโรงเรียนมัธยม โคลัมไบน์ ) และในหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องช่วงวันสุดท้ายของ เบลค นักดนตรีหนุ่มที่หนีออกจากคลินิคบำบัด และสิ่งที่เขาทำก่อนจบชีวิตตัวเอง (โดยหนังได้แรงบันดาลใจจากความตายของ เคริ์ท โคเบน แห่ง nirvana)

 

http://filmsick.exteen.com/20051116/last-days

8. THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)

เด็กนักเรียนหญิงผู้หนึ่ง จ้วงแท้งนักเรียนหญิงอีกคนถึงแก่ความตาย กล่าวตามสัตย์สิ่งที่เราสนใจย่อมเป็นที่มาที่ไปของฆาตกร การฆาตกรรม อะไรทำให้เด็กสาวลุกขึ้นมาแทงเพื่อนตัวเองจนตาย แล้วหลังจากนั้น จะเกิดอะไรตามมาแต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้สนใจคือเกิดอะไรขึ้นกับพ่อแม่ของเด็กสาวทั้งคู่หลังจากเหตุการณ์ซึ่งเขาและเธอไม่ได้มีส่วนร่วมแต่จำต้องแบกทุกข์ในไว้บนบ่าไปตลอดกาล หนึ่งปีผ่านไป เขาย้ายจากโตเกียวไปอยู่ที่ฮอกไกโด ทำงานเป็นคนงานในเหมือง ทุกวันเดินเรียงแถวไปยังหน้าเตาไฟ พักอาศัยในหอพักห้องแคบ อาบน้ำและกินอาหารในห้องรวมทุกอย่างอุบัติซ้ำเขากลับมานอนอ่านหนังสือในห้องจนหลับไปวันใหม่วนซ้ำที่เดิม เธอก็อยู่ที่ฮอกไกโด ประกอบอาชีพแม่ครัว ก้มหน้างุดปอกมันฝรั่ง ทำไข่กวนที่ละฟองละฟอง ล้างถ้วยอาหารชุดที่เตรียมใส่ตู้ไว้สำหรับแขก บ่อยครั้งเธอตื่นกลางดึก ตอนเช้าเธอก็จะลุกไปทำไข่กวนอีก ปอกมันฝรั่งจัดวางอาหารชุดสำหรับชาวหออีกครั้ง

นี่คือหนังแห่งการจ้องมอง ตลอดเวลาผู้ชมจ้องมองตัวละครประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างเช่นการกินอาหาร การอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า การทำงาน การขับรถ กระทั่งการนั่งเฉยๆ  เหตุการณ์ไม่คืบหน้า ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆให้เห็น เรากำลังจ้องมองคนที่ตายไปแล้วครึ่งหนึ่ง พยายามลากอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตอย่างถูลู่ถูกังไปตามถนนสำนึกบาปที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น

http://filmsick.exteen.com/20100426/the-rebirth-masahiro-kobayashi-2007-jp


Vientienale Postcard Diary – Day 4

บัณฑิต เทียนรัตน์

โปสการ์ด 4

โปสการ์ดลำดับสี่
เวียงจันทน์ 13 พ.ค. 54

เข้าวันที่สองแล้วสิ เราตื่นเช้ามาก็ไปอาบน้ำที่ห้องน้ำรวม(อย่าลืมนะ อาบทีละคน) เสร็จสรรพก็แต่งตัว หวีผม สะพายกระเป๋า(จะเล่าทำไม?) ออกมาร้านเน็ต รีบเขียนอัพเดทอะไรไปตามประสาคนความจำสั้น สามสี่วันมานี้มีโทรศัพท์มาจากเมืองไทย สองสาย เป็นผกก.ภาพยนตร์สุดฮ็อททั้งคู่เลย(อันนี้อยากอวด) จนตอนนี้โทรศัพท์เครดิตหมดไปเรียบร้อยแล้วเป็นการตอบคำถามว่า เค้าชาร์จที่ปลายทางหรือต้นทาง?

กลางวันแดดแรง แต่ไม่ร้อน ผิดกับสองวันก่อนที่แดดเกรียมจนเหงื่อไหลไคลย้อย วันนี้เลยเดินได้สบายๆ ตั้งใจว่าถ้าไม่เจอร้านส้มตำปลาร้าก็จะไม่กินอะไรทั้งนั้น เดินจากเฮือนพักนิดเดียวก็เจอเลย มั่นใจมาก เพราะเห็นครกลูกเบ้อเริ่ม เดินเข้าไปมีทั้งตับย่าง ไก่ย่าง โถปลาร้าสีเข้มปึ้ด กลิ่นหอมชวนรับประทาน มองไปมีฝูงแมลงวันบินว่อนอย่างร่าเริง ก็เลยสั่งตำปลาแดกมาหนึ่งจาน แม่ค้าก็ตำฉัวะๆๆมาให้อย่างรวดเร็ว สีแดงเข้มไปทั้งจาน เราสั่งข้าวเหนียว และหยิบของย่างมาเสริมอีกจาน แค่นี้ก็อิ่มแปร้

งานเวียงจันทน์นาล(Vientianale)วันที่สองนี้ เริ่มตอนบ่ายครึ่ง จัดขึ้นที่หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว และจะทยอยฉายหนังจากลาว พม่า เวียดนาม เป็นหนังสั้นเสียส่วนใหญ่ และมีโปรแกรมหนังนานาชาติด้วย(ซึ่งเราไม่ได้สนเท่าไหร่ เพราะมันฉายเวลาเดียวกันกับหนังอาเซียน) ก่อนจะเปิดค่ำคืนนี้ด้วยหนังไทยปาล์มทองคำเรื่อง “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ด้วยนะ ดูจะเป็นโปรแกรมทองของงานนี้เลยเชียว คนลาวคงไม่ต้องอ่านซับฯเลย และเนื่องจากเป็นองค์กรเยอรมันเป็นผู้จัด จึงมีหนังอย่าง Run, Lola, Run หนังเก่าเก็บของทอม ทึกเวอร์ ผกก.เยอรมันมาฉายแถมด้วย(มาไงวะเนี่ย) ฉายก่อนลุงบุญมี และจะปิดท้ายคืนนี้จริงๆด้วยหนังผีไทย “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” อืมมม์ คนคัดหนังเค้าหลากอารมณ์ดีนะ

ผมคงดูไม่หมดหรอก เอาเป็นว่า บ่ายนี้ก็เลยเข้าไปดูเรื่องแรกเป็นแอนิเมชั่นฝรั่งเศสเรื่อง Princes & Princesses ไม่รู้มาก่อนว่าเป็นหนังเด็ก ก็เลยหมดความสนใจ นั่งหลับไปตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งๆที่มีเสียงเด็กเจี๊ยวจ๊าวมากในโรง คือดีเหมือนกันนะครับ เค้าก็ไปหาเด็กๆลาวจากโรงเรียนมาดูกัน

ต่อมา ก็เป็นหนังลาว(กำกับโดยฝรั่ง)เรื่อง Intersection (Lao PDR, 52 mins) เป็นหนังที่แสดงด้านมืดของเยาวชนลาวยุคใหม่ โดยพูดถึงเด็กวัยรุ่นสองคนที่หลงเข้าไปยุ่งกับยาบ้า จนต้องพบกับบทเรียนราคาแพง หนังทั้งสั่งทั้งสอนในตอนจบ แบบที่ถ้ามาฉายเมืองไทยคงได้เรต ส. แต่อย่างว่าล่ะฮะว่า เมื่อมันถูกสร้างในลาว มันก็ให้อารมณ์อีกแบบหนึ่ง ยิ่งถ้าจงใจสื่อสารถึงคนลาวและเยาวชนลาวได้มาชมกัน มันก็คงได้ผลในระดับที่เขาต้องการก็ได้ อันนี้ก็ไม่อยากทะเล้นไปรู้ดีอะไรมาก เพราะผมก็เพิ่งเข้าลาวมาได้สองสามวันเองอ่ะนะ คงต้องหาข้อมูลจากคนในพื้นที่ได้บ้าง แล้วจะนำมาบอกกัน

แต่หนังก็ถ่ายทำได้ดิบๆดีนะครับ มีเพลงฮิบฮ็อปลาวผสมปนเป เด็กวัยรุ่นชายสองคนที่มาเล่นก็เหมือนได้เห็นอยู่เมื่อวานซืนที่ลานริมน้ำโขง เป็นเด็กที่เกิดมาในยุคโลภาภิวัฒน์ ยุคที่ประเทศลาวต้องการการเติบโต ต้องการเพิ่มมูลค่าของจีดีพี อ้ารับการลงทุนจากต่างประเทศที่จ้องกันตาเป็นมันอยู่รายรอบด้าน แต่ขณะเดียวกันก็เห็นตัวอย่างแย่ๆของเพื่อนบ้านที่เปิดบ้านอ้าซ่าจนทรัพยากรธรรมชาติแทบไม่เหลือหลอ เศรษฐกิจโตพุ่งพรวด แต่ปัญหาของการโตเร็วเกินไป มันก็ไปสร้างปัญหาอื่นๆตามมาเป็นพรวน จะพูดไปทำไมมี เราก็มองเห็นๆอยู่

เราไม่โทษทุนนิยมเป็นตัวร้ายก็จริง และเราไม่คลั่งที่จะแช่แข็งชนบทให้เอาแต่พอเพียงแต่ไม่พอกิน แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้เจอจุดสมดุลย์ได้ล่ะ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ลาวกำลังประสบ…

จบออกมา ก็พบว่า คนดูเริ่มหน้าเดิมๆนะครับ โดยเฉพาะทีมงานที่มีอยู่เยอะทีเดียว เริ่มมีนักท่องเที่ยวขาจรเดินแวะเวียนเข้ามาบ้างแล้ว ดูโปรแกรมแล้ว มันมีห้องเล็กๆฉายหนังอยู่ชั้น 4 อีกห้องหนึ่ง นอกเหนือไปจากหอประชุมใหญ่ ผมก็เลยขึ้นลิฟท์ไป ก็พบว่ากำลังฉายเรื่อง Days of Rain (Vietnam/Germany, 73 mins)อยู่พอดี งานสารคดีจากเวียดนาม เห็นได้ชัดว่าไปไกลกว่าลาวเยอะ ทั้งการถ่ายทำ และศิลปะในการเล่าเรื่อง เข้าไปนั่งดูเพลินๆก็จบ บรรยากาศในหนังเวียดนามมักเต็มไปด้วยฝน คนท้องถิ่นที่ทำทุกอย่างได้กลางฝน ดูไม่ทันรู้เรื่องอะไรหรอกครับ เพราะคนเริ่มทยอยกันขึ้นมาดูเยอะมาก นั่งบังกันไม่เกรงใจเลย โดยมากเป็นฝรั่งเกือบทั้งหมด

ต่อด้วยอีกเรื่อง เป็นสารคดีจากลาว เรื่อง Betting on Laos (Lao PDR, 26 mins) เป็นสารคดีแบบตรงๆโต้งๆเลย มีบรรยายดูท่าจะน่าเบื่อไม่น้อย แต่พอดูๆไปก็ อืมม์ โอเคแฮะ เล่าเรื่องการพัฒนาในปัจจุบันของลาวนี่แหละ ผ่านหัวหน้าหน่วยงานทางพันธุศาสตร์ และนักธุรกิจลาวยุคใหม่ที่เติบโตจากต่างแดน พวกเขาไปบุกป่าฝ่าดง ดูความหลากหลายทางชีวภาพ และการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านที่รุกคืบเข้ามาในลาวอย่างเงียบๆ เป็นการเล่าคู่ขนานที่ชัดเจนและแข็งแรงดี เราได้เห็นทรัพยากรธรรมชาติของลาวอันอุดมเหลือหลาย(นี่ถ้าเป็นไทย ก็คงโฆษณาไปเลยว่า อุดมสมบูรณ์ที่สุดในสามโลก!) และเห็นช่องทางการลงทุนที่งดงาม อย่างการปลูกยางพารา ผ่านนายทุนชาวจีนและญี่ปุ่นสองคนที่เข้ามาซื้อที่ดินและจ้างชาวบ้าน สร้างงาน สร้างรายได้(แต่ทำลายดิน)

หนังเล่าจบแบบสรุปให้เรียบร้อยเลยว่า ชาวลาวพึงประจักษ์ว่า เฮาจะพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไรโดยไม่สูญเสียความอุดมของแผ่นดิน อืมมม์ เลือกตั้งหนนี้ มีพรรคไหนโหนนโยบายอย่างนี้บ้างมั้ยเนี่ย มีมั้ย? หา!

หนังจบไปพร้อมช่วงถามตอบ ของนักทำหนังซาวลาว ซึ่งดูยังหนุ่มยังแน่นคนหนึ่ง และอาวุโสคนหนึ่ง มาตอบคำถามได้อย่างชัดแจ้ง จัดเจน ดูมีความหวังสำหรับอุตสาหกรรมฮูบเงาของซาวลาวเป็นอย่างมาก เห็นได้ว่า หนังยาวเล่าเรื่องของพวกเขาก็เริ่มยืนด้วยตัวเองได้ ขณะเดียวกันงานสารคดีที่ใช้วิธีการที่ง่ายกว่ากัน หากต้องจับประเด็นที่แหลมคมก็กำลังก้าวหน้าไปได้ดีเช่นเดียวกัน แม้ตอนนี้จะยังอาศัยการช่วยเหลือจากองค์กรต่างประเทศอยู่มากก็ตาม (หนังสารคดีเหล่านี้ได้ทุนจากองค์กรทุนต่างประเทศทั้งสิ้น)

ยังฉากต่ออีกหลายเรื่อง แต่ผมขอลาออกไปหาอะไรกินก่อน เพราะคืนนี้ต้องเตรียมดู “ลุงบุญมีระลึกชาติ”(อีกรอบ) การได้นั่งดูหนังเรื่องนี้ในลาว ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ก็ให้รู้สึกปลื้มราวกับเป็นเจ้าของหนังเสียเอง(ทั้งที่จริงไม่ได้อะไรเกี่ยวด้วยเลย) และอยากดูปฏิกิริยาของคนดูทั้งฝรั่งและคนลาว คนอาเซียนเองด้วย ได้ผลอย่างไร จะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคร้าบบบบ

เกรท


Vientianale Postcard Diary – Day 3

บัณฑิต เทียนรัตน์

โปสการ์ด 3

โปสการ์ดใบที่สาม
เวียงจันทร์ 13 พ.ค. 54

เย้ เขียนไทยได้แล้ว เมื่อวานเราย้ายมาอยู่ที่เฮือนพักมีไซ ถูกกว่าที่เดิมตั้งครึ่ง เหลือ 400 บาท(แสนกีบ)รวมอาหารเช้าและซี้ตี้วิว อยู่ชั้น4 มองลงมาเห็นวัดเต็มๆ(ซิตี้ตรงไหนวะ?) ห้องโปร่งเว่อร์ เพราะหน้าเตียงเป็นหน้าต่างยักษ์สามบานติดระเบียงเลย เหมือนห้องไม่มีผนัง คนข้างนอกมองเข้ามาได้สบายเลย

เมื่อวานไม่ได้ทำไรเป็นชิ้นอัน(เพราะวันแรกไปเดินเที่ยวซะเกือบหมดแล้ว) นั่งๆนอนๆผลาญเวลามาก(พยามจะทำสมาธิเหมือนกัน แต่…) เตรียมตัวตอนเย็นจะไปร่วมงานเปิด Vientianale (เค้าอ่านว่า เวียงจันทน์นาล)หรือ เทศกาลภาพยนตร์เวียงจันทน์ครั้งที่สอง ซึ่งกล้าดีจัดตรงกับคานส์เป๊ะเลย (But who care Cannes, huh? ^^) ฝนพรำตั้งแต่บ่าย ทำให้เรานั่งทอดอารมณ์อยู่แต่ในเฮือนพัก เน็ตก็เล่นได้ทางไอทัช ซึ่งพินาศมาก พิมพ์ไรก็ไม่เป็น(กรูโลว์เทคมาก) คิดถึงใครบางคนอีก ฮู่ว…

ฝนหยุดแล้ว อากาศเริ่มแจ่มใส ขึ้นห้องไปดูซิตี้วิวอีกรอบ เห็นวัดหลังเดิม(ก็แน่ล่ะสิ)ตั้งตระหง่านสงบงาม มองไปด้านขวาเป็นหลังคาบ้านและตึกแถว ลิบๆไปเป็นแม่น้ำโขงซึ่งช่วงนี้เหือดแห้งมากๆ เลยแว่บไปอาบน้ำที่ห้องน้ำรวม(แต่อาบทีละคน) กลับมาไม่ทันไร มองไปเห็นฟ้ามืดครึ้ม เมฆมืดทะมึนลอยต่ำมาเกือบติดหลังคา ฟ้าแล่บแปลบปลาบยังกะไฟช็อต อ่าว พายุมานี่หว่า ทำไมไม่มีใครบอก!

ฝนกระหน่ำลงมา หนักกว่าเมื่อบ่ายอีก ซัดระเบียงและห้องเราเต็มๆ ไอ้เราก็จะทำไงได้ล่ะ เลยนั่งอ่านหนังสือเล่นไปซะงั้น เรื่อง “ฝนตกขึ้นฟ้า” (ซึ่งพกมาได้ตรงสถานการณ์มาก) หนังสือพี่วินทร์ เริ่มสนุกเข้าไปทุกที พอๆกะฝนตกลงดินที่นี่จนน้ำเริ่มจะท่วมแล้ว เลยปิดหนังสือ เอาไงดีวะเนี่ย? กรูไม่ได้มาที่นี่เพื่อมานั่งตะบอยอ่านหนังสือนักเขียนซีไรต์นะ เลยลุกขึ้นยืนเอาไงเอากัน

พี่สาวยื่นเสื้อกันฝนม้วนๆเก๋ๆมาให้ก่อนมา โอว์ ต้องขอบคุณย้อนหลังหลายเด้อ เรารีบคว้ามาใส่อย่างรวดเร็ว เก็บกล้อง กระเป๋าตังค์ พาสปอร์ต ฯลฯ ใส่ถุงพลาสติก แล้วก็เดินฝ่าฝนออกจากเฮือนพักเลย ฝรั่งมองกันใหญ่ว่าไอ้นี่คงมีธุระร้อน ใช่สิ ก็งานเริ่มหกโมงครึ่ง ตอนนั้นมันก็มืดตื๋อแล้ว

เดินลุยฝนและน้ำท่วมบ้างพองามไปจนถึง Lao National Cultural Hall ซึ่งเป็นตึกทรงสถาปัตย์ลาวสูงใหญ่ เห็นรถคันใหญ่จอดอยู่ข้างหน้า เราก็มั่นใจว่างานคงไม่ได้ล้มเพราะพายุแน่ เดินก้าวเข้าประตูใหญ่ไป ก็เจอผู้คนเต็มไปหมดเลย หลายคนเปียกมะล่อกมะแล่ก แต่ก็ดูยิ้มแย้มแจ่มใสกันดี ส่วนใหญ่เป็นฝรั่งชาติไหนมั่งก็ไม่รู้ หน้าเอเชียก็มีบ้าง แต่ก็พูดภาษาอังกฤษกันคล่องแคล่ว เห็นหน้าตาประมาณคนลาวอยู่บ้างประปราย เข้าใจว่าคงเป็น “นักทำฮูบเงา “(คนทำหนัง) ของลาวเขานี่แหละ เห็นพี่โป๋ย ศักดิ์ชาย ดีนาน(ผกก. สะบายดี หลวงพะบาง)บอกว่าจะแวะมาร่วมงานด้วย แต่ไม่เจอแฮะ สงสัยจะติดฝน

เราเข้าไปซื้อเสื้อสีแดงสด เวียงจันทน์นาล ตัวละสามหมื่นกีบ(ประมาณ 120 บาท) เค้าไม่มีเงินทอนไทยเลยซื้อได้ตัวเดียว(อีกตัวว่าจะซื้อฝากป้าเจน) สังเกตๆดูก็มีสูจิบัตรเล่มสวย สีแดงสดเหมือนกัน มีซุ้มขายหนังสือลาว เชิงวัฒนธรรมบ้าง ท่องเที่ยวบ้าง แล้วทางซ้ายและขวาของโถงก็ขึ้นบอร์ดไว้ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายเชิงชีวิตและวัฒนธรรมของคนลาว พอเป็นสีสัน

ว่าจะเข้าไปคุยกับคนจัดก็ดูสับสนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่ตามข้อมูลแล้วเป็นฝรั่งเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทำงานแบบองค์กรทางวัฒนธรรมที่ไม่แสวงผลกำไร(ประกอบไปด้วย Ak, Ding, Fanny, Helene, Irwin, Jorg, Lee & Simone) งานนี้ก็เลยฟรีทุกกิจกรรม

สักเดี๋ยวก็เลยเดินเข้าไปในหอประชุมซึ่งกว้างขวางพอๆกับศูนย์วัฒน์บ้านเรา พื้นและพนักเก้าอี้เป็นสีแดงสด(ที่นี่เค้าคงชอบสีแดงนะ) คนก็เริ่มทยอยกันเข้ามา มีนักท่องเที่ยวที่ทราบข่าวก็พากันมาไม่น้อยนะ รวมกับแขกวีไอพีด้านหน้าๆบ้าง(เราเห็นป้านักเขียนซีไรต์ลาวปีนี้ด้วย) ก็ทำให้งานคึกคักไม่น้อย น่าจะมีหลักร้อยทีเดียว

งานเริ่มแล้วครับ เค้าหรี่ไฟลงไปเลย เห็นคนเป็นเงาๆกลุ่มใหญ่เดินมานั่งเรียงแถวกันบนเวที นึกว่าจะลุกกันขึ้นมาร่ายรำล้านช้าง แต่ก็ผิดถนัด เพราะพอไฟเปิดเสียงดนตรีจังหวะฮิปฮ็อปก็สนั่นลั่นโลก หนุ่มๆบนเวทีก็โดดผลึงขึ้นมาเต้นบีบ็อบ!!! เรียกเสียงกรี๊ดลั่นหอประชุมด้วยความผิดคาด เพลงเปลี่ยนจังหวะไปเรื่อยๆ พร้อมๆหนุ่มนักเต้นจาก “ลาวบั้งไฟ” (ถ้าจำชื่อไม่ผิด)ก็โยกย้ายท่าเต้นไปอย่างพลิกแพลง ทั้งตีลังกา ต่อตัว กระโดดลอดดาก ทำท่างอก่องอขิง เป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง เสียงตบมือออกเกรียวไป

เต้นกันอีกชุดสองชุดพอหอมปากหอมคอ ตอนหลังมีสาวๆมาเต้นแจมด้วย แต่ก็ออกแนวแข็งแรง ไม่ได้มีตรงไหนที่จะดูแล้ว “ล้าวลาว” เลยสักนิด (ลืมแคนไปได้เลย) จากนั้นก็เข้าสู่พิธีการที่น่าเบื่อเล็กน้อย เพราะต้องมีการแปลสองภาษาตลอดเวลา มีการเชิญประธานในงานซึ่งเป็นประมาณรัฐมนตรีที่ดูแลด้าน “ฮูบเงา” ขึ้นมากล่าวเปิดงาน ภาษาลาวนั้นฟังออกได้สบาย แต่ก็มีสำนวนที่สำหรับเราแล้วจะรู้สึกแปลก(ขำๆบ้าง) เช่น “เพื่อสิให้งานนี้มีความหมาย เฮาก็จะขอเซิ่นท่านประธานขึ้นมา….” หรือ เมื่อพูดถึงกิจกรรมเวิร์คช็อป…”เป็นการโอ้โลมที่มีคุณค่ามากต่อหมู่พวกเฮานักทำฮูบเงา…” ฯลฯ อะไรประมาณนี้

จากนั้นผกก.หนังที่จะฉายเปิดคืนนี้เรื่อง “ขอเพียงฮัก” (Only Love) ก็ขึ้นมากล่าว เขาคือ Anousone Sirisackda ที่ร่วมกำกับเรื่อง”สะบายดี หลวงพะบาง”กับพี่โป๋ยนั่นเอง คุณพี่ใส่สูทขึ้นมาเลย ดูเป็นทางการมาก มากล่าวทั้งภาษาลาวและภาษาอังกฤษว่า หนังเรื่อง ขอเพียงรัก เป็นผลงานของบ.ลาวอาร์ทมีเดีย ที่ถือว่าเป็นหนังยุคใหม่เรื่องแรกๆที่ใช้ทีมงานคนทำหนังของลาวเองทั้งหมด ต่างๆจากเรื่องอื่นๆที่ร่วมกับไทยบ้าง จีนหรือเวียดนามบ้าง ฉะนั้นเรื่องนี้จึงมีความเป็นลาวแท้ๆสูงมาก คุณอนุสรณ์แกก็ออกตัวไว้เล็กน้อยว่า “เนื่องจากหนังเรื่องนี้มีความดีบ้าง(อ่าว)…ถ่ายทำกันในซนนะบด ก็ขอให้สนุกสนานกับการซมเนาะ”

ไฟดับลงดื้อๆ แล้วหนังก็ฉายเลย “ขอเพียงรัก” เป็นหนังที่เราได้เห็นตัวอย่างแล้วตอนก่อนมา ตอนนั้นก็นึกค่อนในใจว่า ต๊าย มันช่างดูเชยเสียนี่กระไร พระเอกเรียนสูงรักกับนางเอกบ้านนา มุ่งหน้าจะพัฒนาท้องถิ่นด้วยกัน หากบ้านนางเอกติดหนี้สินกับนายทุนซึ่งมีลูกชายอันธพาล ก็เลยต้องยอมไปขัดดอกอะไรประมาณนั้น พระเอกก็หน้าตาบ๊านบ้าน ตัวร้ายหน้าเหมือนอาจารย์เชน จตุพล ชมพูนิช ส่วนนางเอกรอดตัวไปเพราะสวยใสเหมือนน้องคำลี่จาก สะบายดี หลวงพะบาง การถ่ายทำก็ดูพื้นๆง่ายๆ มุมกล้องเฉยๆเชยๆเอื่อยๆ แล้วมันจะไหวเร้อออออ???

หากพอดูเข้าจริงๆก็ผิดคาด แม้ว่าเนื้อเรื่องก็เป็นไปตามที่ว่าไว้นั่นแหละ หากการเล่าเรื่องก็ราบรื่นไหลลื่นดี พระเอกนางเอกคิดอะไรก็พูดออกมาหมด ไม่มีอะไรต้องสงสัยกังขา อยากจะแฟลชแบ็คอะไรก็ตัดภาพฉึบฉับไปเลย ขึ้นต้นลงท้ายแบบเดาได้ไม่มีหักมุม จบแบบแฮ็ปปี้เอนดิ้ง ทุกคนมีความสุขร่วมกัน ดำเนินเรื่องคล้ายๆละครทีวีช่องเจ็ดสมัยก่อนยังไงยังงั้น แต่หลังดูจบ ผมกลับไม่อยากลุกจากที่นั่งเลย รู้สึกประทับใจเอมอิ่มและรักทีมงานฮูบเงาลาวเหลือเกินที่สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ออกมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงพวกเขาจริงๆ

ทำไมเป็นงั้นล่ะ? เพราะเนื้อเรื่องที่เรารู้สึกว่าเชย หากมันก็เป็นความเชยที่พอเหมาะพอดี หนังเกิดขึ้นในชนบทลาวที่ชีวิตยังคงดำเนินไปช้าๆ ทุกคนเป็นเกษตรกรที่แม้จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ก็ยังคงเป็นระยะเริ่มแรก นายทุนจากเมืองใหญ่ที่เห็นแก่ตัวก็ยังต้องพัฒนาตัวเองไปอีกเยอะกว่าจะชั่วร้ายได้เต็มที่(เหมือนในประเทศไทยที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างแทบจะถอนรากถอนโคน) พระเอกจบการศึกษาจากในเมือง และมุ่งมั่นกลับไปพัฒนาท้องถิ่นด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่กับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำสกัดชีวภาพ และการสร้างฝายขนาดเล็กๆ รวมถึงรื้อฟื้นศูนย์พัฒนาอาชีพด้วยกองทุนหมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน (พี่แกเรียนจบอะไรมาเนี่ย?)

กิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดเคียงคู่ไปกับความรักอันแสนบริสุทธิ์ระหว่างหนุ่มสาว จนเรียกได้ว่า ความรักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเรื่องงาน (“ขอให้ฮักเฮามั่นคงตลอดไป ตราบเท่าที่เฮายังมีศูนย์พัฒนาอาชีพท้องถิ่น…” พระเอกให้สัจจะกับนางเอก เอ่อ..) คือมันเป็นความซ้ำซากที่ถ้าปรากฎในหนังไทยคงไม่แคล้วโดนด่า หากเมื่อมันเป็นหนังลาว มันไม่ใช่ความซ้ำซาก แต่มันกลมกลืนไปกับตัวละคร สถานที่ถ่ายทำ บทสนทนา การดำเนินเรื่อง การถ่ายภาพ แม้แต่ของประกอบฉาก ฯลฯ

ตัวร้ายเป็นหนุ่มเกกมะเหรกที่สร้างภาพให้เวียงจันทน์ดูเหมือนเมืองนรก(มีแต่ภาพผับและสาวใส่สายเดี่ยว)เมื่อเทียบกับชนบทที่แลดูเหมือนสวรรค์บ้านนา(ของจริง) หากหนุ่มเกเรก็ได้เรียนรู้จากความรักอันยิ่งใหญ่ของหนุ่มสาวบ้านนาที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในสังคม และมุ่งมั่นที่จะรับมือกับมันอย่างเข็มแข็ง ไม่ได้ต้องการที่จะฟรีซบ้านนาเอาไว้ให้พอเพียงเหมือนหมู่บ้านในจินตนาการที่ไม่มีวันเป็นไปได้จริง

หนุ่มบ้านนาการศึกษาสูงเอง ก็ได้เรียนรู้ว่า การลงมือพัฒนาด้วยสองมือนั้นยากเย็นเพียงใด ทุกอย่างได้มาด้วยความอดทนอดกลั้น ฝ่าฟันและลองผิดลองถูก ความสำเร็จไม่ได้มาเพราะโชคช่วยหรือเทพที่ไหนมาประทานให้ และไม่เกี่ยวอะไรกับการสร้างภาพ ทุกอย่างคือของจริง อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง คนในหมู่บ้านที่ดูเหมือนใสสะอาดก็มีทั้งคนดี คนเลว คนเห็นแก่ตัว คนซื่อ คนเซ่อ(หรือแม้แต่วายร้ายกะเทย!)

นางเอกนั้นเล่า น้องดวงใจเป็นตัวแทนของสาวยุคเก่าที่ไม่ได้ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปกับความงามแบบสมัยใหม่ เหมือนน้องหลุดมาจากตำราสอนหญิงในทัศนคติของชนชั้นกลาง(ผู้ชาย) ผมไม่แน่ใจว่า คาแรกเตอร์นี้คือสาวลาวในอุดมคติที่คนลาวอยากเห็นหรือเป็นสาวลาวทั่วไปที่มีอยู่จริง แต่จะอย่างไรก็ตาม เธอคือ หญิงงามที่ผู้ชายทุกคนในโลกและแม่ผัวทุกคนอยากได้ เพราะ “สวย บริสุทธิ์ ว่าง่าย หัวอ่อน”

แต่อย่านึกว่าเธอจะไม่มีอารมณ์ความรู้สึก เพราะหลายช็อตในหนัง ดวงใจทำเอาหนุ่มๆหัวปั่น เนื่องจากความเข้มแข็งที่เธอต้องเลือกเพื่อความรักของตัวหรือเพื่อความกตัญญูต่อบุพการี…น้องนางเอกในเรื่อง สวยใสไม่แพ้น้องคำลี่จากสะบายดีหลวงพะบาง และแสดงออกทางสีหน้าได้ดีมากๆ ยิ่งเวลาเธอเศร้านั้น หัวใจเราแทบจะหลุดลอยตามไปทีเดียว

โลเกชั่นในเรื่องนั้น ผมไม่แน่ใจว่าถ่ายกันที่ไหน แต่มันสวยจนน่าตื่นตะลึง เทือกเขาสูงชันเรียงราย ใกล้หมู่บ้านที่ปูไปด้วยผืนนาสีเขียวสด มีหมอกขาวลอยเรี่ยห่มคลุมอยู่ตลอดทั้งวัน ลำธารใสราวกระจกไหลเลื้อยผ่าน ยินแต่เสียงน้ำไหลรินและเสียงลมพัดเอื่อยๆ หนุ่มสาวหน้าใสเดินจับมือสัญญาใจกันใต้ร่มไม้ใหญ่ “ฮักเฮาจะอยู่คู่กันตลอดไป ตราบที่เฮายังมีศูนย์พัฒนาอาชีพชาวบ้าน (อ่าว)…”

แต่ก็มีหลายอย่างที่เล่นเอาผมขำกึกๆในลำคอ มันคงเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “ความซื่อ” ละกระมัง (ตามประสาคนที่คิดว่าตัวเองเหนือกว่า) เช่น ไอ้ตัวร้ายเดินถือปิ่นโต ทำท่าจะป้อนนมไวตามิลค์กล่องกะนางเอก, ฉากพระเอกนางเอกดูด “น้ำมะขาม” สูตรคุณแม่, ธนาคารลาวในเวียงจันทน์, การถ่ายทำในรถหรือฉากฝนตกพายุโดยใช้บลูสกรีน ฯลฯ อันนี้ต้องดูเองฮะ

อ่อ ที่อยากพูดถึงอีกอย่างคือการแสดง เป็นการแสดงที่เรียบเรื่อยเอามากๆๆ พระเอกนางเอกตัวร้ายเหมือนพูดกระซิบกระซาบกันในลำคอ เล่น “เล็ก” มากๆๆ แม้แต่ในฉากทุ่มทะเลาะกันตอนท้ายเรื่อง ก็เล่นได้แบบแพ้ละครโทรทัศน์ไทยราบคาบ คนลาวก็นิยมละครไทยออกจะตาย น่าจะชินกับการวี้ดว้ายตบกันกระจายมากกว่านี้(หรือจะถือเอาเป็นแบบอย่างที่เลวก็ไม่รู้สิ) แล้วอย่างมากที่สุดที่พระเอกนางเอกจะทำคือ จับมือ

อ่อ ฉากที่ตัวร้ายจะปล้ำนางเอก ก็ให้เห็นเป็นเงาๆผ่านกระจกห้องนอนเท่านั้น คือทั้งหมดดูแล้ว เหมือนย้อนไปดูหนังไทยยุคเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว มันเป็นคลิเช่ที่ให้ความรู้สึกดีจริงๆ

จริงๆยังมีแง่มุมให้จับได้อีกเยอะเหมือนกัน แต่นี่ก็ยาวมากแล้ว เอาเป็นว่า “ขอเพียงฮัก” ทำให้ค่ำคืนฉ่ำฝนในเวียงจันทน์วันนี้ของผมเป็นคืนที่น่าประทับใจ และเอมอิ่มเหลือเกิน หนังเลิกไปอย่างง่ายๆพร้อมคนดูที่พึมพัมกันทั้งโรง ผมได้แต่เสียงทำนองว่า “That’s magical, magical….”

ครับ มันอาจไม่ใช่หนังที่เลอเลิศ มีฉากประดักประเดิดในตอนท้ายหลายช็อต หากมันก็มุ่งมั่นให้ความบันเทิงเต็มที่ มีความพยายามในการผูกเรื่องให้ซับซ้อนและพยายามคลี่คลายอย่างสมเหตุสมผล ใช้การตัดต่อที่เรียบง่ายก็จริง แต่ก็ดูออกว่ามีลูกเล่น สกอร์ที่โหมประโคมมากไปสักนิด แต่ก็ไปกันได้ดีกับการเร้าอารมณ์แบบเมโลดราม่าแท้ๆ

อย่าว่าผมเว่อร์ แต่นี่คือ “ผลิตภัณฑ์” ของคนทำฮูบเงาลาวที่พวกเขาสมควรภูมิใจ และมันจะฉายที่ไหนก็ได้แบบไม่ต้องอายใคร เพราะในความเป็นตัวตนที่แท้ของงานศิลปะ หาใช่ความงามที่ไร้ที่ติ หากควรเป็นสิ่งที่จุไปด้วยเลือดเนื้อ จิตวิญญาณ และความดีเลว…ณ จุดนี้ “ขอเพียงฮัก” ทำหน้าที่ของงานศิลปะได้ดียิ่งแล้ว

…ผมเดินทอดน่อง กลับไปยังเฮือนพัก ฝนหยุดไปนานแล้ว แต่ฟ้ายังฉ่ำอยู่ แม้จะเป็นเมืองหลวงหากเวียงจันทน์เงียบเอาเสียจริงๆ มีร้านก๋วยเตี๋ยวเปิดดึกๆอยู่ไม่กี่ร้าน พอให้ผมเข้าไปฝากกระเพาะได้ มีมินิมาร์ทอยู่ร้านหนึ่งใกล้ๆ มองไปไม่เห็นแม้แต่เซเว่นอีเลฟเว่น…

ทุกอย่างในลาวเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ หรือว่าโลกใบนี้มันหมุนเร็วเกินไป…


Vientianale Postcard Diary – Day 1

หมายเหตุ : กลแสงได้รับเกียรติจากผู้สื่อข่าวภาคสนามพิเศษ (เรียกให้เท่ห์ๆ) คุณบัณฑิต เทียนรัตน์ ที่เดินทางไปร่วมเทศกาลหนังเวียงจันทน์ โดยคุณบัณฑิตจะเก็บเอาบรรยากาศและเขียนบันทึกถึงหนังที่ฉายมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ขอบคุณคุณบัณฑิตมาณ.ที่นี้ด้วยครับ

.

บัณฑิต เทียนรัตน์

โปสการ์ด 1

First Postcard to you guys…
Vientiane 11/5/11…

Sabaidee…I just hit Vientiane right now!, staying at Phoxay Hotel…700 B/night…more like to make it cheaper at any guest houses but the lousy tuk-tuk driver headed me here..but due to the lovely condition, good fan good bed & my own toilet, not bad for any alone tourist…,so far…so good. Oh, my gut’s singing now, need to attack some local restaurant…bye bye…cya!

great
PS. Alone but not lonely(I hope)

(picture above from internet)


Vientianale Postcard Diary – Day 2

บัณฑิต เทียนรัตน์

โปสการ์ด 2

Second postcard…
Vientiane, Lao pdr 11/5/11

…My first half of the day had been pretty dull…as it’s been burning but raining afterward…I made my mind to take a good damn sleep called Ziesta!!! haha…at my hotel…instead of wandering around(yes, I was…but after having lao style hot noodles for lunch…I headed back!)…

But the last half of the day has been cool…a bit chilling…I took a slow pace pointlessly around Vientiane…anyway here’s not metropolitan…you can walk around the town in 1 day…finally,I found the good place for dinner…Kob Jai Der restaurant is the hope!! nice traditional foods with one bottle of Beer Lao(my intention not to drink Alcohol was broken! but just one anyway)…and then…take strolling around…for digesting walk also.

I found that the Mae Khong river side is amazing…it’s very huge space for whatever things you wanna do but that’s so calm & lovely…Laotians just been walking slowly, chatting, relaxing, and doing a bit exercise…and the teenagers have played skateboarding in groups with impressive technique and style…that’s so cool!!…I took a video in every part of the activities…

I ended up with the new accommodation…it’s sort of a guest house but its price is down in half!!!(compare with the current one I took)…no TV, no Internet(Just wi-fi) and bathroom shared…but good backpackers shouldn’t have cared about those, shouldn’t we?…and someone on the counter called me…Handsome!(hahaha, she is he! or he is she!) anyway, it wasn’t the reason I chose it for tomorrow night anyway…555

After that, I found by chance the pretty lovely local food venues…a lot more like in Thailand such as, Soi milk, Patongo…Duck noodles, Kao Rad Gang, sweet desserts, fruits and so on…hidden in the dark & dim little streets…but it comes out of it in circle at my hotel eventually…smart route!

Tomorrow will be the day of the opening ceremony of Vientianale(12-15 May, 2011)…at the Lao National cultural hall…it seems to be too silent not like the others in Asia but who cares? I am here due to my plan deliberately…That’s it.

Sabaidee Luangprabang’s director “Sakchai Deenan” is gonna come here to join it too…and we have a plan to meet up(would be just 2 Thais here!)…it’s not too alone to be here…Vientianale’…^^

great
PS. I’m missing someone like crazy right now…

(picture above from internet)


MUBI เปิดหนังคานส์สาย Critic’s Week ให้ดูฟรี!

mubi

MUBI หรือชื่อเดิม The Auteurs คือโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับคอหนัง ที่มีหนังไว้บริการมากมายหลายระดับ โดยหนังสั้นจะเก็บค่าชมเรื่องละหนึ่งดอลลาร์ หนังยาวเรื่องละสองดอลลาร์ และสามารถเลือกเสียค่าสมาชิกรายเดือนหรือตลอดชีพแบบเหมาจ่ายได้ เพื่อดูหนังแบบไม่จำกัดจำนวน

อีกเซ็คชั่นหนึ่งที่ MUBI มีไว้ก็คือหนังที่เปิดให้ชมฟรีออนไลน์ ซึ่งจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป (มีบางเรื่องที่เปิดให้ชมฟรีมานาน เช่น The Housemaid ของ Kim Kui-young, Dry Summer ของ Metin Erksan และ Alice in Wonderland เวอร์ชั่นปี 1903 ของ Cecil Hepworth และ Perci Stow เป็นต้น) เยอะบ้างน้อยบ้างแล้วแต่โอกาส แต่สำหรับช่วงเมืองคานส์ หนังดูฟรีที่ทาง MUBI เลือกมานั้นเรียกว่าเข้าขั้นล้นทะลัก!

ดูรายชื่อหนังฟรีทั้งหมดได้ที่นี่ http://mubi.com/watch?utf8=%E2%9C%93&genre_id=&sort=free (ต้อง register ก่อนจึงจะดูได้)

แต่หนังฟรีเหล่านี้มีระยะเวลาจำกัด โปรดชมก่อนหมดเขต และอย่าชะล่าใจ!


แมลงสู้! : ระดมทุนสู้คดี Insects in the Backyard

แมลงสู้!

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ และ iLaw กำลังต่อสู้คดี Insects in the Backyard ในชั้นศาลปกครอง
โดยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเองตามลำพัง

ทว่า ผลจากการฟ้องครั้งนี้อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เราจึงขอชวนคุณมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้
ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายแก่พวกเขาในการสู้คดี

เพราะนี่คือเส้นทางสู่สิทธิและเสรีภาพของเราทุกคน จึงไม่ควรปล่อยให้ใครต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวแทนเรา มิใช่หรือ

รายละเอียดการโอนเงินสมทบทุน
ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ สาขาย่อย เทสโก้ โลตัส ลาดพร้าว
เลขที่บัญชี 035-0-04666-0 ชื่อบัญชี นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์

(ติดตามความคืบหน้าของคดีได้ที่ BIOSCOPE
และเงินที่เหลือหลังการสู้คดีเสร็จสิ้น ธัญญ์วารินจะมอบให้แก่หอภาพยนตร์ทั้งหมด)

(เพิ่มเติม…)


ตัวอย่างหนังคานส์ 2011

ดูตัวอย่างหนังคานส์ปี 2011 ได้แล้วที่channel นี้ใน youtube ครับ

http://www.youtube.com/user/cinephiliade

(เพิ่มเติม…)


2nd Vientianale : มหกรรมรูปเงาสากลที่ สปป ลาว, 2011

เวียงจันนาน มหกรรมรูปเงาสากลที่ สปป ลาว 2011

เทศกาลหนัง Vientianale จัดครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว ได้เสียงตอบรับดีพอควร และครั้งที่สองของเทศกาลนี้กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์หน้านี้ ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว – ปีนี้งานจัดใหญ่ขึ้น เพราะเทศกาลย้ายมาฉายหนังที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติลาว (จากที่ปีก่อนจัดที่ Lao-German House ซึ่งให้ฟีลเหมือนสถาบันเกอเธ่ของที่นั่น) ในวันที่ 12-15 พฤษภาคม จัดฉายทั้งโปรแกรมหนังสั้นและหนังยาว โดยเน้นหนักที่หนังลาวกับภูมิภาคอาเซียนทั้งเก่าใหม่ ตารางฉายทั้งหมดของเทศกาลดูได้ที่นี่

เทศกาลแบ่งฉายหนังเป็น 4 กลุ่ม คือ “รูปเงาจากเพื่อนบ้านของพวกเรา” (หนังเอเชียเร็วๆนี้ เช่น ลุงบุญมีระลึกชาติ และ Sepet) “รูปเงาแสดงภาพสากล” (หนังทั่วโลก เช่น หนังดังปรอทแตกอย่าง Run Lola Run ไปถึงอนิเมชั่น Princes and Princessess) “รูปเงาสำหรับเด็ก” และ “นางโอ กลับบ้าน” ที่ทางเทศกาลนิยามไว้ว่า “เป็นการเฉลิมฉลองรูปเงาที่สร้างในประเทศลาว และเกี่ยวกับประเทศลาว” – นอกจาก 4 กลุ่มนี้แล้วหนังยังแยกฉายอีกหลายโปรแกรม เช่น หนังสั้นจากพม่า, หนังสั้นจากเวียดนาม, หนังสั้นจากกัมพูชา, หนังสั้นนานาชาติ, โปรแกรมหนังเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน (Migration) ไปจนถึงคอนเสิร์ตเพลงร็อคที่หน้าเทศกาล!

ส่วนสายประกวดของเทศกาลนั้นจำกัดเฉพาะคนทำหนังที่อาศัยอยู่ในประเทศลาว ปีนี้มีสองสายได้แก่ สายประกวดหนังสั้น (ทำหนังตามโจทย์ ความยาวไม่เกิน 11 นาที) และสายประกวดหนังที่ถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือ สำหรับคนทำหนังหน้าใหม่ (มีโจทย์กว้างๆ ให้ ความยาวไม่เกิน 2 นาที และผู้ส่งผลงานอายุต้องไม่เกิน 16 ปี)

หนังเปิดเทศกาลปีนี้คือ Only Love หรือ ‘ขอเพียงรัก’ ผลงานหนังลาวเต็มตัวของ อะนุสอน สิริสักดา ผู้กำกับร่วมของ ‘สะบายดี หลวงพะบาง’ เรื่องย่อคงไม่ต้องเล่าเพราะเป็นเรื่องรักคลาสสิกที่ทั่วโลกคุ้นเคย ตัวอย่างหนังอยู่ด้านล่างนี้แล้ว


CHIThe 8th World Film Festival of Bangkok : 5 – 14 Nov 2010 บางอย่างบนวงแหวน ‘รอบ’ จักรวาล

นับวัน นับคืน

1.

ผมชอบดูหนัง, ผมชอบดูหนังในเทศกาลหนัง

เพราะเป็นโอกาสเดียวที่จะได้ดูหนังที่อาจไม่มีโอกาสฉายในโรงหนัง, ในโรงหนัง

2.

คืนแรกของเดือน ลมเย็นมาเยือนตั้งแต่หัวค่ำ

มันเป็นลมเย็นของเดือนพฤศจิกายนที่หวน “รอบ” กลับมาพร้อมกับเทศกาลหนังโลกแห่งกรุงเทพฯ ทุกปี และเป็นช่วงพิเศษใน “รอบ” ปีที่ผมจะขลุกตัวอยู่กับการดูหนังแบบ “รอบ” วันต่อ “รอบ” คืน

ช่วงสายๆ ผมจะนั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีสยาม / เดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน / ยืนกดเรียกลิฟท์ขึ้นไปที่ชั้น 5 / เดินออกเลี้ยวไปบริเวณลานโถงโรงหนังพารากอนซีนีเพล็กซ์ / ตรงไปที่โต๊ะเคาน์เตอร์ของเทศกาลหนังโลกฯ / ยืนยิ้มทักทายให้ทีมงาน / แสดงบัตรผู้สื่อข่าว / บอกชื่อหนังที่จะดูในวันนั้น / ทีมงานก้มหน้าหาคูปองหนังเรื่องที่ผมจะดู / ได้แล้วก็เงยหน้ายิ้มพร้อมยื่นให้ / ผมยิ้มรับพร้อมบอกขอบคุณ / หันหลังเดินไปเข้าช่องต่อคิวเพื่อแลกคูปองเป็นตั๋วหนัง / พนักงานโรงหนังออกตั๋วหนังพร้อมเลขที่นั่งให้ / รับแล้วก็มานั่งเล่นคอยเวลาหนังฉาย / ลุกขึ้นเมื่อได้เวลาหนังจะฉาย / ยื่นตั๋วหนังให้พนักงานโรงหนังตรวจ / เดินผ่านเข้าไปในโรงหนัง / เข้านั่งตามเลขที่นั่ง / เอนหลังงีบหลับตา / สะดุ้งลุกขึ้นยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี / นั่งลงดูหนังจนหนังจบ / นั่งต่อถ้ามีรายการพูดคุยกับผู้กำกับหนังเรื่องที่เพิ่งดูจบ / ลุกขึ้นเดินออกจากโรงหนัง / นั่งเล่นคอยเวลาหนังเรื่องถัดไป / จนหมดหนังเรื่องที่จะดูในวันนั้น / เดินไปกดเรียกลิฟท์ลงไปที่ชั้น M / เดินออกจากประตูห้างฯ / แล้วนั่งรถไฟฟ้ากลับบ้าน

ช่วงสายๆ ของวันรุ่งขึ้น ผมก็วน “รอบ” แบบนี้ซ้ำอีกครั้ง

และวน “รอบ” แบบเดิมอย่างนี้อีกครั้ง และอีกครั้ง จนหมด 9 วันของเทศกาลฯ

3.

ผมว่า เทศกาลหนังโลกฯ นี้ไม่เหมือนเทศกาลหนังอื่นๆ ในเมืองไทย

อาจดูเล็กๆ แต่คุณภาพของหนังที่เลือกมาฉายกลับ “ใหญ่” เกินตัว

อาจดูเหงาๆ แต่กลับ “อุ่น” ด้วยความเป็นกันเองของพี่ๆ น้องๆ ในทีมงาน

หนังดีๆ กว่า 100 เรื่องที่คัดสรรจากหลากหลายประเทศทั่วโลกด้วยงานหนังหลากหลาย ทั้งหนังยาว หนังสั้น หนังเพลง หนังสารคดี หนังทดลอง

และที่ผมชื่นชอบ “มาก” กว่าเทศกาลหนังอื่นๆ ในเมืองไทย ก็คือการคัด “หนังไทย” อินดี้..ที่มีเนื้องานโดดเด่นของปีนั้นมาร่วมฉายในเทศกาลฯ

ผมดีใจที่คนไทยจะได้ดูหนังไทยอินดี้ดีๆ ฝีมือคนไทย..แทนที่จะมีแต่ฝรั่งที่ได้ดู

และยิ่งรู้สึกดีที่ตัวเองก็ได้ดูหนังไทยเหล่านี้ทุกเรื่อง

4.

หนนี้ ผมดูหนังกว่า 20 เรื่องในเทศกาลฯ

มีหนังไม่กี่เรื่องที่ดูแล้วก็อยากจะย้อนเวลากลับไปดูหนังเรื่องอื่นแทน เหมือนที่มีหนังบางเรื่องเมื่อดูจบแล้วก็อยากย้อนกลับไปดูซ้ำอีก “รอบ” หนึ่ง

และในบางเรื่องนั้น, ผมอยากดูหนังเรื่อง “Au Revior Taipei” ซ้ำอีกครั้ง

ผมชอบหนังเรื่องนี้กว่าเรื่องอื่นๆ เพราะดูแล้วมี “ความสุข”

หนังไต้หวันของผู้กำกับ Arvin Chen กับบทหนังลงตัวง่ายๆ ที่ “เก็บ” ทุกรายละเอียด “ซุก” ในคำพูด “ซ่อน” ในการกระทำ “เติม” จังหวะ “เรียก” รอยยิ้ม และ “เต็ม” ไปด้วยชีวิตชีวา

เรื่องวุ่นๆ ที่หมุน “รอบ” หัวใจคนสองคน

ผู้ชายคนหนึ่งที่ขลุกตัวอยู่ในมุมร้านหนังสือ และเฝ้าหยิบตำราฝึกหัดภาษาฝรั่งเศสจากชั้นวางขายมาอ่านฟรีเพื่อเรียนฝึกพูดด้วยตัวเอง ด้วยหวังว่าสักวันเขาจะตามแฟนสาวไปอยู่ด้วยกันที่กรุงปารีส

เขาไม่พูดกับใคร และไม่มีใครพูดกับเขา เขานั่งอยู่คนเดียวเอาแต่หัดพูดภาษาฝรั่งเศส

วันแล้ว วันเล่า, จนเขาได้ยินเสียงพูดทักทายจากผู้หญิงพนักงานขายหนังสือในร้าน

แล้วเรื่องวุ่นๆ ก็เริ่มหมุนเขากับเธอมาพบกัน..ในค่ำคืนก่อนที่เขาจะเดินทางไปกรุงปารีส จนกลายเป็นโลกวุ่นๆ ที่หมุนหัวใจของเขามาเจอกับเธอก่อนที่จะจากกัน

ผมเผลอยิ้ม เพราะหนังจบอย่างที่อยากให้เป็น

ผมเผลอคิดถึงใครบางคน เพราะคล้ายแผ่นดินไหว “รอบ” หัวใจกว่าที่เป็น

ผมว่า การทำหนังรัก..ให้ “ยิ้ม” น้อยๆ แต่หัวใจ “เต้น” แรงๆ เป็นเรื่องของฝีมือที่หาไม่ได้ง่าย

และผมเลือกเรื่องนี้เป็นหนังประจำเทศกาลฯ ครั้งนี้ของผม

5.

ช่วงสายๆ ของวันนี้ ผมนั่งเขียนรอยจำถึงเทศกาลหนังโลกฯ

ไม่รู้ทำไม, จู่ๆ ผมก็นึกเห็นภาพโลกกำลังหมุนตัวในห้วงจักรวาล

ผมรู้สึกว่าโลกไม่ได้หมุนด้วยตัวเอง แต่คล้ายมีวงแหวนที่มองไม่เห็นกำลังเหวี่ยงให้โลกหมุน “รอบ” ตัวเองอย่างช้าๆ

วูบนั้น ผมนึกถึงรอยยิ้มของทีมงานบางคนที่ผมได้เจอหน้า

แล้ววูบจากนั้น ผมกลับนึก “ขอบคุณ” ทีมงานทุกคนที่ผมไม่ได้เห็นหน้า

6.

ผมชอบลมต้นหนาวตอนปลายปี

อย่างน้อย, มันก็ทำให้ผมรู้ว่าโลกยังหมุนตัวอยู่กลางจักรวาลไม่เคยหยุด

เหมือนจะทำให้ผมรู้ว่า “บางอย่าง” ที่เคยจากไป

กำลังหมุน “รอบ” กลับมา,

ละน้อย ละนิด


ATOL ‘s Guide to WFFBKK ’10 Part 2

1.Crossing the Mountain( Yang Rui/2010)

Review : http://english.cri.cn/7146/2010/05/19/2041s570684.htm

http://www.berlinale.de/en/archiv/jahresarchive/2010/02_programm_2010/02_Filmdatenblatt_2010_20102851.php

http://www.chinesefilms.cn/1/2010/03/14/21s320.htm

 

2. A Film Unfinished  ( Yael Hersonski /2010)

review :

http://movies.nytimes.com/2010/08/18/movies/18unfinished.html

http://www.allvoices.com/news/6876980-false-witness-yael-hersonski-on-a-film-unfinished

interview :

http://blog.beliefnet.com/moviemom/2010/08/interview-yael-hersonski-of-a.html

 

3. ฺBorder ( Harutyun Khachatryan/2010)

interview : http://www.panarmenian.net/eng/culture/interviews/43151/

official site   : http://www.border.am/en/harutyun-khachatryan/

review : http://www.kinokultura.com/2009/26r-border.shtml

 

4. The Way Between Two Points (Sebastian Diaz Morales /2010)

from Rotterdam :

http://www.filmfestivalrotterdam.com/en/films/el-camino-entre-dos-puntos/

Director ‘s official site:

http://sebastiandiazmorales.net/sebastiandiazmorales.net/TheWayBetween.html

 

 

 


ATOL ‘s Guide to WFFBKK ’10 Part 1

1.The Portuguese Nun (Eugene Green /2009)

http://www.slantmagazine.com/film/review/the-portuguese-nun/5103

http://www.theepochtimes.com/n2/content/view/44686/

บทความเกี่ยวกับ Le Monde Vivant หนังเรื่องก่อนหน้าของEugene Green (ไทย)

http://filmsick.exteen.com/20091229/la-monde-vivant-eugene-green-2003-france

2.The Heart of No Place (Rika Ohara /2010)

trailer : http://www.vimeo.com/7091573

fb: http://www.facebook.com/pages/The-Heart-of-No-Place/118308778187831

more about Rika Ohara :http://www.la-artist.com/rika_ohara.html

wiki : http://en.wikipedia.org/wiki/The_Heart_of_No_Place

3. The Sound of Insects : ( Peter Liechti /2009)

trailer : http://www.dailymotion.com/video/x9mm48_the-sound-of-insects-record-of-a-mu_shortfilms

official info: http://www.peterliechti.ch/page.php?en,0,16,0

more iformation about Peter Lechti : http://www.peterliechti.ch/page.php?en,2,0,0

review : http://www.variety.com/review/VE1117940715.html?categoryid=31&cs=1

http://oleszczyk.blogspot.com/2010/01/sound-of-insects-record-of-mummy-2008.html

4. Three Weeks Later (José Luis Torres Leiva/2010)

review : http://www.fidmarseille.org/dynamic/index.php?option=com_content&task=view&id=726&Itemid=62&lang=english


LA DROLESSE (JACQUES DOILLON/1979/FR) เขาและเธอหนีโลกไปอยู่ห้องใต้หลังคา


โดย FILMSICK

หนังเล่าเรื่องของเด็กหนุ่มท่าทางเพี้ยนที่อยู่มาวันหนึ่งล่อลวงเด็กสาว ที่ยังไม่ทันจะวัยรุ่นไปขังไว้ที่บ้าน เรื่องเล่าแทบทั้งหมดเกิดขึ้นในห้องใต้เพดานของโรงนาเน่าๆ ที่ต้องเข้าออกด้วยการปีนบันไดลิง ความผูกพันพิพักพิพ่วนชั่วหนึ่งสัปดาห์ผ่านดาลลั่นช่องประตูที่เอื้อมมือลอด มาเปิดได้ กล้องวงจรปิดเสแสร้ง  และสิวหลังคอของเด็กสาวหน่ายมารดา  เรื่องที่รู้ตั้งแต่ต้นวาคงจะต้องจบลงอย่างเศร้าๆ ซึ่งมันก็เศร้าแบบนั้นนั่นแหละ เพียงแต่นี่คือความเศร้าของความสัมพันธ์ผิดที่ผิดทางของคนที่ไม่อาจจะเข้าใจ โลกในแบบที่มันเป็นได้ ช่วงเวลาพักร้อนเล็กๆจากชีวิตประจำวันของเด็กนักเรียนกับไอ้หนุ่มคนงานไร่  โลกเนิบเงียบเศร้าที่ส่องสว่างเพียงชั่วครู่แล้วค่อยๆสลัวลง

 

เริ่ม จากที่โรงเรียน เด็กสาวเหม่อจ้องมองคนงานทุบทำลายตุ๊กตาหน้าหลุมศพ ครูให้เด็กๆเขียนบทกวีถึงแม่  แม่เหรอ หนูไม่อยากมีแม่ นั่นคือบทกวีของเธอ  ที่บ้าน แม่ไม่ชอบให้เธอมายุ่มย่าม เธอแกล้งทำเป็นหลับแอบดูแม่ พยายามจะช่วยแม่เปลี่ยนเสื้อผ้าแต่แม่ไล่เธอไปนอน แม่เธอรู้จักไอ้หมอนั่น เด็กหนุ่มกระทงท่าทางโง่เซอะ เขามาก้อร่อก้อติกกับแม่จนแม่ไล่ตะเพิดไป เขาบอกว่าเขามีมนต์วิเศษที่จะรักษาสิวของเธอได้ แต่แม่คิดว่าเขาเป็นไอ้ลามก วันต่อมาเขาไปดักรอเธอที่พุ่มไม้ บอกว่าจะพาเธอไปดูทีวีที่บ้าน จะรักษาสิวให้เธอ เธอเลยขึ้นกระบะที่พ่วงกับมอเตอร์ไซค์ของเขา ซ่อนตัวในลังกระดาษ ตามเด็กหนุ่มไปที่บ้านที่อาศัยอยู่กับแม่และพ่อเลี้ยง เด็กหนุ่มขังเธอไว้ในบ้านบอกว่าพ่อเลี้ยงของเขาเป็นไอ้โหด เขาต้องหลอกเธอมาสังเวย เขาขอให้เธออยุ่เฉยๆในห้องเขาจะหาอะไรมาให้เธอกิน แล้วเขาจะพาเธอหนีไป  ความสัมพันธ์มันก็เดินไปแบบนี้ เด็กสาวออกจะกลัว แต่เธอก็อาจจะรู้ก็ได้ว่าเขาโกหก เช่นกันเขาก็คิดว่าแค่หลอกเธอมาเล่นสนุก แต่ทั้งคู่ไม่ได้มีเซกส์กัน เธอยังเด็กอยู่มาก และเขาก็เคอะเขิน ทั้งคู่นอนร่วมเตียงกัน คุยกันไว้ใจแต่กันและกัน ในโลกที่ไม่มีใครยึดเกาะมีแต่พวกเขาเอง

 

หนังเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา ไต่ไปบนความสัมพันธ์หมิ่นเหม่ของเด็กหนุ่มสาวทั้งคู่ แรกทีเดียวเราอาจไพล่นึกไปถึงหนังวัยรุ่นวาบหวามที่เล่นเถิดเจ้าล่อกับความ รู้สึกของแรกหนุ่มแรกสาว แต่เอาเข้าจริงมันกลับเป็นเรื่องของเด็กวัยรุ่น (อีกคนยังไม่ทันวัยรุ่นด้วยซ้ำ) ที่หน่ายโลก  ท่ามกลางชีวิตซึ่งไม่มีอะไรให้ยึดเกาะพวกเขาหันมาเกาะเกี่ยวกันและกัน เด็กสาวนอนเขลงอ่านการ์ตูน กินอาหารที่เขาหามาได้ ประหนึ่งว่ามันเป็นวันพักร้อนของเธอ พักร้อนจากชีวิตที่ยังไม่ได้เริ่มต้นซึ่งเธอก็หน่ายมันเสียแล้ว เช่นกันสำหรับเด็กหนุ่ม เด็กสาวกลายเป็นจักรวาลส่วนบุคคลที่เขาใช้หลบหนีจากครอบครัวที่เขาเข้าไม่ ได้ (เป็นไปได้ว่าครอบครัวของเขาเป็นพวกเจ้าระเบียบ เพราะเขาต้องมานั่งหงอในห้องครัวหลังจากออกไปนอกบ้าน แถมความสัมพันธ์กับพี่สาวก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า) พวกเขาสร้างโลกใหม่ที่ตัดขาดจากคนอื่นๆ โลกในห้องใต้หลังคาที่เข้าออกจากการสอดเชือกเข้ามาทางรูเล็กๆที่ผนังแทน สัญญาณ เด็กสาวเรียกเขาเป็นพ่อที่เธอไม่มี และเขาเองก็กอดกับเธอนอนหลับไปในตอนกลางคืน เขาสัมผัสหลังคอของเธอตอนที่ทาโคโลญจน์ฆ่าเชื้อเพื่อรักษาสิวของเธอ (นั่นเวทย์มนต์ของเขา) เขาและเธอกินข้าวร่วมกัน ใช้ชีวิตพิลึกพิลั่นในความสัมพันธ์ไม่มีชื่อเรียก ซึ่งถึงอย่างไรก็ต้องถูกทำลายลงอย่างย่อยยับอยู่ดี

หนัง อุทิศเวลาทั้งหมดให้กับเกมของเด็กทั้งสองโดยตัดบริบทอื่นๆออกเกือบหมด ราวกับว่าโลกทั้งโลกหดตัวลง ในขณะที่หนังเพ่งมองไปยังความสงบสุขของมนุษย์สองคนความกระอักกระอ่วนก็ก่อ ตัวขึ้นด้วย ฉากหนึ่งเด็กหนุ่มพาเธอไปทิ้งไว้ในไร่ข้าวโพดขณะเข้าเมือง  เขาทิ้งเธอไว้ตลอดวันราวกับจะจบเกมนี้ลง เธอก็รอเขาอยู่ในดวงข้าวโพดเช่นั้นจนในที่สุกเขาก็ต้องมารับ หรืออีกฉากที่เธอวาดภาพบ้านลงบนพื้นและพยายามจะชวนเขาเล่นเหมว่าด้วยบ้านใน จินตนาการที่ที่เราโญนความทุกข์ทิ้งไปได้ แต่เขาด่าว่าเธองี่เง่าเธอเลยด่าว่าเขาเป็นไอ้เลว เธอจะไม่เล่นกับเขาอีกแล้ว จากนั้นเธอก็หนีเขาไปในทุ่งเพื่อที่จะกลับมาอีกครั้ง ความสัมพันธ์ที่ครึ่งๆกลางๆระหว่างการเล่นสนุกและการลักพาตัวที่จริงจัง การเกลียดชังกันในฐานะของเหยื่อ/ผู้ล่าและความรู้สึกที่ดูเหมือนแต่จะมีแค่ สองคนเท่านั้นที่เข้าใจกันได้ถูกถ่ายทอดลงบนจอโดยกันคนดูให้เป็นเพียงผู้ สังเกตการณ์ ก่อนที่หนังจะจบลงเมื่อสิวที่หลังคอของเธอหาย และเขาต้องส่งเธอคืนแม่ของเธอ ในขณะเดียวกันมันก็ดูราวกับว่าโลกข้างนอกค่อยๆคืบคลานมาทำลายโลกในห้องใต้เพ ดานี้ สิวเธอหาย เขาอาจจะต้องติดคุกด้วยหนี้ที่เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ และฉากสุดท้ายของหนัง เหตุการณ์ปรากฏซ้ำเพียงชั่ววูบเดียวที่มีโลกภายนอกมากำกับอยู่ ก็ทำให้หัวใจของตัวละคร และผู้ชมแหลกสลาย

 

โดยส่วนตัวหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกับการอ่าน THE CATCHER IN THE RYE และ การดู THE DEVIL , PROBABLY ของBRESSON เพราะมันค่อยๆคลี่ขยายความไม่สัมพันธ์ ของคนที่เข้ากันไม่ได้กับโลก ถ่ายทอดช่วงเวลาที่เขาและเธอพยายามดิ้นหนีไปจากโลก แน่นอนทุกเรื่องจบลงอย่างเศร้าสร้อย และยอมจำนน การดิ้นหนีของพวกเขาไม่ใช่เรื่องโรแมนติก มันคือการต่อสู้แบบที่รู้ว่าต้องแพ้ตั้งแต่ต้น

 

หมายเหตุ หนังหลายเรื่องอ ของ Jacques Doillon จะฉายในงานเทศกาล World film ปีนี้ พร้อมพบกับตัวจริงของJacques Doillon ด้วยครับ

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

http://www.worldfilmbkk.com/news/36/Retrospective:-Jacques-Doillon-at-8th-WFFBKK.html


Nights of Cabiria (1957) Federico Fellini

วิจารณ์หนังทั้งน้ำตา # 1

โดย หนุ่มโรงงานน้ำตา Melanchoholics

จาก ประสบการณ์เดินทางไปปารีสอยู่หลายหน ผมพบเรื่องหนึ่งซึ่งน่าแปลกประหลาด (แต่น่าจะมีความจริงอยู่เยอะที เดียว) คือ มีดัชนีชี้วัดความเป็นร้านอาหารอิตาเลียนแท้โดยคนอิตาลีแท้ (ไม่ใช่ปะปนรส ชาติอื่นโดยพ่อครัวยุโรปตะวันออกหรือแอฟริกา) คือ จำนวนรูปขาวดำวัยสาวของโซเฟีย ลอเรนซ์หรือไม่ภาพประกอบฉากของหนังที่กำกับโดยเฟเดอริโก้ เฟลินี่ ถึงขนาดว่ามีร้านอาหารอิตาเลียนร้านหนึ่งใกล้สถานีรถไฟ Gare de Lyon ในใจกลางปารีสที่ตั้งชื่อว่า La Dolce Vita ตามชื่อหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดของเฟเดอริโก้ เฟลีนี่ (หนังเรื่องนี้ให้กำเนิดศัพท์คำว่า ปาปารัสซี่ ซึ่งชื่อของตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นตากล้องหนังสือพิมพ์กอสซิปคอยซอกแซกคนดัง ไปทุกที่)

ภาพยนตร์ของเฟเดอริโก เฟลินี่ แทรกซึมในวิถีชีวิตและทัศนคติของคนอิตาลียุคทศวรรษห้าสิบถึงหกสิบอย่างมีนัย สำคัญ การมองโลกอย่างเย้ยหยัน ความสัมพันธ์ที่โดดเดี่ยวระหว่างแต่ละปัจเจกบุคคล การใช้สัญลักษณ์ซับซ้อนแอบซ่อนทางศาสนาซึ่งมักมีนัยว่าศรัทธาที่มนุษย์มีต่อ พระเจ้ากำลังอ่อนแรงลงทุกที ทุกเรื่องที่เขากำกับจะต้องมีการจำลองฉากชีวิตให้เหมือนหรือคล้ายโรงละคร สัตว์ และมักปิดท้ายด้วยความขื่นขม อาจมีปนซึ้งบ้างก็บางโอกาส นอกจากนี้ ยังมีดนตรีประกอบโดยนักแต่งเพลงคู่บารมีชื่อ นีโน่ โรต้า (ดูแล้วไม่ต่างอะไรกับความสัมพันธ์ระยะยาวทางอาชีพระหว่างผู้กำกับ อิตาลี จิวเซปเป้ ทอร์นาโทเร (Cinema Paradiso) กับนักประพันธ์เพลงชาวอิตาลี เอนนิโค่ มอริโคเน่)

ในความ ทรงจำของผม หนังที่น่าประทับใจและน่าร้องไห้ตามที่สุดของเฟลีนี่ คือ Nights of Cabiria เรื่องราวของคาบีเรีย สาวโสเภณีกรุงโรมร่างกระทัดรัดผู้ขมขื่น ผู้พบพานการถูกหลอกลวงจากชายคนรักหลายหน้าหลายตา หลายวาระและโอกาส เธอเองก็ไม่ต่างจากนักฝันสามัญชนไอคิวเม็ดถั่วอย่างพวกเราทั้งหลาย เชื่อคนรักง่าย มองโลกเฉพาะด้านที่อยากมอง และโดนลวงรับประทานหัวใจและทรัพย์สินโดยคนที่เธอไว้ใจที่สุด หนังบอกกับทุกคนว่าถึงแม้ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย แต่ทุกรอยแผลเจ็บปวดจะช่วยให้เราจำมันได้ชัดเจนขึ้น เด็กทุกคนอาจจำเป็นต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ขึ้นด้วยการรับประทาน โปรตีนที่เรียกว่าความผิดหวังเสียใจ

จิวเลียตต้า แมสซิน่า (ภรรยาในชีวิตจริงของเฟลีนี่) ผู้รับบทเป็นคาบีเรีย ถือเป็นศูนย์กลางของความบันเทิงและรันทดในเรื่อง เธอเป็นตัวตลก เธอเป็นแม่พระ เธอเป็นนางมาร เธอเป็นคนบาป เธอตีสีหน้าเป็น เธอตีสีหน้าตาย เธอเข้มแข็งต่อชีวิตตัวเองพอๆกับที่คนรอบข้างมองเธอว่าอ่อนแอ นั่นทำให้หนังเรื่องนี้ช่างหวานปนขมเหลือเกิน

คาบีเรีย เป็นตัวละครที่เฟลีนี่เคยให้สัมภาษณ์รู้สึกผูกพันและเป็นห่วงที่สุด อาจเพราะคาบีเรียดูจะเป็นผู้หญิงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้เสียเท่าไร เธอเป็นคนที่แข็งนอกอ่อนใน พยายามระวังป้องกันตัวเองเหลือเกิน แต่ก็กลับอยากเป็นที่รักที่เข้าถึงได้ของใครสักคน มีฉากหนึ่งที่เธออาสาเป็นหนูทดลองให้กับนักมายากล และโดนสะกดจิตเข้าจริง ภาพลักษณ์ก้าวร้าวแนวชวนทะเลาะกับหนุ่มที่คอยข่มเหงพูดจาเหน็บแนมเธอ ในยามที่เธอรู้สึกตัวดี ช่างต่างจากตัวตนภายในที่แสนเปราะบางช่างฝัน และความบริสุทธิ์ที่ถูกค้นพบนั้นนั้น กลับถูกหัวเราะหยันโดยผู้ชมการแสดงมายากลนั้น ช่างเป็นการตบหน้าเด็กน้อยในตัวเธอจนเสียงดังกึกก้องกรุงโรม

ผู้คน แปลกหน้ามากมายผ่านเข้ามาในชีวิตของคาบีเรีย ไม่ว่าจะเป็น มิตรแท้ ลูกค้า เพื่อนร่วมวงการ นักบวช หนุ่มใจบุญ ชายใจหยาบ อาจเป็นไปได้ว่าคาบีเรียเหมาะที่วางใจที่เปราะบางของเธอให้อยู่ห่างๆกับ บุคคลรอบข้าง เพราะหญิงช่างฝันเช่นเธอไม่มีภูมิคุ้มกันแยกแยะถูกผิดระหว่างไมตรีหรือคำลวง ทำให้เครื่องมือที่ใช้จัดการกับชีวิตคือ การไม่เชื่ออย่างเด็ดขาด และการศรัทธาอย่างสนิทใจ และนั่นนำโศกนาฏกรรมมาสู่สิบนาทีสุดท้ายของภาพยนตร์

ฉากจบของ Nights of Cabiria อ้อยอิ่งและตราตรึง หญิงสาวสะบักสะบอมไร้เรี่ยวแรงกำลังประคองหัวใจที่แตกละเอียดเป็นเศษลงมาจาก ยอดเขาแห่งอดีตอันลวงหลอก เธอค้นพบกลุ่มหนุ่มสาวกำลังเต้นรำทำเพลงครื้นเครงไปตามถนน พวกเขายิ้มแย้ม กระเซ้าเย้าแหย่ให้กำลังใจหญิงสาวหน้าอมทุกข์ผู้มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูง ที่สุดในกรุงโรม (ในขณะนั้น) สิ่งที่หญิงสาวตอบแทนต่อผู้ที่ยิ้มให้เธอ คือ การยิ้มตอบแก่พวกเขา และยิ้มตอบต่อพวกเราผู้ชมภาพยนตร์ นั่นเป็นช่วงเวลาที่ความรู้สึกของผมเอ่อล้น อาจไม่มีสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ใครสักคนให้กำลังใจผมด้วยรอยยิ้มผสมน้ำตา นั่นทำให้ผมรู้สึกตัวได้ว่า ชีวิตนี้ช่างมีค่าเสียจริง

การยิ้มให้แก่ อดีตอันทุกข์โศก ถือเป็นการเฉลิมฉลองต่อการมีชีวิตอยู่ และ Nights of Cabiria คือยังคงเป็นอีกหนึ่งบทแห่งการเฉลิมฉลองต่อจิตวิญญาณของประวัติ ศาสตร์โลกภาพยนตร์


FILMVIRUS SHORTS : WILD TYPE 2010 call for submissions

สำหรับพวกเราแล้ว เดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ของแต่ละปี  เป็นเสมือนช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์  เพราะมันคือช่วงเวลาที่มูลนิธิหนังไทย จัดฉายหนังในรอบมาราธอน นั่นหมายถึงฉายหนังทุกเรื่องที่ส่งมาเพื่อร่วมประกวดในเทศกาลหนังสั้นประจำ ปี หนังจำนวนเกือบห้าร้อยเรื่อง ถูกจัดฉายเรียงลำดับตัวอักษร ในทุกวัน  บางคราวใช้เวลาเป็นเดือนๆ ก่อนที่บรรดาหนังสั้นเหล่านั้นจะถูกคัดเลือกเหลือเพียงจำนวนสามสิบหรือสี่ สิบเรื่องเพื่อเข้าฉายและเข้าประกวดในเทศกาลหนังสั้นช่วงปลายเดือนสิงหาคม

สำหรับ พวกเราแล้วความสุขประการหนึ่งคือการได้นั่งในห้องมืดของรอบมาราธอน ดูหนังสั้นจากทุกสารทิศทั่วประเทศไทย ค้นหาภาพและเสียงใหม่ เรื่องราวใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ความแปลกพิสดารพันลึก ความดิบหยาบของงานสร้าง ความกล้าหาญ กระทั่งความไร้เดียงสาในการนำเสนอประเด็นหนักหน่วง แน่นอนว่าไม่ใช่หนังสั้นทั้งหมดจะเป็นหนังสั้นชั้นเลิศประหนึ่งเพชรในตมจาก ดินแดนห่างไกล บางเรื่องเป็นผีมือของเด็กมัธยมที่เพิ่งเริ่มจับกล้อง หรืออาจจะเป็นเพียงคนเดินถนนสามัญที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหนังมาก่อน  เป็นเพียงหนังที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน นำเสนอในหน่วยงาน ไปจนถึงการบันทึกเหตุการณ์สำคัญโดยบังเอิญ ทำส่งอาจารย์ในวิชาต่างๆ หรือกระทั่งตั้งใจทำเพื่อสอนสั่งศีลธรรมอันดีแก่สังคม ความสนุกสนานเหล่านั้น  ความน่าเบื่อหน่ายเหล่านั้น ความตลกโปกฮาเหล่านั้น ความไม่ได้เรื่องได้ราวเหล่านั้นคือพลังของสื่อใหม่อย่างภาพยนตร์ ซึ่งในที่สุดได้ปลดแอกออกจากเรื่องของมืออาชีพ นักเรียนหนัง นายทุน สตูดิโอ เจ้าของอุปกรณ์ หรือผู้รู้ไดๆ ใครก็อาจบอกได้ว่าถึงที่สุดภาพยนตร์ก็หล่นจากสวรรค์ลงมาอยู่ในมือคนเดินดิน ด้วยความอุดหนุนของเทคโนโลยีซึ่งทำให้อุปกรณ์ถ่ายทำถูกลง และใช้ง่ายขึ้น จนในที่สุดใครก็ทำหนังได้แล้ว

อย่างไรก็ดี ใครต่อใครอาจจะเชื่อเรื่องความมักง่าย เชื่อว่า หนังเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าอะไร เป็นเพียงของเล่นที่ไร้สาระ  เป็นเพียงเรื่องขำๆของเด็กจิตป่วย ไม่มีสิ่งใดพอให้ใส่ใจ แต่สำหรับเราแล้วเราคิดต่างไป เราคิดว่านี่ต่างหากคือขุมทองของภาพใหม่เสียงใหม่ ภาพและเสียงซึ่งไม่ได้รับการขัดเกลา หากเต็มไปด้วยความกล้าหาญและจริงใจ  หนังซึ่งคว้าจับภาพชีวิตธรรมดาสามัญของมนุษย์ทั่วไปซึ่งไม่เคยถูกกระทำใน ฐานะมนุษย์ที่ไม่ใช่ตัวละครในหนังมาก่อน หรือการคว้าจับภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมอันสดใหม่ วัฒนธรรมย่อยซึ่งถูกกดให้อยู่ชายขอบ ปากเสียงของคนที่ไม่เคยมีปากเสียงหรือถูกทำให้มีเสียงเพียงรูปแบบเดียว ไปจนกระทั่งสุนทรียศาสตร์แบบใหม่ๆในการรับรู้โลกเดิม  ความหลากหลายอันงดงามเหล่านี้เองทำให้เรารู้สึกว่าหนังสั้นมาราธอน คือปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง คือแสงแวววาวของเหลี่ยมเพชรจำนวนมากซึ่งบางครั้งการเจียระไนต่างหากที่ทำให้ หมองไป

ด้วยข้อจำกัดของการประกวด และปริมาณหนังสั้นที่มีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ถึงที่สุดแล้วดูเหมือนการประกวดของมูลนิธิหนังไทย อาจไม่เพียงพอรองรับการขยายตัวทั้งทางกว้างและทางลึกของหนังสั้น จำนวนมากได้อีกต่อไป เรากลุ่ม filmvirus ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการรวมตัวกันหลวมๆของนักดูหนังจำนวนหนึ่ง เห็นว่ามีนหนังสั้นจำนวนมากที่ตกสำรวจไปในแต่ละปี และเราเสียดายอย่างยิ่งที่หนังเหล่านั้น หรือคนทำหนังเหล่านั้นจะต้องสูญหายไปท่ามกลางกระแสหนังสั้นที่มีเป็นจำนวน มาก

ดังนั้น เท่าที่กำลังเราพอจะทำได้คือการรวบรวมหนังสั้นเหล่านี้กลับมาฉายอีกครั้ง หนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมที่พลาดได้พบปะกันอีกครั้ง และให้หนังเหล่านี้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อสองปีที่แล้วเราเริ่มจากการจัดโปรแกรมหนังสั้น Filmvirus Shorts : Wild Type เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานครบรอบสิบสามปีดวงกมลฟิล์มเฮาส์(Filmvirus) และก็พยายามสานต่อโปรแกรมฉายนี้อีกในปีต่อมา

ในปีนี้ เราจะยังคงจัดโปรแกรมนี้ต่อ เรายังคงเลือกหนังจากรอบมาราธอนมาหาที่ทางจัดฉายกันอีกครั้ง หากในปีนี้เราพยายามจะขยายโปรแกรมนี้ออกไปอีก ดังนั้น นอกจากเราจะจัดฉายหนังที่เราคัดเลือกไว้ เรามีความยินดีจะชวนเชิญทุกท่านร่วมกันส่งหนังมาฉายในโปรแกรมฉายนี้ด้วย โดยมีข้อแม้แค่ว่าขอให้ยาวไม่เกินหนึ่งชั่วโมงและสร้างภายในปี2552

อย่าง ไรก็ดี เราขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกหนังของท่าน ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคลของเราเองเพียงเท่านั้น  การที่หนังของท่านไม่ได้รับการคัดเลือกไม่ได้หมายความว่าหนังของท่านไร้คุณ ค่าแต่อย่างใด หากสิ่งที่เรามุ่งหน้าไปคือการมองหาภาพและเสียงใหม่ๆ ภาพที่ยังไม่ถูกมองเห็นและเสียงที่ยังไม่เคยได้ยิน  ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นและได้ยินมัน รวมทั้งได้ช่วยเป็นกระบอกเสียงสำหรับเสียงเหล่านั้น

ส่งหนังของท่านพร้อมข้อมูลเบื้องต้น มาที่ Filmvirus 135 ถนนภูเก็ต อ.เมือง ภูเก็ต 83000 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่

filmsick@gmail.com

ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อเราจะได้คัดเลือกและจัดเป็นโปรแกรมสำหรับฉายต่อไป


BAXTER VERA BAXTER (MARGUERITE DURAS /1977/FR)ขอบฟ้าปิตาธิปไตย

โดย FILMSICK

หนังสี่ฉากเรื่องนี้เล่าเพียงเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งในปราสาทหรูหรา ฉากแรกเป็นโรงแรมตีนเขา ผู้ชายที่เคาน์เตอร์กับนักข่าวที่เพิ่งเดินเข้ามาเล่าเรื่องนางเวรา แบกซเตอร์หญิงลึกลับทีมาพักที่ปราสาทหรูหราทุกปี  เธอมีสามีรวยๆที่ไม่ได้เอาใจใส่เธอมากนัก พวกเขาเล่าให้ผู้หญิงคนหนึ่งฟัง ผู้หญิงอีกคนโผล่มาแล้วบอกว่ามีคนเช่าบ้านนั้นแล้ว  นายหน้าผู้ให้เช้าตามหาหญิงสาวไม่พบ โทรไปก็ไม่มีคนรับ ไม่มีใครติดต่อได้เธออยู่ในบ้านไม่ยอมออกมา ผู้หญิงแปลกหน้าลึกลับที่ทุกคนพูดถึง

ฉากที่สอง คือการปะทะกันของหญิงสาวที่มาใหม่กับ เวรา แบกซเตอร์ในบ้านของเธอ ภาพทะเล สวน ต้นไม้ กรอบหน้าต่าง ถูกแทรกเข้ามาในบทสนทนาของผู้หญิงสองคนคนหนึ่งเป็นเมียเอก และอีกคนเป็นเมียเก็บ สามีของเวรามีเมียเก็บมากมาย หญิงสาวเป็นหนึ่งในนั้น เธอสองคนพูดเรื่องของฌอง สามีร่ำรวยของเวรา พวกเธอต่างบอกกันว่าต่างโกหกเรื่องต่างๆ ที่แน่ๆ เวราก็คบชู้กับใครสักคนและพาเขามาที่นี่ด้วย  คำลวงของความทรมานรักของเธอสองคนดำเนินไปเช่นนั้น

ฉากที่สามเวราโทรไปหาสามีของเธอพยายามควบคุมอารมณ์ แต่ในที่สุดก็เกรี้ยวกราด แต่เราไม่ได้เห็น ทุกครั้งที่เธอของขึ้นกล้งจะตัดไปหาทะเล ท้องฟ้า สวน กรอบประตู ช่องทางเดินของบ้าน เธอขอให้เขาเลิกกับเธอเสีย และเขารู้ว่าเธอนอกใจ ซึ่งเขาไม่อาจทนได้ ที่ปลายสายอีกด้านเด็กสาวคนหนึ่งถามเอากับกล้องว่าคุณโ?รหาเธอใช่ไหม ใจอยากจะโทรกลับไปแต่ไม่ได้ทำ

ฉากที่สี่ หญิงสาวแปลกหน้าจากโรงแรมตีนเขาเดินทางมาหาเวราที่บ้าน เธอเป็นคัวแทนของชายหนุ่มีทบาร์ที่เรารู้แล้วว่าเป็นชู้รักของเวรา เวราเล่าเรื่องของชู้รัก ของสามีที่เงินมากแต่ไม่ได้ร่ำรวยเลยสักนิด  ชายคนที่เวราแต่งงานด้วยเป็นเพียงนายทึ่มมากรักผู้น่าเบื่อหน่าย ชู้รักของเธออาจหล่อเหลาแต่ก็เป็นแค่แมงดาเกาะผู้หญิงกิน พวกเธอผลัดกันเล่าเรื่องเฉพาะของเวราเอง หญิงแปลกหน้าบอกจะพาเธอไปหานายหน้าเรื่องเช่าบ้าน ไปพบชู้นักที่บาร์ แต่ผู้หญิงสองคนก็พูคุยกันท่ามกลางภาพของทะเล กรอบหน้าต่าง สวน ปราสาทโบราณ ที่ถูกสอดแทรกเข้ามาท่ามแสงซึ่งโพล้เพล้ลงไปเรื่อยๆ

ราวกับตัวละครบางตัวกระโดดออกมาจาก เชื่อนกั้นแปซิฟิก นิยายเก่าของดูราส์เองที่ว่าด้วยหญิงสาว กับหนุ่มพื้นเมืองร่ำรวยที่โง่เขลา และพี่ชายเจ้าอารมณ์ที่เป็นเสมือนชู้รกัทางวิญญาณของเธอ ขณะเดียวกัน การกำกับในช่วงแรกของหนัง การใส่บทสนทนาทาบลงมาต่อภาพแพนชมทัศนียภาพราวกับเสียงสะท้อนของผนัง เพดาน ชวนให้คิดถึงหนังที่มีเสียงกับภาพไปคนละทิศทางอย่าง INDIA SONG ในขณะที่แก่นแกนของเรื่องและความสงบในช่วงท้ายก็ชวนให้คิดถึงความสวยงามแสนหวั่นไหวใน NATHALIE GRANGER ผิดกันก็แต่ว่า NATHALIE พูดถึงความสงบสุข แต่ BAXTER พูดถึงความทุกข์ทรมานของการ ‘เกิดเป็นหญิง’

สิ่งที่น่าสนใจในหนังของดูราส์คือเธอมักถ่ายผู้หญิงผ่านกรอบหน้าต่าง ภาพซ้อนทับของต้นไม้จะทาบทับลงบนใบหน้าตัวละครจนเราเห็นเพียงบางเสี่ยวส่วนซึ่งหวั่นไหวอยู่ในกรอบกระจกที่เร้นเธอไว้ ในทางหนึ่งเราอาจบอกได้ว่าเธอถูกกักในกรงขัง แต่ในอีกทางเหมือนกับดูราส์จะบอกว่า พวกเธออยู่ข้างในแต่คุณจะไม่ได้เห็นเพราะคุณจะทำแต่เพียงมองดูจากข้างนอก เห็นเพียงบางเสี้ยวส่วนและจงใช้จินตนาการเอาเองเถอะ

ตัวละครสตรีของดูราส์นั้นยังคงน่าสนใจอย่างยิ่ง นี่เป็นอีกครั้งที่เราเข้าไปในอาณาเขตของสตรี ถ้า NATHALIE GRANGER คืออาณาเขต ‘บ้าน’ของพวกเธอซึ่งมีผู้ชาย (เซลล์แมน)บังเอิญหลุดเข้าไปทำลายจังหวะแห่งความสงบและความหวั่นไหว ในคราวนี้ พวกผู้ชายกลับถูกกันออกไปจากอาณาจักร๘องเหล่าสตรีจำนวนมากที่ปรากฏบนจอ เพียงแต่การไม่มีอยู่ไม่ได้หมายความว่าเป็นอิสระจากกัน หนักไปกว่านั้นบรรดาผู้ชายกลับคือประเด็นหลัก คือตัวบ้านนั่นเลยทีเดียว

มีผู้ชายเพียงฉากแรกในคาเฟ่ พวกผู้ชายพูดถึงผู้หญิงลึกลับ ชักนำการสนทนาของผู้หญิงอีกสองคน ก่อนที่หนังทั้งหมดจะดำเนินไปในคฤหาสน์ที่ผู้เช่าเป็นผู้ชาย ถ้านั่นยังไม่โดดเด่นพอเรื่องที่พวกเธอพูคุยกัน คือเรื่องของ เมียน้อยเมียหลวง กล่าวให้ถูกต้องคือบรรดาผู้หญิงทั้งสี่ (สามคนในบ้าน อีกคนที่ปลายสาย) ต่างร่วมกันแบ่งปันประสปการณ์ความทุกข์ทรมานของการเป็นเมียหลวง เป็นเมียเก็บ ความกล้ำกลืนฝืนทน ความสำนึกบาปของการคบชู้ พวกเธอเอาเข้าจริงหมกมุ่นและเป็นทุกข์กับอาการบ้าผู้ชายนั่นเอง กรอบทั้งหมดที่เราเห็น บานหน้าต่าง ช่องโถงทางเดิน บันได ผ้าม่าน ซุ้มประตู จึงล้วนเป็น คุกหอคอยของเพศชาย ขอบฟ้าปิตาธิปไตยที่ครอบบรรดาหญิงสาวเหล่านี้เอาไว้  สิ่งเหล่านี้สะท้อนก้องอยู่ตั้งแต่ชื่อหนัง BAXTER  VERA BAXTER นามสกุลแบกซเตอร์ของสามีครอบงำเวรา ทั้งข้างหน้า และข้างหลัง!

อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่หนังถูกแทรกซ้อน หันเหออกจากบ้านหลังนี้ไปสู่ระยิบระยับของทะเล หากทราย ฝูงนอก สวน เงาสะท้อน ความมืด หนังก็ปลดตัวเองออกจากกราครอบครองและควบคุม ภาพเหล่านั้นมักแทรกเข้ามาในขณะที่ตัวละครหลักเกรี้ยวกราด แสดงความอ่อนแอ หรือแสดงความเห็นใจกันและกันออกมา  กล่าวในอีกทาง ในคฤหาสน์ของผู้ชาย ที่แท้โลกของสตรียังคงอยู่ข้างนอกและ อาจจะยิ่งกว่านั้น อยู่ข้างในตัวเธอ อยู่ในฉากที่เธอนอนเปลือยอยู่บนเตียง อาจจะหลังจากร่วมรักกับชู้รักในคฤหาสน์ที่สามีเช่า หรือได้โอกาสอยู่ลำพังแล้วเปิดเปลือยตนเองออก

ที่น่าสนใจมากขึ้นคือการนำเสนอเพศชายในหนังก็ไม่ได้เป็นไปในฐานะผู้ปกครองที่กดขี่ทำลายเพศหญิง หากมาในรูแของความอ่อนแอไม่รู้จักโตต่างหาก ผู้ชายในเรื่องมีบาร์เทนเดอร์ขาเมาท์ ชู้รักนักข่าว(นักพนัน)  และคนสำคัญคือ ฌอง เจ้าของเงิน เจ้าของบ้านเจ้าของชีวิตครอบครัวของเวรา  ซึ่งตลอดทั้งเรื่องไม่ได้ปรากฏตัวออกมา แต่เรารู้ได้เลยว่าฌองเป็นคนทึ่มทื่อที่มีเงินเป็นอาวุธในการดึงดูดหญิงสาว อย่างไรก็ดี เขากับเวราก็มีสายสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาที่พิเศษ ในฉากโทรศัพท์เราจึงเห็ฯฌองแสดงความอ่อนแอออกมาอย่างหมดเปลือก เมื่อเขารู้ว่าเธอก็คบชู้และอาจจะไปจากเขา มันเป้นสิ่งที่เขาทนรับไม่ได้และแสดงผ่านเสียงและบทสนทนาในโทรศัพท์นั้น

ในคฤหาสน์ของผู้ชายอ่อนแอและผู้หญิงอมทุกข์  สิ่งซึ่งผิดประหลาดย้อนแย้งที่สุดในหนังย่อมคือเพลงประกอบรื่นเริงบันเทิง สุขซึ่งคลอคู่กับหนังไปตลอดเรื่อง  ใครก็บอกได้ว่ามันช่างไม่เข้ากับตัวเรื่องอย่างร้ายกาจหนำซ้ำยังลอยหน้าลอย เสียงแบบนันสตอปตลอดเวลา ดนตรีเพลงเดิมเพลงเดียวเล่นซ้ำไปไม่มีจบ หนำซ้ำตัวละครก็ยังพากันได้ยินเพลงนี้และยังพยักเพยิดแก่กันว่าที่แท้มันคือ เสียงดนตรีซึ่งลอยละล่องมาจากงานปาร์ตี้ในวิลล่าหลังท้ายสุด  เสียงซึ่งคลอคู่อวลกระอายอยู่ในอากาศยามบ่าย ขัดแข้งขัดขากับเรื่องรักทรมานตลอดการเดินทางคู่กันไป เสียงเพลงซึ่งคืออารมณ์อิ่มสุขที่อยู่แสนไดล เราจับต้องได้ เราเชื่อว่ามันมีอยู่ แต่เราไม่อาจไขว่คว้ามัน  ปล่อยให้เพียงล่องลอยอยู่ในมวลอากาศลทิ่มแทงเราอยู่อย่างนั้นด้วยการรับรู้ ว่ามันมีอยู่ แต่ไม่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมัน เพราะเราเป็นเพียงผู้ไขว่คว้ควสามสุขที่ได้ความทรมานเป็นเครื่องประโลมใจทด แทน


bookvirus talk+ film screening

Chez Lodin +Toot Yung Gallery ร่วมกับดวงกมลฟิล์มเฮาส์ (Filmvirus) เชิญทุกท่านร่วมงาน เปืิดตัวหนังสือ รวมเรื่องสั้นBookvirus ฟุ้ง 07 :นารีนิยาม

ร่วมพูดคุยกับ สนธยา ทรัพย์เย็น บรรณาธิการผู้คัดเรื่อง แะลทีมนักแปล พร้อม ชมหนังสั้นโปรแกรม Cinema Feminine
ที่  Chez Lodin + Toot Yung Gallery 19 ถนนประชาธิปไตย (หลังสะพานวันชาติ) กรุงเทพ


14.00-15.30
เปิดตัวหนังสือ นารีนิยาม (Bookvirus ฟุ้ง 07 – เปิดม่านเรื่องสั้นแปลจากนักเขียนหญิงนานาชาติ) บรรณาธิการ และคัดสรรเรื่องสั้นโดย สนธยา ทรัพย์เย็น

“นักว่ายน้ำ” (มิแรนดา จูลาย – เขียน) แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร
“เกมที่ค้างคา” (โกลี ทารากี – เขียน) แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง
…“ม้าน้ำ” (ฮิโรมิ คาวาคามิ – เขียน) แปลโดย โดยมัทนา จาตุรแสงไพโรจน์
“ลอกลายกุหลาบ” (แคลริซ ลิสเปคเตอร์ – เขียน) แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์
“จบให้สวย” (มาร์กาเร็ท แอ็ตวูด – เขียน) แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง

อ่านบทกวีโดยนักเขียนหญิง
บรรณาธิการและคณะผู้แปลร่วมสนทนากับผู้ฟัง

ฉายหนังสั้น นิยามนารี 1
Agnes Varda – Happiness? The People of Fontenay Response + Bonheur : Proper Name or Concept / ฝรั่งเศส 8 min
Naomi Kawase – See Heaven (1995) / ญี่ปุ่น10 min
Lucrecia Martel – Rey Muerto (1995) / อาร์เจนตินา12 min
วสุนันท์ หุตเวช เธอชื่อพระจันทร์ (2010) 8 min / ไทย** (กำลังติดต่อผู้กำกับ)
Marina De Van – La Promenade (2007) / ฝรั่งเศส 35 min

ฉายหนังสั้น นิยามนารี 2
Magaret tait – A Portrait of Ga (1952) / อังกฤษ 5 min
Helke Sanders – Subjectivity (1966) /เยอรมัน 5 min
Su Friedrich – Gently Down the Stream (1981)/อเมริกัน 11 min
Christelle Lhereux All The Mountains Are Look ALike (2008)/ฝรั่งเศส 12 min
Sara Driver – You are not i (1981) /อเมริกา 50 mins (วีดีโอ)

ร่วมพูดคุยกับคุณไกรวุฒิ จุลพงศธร และวิวัฒน์ เลิศวิวัฒนวงศาหลังหนังจบครับ

สอบถามเพิ่มเติมที่

http://www.facebook.com/event.php?eid=148142668535013#!/group.php?gid=125187560852695

แผนที่


LA COMMUNE (BKK,2010) @ THE READING ROOM

THE READING ROOM และ FILMVIRUS ชวนคุณชม PETER WATKINS’ MINI RETROSPECTIVE: LA COMMUNE (BKK, 2010) วัน

เสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2553: 11.00น. LA COMMUNE (345mins) + Talk:

หนัง – การเมือง จากปารีสถึงราชประสงค์ โดย อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ และ อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ดำเนินรายการโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553: 14.00 น. PUNISHMENT PARK (88 mins) …

THE READING ROOM + FILMVIRUS invites you to PETER WATKINS’ MINI RETROSPECTIVE: LA COMMUNE (BKK, 2010)

Sat. 31 July 2010: 11:00AM: LA COMMUNE (345mins) +Talk:

Cinema of Politics :From Paris to Ratchaprasong, panelists: Sirote Klampaiboon and Prinya Thaewanarumitkul,

hosted by Graiwoot Chulpongsathorn and Wiwat Lertwiwatwongsa

Sat. 7 July 2010 : 2:00PM: PUNSIHMENT PARK (88 mins) For more info: 02-635-3674

SYPNOSIS

LA COMMUNE

นี่คือหนังที่แกล้งทำตัวเป็นสารคดี และกระตุกผู้ชมให้เห็นเป็นระยะว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงจำลอง การขัดขืน การต่อสู้ การงัดข้อของมนุษย์กับอำนาจรัฐ แบบจำลองของปี 1871 ซึ่งล่องลอยเหนือกาลเวลาด้วยว่ามันเป็นเพียงโครงคร่าวที่เปิดโอกาสให้ผู้ชม และกระทั่งผู้เล่น (นักแสดง) ได้หยิบจับเอาฉากช่วงประวัติศาสตร์อื่นมาซ้อนทับ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ แสดงอารมณืไล่เรื่อยไปจนถึงมีส่วนร่วมในการปฏิวัติจำลอง ลิ้มรสทั้งชัยชนะและความพ่ายแพ้ด้วยตนเอง

บ้าน(โกดัง)ร้างหนึ่งหลัง และการเปิดรับสมัครนักแสดงจากทางหนังสือพิมพ์  ผู้กำกับ PETER WATKINS เนรมิตบรรยากาศของการปฏิวัติขึ้นมาอีกครั้ง หนังเริ่มต้นเล่าผ่าน ชายหญิงคู่หนึ่งที่ประกาศต่อหน้ากล้องว่าเขาและเธอจะรับบทเป็นนักข่าวโทรทัศน์ช่องคอมมูน ซึ่งถ่ายทอดเหตุการณ์นี้ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงการล่มสลาย ซึ่งสำหรับเขาและเธอมันเป็นเรื่องสะเทือนใจอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทในเหตุการณ์ที่ทุกคนต่างรู้ตั้งแต่ต้นว่ามันจบลงอย่างโหดเหี้ยมเพียงใดจากนั้นกล้องเริ่มต้นกวาดเก็บไปยังเศษซากที่หลงเหลือในฉากหลังความตายอันเหี้ยมโหดในฉากสุดท้าย การสังหารหมู่พลเมืองปารีส ไม่แยกเด็ก สตรี คนชรา โดยกองทัพร่วมชาติจากแวร์ซายส์ เหตุการณ์ตอกตรึงในประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืมเลือนแม้จะถูกทำให้ลืมก็ตาม

http://filmsick.exteen.com/20100730/la-commune-peter-watkins-2000-uk-fr

PUNISHMENT PARK

บ่ายวันที่ 4 พฤษภาคม 1970 เจ้าหน้าที่หน่วยงานรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ตัดสินใจลั่นกระสุนสังหาร 67 นัดเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งเป็นนักศึกษา แห่งมหาวิทยาลัย Kent State ขณะทำการประท้วงสงครามเวียตนาม เพื่อรักษาระยะห่าง 60 ฟุต ระหว่าง เจ้าหน้าที่กับผู้ประท้วง นักศึกษา 4 ราย เสียชีวิต 9 รายบาดเจ็บสาหัส บางรายกระสุนโดนส่วนสำคัญ กลายเป็นอัมพาตไปชั่วชีวิต แม้ว่าจะสามารถทราบรายชื่อของผู้ลั่นกระสุนสังหาร หากเจ้าหนาที่เหล่านั้นกลับไม่ได้รับการลงโทษ บางคนบอกว่า นี่คืออุบัติเหตุ บางคนบอกว่า พวกเขาเพียง ป้องกันตนเอง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม นี่คือ เหตุการณ์รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศประชาธิปไตยเช่นอเมิรกา

เหตุการณ์ในครั้งนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้ Peter Watkins ผู้กำกับชาวอังกฤษ สร้างหนังเรื่องนี้ขึ้น ด้วยทีมงานเพียง8คน และกล้อง 16 มม. 1 ตัว

ตัวหนังนั้นมาในรูปแบบของ สารคดีเทียม- เล่าเรื่อง ในอนาคตอันใกล้ (นับจาก ปี 70 ) เมื่อเหล่าหนุ่มสาวฮิปปี้ ผู้ประท้วงสงคราม นักเรียกร้องเพื่อสิทธิคนผิวสี ขบวนการ black panther นักร้องเพลงโฟลค์ นักเขียน คนหนีทหาร กระทั่งชายที่ไม่ทำอะไรเลย โดน เหล่าปัญญาชนฝ่ายขวาจับตัวไปไต่สวนในข้อหา ต่อต้านอเมริกา- -ไม่รักชาติ- และ ทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย เป็นคนไร้ศีลธรรม และเป็นอันตรายต่อชาติ ทางเลือกของจำเลยมีเพียงสองประการ หนึ่งคือยอมติดคุกตามกฎหมายอาญา เป็นเวลา 7 10 ปี หรือ อีกทางหนึ่งคือยอมถูกส่งตัวไปยัง แดนลงทัณฑ์ – ซึ่ง หมายถึงทะเลทรายสักแห่ง ใช้เวลาที่นั่น 3 วัน 3 คืนโดยปราศจากน้ำและอาหาร มีจุดมุ่งหมายประการเดียวคือการเดินเท้าเป็นระยะทางหลายสิบไมล์ เพื่อไปให้ถึง ธงชาติ-ในเวลาที่กำหนด โดยมีกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี คอยตามประกบ จับกลับไปรับโทษ และหากใครขัดขืน ก็ เก็บ-ได้โดยไม่ต้องปรานี หนังตัดสลับไปมาระหว่าง กลุ่มจำเลยสองกลุ่ม หนึ่งกลุ่มในห้องไต่สวน ตอบโต้ กู่ตะโกน เพื่อปกป้องอิสรภาพแห่งตน และอีกกลุ่มใน แดนลงทัณฑ์ ที่ดิ้นรนเอาชีวิตรอด ทั้งจากธรรมชาติอันโหดร้ายและเจ้าหน้าที่อันไร้ความปรานี

http://filmsick.exteen.com/20060504/punishment-park-1


ฺBKK Experimental Film Fest. ครั้งที่6 : introduction

คัดลอกจาก

http://www.beffbeff.com/

จากกรุสู่ BEFF6

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใดบ้างที่รอการขุดค้นพบ จากหอภาพยนตร์ในภูมิภาค? ยังมีคลังสะสมสื่อวัตถุภาพและเสียง ที่ไหนอีกบ้างที่ีเก็บสะสมประวัติของภูมิภาคนี้ไว้? เทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 จะลองพลิกจารีตการจัดโปรแกรมภาพยนตร์แบบเทศกาลทั่วไป หันมาทำหน้าที่เป็นพื้นที่และเวทีให้กับคำถามเหล่านี้แทน โดยสิ่งที่เน้นย้ำในเทศกาลครั้งนี้คือ การจัดโปรแกรมจากภาพเคลื่อนไหวที่ขุดคุ้ยมาจากหอภาพยนตร์​ต่างๆ ที่เด่นชัดทั้งกรอบเนื้อหาประวัติศาสตร์(อันมีบริบทของสากลโลกเป็นธงนำ) และความโดดเด่นทางสุนทรียะของงานที่เลือกสรรค์มาแสดง BEFF6 เสนอตัวเป็นเวทีถกเถียงด้วยมุมมองแหลมคม ว่าด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์​ สังคม และศิลปะ ของบรรดาภาพเคลืิ่อนไหว ‘นิรนาม’ ทั้งหลายที่เก็บซ่อนสะสมไว้ในกรุต่างๆ

The remains of Queens Cinema in Wang Burapha, Bangkok’s cinemagoing heartland during the Cold War.

ทีมภัณฑารักษ์ของเราจะออกสืบค้น ฟุตเทจเก่าๆ และหนังบ้านที่มีอะไรบางอย่างในกรอบภาพสามารถจุดประกายให้ผู้ชตระหนักในสิ่ง ที่ไม่เคยคิด หรือกระตุ้นต่อมความทรงจำที่นึกว่าเลือนหายไปแล้วได้ ทีมภัณฑารักษ์ของ BEFF6 ประกอบด้วย  เดวิด เทย์,  อาดาดล อิงคะวณิช, ชลิดา เอื้อบำรุงจิต, จอร์ช คลาค, ริชาร์ด แมคโดนอล์ล และบริจิจต์ ปาโลวิตซ์ แต่ละคนจะไปสืบค้นหอภาพยนตร์ในประเทศไทย อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม จีน ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และ ฮอนแลนด์ นำมาจัดโปรแกรมโดยเน้นการผลักดันให้ผู้ชมเกิดมุมมองใหม่ๆ ในการมองประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติ ศาสตร์สังคม การเมือง รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของสื่อมีอายุอันมีนามว่าภาพยนตร์นี้ ผ่านรายละเอียดเล็กยิบย่อยจากภาพสู่ภาพ ซึ่งดูเผินๆ อาจเข้าใจผิดไปว่า’ ไม่เป็นสารัตถะ’ เราจะทดลองใช้คลิปภาพยนตร์ชิ้นเดียวกันแต่จะถูกจัดให้อยู่ในโปรแกรมที่ต่าง กันไป ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดสรรและเรียบเรียงโปรแกรม ในความพยายามที่จะเชื่อมโยงสาธารณะชนกับสื่อวัตถุสะสมเหล่านี้

BEFF6 จัดโดย โปรเจค 304 และได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป หอภาพยนตร์ มูลนิธิหนังไทย และ วารสารอ่าน ผู้ก่อตั้งและอำนวยการเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพได้แก่ กฤติยา กาวีวงศ์ กับ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล


กลแสงแห่งปี 2009 : A TRICK OF THE LIGHT TOP OF THE YEAR 2009 LIST ภาค 4

ศาสตร์ อินทรวารี นักวิจารณ์ศิลปะ

Top 5 WTF Moments ในแวดวงศิลปะไทยในปี 2009

5) การเปิดหอศิลป์ กทม. อย่างเป็นทางการครั้งที่สองในเดือนสิงหาคมปี 2009

หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมือเดือนกันยายนปี 2008 และใช้จัดกิจกรรมต่างๆ มาแล้ว 13 เดือน

4) หนังสือ ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่: ความขัดแย้งและความลักลั่น โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา และ “Behind Thai Smiles: Selected Writings, 1991-2007” โดย อภินันท์ โปษยนันท์

หนังสือด้านศิลปะไทยที่ดีที่สุดสองเล่มของปีที่แล้ว จัดพิมพ์โดยทุนกระทรวงวัฒนธรรมจึงไม่สามารถจัดจำหน่ายได้ คนทั่วไปจึงไม่สามารถหาซื้อได้ และเมื่อไปถามทางกระทรวงก็ได้รับคำตอบว่าหนังสือไม่ได้อยู่ที่กระทรวง อยู่ที่นักเขียนทั้งหมด ซึ่งถ้าถามนักเขียน นักเขียนก็คงบอกว่าให้ไปเอากับกระทรวง แล้วจะพิมพ์ออกมาทำไมหากไม่ต้องการแจกจ่าย ต้องการเพียงกำจัดงบประมาณเท่านั้นหรือ

3) การจัดงานศิลปะในที่สาธารณะบางกอกกล๊วยกล้วย (Bangkok Bananas)

เป็นการจัดเทศกาล public art ที่ใช้เงินจำนวนมากโดยเฉพาะในการขนส่งและติดตั้งงานประติมากรรมขนาดใหญ่ รวมถึงการ commission งานใหม่หลายงาน แล้วนำมาติดตั้งตามลานหน้าศูนย์การค้าเป็นเวลาเพียงสิบวัน นอกจากนี้ทางผู้จัดได้กล่าวอีกว่าที่ตั้งชื่อว่า banana เป็นการล้อกับ biennale (งานเทศกาลศิลปะระดับสากลที่จัดขึ้นทุกสองปี) ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมพอจะจัด biennale จึงจัดเป็นแบบกล้วยๆไปก่อน ไม่เข้าใจว่าถ้าไม่พร้อมจะจัดมั่วๆ ทำไม เหมือนเป็นการดูถูกคนดูด้วย

2) ซุ้มประเทศไทย (Thai Pavilion) ในงานเทศกาลศิลปะ Venice Biennale

งานศิลปะและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องนำไปติดตั้งในเทศกาลงานศิลปะ Venice Biennale ซึ่งส่งจากไทยใส่ตู้สินค้าไปทางเรือเป็นเดือนๆ ก่อนงานนั้น ไปไม่ทันงานเปิดเทศกาล เพราะทางผู้จัดงานต้องการประหยัดเงินจึงเลือกบริษัท barter ที่วนรอรับสินค้าจนเต็มก่อนค่อยเดินทางไปเวนิส ทำให้ไม่มีกำหนดเวลาถึงที่แน่นอน ดังนั้นในวันเปิดงาน Venice Biennale ซุ้มประเทศไทยจึงแทบไม่มีงานศิลปะอยู่เลย ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่าตัวงานที่ติดตั้งสมบูรณ์แล้ว (หลังงานเปิด 5 วัน) ก็เป็นงานศิลปะที่ล้าสมัยทั้งรูปแบบงานและแนวความคิด (เล่นเรื่อง “ความเป็นไทย” อีกแล้ว)

1) นโยบาย creative economy + creative cities ของรัฐบาลไทย

นโยบายนี้ผิดตั้งแต่คิดว่าประเทศเรามีบุคลากรและระบบที่พร้อมสำหรับ creative economy แล้ว เงินหนึ่งพันสามร้อยล้านบาท สุดท้ายก็ถูกนำมาให้กับโครงการที่ใหญ่และมีทุนอยู่แล้ว และก็ไม่รู้ว่าโครงการเหล่านั้น creative อย่างไร เช่น ภาพยนตร์นเรศวรภาคใหม่ของท่านมุ้ย อุทยานประวัติศาสตร์ที่อยุธยา อุทยานแห่งชาติที่สุโขทัยและเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยของเสถียรธรรมสถาน และเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ เท่าที่เห็นโครงการที่ได้ทุนมากๆ มักเป็นโครงการด้านการท่องเที่ยวและศาสนาด้วยซ้ำ หลักในการคัดเลือกคืออะไรก็ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เหมือนเป็นการสร้างนโยบายที่ฟังดูดีน่าสนใจ แต่ในทางปฎิบัติก็นำมาครอบโครงการแบบเดิมๆอยู่ดี

ของแถม

The Best of 2009

นิทรรศการศิลปะในประเทศไทย

Never Ending Courage โดยกลุ่มศิลปินอินโดนีเซีย Taring Padi ที่ Conference of Birds

กลุ่มศิลปินกลุ่มนี้เป็น artist-activist ที่ทำงานต่อสู้เพื่อสังคมและชุมชนมาหลายสิบปี และได้ส่งตัวแทนมาเมืองไทยเพื่อมาทำกิจกรรมช่วยคนงาน Triumph ประท้วงเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม และใช้งานศิลปะในการทำเสื้อ และป้ายประท้วงต่างๆ ร่วมกับคนงานด้วย น่าสงสัยว่าศิลปินไทยที่ทำงานเกี่ยวกับสังคมและชุมชนอย่างจริงจังอยู่ที่ไหนกัน

นิทรรศการศิลปะในต่างประเทศ

Singapore Pavilion, Venice Biennale

ไม่ใช่งานที่ดีที่สุดในปีที่แล้ว แต่เป็นงานที่เป็นบทเรียนให้ประเทศไทยได้มากที่สุด งานศิลปะที่ซุ้มประเทศสิงคโปร์นั้นได้รับรางวัลจากคณะกรรมการของ Venice Biennale ว่าเป็นหนึ่งในงานที่ดีที่สุดของทั้งเทศกาล ประเทศไทยเรียนรู้เรื่องการทำงานในเทศกาลศิลปะอย่างมีเป้าหมาย ทิศทาง และประสิทธิภาพจากสิงคโปร์ได้มาก หากต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดของตน เช่น เรื่องการเลือกสถานที่ตั้งซุ้ม (สิงคโปร์อยู่ใกล้ศูนย์กลางเมืองและใกล้ซุ้มประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ส่วนไทยอยู่สุดขอบเมืองและไม่ได้ใกล้ใครเลย) เรื่องบุคลากร (สิงคโปร์มีคนในทีมสี่คน ไทยมีประมาณยี่สิบกว่าคน) เรื่องระยะเวลาและการคัดเลือกโครงการ (สิงคโปร์มีเวลาให้ศิลปินทำงานเป็นปี ไทยมีประมาณสี่หรือห้าเดือน) ฯลฯ

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ศิลปะมายาวนานและมีศิลปินระดับโลกและระดับสากลอยู่มากกว่าสิงคโปร์ แต่เมื่อทำงานเป็นระบบไม่ได้ก็คงต้องย่ำอยู่กับที่กันต่อไป

ศาสวัต บุญศรี บลอกเกอร์ อ. มหาวิทยาลัย

10 การ์ตูน (manga) แนวบู๊ที่น่าจดจำตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการ์ตูนญี่ปุ่นอันมีศัพท์เฉพาะตัวว่า manga ตีพิมพ์และได้รับการแปลออกมาเป็นภาษาไทยจำนวนมาก ชาวไทยเปิดใจต้อนรับวัฒนธรรมการ์ตูนนี้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าเรื่องไหนที่ญี่ปุ่นดัง เมืองไทยเราก็ต้องได้อ่านด้วยแน่นอน ผมได้ลองเลือกการ์ตูน 10 เรื่องที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละเรื่องได้รับการตีพิมพ์อยู่ในช่วงทศวรรษที่แล้ว บางเรื่องจบไปแล้วและบางเรื่องยังคงดำเนินเรื่องอยู่ ทั้งสิบเรื่องนี้เป็นผลงานที่อ่านแล้วน่าประทับใจยิ่งนัก ทั้งเนื้อหาและลายเส้น ร่วมถึงจุดขายที่ตรึงใจนักอ่านส่วนใหญ่ที่ได้สัมผัส

ด้วยข้อกำหนดที่ให้เลือกมาเพียง 10 เรื่องเป็นการยากยิ่งนักในการตัดชอยส์การ์ตูนเรื่องอื่น ๆ เพราะการ์ตูนแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ย่อมมีข้อดีแตกต่างกันไป ประกอบกับมีการ์ตูนอีกจำนวนมากที่ตัวผมเองก็มิได้อ่าน อาจทำให้ตกหล่นงานดี ๆ ไป แต่เอาเป็นว่านี่คือ 10 เรื่องที่ผมได้อ่านและผมรักมันอย่างเต็มหัวใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

One Piece :  เออิจิโร โอดะ

วันพีซ การ์ตูนแนวโจรสลัดตามหาสมบัติ โดยตัวเอกของเรื่องมีความสามารถพิเศษเป็นมนุษย์ยาง นอกจากลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของเออิจิโร โอดะ แล้ว เนื้อหาของเรื่องยังสามารถพัฒนาไปสู่คำว่า “ตำนาน” และ “คลาสสิค” ได้ไม่ยาก เพราะเมื่ออ่านมาจนถึงตอนที่ตีพิมพ์ปัจจุบันทั้งในรวมเล่มและตอนล่าสุดของญี่ปุ่น (ในรวมเล่มคือเล่ม 53 ตามหลังที่ญี่ปุ่นราว 3 เล่ม) จะพบว่าผู้เขียนได้วางพล็อตเรื่องไว้ยาวเหยียดตลอดทั้งสิบกว่าปีที่ตีพิมพ์ หากนักอ่านท่านใดย้อนกลับไปอ่านเล่มแรก ๆ จะพบว่ามีหลายปมและหลายตัวละครที่ผู้เขียนเคยทิ้งไว้ราวกับไม่มีความหมาย ทว่าหลายปีต่อมา นั้นคือชนวนสำคัญให้เราได้อึ้งกัน

นอกจากนั้นการวางปมเรื่องและการดำเนินเรื่องที่สนุกเร้าใจ โดยเฉพาะตั้งแต่เล่ม 52 เป็นต้นมา ล้วนแล้วยากในการคาดเดาทิศทางของเรื่อง มีฉากให้ได้ลุ้นทุกตอนเสมอ ที่สำคัญระดับความตื่นเต้นนั้นเทียบเท่ากับการได้ชมซุนโกคูระเบิดพลังเป็นซุปเปอร์ไซย่าทางช่อง 9 สมัยเด็กเลยทีเดียว

Real : ทาเกฮิโกะ อิโนอุเอะ

ผลงานชิ้นนี้ของอิโออุเอะผู้ลือชื่อจากสแลมดังค์และวากาบอนด์ ดูจะเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดและหลายคนปฎิเสธที่จะอ่านมาจนจบ อ.อิโนอุเอะวาดงานชิ้นนี้ควบคู่ไปกับการวาดวากาบอนด์ โดยเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกีฬาบาสเกตบอลวีลแชร์ (กีฬาบาสของคนพิการไม่สามารถเดินได้)

ความน่าสนใจของการ์ตูนเรื่องนี้คือ นี่คือเรื่องแรกที่หยิบเอาประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ทั้งร่างกายและแรงใจมานำเสนอผ่านกีฬาอย่างบาสเกตบอล ตัวเอกของเรื่องต้องประสพภาวะปัญหาจากทั้งปัญหาทางกายที่เดินไม่ได้ และปัญหาทางใจเช่น การทะเลาะกับพ่อ การทะเลาะกับคนรอบข้าง ฯลฯ สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจการ์ตูนเรื่องนี้เป็นพิเศษคือ ผมเป็นนักกีฬา และเมื่อลองคิดหากวันหนึ่งเราไม่สามารถวิ่งได้ เดินได้ เล่นกีฬาได้อย่างที่เคยทำมาตลอดชีวิต ชีวิตของเราจะเป็นเช่นใดหนอ!

Blame : ทซึโตมุ นิเฮ

การ์ตูนแนว Post-Apocalypse เมื่อโลกสิ้นสลายเหลือเพียงการสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ดำทะมึน คิลลี พระเอกของเรื่องผู้ลึกลับเดินทางหามนุษย์ผู้มียีนส์ปลายทางเนตเพื่อใช้ในการต่อเข้าโลกของเนตได้อย่างถูกกฎพร้อมด้วยปืนพลังงานสูงที่สามารถระเบิดตึกได้ด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีการอธิบายเหตุผลให้ชัดเจนว่าทำไมต้องหา หรือถ้าหาได้แล้วเกิดอะไรขึ้น

ความเด่นประการสำคัญของเบลมคืองานด้านภาพ นิเฮเป็นสถาปนิก เขาจึงเชี่ยวชาญการวาดตึกระฟ้า ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของตัวละครแล้ว จะเป็นได้ว่าคิลลีนั้นกลายเป็นเพียงมดตัวกระจ้อยร่อย ตอนจบของเรื่องยังคงแนวที่สายการ์ตูนยุคหลังวันทำลายโลกชื่นชอบคือ จบแบบไม่จบ คนอ่านก็ยังไม่เข้าใจว่าคิลลีกำลังหาอะไร แก้ปัญหาได้ไหม เสมือนเป็นความดำมืดในคนได้ใช้เวลาตีความเอาเอง

อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย : โมโตโร มาเสะ

ญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้อยากให้คนใส่ใจกับคุณค่าของชีวิตมากขึ้น จึงผ่านกฎหมาย “กฎหมายเพื่อผดุงความรุ่งเรืองแห่งชาติ” ที่ให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนทุกคน โดยในวัคซีนจะมีบางคนที่ได้รับแคปซูลพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และก่อนวันครบกำหนดที่ยาพิษจะทำงานหนึ่งวัน อิคิงามิจะนำเอาใบมรณบัตรไปมอบให้เพื่อให้เตรียมทำใจยอมรับการเสียชีวิต

ปฎิกิริยาของคนที่ได้รับอิคิงามิแตกต่างกันไป แต่โดยไม่ต่างกันเท่าใดนักเพราะล้วนมีสัญชาติญาณในการรักชีวิต ทว่าพื้นฐานเรื่องราวที่บีบคั้นชีวิตของแต่ละคนนั้นต่างกัน ทำให้ชีวิตก่อนตายของแต่ละคนดำเนินไปคนละแนว บางคนเลือกที่แก้แค้นคนที่ตนเกลียด บางคนเลือกที่จะทำดี และบางคนที่เลือกที่แก้แค้นรัฐที่ผลิต “กฎหมายเพื่อผดุงความรุ่งเรืองแห่งชาติ” อันน่าชิงชัง

อิคิงามิถือได้ว่าเป็นผลงานที่เศร้าและสะเทือนขวัญยิ่งนัก ที่สำคัญสามารถเรียกน้ำตาได้หลาย ๆ ตอน นอกจากนั้นยังเป็นประเด็นคำถามสำคัญถึงการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามกับชีวิตประชาชนมากเกินไป จนถูกลิดรอนเสรีภาพแม้แต่การจะมีชีวิตอยู่ของตน ไปจนถึงคำถามเชิงปรัชญาที่ว่า “ความหมายของชีวิตคืออะไรแน่”

Gantz : โอกุ ฮิโรยะ

กันซึเป็นผลงานแนวแอคชั่นไซไฟที่บู๊และมีฉากโป๊เป็นของแถมให้แก่นักอ่าน จนเจอกระแส ‘หลุมดำ’ ทำเอาต้องหยุดพิมพ์และหยุดขายสร้างความเซ็งให้แก่ผู้อ่านพอสมควร (ทุกวันนี้หาอ่านได้ตามเวบ scan ในอินเตอร์เนท)

เรื่องมีอยู่ว่า คุโรโนะ พระเอกของเรื่อง (หรือเปล่า) บังเอิญเจอกับคาโต้ ทั้งสองลงไปช่วยคนบนรางรถไฟ โดยคุโรโนะไม่เต็มใจเท่าใดนัก ทว่าพวกเขาก็พลาดเพราะเป็นช่วงเวลาที่รถไฟกำลังเข้าสถานีพอดี ซึ่งแน่นอนว่า พวกเขากลายเป็นเศษซากใต้รถไฟใต้ดินคันนั้น ทั้งสองปรากฎตัวขึ้นในห้อง ๆ หนึ่ง พร้อมกับโลหะทรงกลมกลางห้อง ที่ชื่อว่า กันซึ โดยกันซึจะมอบภารกิจให้ไปสังหารมนุษย์ต่างดาว มีกติกาว่าถ้าได้คะแนนตามที่กำหนดจะได้รับรางวัลตอบแทนตามที่กันซึกำหนด และความยอกย้อนของการ์ตูนเรื่องนี้คือคนเขียนหักมุมตลอด ตัวละครตายเป็นว่าเล่น ที่สำคัญใครที่เราคิดว่ามันเป็นพระเอกมันก็อาจจะจากเราไปได้ง่าย ๆ แบบไม่ทันร่ำลา….

มังงะเรื่องนี้เป็นผลงานอีกชิ้นที่คนอ่านไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลยทั้งสิ้น ทั้งแนวโครงเรื่องและชะตากรรมของตัวละคร แม้ว่าตัวละครตัวนั้นจะเป็นตัวเอกก็ตาม สิ่งที่ทำได้คือ หมดหวัง หมดหวัง แล้วก็หมดหวัง

Beck : ฮาโรลด์ ซากุอิชิ

ผมคิดว่าใครชอบดนตรี หรือคิดอยากจะมีวงดนตรีต้องชื่นชอบการ์ตูนเรื่องนี้อย่างมาก ๆ แน่นอน Beck เป็นชื่อวงดนตรี (ชื่อเป็นทางการคือ มองโกเลียน ช็อบ สแควด) โดยมี โคะยูกิ นักร้องนำที่มีเสียงร้องอันแสนมีมนต์เสน่ห์และมือกีตาร์ (ที่ฝีมือห่วยมาก) รวมกับเพื่อนอีก 4 คน เพื่อตั้งวงดนตรีตามฝันของตัวเอง แต่ทว่าเส้นทางของเบคก็แสนยาวไกลเพราะต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย เป็นการ์ตูนที่อ่านแล้วทำให้ใครอยากมีวงดนตรีขึ้นมาทันพลัน

สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับคนอ่านได้หลาย ๆ คน คือ เมื่ออ่านฉากที่มีการร้องเพลง คนอ่านกลับรู้สึกได้ถึงเสียงดนตรีที่สว่างจ้าและอบอุ่นออกมาจากหน้ากระดาษ ความรู้สึกนั้นชวนให้รู้สึกซาบซึ้ง ขนลุกและน้ำตาไหลได้ง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเสียงดนตรีสักน้อยนิดออกมาให้ได้ยิน (ถ้าเป็นอุปาทาน ก็คงต้องบอกว่าเป็นกันอย่างถ้วนหน้าต่างที่ต่างเวลา)

นอกจาก ตัวเรื่องที่สนุกมาก ๆ แล้วคนเขียนยังชอบเอาปกซีดี มิวสิควิดีโอ ฯลฯ มาล้อ โดยเอาตัวละครในเรื่องใส่เข้าไปแทน ที่ผมชอบมากคือการล้อมิวสิควิดีโอเพลง “”Karma Police” ของ Radiohead โดยให้ตัวละครหนึ่งไปวิ่งหนีรถยนตร์ในถนนที่แสนมืดได้เหมือนมาก ๆ หรือการให้เจ้าหมาเบคในเรื่องไปยืนแทนวัวในหน้าปกเรียนแบบอัลบั้ม Atom Heart Mother ของ Pink Ployd

The Wonder Boy : ยามาชิตะ คาซุมิ

อ.คาซุมิเป็นผู้มีผลงานดัง ๆ อันเป็นที่รู้จักของชาวไทยก็คือ ป๋าอัจฉริยะ หรือ ป๋ายานางิซาวา ผู้ที่สนใจศึกษาไปเสียทุกทสิ่ง ใน The wonder Boy  เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง (น่าจะเป็นเทวดา อารมณ์นกวิหคเพลิงในฮิโนโทริ) ผู้สามารถเดินทางไปยังห้วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตยันอนาคต โดยมีนิสัยเหมือนป๋ายานางิซาวาไม่มีผิดคือ อยากรู้ชีวิตจิตใจของมนุษย์ไปเสียหมด สิ่งที่มนุษย์อมตะผู้นี้ตั้งคำถามเสมอก็คือ “มนุษย์นี้คืออะไรกันหนอ” นอกจากจะสงสัยแล้ว หลายครั้งยังแสดงออกให้เห็นว่าสมเพษสิ่งที่มนุษย์กระทำ

The Wonder boy ต่างไปจากการ์ตูนปรัชญาในแนวทางเดียวกันอย่าง ฮิโนโทริ เพราะตัวละครอย่าง Wonder Boy นั้นเต็มไปด้วยความฉงบสนเท่ห์ตลอดเวลาและเมื่ออ่านจบแต่ละตอนก็อาจจะต้องขบคิดมากเป็นพิเศษถึงปมประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเราก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครรู้สึก อย่างไรก็ดีนี่เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมในการถกเถียงถึงคุณค่าของความมนุษย์ได้ไม่แพ้การ์ตูนเครียดอย่าง อิคิงามิ

ฤทธิ์ดาบไร้ปราณี : ฮิโรอากิ ซามูระ

การ์ตูนสุดโหดมากจากคนเขียนที่สันทัดแนว Guro ถ้าจัดเรทแบบหนังคงต้องให้เรท NC-17 เพราะฉากฆ่าฟันกันนั้นโหดมาก คอขาดแขนขาดกันกระจาย ข้อดีของการ์ตูนเรื่องนี้คือวาดลายเส้นด้วยพู่กันได้สวยมาก  ที่สำคัญเนื้อเรื่องเยี่ยม เป็น Coming of Age สไตล์ซามูไรที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ริน เด็กสาววัยสิบสี่ บุตรีเจ้าของสำนักดาบลือชื่อแห่งหนึ่ง ได้ว่าจ้างให้มันยิ นักฆ่าร้อยศพผู้เป็นอมตะทำการล้างแค้นให้แก่ตระกูล ซึ่งถูกฆ่าล้างสำนัก รินกับมันยิเดินทางเพื่อล้างแค้น องค์กรที่ชื่อว่า อิตสึโทริว โดยระหว่างทางก็ต้องพบกับอุปสรรคและคู่ต่อสู้มากมาย เคยแม้แต่กระทั่งต้องหนีไปพร้อมกับหัวหน้าของอิตสึโทริว ผู้ที่ตนแค้นเคือง จึงทำให้รินได้เรียนรู้ความโหดร้ายในโลกความจริงมากยิ่งขึ้น

ความสนุกของฤทธิ์ดาบไร้ปราณีอยู่ที่ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน ตัวร้ายอย่างอิตสึโทริวกลับกลายมาเป็นมิตรได้ในภายหลัง แถมการสู้ศึกแต่ละครั้งล้วนต้องใช้ปัญญาและฝีมือ ที่สำคัญล้วนคาดเดาไม่ได้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าพี่มันยิของเราจะเป็นอมตะก็ตาม

Death Note : ทาเคชิ โอบาตะ และ สึงุมิ โอบะ

ถ้าวันหนึ่งคุณได้สมุดโน้ตที่เขียนชื่อใครไปแล้ว คน ๆ นั้นต้องตาย คุณจะทำอะไรอย่างไรบ้าง ตื่นนอนแต่เช้า เกลียดใครก็เขียนชื่อคนนั้นลงไป แล้วก็นอนหลับฝันดีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า
ไลท์ นักเรียนอัจฉริยะผู้รักความยุติธรรมได้สมุดโน้ตมาไว้ในมือ เขาจัดการพิพากษานักโทษต่าง ๆ ตายเรียบด้วยการเขียนชื่อลงในสมุดโน้ตจากนรกเล่มนั้น แต่แล้วเมื่อมีคนไล่ตามจับหาปมฆาตกรรมหมู่นี้ ไลท์จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนอยู่รอดและในที่สุดไลท์ก็โดนความมืดเข้าครอบงำ

ประเด็นของเดธโน้ต รุนแรงทั้งในเรื่องของอำนาจ และ เสรีภาพในการมีชีวิต มังงะเล่มนี้เต็มไปด้วยบทพูดที่ต้องใช้พลังงานอย่างสูงกว่าจะอ่านจบแต่ละเล่ม (โดยแต่ละเล่มใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง)  เนื่องจากตัวละครต่อสู้กันด้วยตรรกะเหตุผลที่ขมวดเกลียวกันเครียดสุด ๆ

20th century boys : นาโอกิ อุราซาวา
หากพูดถึงความยิ่งใหญ่ ในวันข้างหน้า อ.นาโอกิจะก้าวย่างอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับที่ อ.เทะซึกะ โอซามุ หรือ อ.โทริยามะ อากิระ ได้รับ 20th century boys  เป็นผลงานมาสเตอร์พีซของ อ.นาโอกิ ต่อจาก ยาวาระ Monster และ แฮปปี้

ใครจะรู้ว่าหนังสือการ์ตูนเล่มแรกหน้าปกเด็กสามคนทำท่าอุลตราแมนจะสนุกได้ขนาดนี้ แน่นอนว่านี้ไม่ใช่การ์ตูนตลก แต่เป็นการ์ตูนแนว Thriller สยองขวัญ อ่านจบแต่ละเล่มก็ได้แต่คิดว่าเมื่อไหร่เล่มใหม่จะออกเสียที 20th Century Boys เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับเหตุการณ์ร้ายที่เกิด ขึ้นในวันสิ้นศตวรรษ (มีหุ่นยนต์ยักษ์มาปล่อยเชื้อไวรัสเพื่อคร่ามนุษย์) โดยคนกลุ่มนี้ต่างล้วนเป็นเพื่อนกันตั้งแต่ยังเด็ก และพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่างเหมือนกับแผนการณ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาเคยคิดไว้เมื่อครั้งเป็นเด็ก!!! และเหตุการณ์ทั้งหมดมี ‘เพื่อน’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

ความสนุกของเรื่องคือการไม่เดินเรื่องตามลำดับเวลา แต่สลับเหตุการณ์จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต ที่สำคัญคือการทิ้งปมไว้ตอนท้ายเล่มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเล่มหน้าสร้างความกระวนกระวายใจให้แก่คนอ่านยิ่งนัก และช่วงที่ดูเหมือนว่าเคนจิ ตัวเอกของเรื่องกำลังจะกลับมา เพลง กูตาลาลา ซือตาลาลา ที่ไม่มีใครเคยฟังทำนองแม้สักน้อยนิดก็ดังไปทั่วทั้งประเทศ ชื่อ msn ของหลายคนตั้งตามเนื้อเพลงท่อนนี้ กลายเป็นประเด็นฮอตที่คนอ่านการ์ตูนพร้อมใจกันพูดถึง

อีกจุดที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่พูดถึงจนถึงทุกวันนี้นอกจากปมปริศนาที่ต้องกลับไปไล่อ่านมากมายแล้วก็คือ ใครเป็น ‘เพื่อน’ ตัวจริงกันแน่ ว่ากันว่าทุกคนที่ได้อ่านตอนจบจะอยู่ในสภาวะเดียวกันคือ “มันคือใครว่ะ?” ทำให้ต้องย้อนทวนกลับไปอ่านตั้งแต่เล่มแรกใหม่อีกครั้ง

Kyo Readingroom

Top 10 Quotes of 2009


We do political work when we are compelled to react to events. In some way you become political when you don’t have a chance to be poetic. I think human beings would much prefer to be poetic. I think every human being would like to have peace, to enjoy life, to have good food, good sex, good wine, good friends and pleasure. Maybe this will never be possible…. Maybe we have a need to know the truth.

Cildo Meireles

[On young hip artists]

It’s a cool school based on an older cool school, and it gains attention the way a child of a celebrity does.

Jerry Saltz

“I love clichés because they’re mostly true.”

Dan Graham

… it is critical to recognize that the art world as it stands hardly lives up to the historical standard – of setting the stage for social change – they desire of it. (Indeed, one should note that historical standards themselves are to some degree constructs.) Far removed even from the robust debates of postmodern times, the protagonists of contemporary art most often reside at a safe and cool distance from the machinations of the greater culture, even as they are totally immersed in them; moreover, these protagonists too often manage to be critically aloof when it comes to uncomfortable problems embedded in various artistic, curatorial, and art-historical projects circulating through art’s institutional veins. What is the mentality of the art world we actually know, the one we experience day to day, … [is] “Theory is bad, political thought in art is wrong, activism is jejune, the free market is good, individualism is great, the amoral artist is genius.”

Tim Griffin [about a correspondence with a colleague on a bleak outlook of critical art, in Artforum, Nov. 09]

“What does it mean to write? It’s a very primitive and manual activity, of putting one sign after another, like an industrial worker in the 19th century, accumulating time into text. So actually, if you look at the contemporary world, only a writer functions in the contemporary world as a classical industrial worker. The text is produced by your own hands; the text accumulates the time invested. There are no other workers like that now.

There a story about Maxim Gorky: that whenever he saw somebody writing, he began to cry. There’s something very sentimental about it as an activity. Writers live in a completely different epoch from artists and curators.”

Boris Groys [- In conversation with Brian Dillon, Frieze, Mar.09]

… [the] twentieth-century memory are either avowedly nostalgo-triumphalist – praising famous men and celebrating famous victories – or else, …they are opportunities for the recollection of selective suffering.

Tony Judt

Most people say that the purpose of poetry is communication: that sounds as if one could be contented simply by telling somebody whatever it is one has noticed, felt or perceived. I feel it is a kind of permanent communication better called preservation, since one’s deepest impulse in writing (or, I must admit, painting or composing) is to my mind not “I must tell everybody about that” (i.e. responsibility to other people) but “I must stop that from being forgotten if I can” (i.e. responsibility towards subject).
Philip Larkin [letter to John Shakespeare]

… film is like fire, photography is like ice. Film is all light and shadow, incessant motion, transience, flicker, a source of Bachelardian reverie like the flames in the grate. Photography is motionless and frozen, it has the cryogenic power to preserve objects through time without decay.

Peter Wollem [Fire and Ice]

When someone demands to know how we are going to replace newspapers, they are really demanding to be told that we are not living through a revolution. They are demanding to be told that old systems won’t break before new systems are in place. They are demanding to be told that ancient social bargains aren’t in peril, that core institutions will be spared, that new methods of spreading information will improve previous practice rather than upending it. They are demanding to be lied to.

Clay Shirky

I don’t believe that literature is so important for society. On the contrary, I think that literature has always only been important for a  minority, for a handful of people. And I think, when it comes to literature, that people should be free to read what they please. Lots of my fellow writers like to proclaim loudly that literature has to have an obligatory character, that young people should be made to read it. I don’t like that. Everything in our society is starting to feel obligatory – we should let people decide for themselves whether they want to engage with literature or not. People should read if they want to. It will give them many joyous moments in their lives, but people who don’t read can also be very happy. It has become very fashionable to encourage people to read, there are even foundations for it. I suspect that the people who are paid good money to work there, never read. We, the real readers, are moving away from propagating reading. Perhaps because we have learned that it is the freest activity that one can possible engage in.

Cesar Aira [in “Letras Libres, 15 Nov. 09]

เก้าอี้มีพนัก : Film Programmer

Favourite films of 2009

(เท่าที่พอจะงัดแงะแกะเกาออกมาจากความทรงจำ)

ต้องขอโทษผู้ที่ติดตามอ่านมาทุกปีด้วย(มีด้วยหรือ?)ที่ไม่มีคำบรรยายใดๆ ธุรกิจรัดตัวจริงๆ แหะๆ

The Living World (Eugene Green, France, 2003)

General Della Rovere (Roberto Rossellini, Italy, 1959)

Hinterland (Jacques Nolot, France, 1998)

Asthenic Syndrome (Kira Muratova, USSR, 1989)

The Class (Laurent Cantet, France, 2008)

Green Rocking Chair (Roxlee, Philippines, 2008)

The Rat Herb (Julio Bressane, Brazil, 2008)

The Rose King (Werner schroeter, Germany, 1986)

The Man Who Had His Hair Cut Short (Andre Delvaux, Belgium, 1965)

Train of Shadows (Jose Luis Guerin, Spain, 1997)

Romance of Astrea and Celadon (Eric Rohmer, France, 2007)

I Forgot the Title (Christelle Lheureux, Italy, 2008)

A Mischievous Smile Lights up Her Face (Christelle Lheureux, France, 2009)

Flooding in time of Drought (Sherman ong, Singapore, 2009)

Heremais (Lav Diaz, Philippines, 2006)

Jonah Who Will Be 25 in the Year 2000 (Alain Tanner, Switzerland, 1976)

Los Herederos (Eugenio Polgovsky, mexico, 2008)

A Letter to a Child (Vlado Skafar, Slovenia, 2008)

They All Lie (Matias Pineiro, Argentina, 2009)

Ossos (Pedro Costa, Portugal, 1997)

Few of Us (Sharunas Bartas, Lithuania, 1996)

The Man Who Had His Hair Cut Short (Andre Delvaux, Belgium, 1965)

The Ascent (Larisa Shepitko, USSR, 1977)

The Unscrupulous Ones (Ruy Guerra, Brazil, 1962)

The Invitation (Claude Goretta, Switzerland, 1973)

Rocco and His Brothers (Luchino Visconti, Italy,1960)

Appaloosa (Ed Harris, USA, 2008)

The Earrings of Madame de… (Max Ophuls, France, 1953)

The Masseurs and a Woman (Hiroshi Shimizu, Japan, 1938)

Captain Achab (Philippe Ramos, France, 2007)

The Road (Darezhan Omirbayev, Kazakhstan, 2001)

Mudane History (Anocha)

The Wet Season (Brigid Mccaffrey&Ben Russell, USA, 2008)

Independencia (Raya Martin, Philippines, 2009)

In Comparison (Harun Farocki, Germany, 2009)

A Lake (Philippe Grandrieux, France, 2008)

Father of My Children (Mia Hansen-Love, France, 2008)

This Longing (Azharr Rudin, Malaysia, 2008)

A Virus in the City (Cedric Venail, France, 80min)

Class Relation (Jean Marie Straub & Daniele Huillet, Germany, 1984)

Gulabi Talkies (Girish Kasaravalli, India, 2008)

Out of the Past (Jacques Tourneur, USA, 1947)

The Ape Woman (Marco Ferreri, Italy, 1962)

Naked (Mike Liegh, England, 1993)

The Blue Angel (Josef von Sternberg, Germany, 1930)

Under the Pavement Lies the Strand (Helma Sander, West Germany, 1974)

Sex & Philosophy (Mohsen Makhmalbaf, Iran, 2005)

Katsu Kanai’s films

จิตร  โพธิ์แก้ว

http://celinejulie.blogspot.com

FAVORITE STAGE PERFORMANCES IN 2009

การแสดงบนเวทีหรือข้างถนนที่ชอบมากๆในปีนี้ ได้แก่เรื่อง

1. LOVE & MONEY (กำกับโดย อัจจิมา ณ พัทลุง)

2. วิมานมายา (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

3. เพื่อนสาวผีดิบ (BLOOD CANNOT BE CHANGED) (กำกับโดย วรรณศักดิ์ สิริหล้า)

4. TOUCH (ออกแบบท่าเต้นโดย Luca Bruni, แสดงโดยคณะ Oplas Danza จากอิตาลี)

5. COFFEE LOVE (กำกับโดย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส)

6. ช่อมาลีรำลึก (กำกับโดย ปานรัตน กริชชาญชัย)

7. การแสดงเชิดหุ่นกระบอกของคณะ Edo Marionette Group จากญี่ปุ่น

8. THE MERCHANTS OF BOLLYWOOD (กำกับโดย Toby Gough)

9. MUSINGAI (แสดงโดย Hiroyuki Miura และ Masanori Hoshika, ออกแบบเสียงโดย Haco)

10. SHE WALKS IN BEAUTY LIKE THE NIGHT (ออกแบบท่าเต้นโดย Lee Swee Keong จากมาเลเซีย)

FILMSICK

http://filmsick.exteen.com

PRESENT FILM 2007 -2009

1. DEATH IN THE LAND OF ENCANTOS (LAV DIAZ /2007/PHILIPPINES)

สิ่งวิเศษในหนังความยาวสิบชั่วโมงเรื่องนี้อยู่ที่การได้ค้นพบสุนทรียศาสตร์ ชนิดใหม่ที่ขยายขอบเขตความหมายของคำว่าภาพยนตร์ให้กว้างขวางออกไป ความกล้าหาญ และไม่ประนีประนอมของหนังเป็นเหมือนผลไม้อันสดฉ่ำที่กัดกินครั้งแรกอาจฝาดขม ปาก หากความชุ่มฉ่ำจะปรากฏในตอนท้าย เลยพ้นไปจากนั้น ประเด็นพื้นที่ของศิลปินในโลกการเมืองอันเหี้ยมโหด ความล่มสลายทางวิญญาณที่เราถูกความอยุติธรรมในสังคมดูดกลืนไป ช่างนำเสนอได้อย่างชวนสะพรึง  ใครกันเล่าจะลืมบทสนทนาย้อนแสงอันโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่รัฐกับกวีหนุ่มได้ ลง
2. A LAKE (PHILIPPE GRANDRIEUX/2008/FRANCE)

ขอแสดงความเสียใจกับทุกท่านที่พลาดชมหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ เพราะนี่คือหนังที่การชมด้วย DVD นั้นเป็นเรื่องง่อยเปลี้ยเสียขาโดยแท้   หนังเรื่องนี้คือการพาผู้ชมไปสู่สุดเขตแดนของภาพยนตร์ด้วยกาก่อร่างภาพอันสั่นไหวคลุมเครือ เรื่องเล่าอันบางเบาเป็นเพียงเส้นด้ายเล็กๆอันไร้ความหมายใดๆในการเชื่อมโยงความมืดอันพิลาศพิไลเข้าไว้ด้วยกัน   นี่คือหนังที่ต้องการความมืด แสงเพียงเล็กน้อยจากช่องทางเดินอาจทำลายหนังลงหมดสิ้นได้ และในความมืด ท่านผู้ชมทั้งหลายเอ๋ย หนังเรื่องนี้จะกลืนกินเราด้วยความงามอันลึกลับและหมิ่นเหม่ ขอบเหวของเซลลูลอยด์ที่งามจนเราอาจตายเพราะลืมหายใจ
3. IMBURNAL (SHERAD ANTHONY SANCHEZ /2009/ PHILIPPINES)

หนังเด็กแวนซ์สาวสก๊อยส์ที่ล่อกันถึงเลือดถึงเนื้อถึงจู๋ถึงจิ๋ม นี่คือสี่ชั่วโมงอันไร้ความประนีประนอมทั้งภาพและเสียง เนื้อหาและวิธีการ สรรพสิ่งเคลื่อนที่ไปไม่ปะติดปะต่อ กิจกรรม กิจกามของเหล่าเด็กวัยรุ่นชาวสลัมชนชั้นต่ำสุดในประเทศฟิลิปปินส์ หนังนำเสนอด้วยลีลาสารคดีที่ไม่แคร์ความต่อเนื่องหรือการเล่าเรื่อง บทกวีอันโสมมกลางดงน้ำครำจึงกลายเป็นหนังสุดห้าวหาญที่ทั้งตรงไปตรงมาและ เจ็บปวดรวดร้าวจนไม่อาจละสายตาไปได้
4. HUACHO (ALEJANDRO FERNANDEZ ALMENDRAS/2009/CHILE)

หนังบางเรื่องชอบเล่าเรื่องเล็กๆด้วยวิธีการใหญ่ๆ แต่นี่คือหนังที่เล่าเรื่องใหญ่ๆแทรกสอดอยู่ในชีวิตหนึ่งวันที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ของคนเล็กๆในครอบครัวเล็กๆหลังเขา เรื่องเล็กๆอย่างการอยากเล่นเกม อยากได้ผ้าใหม่ ไม่มีแรงทำงานหรือการขายของ กลับส่องสะท้อนปัญหาโลกาภิวัฒน์อย่างคมคายจนาน่าทึ่ง การตายของสิ่งเก่าๆ การรุกคืบเข้ามาของสิ่งใหม่ที่เราไม่อาจรับมือหรือขัดขืน  หนังตอกย้ำเรื่องที่ว่า POLITICAL IS PERSONAL โดยการทำให้เห้นขึ้นมาจริงๆว่าเรื่องเล็กๆของเราผูกโยงเป็นแขนขากับระบบ ใหญ่ๆำได้อย่างไร ทั้งนี้โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งร่ายสาธกยกนิทาน แต่ปล่อยให้เราเดฝ้าสังเกต การแหลกราญลงอย่างช้าๆของบรรดาชีวิตที่พอจบวันก็เหนื่อยล้าเกินกว่าจะต้าน ขืนอะไรได้อีกต่อไป

5.SYNEDOCHE, NEW YORK ( CHARLIE KAUFFMAN/2008/US)
เราอาจกล่าวได้ว่านี่คือหนังที่ใช้อธิบาย โลกแห่งปัจจุบันขณะได้อย่างน่าทึ่ง โลกที่สรรพสิ่งกระจัดกระจาย พลัดหาย แุดมไปด้วยการแทรกซ้อนของของทำเทียม ตัวแทนของสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การแผ่ขยายออกไปไม่รู้จบขอละครที่ไม่มีใครได้ดูได้แตกเศษเสี้ยวตัวตนของนัก เขียน ผู้ซึ่งแท้ที่จริงแล้วประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของมายาภาพมากหลาย เคลื่อนไหวทั้งเวลาจริงและเวลาเทียม ความไ่รู้หน้ารู้หลังของหนัง ความซับซ้อนซ่อนกล เหนือจริงเหนือฝันของหนังคือภาวะที่แท้จริงของโลกในปัจจุบันขณะซึ่งเราอาศัย โลกซึ่งไม่ได้เป็นเส้นตรงอย่างที่เราเข้าใจอีกต่อไปแล้ว  แต่เลยพ้นไปจากความคมคาย และความซับซ้อนของหนังนี่คือหนังที่พูดเรื่องความเจ็บปวดของปัจเจกบุคคลผู้ ซึ่งไม่อาจต่อกรกับโลกได้อย่างโศกเศร้าร้าวรานที่สุดเรื่องหนึ่ง
6.ฺBEACHES OF AGNES (AGNES VARDA/2009/FRANCE)

ใครๆก็อาจจะรู้AGNES VARDA ดีอยู่  แต่เมื่อเธอลงมืทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตตัวเองเธอก็ได้เผิดเผยให้เราเห็น ทะเลของอาญส์ จักรวาลซึ่งประกอบขึ้นด้วยสิ่งละอันพันละน้อย ภาพของผู้อื่น ชีวิตของผู้คนที่เธอสนใจคว้าจับมาเล่าเรื่องตลอดชีวิตของเธอ หนังรุ่มรวยไปด้วยอารมณ์ขันและห่างไกลจากากรเป็นหนังเล่าเรื่องตัวเองที่ เต็มไปด้วยความหลงตัวเอง  เรื่องราวอาจเริ่้มต้นทั้งหมดโดยมีตัวเธอเป็นศูนย์กลาง แต่ยิ่งหนังดำเนินไปเราก็เห็นชีวิตมากหลายที่คลี่ขยายออกไปจากจุดเร่ิมต้น ของ ‘คุณป้าอ้วนๆที่พูดมาก’แสนน่ารักผู้นี้ ในขณะเีดียวกันหนังยังคงแสดงภาพความรักอันนุ่มนวลที่เธอมีต่อคู่ชีวิตผู้ ล่วงลับอย่างฌาคส์ เดอมี ความแก่เฒ่าของเธอ นี่คือชายหาดอวลลมอุ่นน้ำทะเลกระจ่างสะท้อนภาพของหญิงผู้หนึ่งซึ่งสวย งามอย่างยิ่งแม้ร่วงโรยลงแล้ว  สำหรับผมนี่คืน้ำฝนชื่นใจปลายปี ในแบบเดียวกับที่ HAPPY GO LUCKY เคยเป็นในปีที่ผ่านมา

7.FRONTIERS OF DAWN (PHILIPPE GARREL/2008)

เราพอจะกล่าวกันได้เลยว่านี่คือ ‘หนังผี’ที่หวานที่สุดในประวัติศาสตร์  Philippe Garrel ยังคงทำหนังด้วยวิธีการน้อยแต่มาก เหมือนเดิม หนังขาวดำเหมือนเดิม และเล่าเรื่องรักเดียวที่ลอยลับเหมือนเดิม น่าแปลกที่ไม่ว่าเขาจะเล่าเรื่องเดิมกี่ครั้งในหนังของเขามันก็ยังคงสดฉ่ำ เสมอ  บทสนทนา ท่าทางเล็กๆน้อยที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญ ภาพเหตุการณ์ที่เล่าเฉพาะที่จำเป็นถักทอสานสายใยอันโหยเศร้าของคู่รักผิด เวลาได้อย่างเจ็บปวด น่าสนใจที่หนังรักซึ่งมีมุมมองแบบเพศชายอย่างหนังของGarrel กลับสร้างตัวละครเพศหญิงได้น่าทึ่งทุกครั้งไป

8.THE WHITE RIBBON (MICHAEL HANEKE/2009/AUSTRIA+GERMANY+FRANCE)

หนังเรื่องนี้คือการพาผู้ชมไปพบกับ ‘ระยะฟักตัว’ การซักซ้อมลองมือในละครแขวนคอเรื่องสำคัญที่จะถูกเล่ในอีกไม่กี่ปีต่อมา ละครที่ว่าด้วยการล้างผลาญเผ่าพันธุ์มนุษย์ในชื่อว่าสงครามโลก  หนังขาวดำหน้าตายที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นนี้ระอุไปด้วยความอันตรายอัน ลึกลับภายใต้กรอบคิดของความถูกต้อง  หนังตีแสกหน้าผู้คนเคร่งศีลธรรม(ที่บูดๆเบี้ยวๆ)ได้อย่างคมคาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาเทียบกับเหตุการณ์ในบ้านในเมืองของเรา

9.สีบนถนน (วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 2009 / ไทย)

ตลอด 62 นาทีของหนังเราจะได้เห็นแต่เพียงภาพของบรรยากาศ สถานที่ ฝุ่นควัน แสงไฟ ถนนหนทาง ซากตึก โดยไม่มีคนอยู่บนจอ มีเพียงสถานที่ และบรรยากาศ  ภาพผู้คนที่เราได้เห็นคือภาพฉายของคนที่เขาผ่านพบระหว่างทาง  นี่อาจไม่ใช่หนังเล่าเรื่องง่ายๆ สำหรับทุกคน  แต่ความส่วนตัวของมัน ความลุ่มหลงทางการจ้องมองของมัน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การมองกรุงเทพในอีกแบบหนึ่งซึ่งไมได้พบเห็นบนจอบ่อย ครั้งนักยิ่ง  หนังใช้ภาพเป็นทั้งหมดของเรื่อง เราเข้าใจเรื่องจากภาพ รู้สึกร่วมกับตัวละครก็จากภาพ มีเพียงภาพที่มีศักยภาพในการแสดง ตึกรามงามหรู หรือ เสาไฟฟ้าแรงสูงเศร้ารันทดได้ เพียงการเลือกจ้องมอง และนี่คือพลังของสิ่งที่เราเรียกกันว่าภาพยนตร์
10. LA PIVELLINA (TIZZI COVI + RAINER FRIMMEL /2009/ITALY)

หนังรันทดที่เล่าด้วยลวดลายของสารคดีซึ่งชวนวนให้คิดถึงหนังของสองพี่น้อง ดาร์แดนน์  หนังกวาดตามองไปยังบรรดาชีวิตของคณะละครสัตว์เร่ร่อนที่ถูกมองเป็นตัวก่อ ปัญหาในอิตาลี ผู้ำกับลงไปขลุกอยู่กับคนกลุ่มนี้เป็นสิบปี ทำสารคดีมาหลายหน คราวนี้็เลยเซตเป็นหนังเสียเลย แสดงเล่นเองโดยบรรดาชาวละครสัตย์ที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพถ่ายกันในบ้านของพวก เขาเองทีมงานก็มีแคู่้กำกับสองคนผัวเมีย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นหนังโคตรทรงพลังที่แม้ตั้งใจจะพูดถึงปัญหาแต่ว่า ไม่ฟูมฟายเลยแม้สักนาที ที่จริงแสงจริง จนฉากสุดท้ายคนดูแทบจะละลายไปแสงที่ค่อยๆมืดลง มืดลง

11. MILK (SEMIH KAPLANOGLU/2008/TURKEY)

มีเหตุผลส่วนตัวง่ายๆที่ทำให้เราไม่สามารถสลัดหนังเรื่องนี้ออกจากหัวได้ คือ การที่หนังเรื่องนี้มันชวนให้คิดถึงชีวิตช่วงหนึ่งของตัวเองเมื่อครั้งที่ ยังคิดฝันอะไรๆละม้ายคล้ายกับตัวเอกของหนัง แต่เลยพ้นไปจากนั้น นี่คือหนังที่พูดถึงจุดจบของเยาว์วัยได้อย่างเจ็บปวด ความสิ้นหวังซึ่งคืบคลานมาอย่างเชื่องช้า ทั้งต่อผู้คนที่เรารักและต่อชีวิตของเราเอง  ฉากหนึ่งในหนังที่ทำให้เราแทบร้องให้ออกมา คือฉากที่พระเอกไปเยี่ยมเพื่อนกวีที่ตนอนนี้กลายเป็นคนงานโรงงาน เขาเอาบทกวีที่ได้ลงหนังสือไปอวด และเพื่อนส่งสมุดจดเล็กๆเขรอะๆให้ แล้วบอกให้ช่วยพิมพ์ให้หน่อย ภาพเขาที่มองเพื่อนจากหัวจรดเท้าด้วยความรู้สึกโศกลึกอันอธิืบายไม่ได้ ทำให้ฉากนี้กลายเป็นฉากแห่งปีในทันที ยิ่งเมื่อมันวนมาตบกระโหลกเราในฉษกจบ มันยิ่งจี๊ดเป็นสามเท่า มากกว่านั้นใฐานะหนังรอยต่อจาก EGG มันเจ็บปวดกว่า สิ้นหวังกว่า แลยังคงสืบเนื่องอารมณ์เหนือจริงอิงธรรมชาติที่น่าทึ่งมาก อ้อ นี่คือหนังคารวะครูทาร์คอฟสกี้ (โดยเฉพาะMIRROR) ที่จิ๊ดมากๆ

12. AGONISTES ( -on progress version)(LAV DIAZ /2008/ PHILLIPINES)

ย้ำก่อนว่านี่เป็นเพียง หนังที่ยังสร้างไม่เสร็จ  Lav แอบฉายให้เราดูเมื่อครั้งเดินทางมาฉายหนังที่กรุงเทพ นังยาวห้าชั่วโมงที่มีแต่การขุดเรื่องนี้มันไปไกลยิ่งกว่าคำว่า MINIMALIST ความยาวของหนังทำให้เราดิ่งลึกลงในการขุดดินที่ในที่สุดเราเมหือนอยู่ในนรก ล่าสุดLav บอกว่าจะเดินทางไปถ่ายภูเขาไฟมายอนช่วงกอ่นที่มันจะระเบิดอีกครั้ง(หนังถ่าย ทำกันตรงตีนภูเขาไฟนั่นแหละ) อยากดูฉบับเต็มมากๆๆ คงตายไปเลยจริงๆ หวังว่าจะเสรี็จทันเวนิซปีหน้าหนอ!

13. MELANCHOLIA( LAV DIAZ /2008/PHILLIPINES)

LAV อีกแล้ว ไม่ไหวจะเคลียร์! เราไม่ได้ชอบหนังของLav เพียงเพราะว่าเป้นคนจัดงานฉายหนังLav แต่เรารักหนังของLav เพราะมันขยายขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับภายนตร์ของเราออกไปแต่ไม่แค่นั้น มันยังเต็มไปด้วยประเด็นและเป็นหนังที่ทั้งวิธีการและตัวหนังคือการต่อสู้ โดยตัวของมันเอง Melancholia อาจเป็นหนังของLav ที่ชอบน้อยที่สุด แต่บอกได้เลยว่ามันอยู่ไกลจากหนังที่ชอบเรื่องอื่นๆมาก หนังพูดเรื่องบาปที่ไม่อาจถอนไถ่ของนักต่อสู้ (เทียบบ้านเราก็คงเป็นคนเดือนตุลา) ที่กระทั่งการเป็นโสเภณีก็ไม่ช่วยเยียวยาจิตใจ  หนังเจ็บปวดมากเพราะมันบอกเราว่า ผู้คนไม่มีทางหลบพ้นเรื่องการเมืองได้ สุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะเป็นนักต่อสู้ หรือเป็นญาติที่เหลือรอดก็ไม่สามารถกู้คืนความเศร้าอันยิ่งใหญ่นั้นมาได้ นี่คือหนังที่ตบหน้าทั้ง นักการเมือง และนักต่อสู้ไปพร้อมๆกัน

14.GULABI TALKIES (GIRISH KASARAVALLI/2008/INDIA)

ป้ากูลาบีส์ขี้เมาท์กับทีวีสีของเธอที่นำเรื่องวุ่นวายมสู่หมู่บ้านบนเกาะ เล็กๆปลายขอบโลก หนังอินเดียเพื่อชีวิตที่ทั้งคมคายและเจ็บปวด พูดเรื่องความสัมพันธ์ของคนมุสลิมกับฮินดูผ่านแบบจำลองของหมู่บ้านชาวประมง เรื่องของคุณป้าหมอตำแยคนรักนหนังที่ทุกคืนต้องต่อเรือไปดูหนังในเมือง จนกระทั่งวันหนึ่งคุณป้าได้จานดาวเทียมและทีวีสีเป็นของกำนัลที่ไปทำคลอดลูก คนมีเงิน แกก็กลายสภาพจากคนที่ไม่มีใครคบไปเป็นหญิงฮอตที่บรรดาเมียๆต้องไปสุมหัวดู ทีวีกันตอนเย๋็น ภายใต้ฉากหลังช่วงก่อนการปะทุแตกของสงครามกลางเมืองระหว่างฮินดูและมุสลิมใน ต้ยุคแปดสิบ หนังแสดงภาพคนสามัญที่ตกเป็นเยื่อของการเมืองได้อย่าเงข้มข้นและเจ็บปวดจน จุกอก ที่สำคัญ มันเอามาใช้เป้นแบบจำลองเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ได้เลยทีเดียว

15.THE TIMES THAT REMAINS (ELIA SULIEMAN /2009 /PALESTINE)

อิีเลีย สุไลมาน ยังคงทำหนังหน้าตายร้ายลึกที่วนเวียนอยู่ในประเด็นอิสราเอล ปาเลสไตน์ มาคราวนี้ยิ่งขำ และเหมือนมีแผลอยู่ในอก เพราะยิ่งขำก็ยิ่งเจ็บคราวนี้เขาทอดตากลับไปตั้งแต่ครั้งที่พอ่ของเขายัง หนุ่มไปจจนจวบจบที่แม่ไม่ดูพลุฉลองวันชาติ นางผู้มาจากโลกเก่าบัดนี้หูตามืดมนจนไม่ได้ยินเสียงพลุลั่นบ้านอีกแล้ว สุไลมานมองปัญหาอันยืดเยื้อเรื้อรังของปาเลสไตน์ และ อิสราเอล ก้วยความเสียดเย้ยขั้นสุดโดยการใช้แบบจำลองของครอบครัวตนเอง ปัญหาซึ่งเริ่มในคนรุ่นก่อนหน้า และยังคงยืดเยื้อไปจนถึงคนรุ่นหน้าซึ่งหมดความสนใจต่อมัน ชืดชาเฉื่อยเนือยล่องไหลไปตามคลื่นโลกาภิวัฒนืเสียแล้ว การเป็นคนซึ่งติดอยู่ตรงกลางจึงกลายเป็เรื่องขมขื่นอันชวนขบขันและคลั่งบ้า อย่างยิ่ง แม้เราไม่รู้อะไรมากพอจะออธิบายยืดยาวเรื่องปาเลสไตน์ แต่ดูแล้วจุกอกทุกครั้งที่ที่เราหัวเราะ  และมันยังคงติดอยู่ในใจแม้จะดูไปนานแล้วก็ตาม

16. TULPAN (SERGEI DVORTSEVOY/2008/ KAZAHKSTAN)

เรื่องของไอ้หนุ่มที่พากเพียรไปขอเมียโดยไม่เคยเจอสาวเจ้า เพราะถ้ามีเมีย เขาก็จะสร้างครอบครัวแบบชาวทะเลทรายเร่ร่อนได้ แต่ยิ่งไปยิ่งไกล โลกปัจจุบันทำให้ชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นภาพฝันที่ร้าวรานและรันทดยิ่ง ไม่ว่าจะมองหนังเรื่องนี้ในฐานะหนังเล่าเรื่องไอ้หนุ่มขอเมีย หรือสารคดีชีวิตทะเลทราย ของชาวบ้านร้านถิ่นในคาซัคสถาน  กระทั่งมองว่านี่คือหนังที่ใช้เรื่องเล่าเพื่อเปรียบเปรย ภาพร่างของโลกาภิวัฒน์ หนังเรื่องงนี้ก็สมารถทำได้ถึงทั้งสามแบบ   ยี่คือหนังแบบที่มอบสุขนาฏกรรมของความเปิ่นเทิ่งแบบชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็เล่าเรื่องหนักแน่นจริงจังโดยไม่มีสายตาแบบสงสารสมเพช และเช่นกัน ตัวหนังก็ขึงขังและสรวลเสเฮฮาไปเช่นกัน

17. PETTITION ( ZHAO LIANG/2009 /CHINA)

นี่อาจจะเป็นสารคดีทื่อทึ่มที่ทำเพียงร้อยเหตุการณ์โญงไปอธิบายประเด็น สำคัญ หนังเต็มไปด้วยบทสัมภาษณ์และ ข้อความที่ขึ้นเพื่อร้อยเชื่อมแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน  แต่ใครกันห้ามทำสารคดีแบบนี้ เพราะไม่ว่ามันจะตรงไปตรงมากแค่ไหนมันก็โคตรจะทรงพลังอยู่ดี นี่คือหนังที่ผู็กำกับพาเราไปติดตามดูชีวิตของผู้ร้องทุกข์จากทั่วทุกข์สาร ทิศของจีนที่เดินทางมาร้องเรียนยังสำนักงานร้องทุกข์ในปักกิ่ง พวกเขากินนอนข้างถนน แออัดอยู๋ในหมู่บ้าน ถูกตามล่าจากตำรวจลับท้องถืิ่นที่ไม่ต้องการให้มีการร้องเรียน เรื่องที่ยื่นไว้ก็ไม่เคยคืบหน้าถูกจับส่งรถไฟกลับบ้าน หนำซ้ำถ้าหกนักข้อก็จะถูกหาว่าเป็นบ้าส่งเข้าโรงพยาบาลบ้าไป หนังใช้เวลาติดตา่มผู้คนมากหน้าเป็นเวลาร่วมสิบปี จนกระทั่งตัวผู้กำกับก็กลายเป็นซับเจคต์ก้วยเสียเลย เพราะเขาติดตามเด็กญิงคนหนึ่งจนเธอโตเป็นสาว เมื่อเธฮหนีไปจากแม่ เธอสั่งความไว้กับผู้กำกับ! หนังทรงพลังมาก จนดูไปร้องให้ไป รู้สึกกอยากอ้วกไป และตอนจบของหนั้งทำให้เราตัดสัมพันธ์กับจางอี้โหมว เพราะในขณะทีเฮียจาง(ที่เคยทำหนังชีวิตเล็กๆอันน่ารันทด)ทำพิธีเปิดโอลิมปิก ไปอ้พิธีเปิดนี้เองที่ให้สิทธิ์เจ้าหน้าที่ทำลายผมู่บ้านผู้ร้องทุกข์ราบ เป็นหน้ากลอง!

18. MOTHER ( BONG JOON HO /2009/KOREA)

โอเค มันเป็นหนังว่าด้วยแม่ที่ทำทุกอย่างเพื่อช่วยลูกทึบๆของเธอให้พ้นจากการต้อง ตกเป็นฆาตกรในคดีฆาตกรรมเด็กสาว แม่คนหนึ่งที่มีชนกัติดหลังเรื่องเป็นหมอเถื่อน ไม่ค่อยมีใครชอบขี้หน้า ต้องพิสูจน์ความจริงนี้ด้วยตนเอง  หังพลอตแล้วเรารู้ว่าคุณคิด แต่อย่าได้คิด ไอ้หนังประเภทสู้เพื่อลูกนั่นน่ะ มันเป็นแค่ส่วนเล็ฏๆในหนังเรื่องนี้ วึ่งมีความลับที่เปิดเผยไม่ได้ และทำให้เราต้องมอง ‘ความเป็นแม่’ ด้วยท่าทีใหม่ๆซึ่งหนังถ่ายทอดออกมาได้ระกับเดียวกับหนังอย่าง THE HEADLESS WOMAN อย่ามองข้ามวอนบิน เขาอาจจะหล่อเกินเป็นไอ้หนุ่มทึ่ม แต่ความหล่อของเขากลายเป็นไม้เด็ดในหนังเหมือนกัน หนังเป็นเหมือนภาคต่อ ภาคแยก และภาคกลับของTHE HOST ซึ่งทำให้เรากร๊ีดบองจุนโฮสุดจิต!

19. BUDDHA COLLAPSED OUT OF SHAME(HANA MAKMALBALF/IRAN/2007)

เริ่มต้นจากภาพกาทำลา่ยล้างพระพุทธรูปในยุคตาลีบัน หนังที่ดูเหมือจะเป็นหนังเด็กเรื่องนี้เล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงซึ่งอาศััยอ ยู่ในถ้ำแถบที่เขาระเบิดพระพุทธรูปที่อยากเรียนหนังสือ เริ่มจากถาพสมจริง หนังค่อยๆคลี่ขยายไปเป็นหนังเหนือจริงผ่านแบบจำลองของเด็กๆ ทเริ่มจากการไปเรียนหนังสือที่ถูกกีดกันอย่างรุนแรงจากสังคมเพศชาย จบท้ายที่หนังหลุดไปสู่ภาวะเหนือจริงของสงคราม ซึ่งเจ็บปวดกว่าหนังสงครามเพราะหนังใช้การละเล่นของเด็กๆเป็นแบบจำลอง เด็กตัวเล็ก ห้าหกขวบเล่นไล่จับผู้ร่้ายกันอย่างน่าสะพรึง ตอนจบของหนังเป็นอะไรที่จุกอกมากๆ

20. อีส้มสมหวังชะชะช่า(โน้ต จูเนียร์ /2009/ไทย)

กล่าวอย่าภาคภูมิใจว่านี่คือหนึ่งในหนังที่ผมเข้าไป ‘ร้องให้ในโรงหนัง’เสียหลายยก  หนังหัวเราะทั้งน้ำตาเรื่องนี้เล่าเรื่องต่อจากภาคแรก (ที่ไร้พลอตและรื่นรมย์มากๆ)หนังเริ่มต้นที่การจบสิ้นของความงามพื้นถิ่น วงดนตรีแตกสลายจนบรรดาสมาชิกต้องพลัดพรายเข้ามาในเมืองหลวงเพื่อผเชิญโชคตาม ด้วยเหตุการณ์ต่างๆนาๆซึ่งช่างพ้องพานกับโครงสร้างสังคมยุคปัจจุบันที่คน ต่างจังหวัดต้่องแตกกระสานซ่านเว้นเข้ามเป็นแรงงานในเมืองกรุงบางคนก็”ด้ด ีมีโชค บางคนก็พ่ายแ้พ้ บางคนก็ถูกเมืองกลืนกินไป และหนังเรื่องนี้พาเราไปสังเกตการณ์ด้วยสานจาที่มาจากคนชนชั้นเดียวกัน (ซึ่งพบได้น้อยเหลือเกืินในหนังทย) น่าเศร้าที่หนังถูกประเมินจากท่าทีของมันมากกว่าตัวหนังจริงๆ ในหสังคมดูหนังฉาบฉวยเพื่อเสริมรสนิยมมากกว่าดูหนัง หนังเรื่องนี้จึงภูกปฏิเสธจากผู้คนมากมาย กล่าวตามสัตย์ฉาก มิวสิคัล เพลง คนบ้านเดียวกัน พอจะเรียกได้ว่าเป็นฉากสำคัญของปีนี้ เพราะใช้เพลงหนึ่งเพลงอธิบายโครงสร้างสังคมในตอนนี้ได้เลยทีเดียว

21. 35 SHOTS OF RHUM (CLAIRE DENIS/ 2008/FRANCE)

ถ้าเรียกว่านี่เป็นงานรีเมค มันก็เป้นงานรีเมคที่เรียกได้ว่าต่อยอดออกไปได้อย่างลึกซึ้ง แต่ถ้ามองว่านี่เป้นหนังใหม่ของแคลร์ เดอนีส์ ก็พูดได้เลยว่านี่คือหนังที่นุ่มนวลที่สุดของเธอ เดินีส์เดินลึกเข้าไปถึงแก่นกลางของหนังแบบโอสุ นั่นคือสมดุลแห่งความสัมพันธ์อันแสนงดงามของคนในครอบครัว ความสัพันธ์ที่ลึกซึ้งไปกว่านิยามโ.่ๆของพ่อแม่ลูก ความสัมพันธ์ที่ค่อยๆุถูกทำลายลงเพื่อให้ชีวิตดำเนินสืบต่อ หนังของโอสุไม่ได้เป็นหนังเชิดชูสถาบันครอบครัว มันตรงกันข้ามด้วยซ็ำ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์ซับซ้อนเกินนิยามเหล่านั้น ซึ่งเดอนีส์ รับมาสานต่อได้อย่างยอดเยี่ยม  มีอะไรมากมายอยู่ในทุกฉากของหนัง นี่คือหนังที่เรียกได้ว่าปราณ๊ตจากต้นจนจบ ในความเรียบง่ายของมันนั้นลึกซึ่งยิ่ง

22. WHERE THE WILD THINGS ARE (SPIKE JONZE /2009/US)

ถ้าหนังเรื่องนี้เป็นหนังเด็ก มันก็เป็นหนังเด็กที่เหงาที่สุดในโลก หนังเด็กที่สร้างจากผู้ใหญ่เหงาๆที่เคยเป็นเด็กเหงาๆมาก่อนและไม่เคยได้รับ การเยียวยา หนังเลือนโลกจริงกับโลกเหนือจริงเข้าด้วยกันอย่างน่าทึ่ง และพาเรากระโดดเข้าไปในโลกจินตนาการของเด็กร้ายๆที่ร้ายเพื่อตอบโต้ความโดด เดี่ยวของตัวเอง จากฉากแรกที่ไอ่้หนูมุดถ้ำหิมะทำเอง หรือเล่นอยู่ในผ้าห่ม เราก็รู้ได้ทันทีว่ามีแต่การสร้างอาณษจักรจองตัวเองขึ้นมาแล้วเสกเพื่อนเอา จากสิ่งของเท่านั้นคือวิธีที่จะทำให้เขาไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป  การก้าวข้ามไปยังอาณาจักรลึกลับก็ไม่ต่างกัน ที่เศร้าคือเขาได้เรียนรู้แล้วว่าเขาทำลายมันลงได้อย่างไรฉากการวิ่งกลับ ย้านในตอนท้ายอาจไม่ใช่ฉากจบที่แฮปปี้เอนดิ้งก็ได้

23. DRAG ME TO HELL (SAM RAIMI / 2009 / US )

พลอตสุดเชย เล่าเรียงลำดับตรงไปตรงมาเชยๆ ด้วยวิธีการเชยๆ (ไม่ต้องถามหาเรื่องหักมุม หรือเทคนิคทางภาพเว่อร์ๆ) ไม่มีการทรมานคนดู จัดแสงแบบเชยๆ(สว่างจ้าอย่าทั่วถึงกันราวกับละครหลังข่าวก็มิปาน) เสียงประกอบเชยๆทีมาเป็นชุดราวระเบิดลง และการแสดงแบบเชยๆ ที่วูบหนึ่งดี วูบหนึ่งร้าย ตัวละครแบบขาวขัดดำจัด กล่าวอย่างง่าย นี่คือหนังที่แทบไม่ต่างจากซีรีส์สยองขวัญจบในตอนที่ออกฉายไปแล้วยี่สิบปี อย่างTALES FROM CRYPTแต่องค์ประกอบสุดเชยเหล่านี้ เมื่อตกอยู่ในมือของSAM RAIMI อดีตผู้กำกับหนังสยองขวัญยอดฮิตตลอดกาลอย่างEVILE DEAD ทั้งสามภาค (แม้คนจะรู้จักเขาในฐานะคนกำกับ SPIDERMAN มากกว่า)   เขากลับนำมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะนี่คือหนังที่ ‘จงใจเชย’   โดยหยิบเอาองค์ประกอบของความเป็นหนังทีวีดาดๆ มาเล่าอย่างตั้งใจและมั่นใจ   หนังสุดเชยเรื่องนี้จึงเดินหน้าเล่าเรื่องโดยไม่ต้องแต่งองค์ทรงเครื่อง ร่วมสมัยแต่อย่างใด อาศัยเพียงเรื่องเล่าที่เข้มแข็ง การคารวะหนังทีวีโบราณแบบไม่ออกตัว และประเด็นทางสังคมลึกซึ้งแข็งแรง  เดินหน้าด้วยวิธีการแบบอเมริกันแท้ๆ และเล่าเรื่องแบบอเมริกันแท้ๆ สำรวจตรวจสอบค่านิยมของอเมริกันชนอย่างน่าทึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความบันเทิงสุดขีดในฐานะในหนังสยองขวัญด้วยเช่นกัน

24. INGLORIOUS BASTERDS( QUENTIN TARANTINO/2009/US)

นี่คือหนังที่ดูจบแล้วอยากก้มกราบตีน ตารันติโนเสียเหลือเกิน ค่าที่ว่ามันกร่างกล้าจนแสดงให้เห็นว่าสามารถทำหนังห้าแบบลงในห้าบทของหนัง แล้วทำให้มันเป็นหนังเรื่องเดียวกันได้อย่างกลมกืนซึ่งมีทั้งหนังฮอลลีวู้ด เต็มสูบ หนังสวะ(แต่สนุก)จากยุค 70’s ไปจนถึงหนังแบบหนังของJEAN PIERRE MELVILLE และ LENI RHIEFENSTHAL มากไปกว่านั้น ตารันติโนคารวะคนทำหนังด้วยการจับนักวิจารณ์มาฆ่า (อย่าส่งนักวิจารณืไปกู้โลก!) แล้วบอกว่า คนทำหนังสิที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นี่ล่ะ การล้างแค้่นของนังหน้ายักษ์!!!!!

25. SHINJUKU INCIDENT(DEREK YEE /2009/HK)

เอ๋อตงเซินจะรู้ว่าจะเอาประโยชน์จากเฉินหลงได้ยังไง หนังใช้ คาแรกเตอร์ คนดีศรีสังคมที่ตกทุกข็ได้ยาก ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ผูกขาเฉินหลงมาตลอดยุคแปดสิบ-เก้าสิบ (ลองนึกถึงหนังอย่างRUMBLE IN TH BRONX) แต่ในขณะที่เฉินหลงเองกลับเล่าหนังตัวเองเป็นทีเล่นทีจริงชวนหัว เอ๋อตงเซินกลับหยิบจุดนั้นมาเติมความลึกของมนุษย์ลงไป เลยทำให้มันมีน้ำหนักอันเข้มข้นและกลายเป็นประเด็นหลัดที่หนังเอามาเล่นได้ อย่างเจ็บปวด (มันทำให้คิดถึงวิธีการเดียวกันที่ P T ANDERSON เคยทำกับADAM SANDLER ใน PUNCH DRUNK LOVE คือดึงความเป็นมนุษย์จากคาแรกเตอร์การ์ตูนๆออกมา) หนังคมคายทั้งในแง่ของการพูดถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ(ครึ่งแรกของหนังทรงพลัง มากจนเราคิดว่ามันสูสีกับหนังพี่น้องดาร์แดนน์ด้วยซ้ำ) ขณะที่ครึ่งหลังหนังเดินหน้าแบบหนังฮ่องกงเต็มสูบ และทำได้พีคสุดๆในฉากพี้อน้องทำลายกันเอง ซึ่งในทางหนึ่งมันคือการท้าทายรือ้ทพลายค่านิยมพวกพ้องน้องพี่ของจีนเดิมไม่ เหลือ อย่าลืมว่าโดยทั่วไปหนังแบบนี้มักจะทำให้พี่น้องต้องห้ำหั่นกันเพราะมีคนใด คนหนึ่งเลว ซึ่งเท่ากับว่าการรักพี่น้องยังเป็นค่านิยมที่ใช้ได้ ผิดที่ปัจเจกบุคคลต่างหากขณะที่หนังเรื่องนี้ (และ WARLORD ของ ปีเตอร์ ชาน) ได้บอกกับเราเป็นนัยว่า ตัวค่านิยมนี้ต่างหากที่มีปัญหา เพราะในโลกที่ซับซ้อนนี้ มันมีปัจจัยอื่นที่เขช้ามบีบคั้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น อำนาจรัฐ (ในWARLORDS) หรืออำนาจเงิน (ความอยู่รอด ปากท้อง หรือกระทั่งการลงหลักปักฐาน) ในหนังเรื่องนี้ ชอบการแสดงของเฉินหลงในหนังเรื่องนี้มากๆๆ เพราะดูเหมือนเอ๋อตงเซินไม่ได้เรียกร้องการแสดงขั้นเทพ ทเขาถึงกับแค่ต้องการให้เฉินหลงเป็นเฉินหลงนั่นแหละ  แต่เป็นเฉินหลงที่อยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปแล้วเท่านั้น

26. IMPORT/EXPORT(ULRICH SEIDL /2007/AUSTRIA)

เรียกหนังเรื่องนี้ว่าหนังสยองขวัญเถอะ เพราะนี่คือหนังที่ดูแล้วชวนขนหัวลุกขั้นรุนแรง หนังเล่าเรื่องของอีสาวบ้านนอกที่เริมต้นจากการเป็นางโชว์เวบแคม แล้วมาลงเอยเป็นพยาบาลดูแลคนชราในโรงพยาบาลกับไอหนุ่มยามที่ลงเอยด้วยการ เป็นคนขนตู้เกมเถื่อน ชีวิตปผกผันของการข้ามพรมแดน จากประเทศยากจนไปสุ๋ประเทศศิวิไลซ์ และในทางกับกลันข้ามจากประเทศรุ่งเรืองไปยังแดนอันตราย แตสรุปลงเอยได้ง่ายๆว่า’ชิบหายพอกัน’ สำหรับท่านที่เรียกร้องสวัสดิการรัฐ  ฉาวอร์ดคนแก่ใกล้ตายในโรงพยาบาลอาจชวนให้ท่านขนหัวลุกเกินจินตนาการไปถึง ใครจะไปเชื่อว่าแฟลตอยู่อาศัย(แบบแฟลตการเคหะ) จะเป็นรกบนดินไปได้! ดูสิ หลังจากความหน้าตายร้ายลึก ULRICH SEIDEL ขยับไปอีกขั้น ด้วยการใช้ความเญ้นชาทิ่มลงไปในความสะอิดสะเอียนของมนุษยชาติ น่แหละ ทรมานบนเทิงของแท้!

27. MAD DETECTIVE(JOHNNY TO+ WAI KA FAI/2007/HONGKONG)

อีก หนึ่งหนังฮ่องกงที่เรากรี๊ด ว่าด้วยนายตำรวจที่กลายเป็นบ้า เพราะเขาสามารถมองเห็น บุคลิกที่แตกต่างกันแยกออกเป็นตัวเป็นๆในมนุษย์แต่ละคน ไม่ต้องเสียเวลาทำCG หนังใช้วิธีง่ายๆด้วยการคนหลายๆคนเดินพร้อมกันไปเลย หนังเป็นเหมือนภาคต่อของMUSCLE MAN (RUNNING ON KARMA) หนังพี่หลิวตัวยักษ์ที่ว่าด้วยคนมองเห็นกรรม และหนังทั้สองเรื่องก็ตบหน้ามนุษย์ได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน (แอบชอบMAD DETECTIVE มากกว่านิดหนึ่ง) หนังถึงับบอกว่า  มนุษย์เราถลำลงไปในความชั่วร้ายได้อย่างไร บุคลิกที่ไม่เคยมีถูกสร้างขึ้นใหม่แปรไปตามประสปการณ์ชีวิต  มากไปกว่านั้เราให้คะแนนหนังเรื่องนี้เป้นพิเศษ ค่าที่มันเล่าเรื่องของคนที่แปลกแยกต่อโลกโดยสิ้นเชิง(กราบ หลิวชิงหวิน เล่นได้จ๊าบมากพี่) ฉากที่เขาต้องผเชิญหน้ากับ เมียที่เขามองเห็น  กับ เมียจริงๆของเขาเป็นฉากที่ทั้งคมคาย และโคตรจะเจ็ปวดรวดร้าวไปพร้อมๆักัน

28.ฝันโคตรโคตร (พิง ลำพระเพลิง/2552)

พิง ลำพระเพลิงเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาทำหนังจากปมด้อย และในฝันโคตรโคตรนี้เขาตีตรงปมด้อยของตัวเองอย่างหนัก  เขาเคยพูดหลายต่อหลายครั้งว่าเขาอยากดัง และในหนังเรื่องนี้เขาตีแผ่ความอยากดังอย่างไม่ลืมหูลืมตา และในเรื่องนี้เขาเอาความอยากดังของตัวเองมาเล่นได้อย่างน่าสนใจ เพราะในฝันโคตรโคตร หนังไม่ได้เล่นกับแค่ระดับของความฝัน-จริง แต่ยังเล่นกับเวลา อดีต – อนาคต (นาฬิกาทรายไม่ใช่แค่เครืองมือเข้าความฝัน แต่เป็นเครื่องมือข้ามเวลาไปอนาคตด้วย) และหากความฝันเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาว ความจริงคงเป็นเรื่องของคนแก่  แต่คนแก่ที่มีความฝัน คนแก่ที่กำลังฝัน ใยมิใช่คนที่บาดเจ็บที่สุดเล่า   กล่าวโดยสรุป ฝันโคตรโคตรยังคงครบรสหนังแบบพิงพิงเต็มที่ หนังล้นๆของคนล้นๆที่ไม่ได้ต้องการจะเป็นที่รักของคนดู แต่ในที่สุดเขาได้พิสูจน์แล้วว่าเขามีความสามารถ และมีความเป็นศิลปินมากพอจะสร้างหนังส่วนตัวด้วยวิธีการอันไม่ประนีประนอม ภายใต้โลกฝันแบบโรแมนติกซึ่งอาจทำให้ถูกมองข้ามให้เป็นเพียงหนังดาดๆได้ อย่างง่ายๆ ซึ่งนี่เป็นมายาคติที่น่าเสียดายยิ่งซึ่งเราพบเห็นเสมอๆในหนังไทย ในโลกของการดูหนังที่ท่าที่ต่อหนังสำคัญกว่าตัวเนื้อหา
29. I FORGOT THE TITLE (CHRISTELLE LHEUREUX/2009/FRANCE)

หนังเรื่องนี้ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนความทรงจำ ที่เธอมีต่อหนังเก่า เธอเอาตัวละครจากหนัง A มาพบกับตัวละครจกหนัง B พวกเขาสนทนากันด้วยบทสนทนาของหนังC ในสถานที่ซึ่งเป็นฉากหลังของหนัง D จากนั้นเดินจากกันไป  ไปตามหาคนที่หายไปจากหนังE  ทั้งหมดทั้งมวลคือชิ้นส่วนความทรงจำทุติยภูมิ (ซึ่งเกิดจากการดูหนัง ) ความทรงจำนั้นแตกต่างจากข้อเท็จจริง ความทรงจำเป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ เพราะมันคือข้อเท็จจริงที่ผสมเอาความรู้สึก ความคิด ภูมิหลัง กระทั่งภาพลวงที่ผู้จำสร้างขึ้นเอง   ทั้งหมดทั้งมวลถูกนำมาปะติดปะต่อ กวนเข้าด้วยกันแล้วเคี่ยวจนข้นด้วยวันเวลา จนกระทั่งตกผลึกมาเป็นชิ้นส่วนของความทรงจำ  ในทางภาพยนตร์ I FOGOT THE TITLE คือเศษเสี้ยวของความทรงจำจากหนังอิตาเลียน ที่ก่อร่างขึ้นใหม่ ได้สาบสูญความหมายดั้งเดิมของมันลงสิ้น แต่ก็สร้างความหมายใหม่ขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้อีกแล้วว่านี่คือชิ้นส่วนขอ STROMBOLI ของL’AVENTURA ของ LA NOTTE  มันกลายเป็นสิ่งใหม่ ความทรงจำใหม่ซึ่งไหลทับใบหน้าเดิมของความทรงจำเดิม สุดท้ายมันก็สร้างข้อเท็จจริงใหม่ ความทรงจำใหม่ และการหลงลืมชนิดใหม่ขึ้นในเรา

30. FLOODING IN THE TIME OF DRAUGHT(SHERMAN ONG/2009/SINGAPORE)

หลังจากปีที่แล้ว Sherman Ong พาความรื่นรมย์มาพบผู้ชมกับ HASHI ที่เริ่มต้นและดำเนินต่อไปโดยไร้ทิศทางที่แน่ชัด สร้างเรื่องขึ้นจากเรื่องของนักแสดงลอ่งไหลไปอย่ารื่นรมยย์ ปีน้เขากลับมาอีก ด้วยความรื่นรมย์แบบร้ายกาจ เปลี่ยนจากสาวยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ ไปเป็นผู้คนนาชาติ หนังแบ่งตัวเองเป็นหนังสองเรื่อง (ซึ่งไม่สั้น เพราะเรื่องละชั่วโมงครึ่ง สองเรื่องก็สามชั่วโมงพอดี!)ทั้งหมดทั้งมวลเป็นแค่บทสนทนาของคนนั้นคนนี้ ซึ่งมีทั้งคนสิงคโปร์ คนแขกในสิงคโปร์ คนมุสลิมในสิงคโปร์ คนญี่ปุ่นในสิงคโปร์ คนเกาหลีในสิงคโปร์ บทสนาเล่าเรื่องตอบโต้สนทนาความเป็นไปในสังคมปัจจุบันซึ่งทั้วสนุกสนานและคม คาย ในขณะเดียวกันมันก็มีอารฒณืเจ็บปวดด้วย (โดยเฉพาะเรื่องของคู่สามีภรรยาชาวอินเดียในครั้งแรก ) เอาเฉพาะพาร์ตคนไทยหนังก็เล่นกับประเด็นสามจังหวัดได้แสบสันต์แบบที่ยังไม่ เคยเห็นมาก่อนเลยในหนังไทย:)
HORNORABLE MENTION

UPRISE(SANDRO AGUILAR/2009/PORTUGAL)
SURVIELLANCE ( JENIFER LYNCH/2009/US)
THE HURT LOCKER(KATHRYN BIGELOW /2009/US)
BURN AFTER READING (JOEL + ETHAN COEN/2008/US)
เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงษ์ /2009/ไทย)
ECCENTRICITIES OF A BLONDE HAIR GIRL(MANOEL DE OLIVIARA/2009/PORTUGAL)
IN THE HOUSE OF STRAW (YEO SIEW HUA/2009/SINGAPORE)
THE WRESTLER (DARREN ARONOVSKY/2009/US)
ท้าชน (ธนกร พงษ์สุวรรณ/2009/ไทย)
หลวงพี่กับผีขนุน (ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล /2552/ไทย)
DOUBLE TAKE (JOHAN GRIMONPREZ /2009/ BELGIUM)
เฉือน (ก้องเกียรติ โขมศิริ/2552/ไทย)
THEY ALL LIE (TODOS MIENTEN/2009/ARGENTINA)
SHANGHAI, WAITING FOR PARADISE(SLYVIE LEVY /2007/CHINA)
IN COMPARISON (HARUN FAROCKI /2009/GERMANY)
THE FOURTH KIND ( OLATUNDE OSUNSANMI/2009/US)
INDEPENDENCIA (RAYA MARTIN / 2009 /PHILIPPINES)
สวรรค์บ้านนา (อุรุพงษ์ รักษาสัตย์/2009/ไทย)
THE SONG OF SPARROWS ( MAJID MAJIDI /2009/IRAN)
EVERYONE ELSE (MAREN ADE /2009/GERMANY)
THE LIMITS OF CONTROL(JIM JARMUSCH /2009/US)
WATCHMEN(ZACK SNYDER/2009/US)
เชือดก่อนชิม(ทิวา เมไธยสงค์/ 2009/ ไทย)
Butterflies Have No Memories(lave Diaz/2009/Philippines)
GREEN ROCKING CHAIR(ROXLEE/2008/PHILIPPINES)
BILAL (SOURAV SARANGI/2009/INDIA)
OLD FILM (20006 and earlier)
1.EVOLUTION OF FILIPINO FAMILY( LAV DIAZ /2004/ PHILIPPINES)

ถ้าต้องนับกันจริงๆหนังเรื่องนี้คือหนังที่อชบที่สุดในรอบปี และอาจโจนทะยานขึ้นไปเป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในชีวิตตลอดกาล ในList หนังยุคปัจจุบันพูดถึงลาฟไปากแล้วไมพูดซ้ำ กาจะว่ากันเฉพาะหนังนี่คือหนังที่พาเราไปสำรวจประวัติศาสตร์ภาคประชาชนซึ่ง มีแต่ความฉิบหายอันไม่สุดสิ้น ความยาวของหนังอาจทำให้คนเบือนหน้าหนี (เรื่องนี้ยาสุด 11 ชั่วโมง) แต่ลองได้ดูมันจะกลายเป็นหนึ่งความทรงจำประจำชีวิตการดูหนัง ใครกันจะหลงลืมฉากการเดินไปตายยาวยี่สิบนาทีที่ทำให้รู้สึกประหนึ่งผู้ชทจะ ขาดใจตายลงไปด้วยโดยไม่ต้องสงสัยนี่คือหนังสำคัญที่ยังถูกมองข้ามอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน

2. THE TIME TO LIVE , THE TIME TO DIE (HSIAO – HSIEN HAO/ 1985/TAIWAN)

หนังอีกเรื่องที่โจนทะยานไปติดทอปหนังที่ชอบที่สุดตลอดกาล  หนังซึ่งค่อยกัดเซาะหัวใจผู้ชมให้หลอมละลายไปกับประวัตศาสตร์ส่วนบุคคลของ ตัวละคร (ซึ่งจำลองมาจากชีวิตของผู้กำกับ) หนังพูดถึงการก้าวพ้นวัยของเด็กชายที่เติบโตขึ้นเป็นคนหนุ่มผ่านทางเรื่อง เศร้าประจำครัวเรือนเช่นความตาย การพลัดพราก โดยมีฉากหลังไกลลิบเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของไต้หวัน หนังเล่าอย่างละมุนละม่อมจนเปิดโอกาสให้ผู้ชมนำเอาชีวิตตัวเองไปสวมครอบ บรรดาผู้คนในหนังแทรกซึมมาเป้ฯส้วนหนึ่งในครอบครัวซึ่งในที่สุดเราจะค่อยๆ สูญเสียไปในวิถีทางที่แตกต่างกัโหว เคยให้สัมภาษณว่าเขารู้สึกห่างไกลจากแผ่นดินจีน ขณะเดียวกันเขาก็รู้ว่าเขาไม่ใช่คนไต้หวัน และหนังเล่าเรื่องความเข้ากันไม่ได้กับแผ่นดินนี้ออกมาได้งดงามยิ่งนัก  กล่าวตามสัตย์ นี่คือหนังCOMING OF AGE ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ผมเคยดูมา

3.คนกราบหมา (อิ๋ง เค /1997/ไทย)

หนังไทยที่กล้าหาญ ตลก  และคมคายที่สุดเรื่องหนึ่งที่เคยดูมาหลังจากถูกแบนอยู่เป้นสิบปี นี่คือหนังที่ชวนให้นึกถึงหนังยุคต้นของ จอห์น วอเตอร์สในบริบทของสังคมไทย แม้หนังจะพูดภาษาอังกฤษทั้งเรื่องแต่นี้คือหนังที่ตีแสกหน้าอาการหน้าไหว้ หลังหลอก ความงมงายละเมอเพ้อ พกแบบไทยๆที่มาดูตอนนี้ก็ยังร่วมสมัยจนอดคิดไม่ได้ว่านี่เป็นเพราะหนังมัน ล้ำยุคหรือเพราะสังคมเราไม่เคยก้าวไปไหนกันแน่ ขอบคุณ คุรอิ๋งเค อย่างยิ่งที่ทำให้การรอคอยอกันยาวนานสิ้นสุดลง และสำหรับคนที่แบนหนังเรื่องนี้ ไปกราบหมาเถอะไป๊!

4. I CAN NO LONGER HEAR THE GUITAR (PHILLIPE GARREL /1991/FRANCE)

ไม่มีเสียงกีตาร์(ตามชื่อหนังในหนังเรื่องนี้) เรื่องเล่าทั้งหมดถูกตัดทอนออกจนเหลือเพียงบทสนทนาที่อยู่โดยรอบเหตุการณ์  บทสนทนาเลื่อนลอยกึ่งปรัชญาที่ดูเหมือนไร้ความหมายเหล่านั้นกลับซ่อนนัยยะ ลึกซึ้งของตัวละคร จึงควยามหึงหวงถึงความโหยหา  จากความลังเลถึงความมั่นคง และจากความเกลียดชังไปถึงความรัก  อาจเพราะบางทีขณะที่เขาทำหนังเรื่องนี้เขาไม่ได้มีโอกาสฟังเสียงกีตาร์ ของNICO อีกแล้วน่าแปลกที่หนังซึ่งไร้ความเร้าอารมณ์เรื่องนี้ ในที่สุดค่อยๆแทรกซึมลงในจิตใจเรา จนกระทั่งความเจ็บปวดของตัวละครกลายเป็นความเจ็บปวดของเรา ความตายของตัวละครเป็นการสูญเสียของเรา บางทรีหนังเรื่องนี้คล้ายเป็นข้อพิสูจน์ว่า เรื่องสำคัญๆของมนุษย์ที่แท้ล้วนเกิดขึ้นอย่างไร้ความหมาย และศิลปินมีภาระหน้าที่ในการคว้าจับความไร้ความหมานั้นออกมา เพื่อสร้างแรงสะเทือนลึกลับให้กับคนดู ครั้งแล้วครั้งเล่า

5. PERFUMED NIGHTMARE (KIDLAT TAHIMIK/1978/PHILIPPINES)

หนังเซอร์เรียลสุดพิลาศพิไลจาก ฟิลิปปินส์ ที่พูดเรื่องไอ้หนุ่มรถสองแถวผระธานชทรมคนรักนักบินอวากาศที่มีลูฏไล่เป็ฯเด็ฏๆตัวกะเปี๊ยก ที่พารถสองแถวบุโรทั่งของตัวบินข้ามฟ้าไปถึงอเมริกา  แต่ว่าแค่ข้ามสะพานกระจำหมู่บ้านไปอีกฝั่งยังยากเย็น หนังเป็นเรื่องเล่าเหนือจริงไม่ปะติดปะต่อที่ผสมเอาฟุตเตจถ่ายใหม่เข้ากับฟุตเตจแบบเอากล้องไปถ่ายคนนั้นคนนี้ ภาพสามัญถกึ่งสารคดีแสดงความทุกข์ยากของคนยากคนจนในฟิลิปปินส์ถูกนำมาร้อยเรียงกับเรื่องราวสุดพิลึกจนกลายเป็นหนังกึ่งESSAY FILM ที่เสียดสีสังคมได้อย่างแสบทรวง หนังเสียดสีทั้งสังคมข้นแค้นในฟิลิปปินส์ไปจนถึงตีแสกหน้าอเมริกาชาติที่เข้ามาเป้นเจ้าอาณานิคมแล้วทิ้งร่องรอยเอาไว้มากมาย นี่คือหนังที่เหมาะเจาะไม่ว่าจะเอาไปศึกษาในฐานะหนังเมจิคัลเรียลลิซึม หรือหนังวิพากษ์อาณานิคม
6. JONAH WILL BE 25 AT THE YEAR 2000(ALAIN TANNER/1976/SWITZERLAND)

หนังเล็กๆที่ทั้งเสร้าสร้อยและเปี่ยมความหวังเรื่องนี้เล่าเรื่องของตัวละคร ผู้พ่ายแพ้จากการปฏิวัติในปี 68 และพยายามก่อร่างสร้างอะรไขึ้นมาอีกครั้งในห้วงเวลาสั้นๆอันสุกปลั่งแล้ว ค่อยๆเลือนจางลง หนังไม่ใช่การสำรวจภาคตัดขวางของอุดมการณ์งามหรู หากเป็นการติดตามชีวิตที่แท้ในเส้นทางของอุดมการณ์นั้น  มันอาจเป็นการง่ายที่จะใส่เหตุการณ์หักเหเพื่อทำลายอุดมการณ์ลง แต่TANNER แสดงให้เราเห็นว่าอุดมการณ์ทั้งหลายไม่ได้ถูกทำลายลงอย่างฉับพลัน จุดจบของมันไม่ใช่ความล้มเหลวในการปฏิวัติ หากแต่เป็นการค่อยๆถูกบ่อนเซาะทำลายทีละน้อยจากระบบซึ่งยิ่งใหญ่กว่าหนัง  ทุกตัวละครในหนังค่อยๆค้นพบว่าแรงเฉื่อยในจิตวิญญาณของเขาไม่อาจต้านขืนการ ผลักไป ของกระแสสังคมได้ ช่วงเวลาสุกสว่างของอุดมการณ์นั้นไม่เป็นนิรันดร์   มันเป็นเพียงแสงซึ่งสว่างวาบแล้วค่อยๆซีดจางลง

7. THE GLEANERS AND I (AGNES VARDA /2002/ FRANCE)
สารคดีสุดวิเศษที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่าไงม่น่าเชื่อ นี่คือสารคดีที่เริ่มต้นจากภาพวาดโบราณของพวกสาวรับจ้างเก็บเกี่ยว นำไปสู่ นักเก้บเกี่ยวร่วมสมัยที่มีตั้งแต่ชาวบ้านยากจนไปเก็บของเหลือตามตลาด หรือบรรดามันฝรั่งคัดทิ้งที่ถูกนำมาปล่อยให้เปื่อยเน่า ไปจนถึงนักวิชาการหนุ่มที่ตัดสินใจใช้ชีวิตด้วยการเก็บของเหลือกิน  AGNES VARDA และดวงตาอันอ่อนโยนของเธอพาเราไปสำรวจหลากรูปแบบของมนุษย์ ภาพชีวิตของผู้คนถูกถ่ายทอดอย่างอ่อนโยนและให้เกียรติ ในขณะเดียวกันหนังก็มีประเด็นวิพากษ์อันแข็งแรงและคมคาย ป้าวาร์ดาขึ้นชื่อเรื่องการพกกล้องเป็นอวัยวะติดตัว และเธอแสดงประสิทธิภาพของมันในหนังเรื่องนี้  และในอีกสแงปีต่อมาเมื่อเธอกลับไปติดตามบรรดาผู้คนที่เคยอยู่ในหนังเรื่องนี้อีกครั้ง(ในภาค2) ซึ่งมันแสดงให้เห็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งคือป้าวาร์ดาไม่ใช่เพียงคนที่เอาประโยชน์จากผู้อื่น บรรดาผู้คนในหนังของเธอท้ายที่สุดค่อยๆกลายเป็นเพื่อนเธอไปจริงๆ ถ้าจะมีคนทำหนังที่เป้นมนุษย์นิยมอยู่สักคนบนโลกยี้ ป้าวาร์ดาคือคนคนนั้น

8. SINK OR SWIM (SU FRIEDRICH /1990 /US )

หนึ่งในหนังESSAY FILM ที่จับใจที่สุดที่เคยดูมาในชีวิต หนังใช้เสียงเล่าเรื่องของ ‘ฉัน’ และความสัมพันธ์ของฉันกับพ่อ โดยใช้ตัวหนังสือ A -Z แบ่งบท เล่าจาก Z ZYGOTE ขึ้นมาจนถึง A ภาพที่ใช้ มีทั้งฟุตเตจส่วนตัวของผู้กำกับเอง (SU FREIDRICH เป็นผกก.หนังทดลองหญิงชาว อเมริกัน เธอเป็นเลสเบี้ยน เป็นเฟมินิสต์ นิยมทำกนังจากภาพสามัญดาษดื่นทั่วไป ภาพของการเอากล้องไปถ่ายสิ่งต่างๆรอบๆตัว หรือผสมกับฟุตเตจเก่าทั้งของเธอเองและของคนอื่น) หนังใช้เสียงที่สัมพันธ์กับภาพไม่ใช่ในการเล่าเรื่อง แต่ในชิงอุปมาอุปไมย ภาพของการประกวดหญิงงาม (แบบโชว์กล้าม) ภาพเก่าๆของครอบครัว กระทั่งภาพของตัวเธอเอง ถูกนำมาใช้อุปมาอุปไมยถึงความสัมพันธ์ของเด็กหญิงที่ค่อยๆเติบโตขึ้นและห่าง เหินกับพ่อของเธอมากขึ้นทุกที หนังเศร้าและจับใจมากจนหลายๆตอนทำให้เรารู้สึกอยากร้องให้ ทั้งๆที่หนังไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเร้าอารมณ์เลย ชื่อเรื่องมาจากการที่พ่อสอนเธอว่ายน้ำ ถ้าไม่ว่ายก็ต้องจม ตอนหนังจบเรารู้สึกว่าเธอว่ายน้ำได้แล้ว แต่เธอจะไม่ว่ายกลับมาที่เดิมอีก
9. BONES (PEDRO COSTA/1997/PORTUGAL )

หนังเป็นเสมือนสารคดีซึ่งจับจ้องมองชีวิตความเป็นไปของคนในชุมชนอย่างอืด เนือย  ขณะเดียวกันCOSTA ก็สร้างบทขึ้น และซักซ้อมกับนักแสดงของเขาอย่างแน่นหนา  กล่าวโดยง่ายคือหนังของเขานั้นเป็นหนังมีเรื่องเล่า  หากอาศัยภาวะแวดล้อมของการถ่ายทำเยี่ยงสารคดี และดวงตาแหลมคมในการเลือกใช้ภาพทั้งมุมกล้อง แสง เสียงประกอบไปจนถึงเรื่องสำคัญที่สุดคือจังหวะเวลาและการเคลื่อนไหวบนจอ ภาพยนตร์ การจับจ้องไปในชีวิตของคนทุกข์อาจทำได้ง่ายได้ผ่านเรื่องเล่าทรงพลังเร้า อารมณ์  การใช้เทคนิคทางภาพยนตร์บีบคั้น หากในหนังCOSTA เขากลับเลือกใช้วิธีให้คนดูจับจ้องมองเหตุการณ์ที่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  เราอาจจ้องมองเด็กสาวสูบบุหรี่ เหม่อลอย ทำงานบ้านซ้ำๆ หนังถ่ายทำทั้งหมดโดยใช้แสงจริงในชุมชน ผลทีได้คือภาพชีวิตในหมู่บ้านผู้อพยพนั้นมืดหม่น ตลอดเวลา หนังตัดทอนเหตุการณ์ที่ไม่จำเป็นทั้งหมดออก และคงไว้เพียงเฉพาะเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆ ที่ดูเหมือนไม่สำคัญแต่สำคัญจนขาดไม่ได้ หากเรามุ่งคว้าจับรายละเอียดเชิงลึกของชีวิต  ภาพการนิ่งเฉย ความเหม่อมอง สรรพสิ่งในความมืด เสียงจากสิ่งอื่น การจับจ้องความครุ่นคิดหรือเหม่อลอย ทิ้งร่องรอยบางๆให้คนดูต้องคิดต่อว่าเหตุการ์ณใดนำไปสู่เหตุการณืใด และมันจะดำเนินไปทางไหน หนังเต็มไปด้วยร่องรอยเว้าแหว่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละตัวละคร  ภาพของความมืด ความสกปรกตามผนัง ทางเดินเล็กแคบ และเสียงที่เราจะได้ยินเสมอไม่ว่าอยู่ที่ไหน สิ่งนี้เด่นชัด(อย่างคลุมเครือ) อยู่ในหนัง ซึ่งเป็นเหมือนการจ้องมองที่เราสัมผัสได้ แต่จะไม่มีวันเข้าใจตลอดกาล

10. THE MOUTH AGAPE (MAURICE PIALAT/1976/FR)

เป็นการยากยิ่งที่จะเขียนถึงหนังของ MAURICE PIALAT  เพราะสำหรับหนังบางเรื่องที่เป็นวรรณกรรมมากๆเราอาจย่อยมันออกมาเป็นตัว หนังสือได้ไม่ยาก พอๆกับหนังที่เป็นชุดรูปแบบของสัญลักษณืเราก็เขียนโดยเพริดไปกับการตีความ พลิกแพลงครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สำหรับหนังที่เป็นหนังจริงๆ หนังที่ถูกออกแบบมาให้เป็นประดิษฐกรรมภาพเคลื่อนไหว หนังเล่านี้ชกเราด้วยหมัดตรงๆ ทำให้เราจุกจนพูดไม่ออก และยากที่จะ มันไม่ได้มีหรอก มนุษย์ผู้ขาววสะอาด หรือมนุษย์ที่ดำมืด มีแต่มนุษย์ที่รายรอบด้วยเหตุการณ์ต่างซึ่งก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความดีกับความชั่ว และที่สำคัญที่สุดมันไม่ได้ร้อยเรียงอย่างเป็นระบบขั้นตอนแบบที่เราเห็นกันในหนังเลยแม้แต่น้อย เหตุการณ์หนึ่งในชีวิต อาจถูกคั่นด้วยเหตุการณ์ไร้เหตุผลอีกจำนวนหนึ่ง และตามต่อด้วยชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน มนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ในห้วงเวลาระนาบเดียวแบบเวลาของภาพยนตร์ หากอยู่ในระนาบเวลาซึ่งซ้อนทับกองก่าย เมื่อเขาหรือเธอทำสิ่งหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลกันแบบลูกโว่ และ PIALAT บันทึกสิ่งนี้ด้วยการตัดต่อเรียงร้อยฉากต่างๆในหนังออกมา
11. LA MONDE VIVANT (EUGENE GREEN/2003/FR)

เราอาจพูดได้เลยว่านี่เป็นหนังโง่ๆ เพราะมันไม่สิ่งใดถูกตกแต่งฉาบเคลือบ เพื่อให้เกิด ‘ความสมจริง’ ซึ่งในทางหนึ่งความสมจริงนี้เองที่ผลักให้เรื่องเล่าทำเนียนเป็นเรื่องจริงได้ คนดูพร้อมจะเชื่อเรื่องจริงในหนัง(ซึ่งอาจไม่เหมือนความจริง) ขอแค่มันอยู่ในร่องในรอยของความสมจริง และสิ่งนั้นถูกรื้อทำลายทิ้งในหนังเรื่องนี้ ด้วยกลวิธีอันร้ายกาจนั่นคือการกลับไปเป็นเด็ก กลับไปทำเสมือนเด็กๆเล่นละครในตอนบ่ายวันหยุดฤดูร้อน สมมติตัวเองเป็นเจ้าหญิงเจ้าชาย ฝันกันเอาเองว่าเหาะได้ มีดาบวิเศษ และต่อสู้กับเหล่าร้าย  วธีการที่ดูเหมือนเพ้อฝันที่สุด ในที่สุดได้ปอกลอกเอาสิ่งที่ซ้อนอยู่ในผ้าคลุมของเรื่องเล่ามาคลี่ให้เราเห็นได้อย่างน่าทึ่ง
12. PLATFORM (JIA ZHANG KE /2000/ CHINA)

เจี่ยจางเคอะพาเราทัวร์จีนผานการจับจ้องมองห้วงเวลาอันยาวนานของคณะละคร ซึ่งเริ่มต้นในยุคเหมา เคลื่อนคล้อยยาวนานไปจนจีนเปิดประเทศ หนังจพลองภาพของประชาชนคนตัวเล็กภายใต้การเปลี่ยนแปลงนี้อย่างแหลมคมผ่านชะตาชีวิตของชาวคณะ ตั้งแต่ร้องเต้นเล่นละครสรรญเสริญประธานเหมาในยุคต้น จนกลายเป็นวงดนตรีร๊อคง่อยๆที่เดินสายไปยังหมู่บเนห่างไกล หนังมีทั้งคนที่กลายไปเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ คู่รักที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐจับตา ฝาแผดที่ต้องขายตัวแลกการตั้งเวที หนังจับตาจีนใหม่ได้แม่นมั่น เจ็บปวดยิ่งร้าวรานยิ่ง  และท้องหมดทั้งมวลไม่มีฉากโคลสอัพแต่อย่างใด หนังตั้งกล้องแบบมาสเตอร์ชอตจากระยะไกล แล้วกวาดสายตาจับจ้องตลอดเรื่อง ภาพอันห่างเหิน ตัวละครในทัศนียภาพที่กดข่ม การดิ้นรนที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฉากจบของหนังอาจจะเรียกได้ว่าปรานีปราศรัยที่สุดเท่าที่จะให้ได้  เจี่ยประกาศว่าเขาได้วิธีการวางกล้องมาจาก โหวเชี่ยวเฉียน และเขานำมันมาใช้อย่างน่าทึ่ง

โดยไม่ต้องสงสัยนี่คือมาสเตอร์พีซของแท้แน่นอน
13. CHOCOLAT (CLAIRE DENIS /1988/FRANCE)

ภาพยนตร์เรื่องแรกของ Claire Denis ที่เป็นเหมือนกึ่งอัตชีวประวัติในวัยเด็กของเธอ หนังเล่าเรื่องเด็กหญิงตัวเล็กๆลูกสาวของท่านทูตที่ประจำการในแอฟริกา และความสัมันธ์ของเธอกับทาสผิวสีที่คอยรับใช้เธอ เมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ของเธอ CHOCOLAT อาจดูง่ายที่สุด ตรงไปตรงมาที่สุด หากนี่คือหนังที่ประจุไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวของการไม่มีวันเข้ากันได้ระหว่างเจ้าอาณานิคมกับคนพื้นเมืองแม้จะเป็นเพียงความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลที่บริสทธิ์สักปานใด ในขณะที่พลังในการวิพากษ์ความเป็นเจ้าอาณานิคมก็เข้มข้น คมคายลึกซึ้งอย่างยิ่ง
14. HOUSE (NOBUHIKO OBAYASHI/1977/JAPAN)

ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนคือนิยามที่เราอาจจะพอบอกได้เวลาเราพูดถึงหนังเรื่องนี้ เพราะ HOUSE เป็นส่วนผสมของหนังกึ่งการ์ตูน ที่เป็นเสมือนการปะทะสังสรรค์ของการ์ตูนสยองขวัญแบบ อุเมซึ คาสึโอ กับการ์ตูนตาหวาน ( แบบเจ้าสาวซาตาน) และอิทธิพลจากหนังผีโบราณของญี่ปุ่นที่เน้นการเขียนฉาก จัดวางองค์ประกอบศิลป์อันมลังเมลือง (ลองนึกถึงหนังแบบKWAIDAN)  การประสมกลมกลืนอันอิหลักอิเหลื่อ และตามใจตนเอง อย่างยิ่งนี้ อาจไม่ได้ให้ผลที่เป็นขั้นสุดยอด แต่กลับสร้างรสชาติแปลกประหลาดแปร่งเพี้ยน ฉิบหายวายป่สง หัวร่องอหาย กระทั่งตกอกตกใจ ถึงขั้นรำพึงว่า คิดได้ยังไง ชนิดที่ไม่อาจหาพบได้ง่ายนักทั้งจากหนังญี่ปุ่นร่วมยุค หรือกระทั่งในยุคปัจจุบัน ก็ตาม
15. HEREMIAS BOOK1 + BOOK2 –on progress(LAV DIAZ /2006/ PHILIPPINES)

กล่าวตามสัตย์หนังของ Lav Diaz ที่ได้ดูในปีนี้ล้วนติดอันดับหนังแห่งปีทุกเรื่อง เรื่องนี้ก็ด้วย หนังยาวเก้าชั่วโมงเรื่องนี้อาจเล่าเรื่องง่ายๆของการเดินทางของชายอาภัพนาม HEREMIAS คนทุกข์ที่เร่ร่อนไปพบว่าโลกนี้มันต่ำช้าเสียทั้งหมดทั้งมวล ความหวังอันทึ่มทื่อ ความดีงามอันหรุบรู่ของเขาต้องปะทะกับแรงขับจากพลังคอรัปชั่นกินเมือง จนมิพักจะช่วยเหลือใคร แค่ตัวเองก็อาจเอาตัวไม่รอด Lav  ละเว้นเรื่องเล่าปูมหลังทั้งหมดไว้เหลือแต่เรื่องราวเปลือยเปล่าและการลอบสังเกตชีวิต ซึ่งทำได้อย่างน่าทึ่ง ใครจะลืมฉษกคนเมายาที่เป็นLONGSHOT ยาวหนึ่งชั่วโมงลงไปได้!  มากไปกว่านั้น ใน BOOK 2 Lav กลับไปย้อนเล่าชีวิตของHEREMIAS ในวัยเด็ก หากกระจัดกระจายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนกลายเป็นหนังที่อาจดูไม่รู้เรื่องที่สุด แต่ทรงพลังที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
16. MESSIDOR (ALAIN TANNER/1979 /SWITZERLAND)

MESSIDOR เล่าเรื่องของสาวสองชนชั้น คนหนึ่งเป็นนักศึกษาสาว อีกคนเป็นสาวโรงงานทั้งคู่พบกันระหว่างการโบกรถและตัดสินใจจะเดินทางไกลไป เที่ยวบ้านของเด็กสาวโรงงาน แต่ยิ่งใกล้บ้านเจ้าตัวก็ยิ่งไม่อยากกลับไป ทั้งคู่จึงลงเอยด้วยการเล่นเกมง่ายๆด้วยการเดินทางต่อไปเรี่อยๆ ให้ไกลที่สุดจากเงินเท่าที่เหลืออยู่ หนังตั้งคำถามว่า การมีชีวิตอยู่โดยปราศจากเงินจะเป็นอย่างไร ยิ่งเราเห็นการดิ้นรนของเด็กสาว (ซึ่งเป็นคล้ายตัวแทนจิตวิญญาณเสรีที่เพียงอยากจะท่องไป โดยปฏิเสธทุกค่านิยมทางสังคม รวมถึงการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา) เรายิ่งพบว่าระบบการแลกเปลี่ยนโดยอาศัยเงินเป็นเครื่องมือ ได้กลายเป็นระบบ(ที่มนุษย์สร้างขึ้น)แต่ค่อยๆครอบงำมนุษย์ไปเสียแล้ว  หนังติดตามเด็กสาวทั้งสองคนไปเรื่อยๆ หนังแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าในการที่พวกเธอค่อยๆทำลายตนเอง ไม่ใช่ระบบสังคมเพียงอย่างเดียว หากมันคือแรงเฉื่อยทางจิตวิญญาณของพวกเธอที่ค่อยๆหน่วงลง
17. FEW OF US ( SHARUNAS BARTAS/1996 )

FEW OF US มีความตั้งใจเพียงพาเรากลับไปยังคุณสมบัติขั้นต้นของภาพยนตร์นั่นคือ ‘การจ้องมอง’ BARTAS ไม่ได้ทำหน้าที่สร้างเรื่องเล่าเพื่อหันเหผู้คนจากการจ้องมองไปสู่การดู เรื่องเล่าในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวอีกต่อไป  เขาเปลี่ยนทางให้ผู้คนจ้องมองเพียงอย่างเดียว  การแสวงหาเรื่องเล่าเป็นหน้าที่ของจินตนาการที่จะค่อยๆต่อเติมส่วนที่ขาดหาย ไป กล่าวตามตรงกับการรับรู้(จ้องมอง) สิ่งของ ผู้คน เรื่องราวต่างๆในชีวิต ใช่หรอืไม่ที่ทั้งหมดไม่ได้ถูกร้อยเรียงตรงหน้า หากมันถูกเชื่อต่อด้วยข้อต่อในหัวเราที่ชื่อจินตนาการ
18. อีพริ้ง คนเริงเมือง (เริงศิริ ลิมอักษร /2523 /ไทย)

หนังไทยด่าไฟแลบเรื่องนี้อาจดูน้ำเน่าน่ารังเกียจ ยิ่งหนังเล่าเรื่องนางหญิงมากผัวตัวแสบที่พ่นคำผรุสวาทเป็นไฟ ใจยักษ์  ยิ่งทำให้ผู้ชมจำพวกเคร่งศีลธรรมเกิดอาการปรี๊ดแตกกับความแรด แรง ร่าน ของอีพริ้งได้อักโขวิยะดา อุมารินทร์เล่นหนังเรื่องนี้ได้บาดจิตจนไม่แปลกใจที่เธอจะเป็นที่จดจำจากบทนี้จนถึงวันนี้ หนังเต็มไปด้วยบทสนทนาด่าทอระดับฮาร์ดคอร์ชนิดแม่ค้ายังอายจนกลายเป็นที่เลื่องลือจนถึงวันนี้ (ในแง่ที่ว่านี่คือหนึ่งในหนังที่มีบทสนทนาแรงที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศษสตร์หนังไทย) หนังเริ่มต้นจากการเป็นละครทีวีก่อนจะกลายเป็นหนังใหญ่ในปีต่อมา  และถ้าเข้าใจไม่ผิดหนังมีการรีเมคแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง  แม้ตัวหนังจะไม่ได้มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าตัวเรื่องและการแสดง แต่เมื่อพิจารณาว่านี่คือหนังที่ยาวสองชั่วโมงต้นๆ เราพบว่านี่คือหนังที่เล่าเรื่องได้สนุกสนานมาก เสียดายที่หนังถูกจัดประเภทเป็นหนังน้ำเน่าแย่งผู้ชาย จนทำให้บริบทอื่นๆของหนังลดความสำคัญลงไป  เพราะหากวิเคราะห์ดูในอีกทางหนึ่งเป็นไปได้เหลือเกินที่อีพริ้งและผัวทั้งเจ็ดของเธอที่แท้อาจคือแบบจำลองความสัมพันธ์ของประชาชนกับรัฐไทย หลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ในรูปรอยเดียวกับ THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN ของFASSBINDER
19. KILLED THE FAMILY AND WENT TO CINEMA(Julio Bressane/1969/Brazil)

พลอตก็ตามเรื่องเลย นี่คือหนังที่ว่าด้วยการ ฆ่าครอบครัวให้หมดแล้วไปดูหนัง! ฟังดูพิลึกพิลั่นผิดศีลธรรมขั้นร้าย แต่ขอบอกว่านี่มันแค่พลอต เพราะจริงๆหนังเรื่องนี้แทบจะไม่มีอะไรอธิบายได้โดยง่ายอีกต่อไป นี่คือผลผลิตของกลุ่ม CINEMA MARGINAL คนทำหนังในบราซิล ที่ทำหนังออกมาเพื่อต่อต้านทุกกรอบกฏเกณฑ์ หนังเรื่องนี้ใช้นักแสดงแค่สามคนวนเวียนกันรับบทเดิมไปมา ไม่มีความปะติดปะต่อเชื่อมโยง คนหนุ่มเชือดพ่อแม่ด้วยมีดโกนแล้วไปโรงหนัง สาวเลสเบี้ยนที่พอแม่รู้ความจริงก็ฆ่าแม่ตัวเอง ตัดสลับกับเรื่องการทรมานนักโทษการเมืองและเพื่อนสาวที่พูดคุยเรื่องหนังลงเอยด้วยการฆาตกรรมกันและกัน!  ความคาดเดาไม่ได้ ความกวัดไกวไปมาระกว่างหนังเสียดสีขั้นสุดกับหนังของคนทำหนังไม่เป็น รสชาติเพี้ยนพิลึกแบบที่เราจะไม่เคยได้รับจากที่ไหนมาก่อน อย่ามาถามหาศีลธรรมเสียให้ยาก แล้วก็อย่าสั่งสอนริจะแบนหนังเรื่องนี้ ไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะเอาไปทำตาม เพราะจะว่าไปแล้ว คงไม่มีเด็กหน้าไหนทนความพิศวงงงวยของหนังได้เกินสิบนาทีแรกหรอก  ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่นี่คือหนังที่เรายึดจับอะไรมได้อีกต่อไป และทำลายความเป็นหนังที่เราคุ้นเคย(ถ้าจะบอกว่าหนังแบบครอบครัวก็คงได้)ลงไม่มีชิ้นดี
20. STILL LIFE (SOHRAB SHAHID SALLES)

นหนังเรื่องนี้ SALESS จับจ้องดูชีวิตของคนงานการรถไฟวัยชรา ที่ทำงานมาทั้งชีวิตเพื่อจะไม่เหลืออะไรไว้เลย  หนังฉายภาพสามัญในช่วงชีวิตแต่ละวันของสองผัวเมียที่อยู่ด้วยกันมานานจนไม่ เลืออะไรให้พูดกันอีก  พวกเขาตื่นขึ้น ต่างคนต่างทำกิจวัตรของตนเอง เหลือเรื่องให้พูดคุยกันไม่มาก เรื่องของน้ำตาล ในน้ำชา เรื่องของผ้าคลุมหน้าผืนใหม่ เรื่องความขี้ลืมของเขา หรือเรื่องทางรถไฟจะโดนน้ำท่วม  พวกเขาพูดซ้ำๆ เดินช้าๆ หนังทิ้งคนดูไว้กับภาพเหล่านี้ยาวนานจนเราค่อยๆจมลงในชีวิตซึ่งเป็นดั่งภาพ นิ่งของคนทั้งคู่บนพื้นที่ชื้นแฉะมีน้ำจัง ต้นไม้แห้งตายซาก  ป้อมยามเก่าๆสกปรก ห้องเปิดโล่งที่สีหลุดล่อน ชีวิตของพวกเขาดำเนินไปเช่นนั้นราวกับมันวนอยู่บนเส้นเกลียวของนิรันดร์ กาล  จนกระทั่งไม่ว่าใครก็ตาม(นอกเหนือจากขบวนรถไฟไร้นามที่วิ่งผ่านไปตลอดเรื่อง ) ล้วนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มาเคลื่อนไหวในภาพนิ่งนี้  หากภายใต้ภาพฉายอันนิ่งงันนี้ SALESS จำลองโลกของคนตัวเล็กซึ่งดูเหมือนตัดขาดจากสรรพสิ่งแล้ว แต่แท้ที่จริงกลับยังคงมี ‘มือที่มองไม่เห็น’ทั้งในรูปแบบของรัฐ (การรถไฟ) และเอกชน(คนซื้อพรม) มาคอยกำกับชักใยทำได้กระทั่งลบชื่อพวกเขาออกจากตำแหน่งแห่งที่ปลายขอบโลกอันกันดารนี้
21. INPRAISE OF LOVE (JEAN LUC GODARD /2001 /FRANCE)
นี่คือหนังที่สวยงามและแสนพิศวงของJEAN LUC GODARD หนังซึ่งประกอบด้วยสองส่วน หนึ่งคือภาพขาวดำอันสวยงามตัดกับภาพวีดีโออิ่มสีจนไหลเยิ้มซึมลงบนเนื้อเซลลูลอยด์  เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย กระทั่งจดจำเนื้อหาของเรื่อง กล่าวให้รวบรัดที่สุด มันว่าด้วยชายผู้หนึ่งที่อยากจะหานักแสดงมาทำหนังรักที่มีสามคู่ อันว่าด้วย คู่รักสามคู่  หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ วัยชรา และพูดถึงสี่องค์ของความรักที่ประกอบด้วย การพบพาน  ความปรารถนาทางกาย การพลัดพราก และการหวนคืนมาใหม่  พลอตคร่าวๆอาจมีเท่านี้ แต่โกดาร์ดกลับย้อนทวนสวนความหมายรื้อสร้างทุกองค์ประกอบของภาพ บทสนทาบังเกิดซ้ำ ผู้คนต่างกรรมต่างวาระ ปรัชญา การเมือง ประวัติศาสตร์ และความรักหลากไหลอยู่ในหนังอันงดงามเหมือนบทกวี  ซึ่งเราคงเล่าอะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้ เพราะนี่คือหนังอันแปลกหระหลาด ซึ่งเรื่องราวจะเจือจางลงไปอย่างรวดเร็ว หากความรู้สึกกลับเข้มข้นขึ้นเป็นทวีคูณหลังจากหนังจบลง

22. MANILA : IN THE CLAWN OF NEON (LINO BROCKA /1975 / PHILIPPINES)
หนังเพื่อชีวิตพันธุ์แท้จากฟิลิปปินส์ โดยฝีมือของผู้กำกับคนสำคัญ LINO BROCKA หนังเล่าเรื่องทื่อๆของไอ้หนุ่มที่มาตามหาคนรักในเมืองลงเอยด้วยการเป็นคนงานก่อสร้างที่ถูกกดค่าแรงแถมตายไปก็ไม่มีใครดูดดำดูดี ไม่เกินคาดเดาหนังเพื่อชีวิตเรื่องนี้ถ่ายทอดความทุกข์ยากของผู้คนออกมาอย่างตรงไปตรงมาแทบทึ่มทื่อ เร้าอารมณ์กันอย่างไม่ปิดบัง แต่ในอีกทางหนึ่งมันก็คว้าจับเอาภาพสังคมข้นแค้นออกมาเล่าได้อย่างถึงเลือกดถึงเนื้อ ภาพฝันอันลอยลับ การคอรัปชั่นที่ซึมถึงราก ความล่มสลายของคนเล็กคนน้อย ถูกเล่าอย่างทรงพลังในหนังเรื่องนี้จนเราไม่อาจมองข้ามมันได้

23. TICKET OF NO RETURN (ULRIKE OTTINGER/1979 /GERMAN)

หนังพิสดารพันลึกจองคุณป้า ULRIKE OTTINGER ที่พาเราไปร่วมผจญภัยกับหญิงสาวที่ตีตั๋วเที่ยวไปเยอรมันเพื่อ ดื่มให้ลืมเธอชนิดที่จะไม่ดลับมาอีกแล้ว พลอตเรื่องน่ะมีแค่นี้ ที่เหลือเป็นภาพ และเสียงสุดพิสดารของบรรดาสาวๆที่เหมือนมาจากนอกโลก ทั้งเมาทั้งเพี้ยน แต่งตัวประหลาดโลก ร้องรำทำเพลงกันอย่างบ้าคลั่ง ล่องไหลไปในงานภาพบ้าบอคอแตก และตัวละครเฮี้ยนเพี้ยนเพ้อคลั่ง แต่กระนั้นก็ดี หนังกลับแสดงภาพความทุกข์แห่งเธอออกมาได้อย่างน่าทึ่ง อันนี้เขาเรียก เปรี้ยวเยี่ยวราดแต่บาดลึก!
24. EVDOKIA (ALEXIS DAMIANOS/1971/GREECE)

หนังกรีซจากยุค เจ็ดสิบที่เล่าเรื่องรักของหญิงโสภณีประจำเกาะ กับนายทหารหนุ่มจากแดนไกล เขาและเธอพบกัน ตกหลุมรักกัน ตัดสินใจแต่งงานกัน ต่างคนต่างมอดไหม้ด้วยไฟรัก ไฟปรารถนา ภายใต้แรงกดของสังคมที่ยังเห็นเธอเป็นเพียงหญิงคนเที่ยวกระทั่งทุกสิ่งดำเนินไปสู่โศกนาฏกรรมที่ไม่คาดเดาได้ไม่ยาก พลอตเรื่องนั้นอาจฟังน้ำเน่าแต่นี่คือหนังที่รุนแรงในทุกอณูของเนื้อหนังตั้งแต่การแสดงแบบระเบิดอารมณ์ไม่ยั้ง ไปถึงการตัดต่อที่แทรกฉากประหลาดซ้อนเข้ามาตลอดเวลา หรือกระทั่งพฤติการณ์ตัวละครที่คาดเดาไม่ได้และคลั่งบ้า ถ้าคุณชอบหนังของฟาสบินเดอร์ นี่คือหนังของคุณ !
25. THE SALAMANDER (ALAIN TANNER /1971 /SWITZERLAND)

THE SALAMANDER เล่าเรื่องสองหนุ่มที่จะเอาข่าวฉาวเก่าๆมาแปลงให้เป้นบทหนัง ข่าว่าด้วยตาเฒ่าที่ทำปืนลั่นใส่ตัวเอง แต่บอกว่าหลานสาวจอมแรดเป็นคนทำ พวกเขาเริ่มต้นจากหลานสาวแล้วค่อยๆค้นพบความแตกต่างของเรื่องจริงกับเรื่องเล่า มากไปกว่านั้น ความแตกต่างของเรื่อง กับ ชีวิตจริงๆ ประเด็นหลักของหนังอาจอยู่ที่การวิพากษ์โลกทุนนิยมที่มองมนุษยืเป็นหนึ่งหน่วยผลิต และความรู้สึกแปลกแยกจากงานที่ทำของชนชั้นแรงงาน การขบถขืนต้านอย่าเศร้าๆซึ่งหนังจบลงอย่างให้ความหวัง ขณะเดียวกันยังซ่อนประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าและความเป็นจริง เมื่อชีวิตจริงของหญิงชนชั้นแรงงานได้ทำลายทั้งชิ้นส่วนข้อเท็จจริง และงานฝันวรรณกรรมของปัญญาชนทั้งสองลงอย่างราบคาบ ชีวิตจริงนั้นหลากหลายซับซ้อนที่พวกเขาไม่อาจเอามาเขียนเป็นเรื่องเล่าได้ง่ายๆอีกต่อไป
26. DEATH BY HANGING (NAGISA OSHIMA/1968/JAPAN)

นาย อาร์.ผู้ต้องหาคดีฆ่าข่มขืนหญิงสาวสองราย เด็กหนุ่มชาวเกาหลีขี้ครอกถูกตัดสินโทษประหารด้วยการแขวนคอทุกอย่างเป้นไปตามหมายกำหนดการเย่าเรียบร้อยผิดก็แต่ว่านายอาร์ ไม่ได้ตกตายในเวลาที่กำหนด ! ภายใต้รูปแบบของหนังที่แกว่งไปกว่งมาจากหนังสารคดี ไปจนถึงหนังเหนือจริง หนังตั้งหน้าตั้งตาวิพากษ์ประเด็นหนักๆอย่างถึงลูกถึงคน  โดยหนังเริ่มต้นจากประเด็นสากลอย่างเช่น เมื่อเราไม่สามารถจดจำตัวตนของเราได้เรายังเป็นเราอยู่หรือไม่  เรายังจำต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ร่างกายของเรา (หรือจิตวิญญาณเก่า)ของเราทำไว้หรือไม่  ความผิดบาปของมนุษย์นั้นยึดติดพ่วงผูกอยู่กับร่างกายที่มองเห็นได้ หรือติดอยู่กับวิญญาณซึ่งเป็นสิ่งนามธรรมที่มองไม่เห็น
27. GUNGA JAMUNA(NITHIN BOSE/ 1961/INDIA)

ปีนี้ได้ดูหนังบอลลีวู้ดชั้นเลิศมากมายจนสามารถแยกเขียนเป็นลิสต์ได้ต่างหากแต่ถ้าต้องเลือกสักเรื่องก็ขอเลือกเรื่องนี้ หนังว่าด้วยสองพี่น้องที่คนหนึ่งเป็นตำรวจคนหนึ่งเป็นโจร แล้วต้องกลับมาห้ำหั่นกัน  หนังเล่นใหญ่ประสาบอลลีวู้ดเต็มที่ เรื่องราวเล่าอารมณ์ ประกอบเพลงไพเราะและการร้องเต้นสุดอลังการ หนังเข้มข้นด้วยการต่อสู้ของชาวนากับนายทุนที่ดิน ในขณะเดียวกันก็เล่าเรื่องอย่างมาดมั่น นี่คือหนังที่ให้อารมณืแบบหนังรุ่นเก่า สนุก ซาบซึ้งโศกเศร้า ด้วยวอารมณ์ที่โหมกว่าระดับปกติหลายเท่า ซึ่งอาจจะทำกันเกร่อแต่ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะให้ผลมากมายขนาดนี้
28. LONG WEEKEND (COLIN EGGLESTON/1978/AUSTRALIA)

หนัง ออสเตรเลียสุดระทึกที่เพิ่งเอามารีเมคใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องนี้เล่าเรื่องของคู่รักที่กำลังระหองระแหงเดินทางไกลหมายจะใช้วันหยุด สนสุขริมหาดลึกลับ ฝ่ายชายชอบแดดจ้าท้าลม ฝ่ายหญิงใจจริงกลับอยากนอนโรงแรมหรูมากกว่า แต่ข้อโต้แย้งของพวกเขาก็ตกไปเมื่อเขาเริ่มรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามจากนกหนู ปูปลาในบริเวณนั้น กระทั่งเขาพบซากปลาโลมาตายที่เคลื่อนที่เข้ามาหาพวกเขาทุกที รถตู้ร้างริมหาด และนกที่จ้องทำร้ายอย่างไร้เหตุผล ความสัมพันธ์กลัดหนองก็ยิ่งอักเสบปริแตกออกมาทุกทีๆ บางทีอาจเป็นไปได้ว่าธรรมชาติละเล่นตลกและย้อนกลับมาไล่ฆ่าพวกเขาเยี่ยง ฆาตกรโรคจิต หนังกดดันคนดูด้วยการคุกคามจากธรรมชาติรอบตัวอย่างทรงพลัง  หนังเริ่มด้วยฉากการคุกคามธรรมชาติจากน้มือของคนทั้งคู่ การกางเตนท์ท่องเที่ยว การฉีดสเปรย์ไล่แมลง การฆ่าสัตว์ หรือโค่นต้นไม้อย่างไร้เหตุไร้ผล ทั้งหมดนำมาซึ่งการโต้คืนอย่างสาสม  เนื่องจากหนังมาจากยุคเจ็ดสิบ เราจึงไม่ได้เห็นซีจี  หรือเทคนิคพิเศษง่อยๆ  ความสะพรึงทั้งหมด มาจากภาพ ดนตรีประกอบ บทสนทนา จังหวะการเล่า การดึงเอาพลังมืดของต้นไม้ นก ป่า ทะเล  ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่หนังเรื่องนี้ทำให้การท่องเที่ยววันหยุดกลายเป็นนรกโดยไม่ต้องพึ่งการฆ่าโหดเลือดสาดเลยแม้แต่ฉากเดียว

29. TRAINS OF SHADOWS (JOSE LUIS GURIN /1997/ SPAIN)

นี่คือหนังของผู้กำกับ IN THE CITY OF SYLVIA ซึ่งเขาประกอบสร้างขึ้นจากภาพฟุตเตจถ่ายเล่นที่เขาบังเอิญพบ โดยนำมันมาฉษยซ้ำ จากนั้นขยับไปหาสถานที่ซึ่งเคยเป็นฉากหลังเหตุการ์ณ์  ภ่ายภาพอาคารสถานที่อันเงียบใบ้ ก่อนทรี่องค์สุดท้ายเขาจะสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่จากจินตนาการล้วนๆ ภาพฟุตเตจเก่าถูกว่อนความรักลับๆที่ไม่อาจเอื้อนนเอ่ย ทั้งหมดอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่นี่คือพลังอันสวยงามของจินตนาการซึ่งมีการมองเป็นองค์ประกอบสำคัญ หนังหนักหนากว่า SYLVIA หลายเท่าเพราะปราศจากบทสนทนาโดยสิ้นเชิงมีเพียงการมอง การลอบมอง การมองหาส่วนเชื่อมโยงและการสร้างความเชื่อมโยงขึ้นมาใหม่ นี่คือการสร้างหนังจากหนัง และเป็นเรื่องวงในที่ผลิดอกออกผลได้เฉพาะกับสือภาพยนตร์เท่านั้น
30.แม่นาคพระขโนง(ฉบับหนังเงียบ) (ไม่ทราบผู้สร้าง/ปีที่ฉาย)

ขอขอบคุณ คุณ มานัสศักดิ์ ดอกไม้ แห่งหอภาพยนตร์ที่แนะนำให้ดูหนังเรื่องนี้ นี่คือแม่นาคพระโนงต้นฉบับของแท้ ตัวหนังนั้นเป้นหนังเงียบยุคก่อนสงครามโลก และว่ากันว่าเป็นต้นแบบของแม่นาคฉบับของสเน่ห์โกมารชุน ในอีกหลายปีต่อมา หนังถ่ายอย่างง่ายจนคล้ายเป็นการคว้าจับภาพสังคมไทยในสมัยนั้นได้อย่าน่าตื่นตะลึง และในฉากผีแม่นาคนั้นหนังก็ทำเพียงห่อผ้าขาวทั้งตัว ใส่หน้ากากผีแล้วยืนอยู่ไกลๆใต้แสงสลัวขอลอดผ่านต้นไม้ใหย๋ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ขนลุกกรูเกรียวแล้ว นี่คือหนึ่งในหนังที่ต้องจดจำไว้ว่ามีบุญแค่ไหนที่ได้ดูมัน (ท่านที่อยากดู ไปดูได้ที่หอภาพยนตร์ครับ )

SHORT FILMS
1.ของเหลวที่หลั่งจากกาย (รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค /2552)
2. TIME WITHIN TIME (MENNO OTTEN/2009/NETHERLANDS)
3. NOW SHOWING (นิติพงศ์ ถิ่นทัพไทย/2009/ไทย)
4. ALL MOUNTAINS ARE LOOK ALIKE(CHRISTELLE LHEUREUX/2008/FRANCE)
5. LETTER TO UNCLE BOONME(APICHATPONG WEERASETHAKUL/2009/THAI)
6.กู่ก้องบอกรักนิรันดร/เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง
7.มธุรส (ธณัชชัย บรรดาศักดิ์)
8.กระเป๋านักเรียนของหงสา (ศุกโมกข์ ศิลารักษ์ /2008/ไทย)
9. กาลนิรันดร์/อิสระ บุญประสิทธิ์
10. FOUR SEASON (KEREN CYTTER /2009/GERMANY)
11.ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้นหายตัวไป (เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง)
12.หนังสั้นสีขาว (ชั่วแสงเทียน) ปราบต์ บุนปาน
13.FEATHER STARE AT THE DARK (NAOYUKI TSUJI/2003/JAPAN)
14.THE HANGMAN( LES GOLDMAN+PAUL JULIAN / 1964 / USA )
15. Turbulent (Shirin Neshat /1998/Iran)
16.แมวสามสี (นฆ ปักษนาวิน)
17.ต้อม/ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์/
18. There/รัชกร โพธิโต
19. FRANCAIS (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์)
20.Old Haert (อโนชา สุวิชากรพงษ์)
21.ดุ๊กดิ๊ก/ณัฏฐา หอมทรัพย์
22. BEYOND SIGHT (นิสมน )

ALBUM OF THE YEAR

สิ่งที่ดีที่สุดในรักสามเศร้าของยุดเลิศ คือเสื้อยืด ‘กูฟังเพลงไทย’เพราะถูฏต้องแล้วกูนี้แหละฟังเพลงไทไม่มีตก สิ้นปีแล้วมาทำอัลบั้มแห่งปีกันดีกว่า

เดี๋ยวนี้มนุษย์มักหูพิการ ฟังเพลงมักง่ายมักโหลด โหลดเอามาแต่เพลงที่ชอบ ยอดขายซีดีก็ร่วงเพลงก็รุ่งริ่ง คอนเซปต์อัลบั้มอย่าได้หวังทำ ฉะนั้นเราขอสนับสนุนการซื้อซีดีมาลูบคลำพลิกคว่ำพลิกหงายดูเนื้อเพลง ซึ่งหมายความว่าต้องนอนลง ‘ฟังเพลง’จริงๆ ไม่ใช่เอาหูฟังยัดหูรอเวลารถติดแต่อย่างใด หวังว่าปีหน้ายอดขายซีดีเพิ่มขึ้นมาบ้าง (แต่ข้าพเจ้ายังต้องโหลดอยู่ เพราะขืนซื้อทุกอัลบั้มที่โหลด คงต้องมีเงินเดือนเดือนละแสนห้า)

ปีนี้ตลก แกรมมี่อาร์เอส ลดคูรภาพประหนึ่งโรงงานลดเกรดวัตถุดิบ (ซึ่งก็ลดมาหลายปี) อินดี้ก็ svae ass กันถ้วนหน้า พี่บอย พี่ป๊อดเลยต้องร้องเพลงหวานจ๋อยไปเรืยๆ ฝั่งเพื่อชีวิตยิ่งรันทดหนักมีแต่เพื่อชีวิตกู มากกว่าเพื่อชีวิตผู้คน จนหูหาเรื่องอย่างข้าพเจ้าได้แต่ต้องหวังพึ่งเพลงลูกทุ่งเป็นหลัก!!

และนี่คือ11 อัลบั้มแห่งปีที่เลือกมา อย่าได้ถามว่าทำไม่มีอัลบั้มนู้น อัลบั้มนี้ เพราะต่อให้มีอีกร้อยหูก็คงฟังเพลงใหม่ๆไม่ทันหมด เอาเป็นว่านี่เป็นอัลบั้มแห่งปี เท่าที่หูได้ยิน อัลบั้มไหนรอดหู(รอดตา) เก็บไว้ว่ากันปีหน้านะพี่นะ

GREASY CAFE  : ทิศทาง

เพลงร็อครักรันทด ฟังแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองเป็น EDWARD NORTON ยืนกุมมือของHELENA BONHAM CARTER ดูเมืองทั้งเมืองกำลังระเบิดเป็นจุณในฉากสุดท้ายของFIGHT CLUB

ไผ่ พงศธร ชุดที่5: มีเธอจึงมีฝัน

ข้อพิสูจน์ว่า วสุ ห้าวหาญเป็นมือวางนักแต่งเพลงอันดับต้นๆของประเทศไทย ทั้งเพลงหวาน และเพลงชีวิต ที่ทำให้เพลงเพื่อชีวิตต้องมุดดินหนี เพลง ทบ.2 ลูกอีสาน เป็นเพลงพูดเรื่องภาคใต้ที่น่าสนใจที่สุดนับจาก ฝากใจไปบ้านของ พจนาถ พจนาพิทักษ์ (แน่นอนว่าดีกว่าเพลง ราตรีสวัสดิ์ประมาณ สามล้านเท่า) อย่าแปลกใจถ้าจะได้ยินเสียงพี่ไผ่ ในมือถือผู้เขียน (ซึ่งสมยอมต่อระบบทุนไปแล้ว)  เพราะจะเอามีเธอจึงมีฝันที่หวานบาดจิตมาเป้นเสียงรอสายไว้ออ้นสาว อ้อนหนุ่ม!

ลูกแพร อุไรพร : หัวหงอกหยอกสาว

อย่าประมาท เสียงอีสาน ไม่มีดีไม่ครองใจคนทั้งอีสาน ลูกแพรอัลบั้มใหม่ อาจจะไม่ครีเอททำนองเอง(ก๊อปเพลงดังๆมาทั้งนั้น) แต่เนื้อหามันคนละเรื่อง นี่คือการประสานกำลังระหว่างเพลงฝรั่งสุดฮิปที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมรองรับ เนื้อหาชาวบ้านร้านตลาด ทั้งไอ้หนุ่มเครื่องไฟ พ่ายรัก พี่ที่พูดคำเดียวที่เหลือเมียเว่าทั้งหมด ไปจนถึงไอ้หนุ่มแอปเปิ้ล นกแก้ว ที่ยังไงก็ไม่เคยเปลี่ยนยี่ห้อแฟน!  เพลงเรียกคืนอัตลักษณ์ชนชั้นที่อาจจะไม่ตระหนักรู้ แต่เอาจริง!

WILD SEED : DEMO SEED

สารภาพตามสัตย์ ผู้เขียนเพิ่งได้ฟังเพลงในอัลบั้มนี้ได้แค่สองเพลง และยังไม่สามารถหามาเป็นเจ้าของได้เนื่องจากทำน้อยขายน้อย จนถึงบัดนี้ยังหาซื้อไม่ได(เข้าใจว่าคงเกลี้ยงไปแล้ว) WILD SEED เคยออกอัลบั้มกับMILESTONE มาอัลบั้มหนึ่งหลายปีที่แล้ว ซึ่งข้าพเจ้าหลงไหลได้ปลื้มเป็นอย่างยิ่ง กลับมาคราวนี้เครื่องดนตรีน้อยชิน แต่ยังคงคมคายขั้นเทพเหมือนเดิม! ใครก็ได้ช่วยเอาไปปั๊มเยอะๆมาขายที พี่ขอ!

วรรธนา วีรยวรรธน : EVERYTHING I-SEA

ถ้าพูดตามตรง เราค้นพบว่า อัลบั้มล่าสุดของพี่เจี๊ยบคนโปรด ไม่มีเพลงที่ติดอันดับเพลงแห่งปีเลย เพลงของพี่เจี๊ยบจริงๆยังคงเหมือนเดิมทุกประการ ดังนันหลังจากพีคสุดๆใน Ticket to the moon อัลบั้มนี้เลยกลายเป็นงานพักร้อนกลายๆไป แต่เอาเข้าจริงพอไปเชค Last FM ของตัวเองพบว่าถ้าเป็นอัลบั้มใหม่ในปีที่ผ่านมา อัลบั้มนี้ติดอยู่ในอัลบั้มยอดนิยมของข้าพเจ้า เนื่องจากมันมียอดฟังสูงสุด (มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เปิดวนทั้งวันเลยทีเดียว) กล่าวอย่างง่ายคือมันเป็นงานแบบที่ต้องฟังยกอัลบั้มถึงจะิอิน  ฉะนั้นถ้าต้องเลือก10 things ไปทะเล อันดับที่5 น่าจะเป็นอัลบั้มนี้มากกว่าป๋าแจค เหมือนในเพลงนะพี่นะ

ต่าย อรทัย: หมอลำดอกหญ้า

เพลงเก่าร้องใหม่ยกอัลบั้ม เรียบเรียงดนตรีก็งั้นๆ เสียงเครื่องดนตรีเท่าๆกันหมด เหมาะสำหรับเปิดฟังง่ายๆมากกว่าจะเอาจริงทางดนตรี) แต่กลับเป็นอัลบั้มที่มีเสน่ห์เหลือหลาย  ต่าย อรทัยดึงความเศร้าในเนื้อเสียงมาใช้ในการตีความเพลงได้อย่างน่าทึ่ง ฟังแล้วอยากท่องอีสานไปเยี่ยมสาวภูไท ไหว้พระธาตุพนม กันเลยทีเดียว เพลงดีคือเพลงดี กี่สิบปีไม่มีตก อย่าพลาดเพลง แรงงานข้าวเหนียวเป็นอันขาด ฟังรอบแรก ข้าพเจ้าถึงกับหลั่งน้ำตา!

YARINDA : SCHOOL

กลับมาใหม่แบบใส่สดหมดหม่นหมอง ฟังแล้วสบายอกสบายใจลั้นลาไปหลายวัน แม้จะมาพบในภายหลังว่ามีเพลงหนึ่งในอัลบั้มที่จังหวะและเทคนิคช่างคล้ายคลึง กับเพลงของ Shugo Tokumaru แต่ก็ไม่ได้ทำใหชอบลดลงฮวบฮาบมากนัก คู่กัน ไดโนเสาร์ เมื่อไหร่จะหลับ ให้อารมณ์สดใสซาบซ่าปิ๊งๆเหมือนดื่มกาแฟเย็นในวันที่ร้อนระอุ ในขณะที่ HEROES คือน้ำเย็นเฉียบที่บาดลึกในคืนเปลี่ยว

ลูกทุ่ง ไฮ ไฟ: หลายคน ภายใต้การควบคุมของบรรณ สุวรรณโภชิน

แอบชอบพี่บรรณมานาน ตั้งแต่ครั้งออกอัลบั้มกับอาณืเอส ซื้อมั่งไม่ซื้อมั่ง (ไม่ชอบฟังเพลงแปลง แล้วก็ไม่บ้าบอล เลยพลาดสองอัลบั้มนี้ไปอย่างตั้งใจ) กล่าวตามจริงเราไม่ชอบเพลงไหนในอัลบั้มนี้เลย ปัญหาหลักของมันคือมันเต็มไปด้วยความพยายามจะเป็นลูกทุ่ง แต่ใช้กรอบคิดแบบคนเมืองมาจับ มันเลยลักลั่นอิหลักอิเหลือไปหมด ความเก่าที่เอามาใช้่ในเนื้อเพลง มันกระเดียดไปทางลูกกรุงมากว่าลูกทุ่ง ฟังทั้งอัลบั้มเลยรู้สึกเหนื่อยหน่ายอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าหากต้องจัดอันดับอัลบั้มน่าสนใจแห่งปี อัลบั้มนี้คงอยู่อันดับหนึ่ง เพราะมันเอามาวิเคราะห์ ความไม่เข้ากันของคนชั้นกลางในเมืองกับชาวบ้านร้านตลาดได้อย่างน่าสนใจ ไม่เชื่อลองเปรียบเทียบ เสียงครวญจากหนุ่มไทย กับ สาวเกาหลี ของพี สะเดิดดู จะรู้ว่าแบบไหนมันเป็นแบบไหน

อย่างไรก็ตาม เราก็ชื่นชมอัลบั้มนี้มากๆๆๆๆ น้องนักร้องเด็ดขาดทุกคน ถ้าพี่บรรณทำภาคสอง ลองชวนครูเพลงมาแจมเนื้อไหมพี่!

เขม : SPACE STATION

ถ้าพูดกันตามตรงนี่คืออัลบั้มที่ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา ทั้งภาคดนตรีและเนื้อหา เพลงบรรเลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้ผสมออกมาอย่างลงตัวและน่าทึ่ง ในขณะที่ภาคเพลงร้องก็คมคายไม่น้อย  อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้เราไม่ชอบอัลบั้มนี้สุดๆคือมันจืดจาง sense of popไปอยู่บ้าง (ซึ่งก็ดีแล้ว) อย่้างไรก็ตามเพลง คนจากอดีต คนจากอนาคต คือเพลงแห่งปีเพลงหนึ่งของเราเลยทีเดียว สรุปง่ายๆว่า เยี่ยมมาก แต่ไม่ใช่ทางของเราเท่าไหร่ (ชอบสองอัลบั้ีมที่ผ่านมาของเขามากกว่านิดนึง)

เกี่ยวก้อย : ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ที่จริงอัลบั้มนี้ออกมาเจ็ดแปดปีแล้ว อ.ไวท์เคยบอกว่า ตอนที่บ้านน้ำท่วม  มาสเตอร์อัลบั้มนี้มันหายไปหมด ฉบับเดียวที่มีจึงเป็นเทป คาสเสตต์ ซึ่งบัดนี้มันหมดท่าไปแล้ว  กราบขอบพระคุณกะทิกะลาจริงๆที่ในที่สุดอัลบั้มนี้กลับมาจนได้ เพราะนี่คืออัลบั้มหนึ่งในอัลบั้มเพลงไทยที่ชอบที่สุดตลอดกาล แน่นอนว่าเพลงของ อ.ไวท์ไม่ได้มีเครื่องดนตรีครบครัน ทำนองการเรียบเรียงก็เล่นกันง่ายๆ แต่ที่เหนือใครคือเนื้อเพลงที่ฟังแล้วล่องลอย ของแท้ ใครอยากไปดวงจันทร์ หรือติดปีกนก โดยไม่ต้องเสียกะตังค์ ฟังอัลบั้มนี้คุณจะบินได้!

บุตรของนายเฉลียวและนางอำไพ : มาโนช พุฒตาล +สมพงศ์ ศิวิโรจน์

อันนี้ขี้โกง เพราะมันเป็นอัลบั้มของปีที่แล้ว แต่เรายังฟังต่อเนื่องข้ามปีมาเรื่อยๆ อัลบั้มสุดเก๋ ที่ใช้วิธีทำเอามัน ปั๊มน้อยขายน้อย แต่เด็ดมาก งานนี้พี่ซันปะทะ คุณสมพงศ์ อดีตคนแต่งเพลงของมาลีฮวนน่า ดวลกันคนละเพลงสองเพลง   ทั้งสี่เพลงอยู่ในขั้นพีคสุดจิต แต่ขอเทใจให้ เพลงช้าง นี่สิเพลงแห่งปี(ที่แล้ว)ตัวจริงเสียงจริง


กลแสงแห่งปี 2009 : A TRICK OF THE LIGHT TOP OF THE YEAR 2009 LIST ภาค3

กลแสงแห่งปี ภาค 1 I ภาค 2

TOP 10 หนัง โดนประจำปี 2009

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’ kalapapruek@hotmail.com

ล่วงเข้าปีใหม่ทีไรก็ได้เวลาสำหรับการปฏิบัติภารกิจรวบรวมสิบอันดับหนัง ‘โดน’ ประจำปีที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปว่ามีเรื่องไหนเป็นที่ติดใจควรค่าแก่การกล่าวขวัญถึงบ้าง สำหรับอันดับหนังประจำปี 2009 นี้ผู้เขียนก็ขอจัดให้สองรายการด้วยกัน ทั้งสิบอันดับหนัง ‘โดนอกโดนใจ’ และสิบอันดับหนัง ‘โดนทำร้าย’ โดยมีกติกาง่าย ๆ ว่าเป็นหนังใหม่ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ดูในช่วงปี ค.ศ. 2009 ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนพำนักอยู่ต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในปีนี้จะไม่มีการจำกัดเฉพาะหนังที่เคยมีโอกาสสัมผัสกับผืนจอในประเทศไทยเช่นเดียวกับปีที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งก็หวังว่าอานิสงส์ของการเป็นโลกไร้พรมแดนแห่งยุคโลภาภิวัฒน์คงจะทำให้หนังต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเหล่านี้ จะมิต้องตกอยู่ในสภาพ ‘หาดูไม่ได้’ อีกต่อไป ไม่ช้าก็เร็ว

เนื่องจากหนังบางเรื่องอาจต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมีโอกาสลงโรงฉายให้ได้ดูกัน เพราะฉะนั้นคำว่า ‘หนังใหม่’ นั้นผู้เขียนจะขอย้อนขอบเขตให้เป็นหนังที่ออกฉายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา ว่าแล้วก็ขอเชิญท่านทั้งหลายติดตามกันได้ว่ามีหนังเรื่องไหน ‘โดน’ อก ‘โดน’ ใจผู้เขียนในแง่ใดกันบ้าง

TOP 10 CINEMAPE GINGER OF THE YEAR 2009

สิบอันดับหนัง สุเทพเมพขิงประจำปี 2009

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’ kalapapruek@hotmail.com

ล่วงเข้าปีใหม่ทีไรก็ได้เวลาสำหรับการปฏิบัติภารกิจรวบรวมสิบอันดับหนัง ‘โดน’ ประจำปีที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปว่ามีเรื่องไหนเป็นที่ติดใจควรค่าแก่การกล่าวขวัญถึงบ้าง สำหรับอันดับหนังประจำปี 2009 นี้ผู้เขียนก็ขอจัดให้สองรายการด้วยกัน ทั้งสิบอันดับหนัง ‘โดนอกโดนใจ’ และสิบอันดับหนัง ‘โดนทำร้าย’ โดยมีกติกาง่าย ๆ ว่าเป็นหนังใหม่ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ดูในช่วงปี ค.ศ. 2009 ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนพำนักอยู่ต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในปีนี้จะไม่มีการจำกัดเฉพาะหนังที่เคยมีโอกาสสัมผัสกับผืนจอในประเทศไทยเช่นเดียวกับปีที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งก็หวังว่าอานิสงส์ของการเป็นโลกไร้พรมแดนแห่งยุคโลกาภิวัฒน์คงจะทำให้หนังต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเหล่านี้ จะมิต้องตกอยู่ในสภาพ ‘หาดูไม่ได้’ อีกต่อไป ไม่ช้าก็เร็ว

เนื่องจากหนังบางเรื่องอาจต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมีโอกาสลงโรงฉายให้ได้ดูกัน เพราะฉะนั้นคำว่า ‘หนังใหม่’ นั้นผู้เขียนจะขอย้อนขอบเขตให้เป็นหนังที่ออกฉายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา ว่าแล้วก็ขอเชิญท่านทั้งหลายติดตามกันได้ว่ามีหนังเรื่องไหน ‘โดน’ อก ‘โดน’ ใจผู้เขียนในแง่ใดกันบ้าง

TOP 10 CINEMAPE GINGER OF THE YEAR 2009

สิบอันดับหนัง สุเทพเมพขิงประจำปี 2009

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’

สำหรับอันดับหนัง ‘สุเทพเมพขิง’ ประจำปี 2009 นี้ ก็จะขอรวบรวมหนังชั้น ‘เทพ’ ที่โดดเด่นโดนใจผู้เขียนในด้านต่าง ๆ จนอดไม่ได้ที่จะขอมอบรางวัลส่วนตัวให้ในหมวดหมู่สาขาดังต่อไปนี้

  1. 1. ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี: INVOLUNTARY กำกับโดย Ruben Ostlund

ไม่น่าเชื่อเลยว่าหนังที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดประจำปี ค.ศ. 2009 ของผู้เขียนจะเป็นหนังเล็ก ๆ ที่เคยร่วมฉายในสาย Un Certain Regard ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ประจำปี 2008 ที่แทบจะไม่มีใครเอ่ยถึง ผลงานขนาดยาวเรื่องที่สองของผู้กำกับจากสวีเดน Ruben Ostlund ผู้มีฝีไม้ลายมือเป็นที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง แม้จะถูกจัดอยู่ในสายรองกลุ่ม Un Certain Regard แต่หนังเรื่องนี้กลับมีอะไรหลาย ๆ อย่างละม้ายคล้ายคลึงกับหนังในสายประกวดหลายเรื่องของปีนั้น หนังแบ่งเนื้อหาออกเป็นห้าเส้นเรื่องแบบเดียวกับ Gomorrah หนังมีฉากเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการปกครองระหว่างครูนักเรียนแบบเดียวกับ The Class หนังมีฉากการชุมนุมสังสรรค์ของบรรดาญาติมิตรแบบเดียวกับ A Christmas Tale หนังมีเรื่องราวแบบส่วนตั๊วส่วนตัวของดาราดังแบบเดียวกับ Frontier of the Dawn หนังมีฉาก oral sex คล้ายกับใน Serbis หนำซ้ำยังมีการจัดภาพในระยะอึดอัดตัดหัวตัดตัวนักแสดงไม่ผิดไปจาก The Headless Woman เลยทีเดียว! หนังใช้เรื่องราวย่อย ๆ ห้าเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาถ่ายทอดปฏิกิริยาของมนุษย์ในภาวะที่อาจนำไปสู่ความรู้สึก ‘เสียหน้า’ ซึ่งก็มีทั้งกรณีชายชราที่ประสบอุบัติเหตุจากพลุไฟระหว่างงานเลี้ยงสังสรรค์แต่ดันไม่ยอมไปพบแพทย์ ดาราสาวใหญ่ที่ต้องรักษาภาพพจน์ด้วยการเก็บงำความลับบางอย่างไว้จนทำให้ใคร ๆ คนอื่นต้องเดือดร้อน ครูสาวจิตป่วยที่ต้องมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนครูเพราะความเจ้าหลักการมากเกินไป เด็กสาวใจแตกที่แรดเสียจนหลุดขอบเขต ไปจนถึงกลุ่มเพื่อนหนุ่มมาดแมนที่การละเล่นสุดคะนองของพวกเขาคือการจับถอดกางเกงแล้วดูดจู๋ หรือดื่มเหล้าเมาแล้วแก้ผ้าตีลังกาให้เพื่อนเอาธงจิ้มตูด! หนังโดดเด่นด้วยการจัดองค์ประกอบภาพที่สุดแสนจะแปลกหูแปลกตาโดยไม่สนใจเลยว่าผู้ชมจะเห็นหน้าเห็นตาตัวละครสำคัญในฉากนั้น ๆ หรือไม่ แต่สิ่งที่ชวนให้ทึ่งได้มากที่สุดเลยก็คือการแสดงขั้น ‘เทพ’ ของนักแสดงทุก ๆ รายที่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์น่าอับอายในชีวิตประจำวันใกล้ตัวออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติและอาจจะสมจริงได้ยิ่งกว่างานสารคดีเสียด้วยซ้ำ ฉากเด็ด ๆ อย่างตอนที่นังเด็กสก๊อยส์เกิร์ลนั่งหน้าหงอคอตกโดนแม่ด่านั้น ต้องบอกกันตามตรงเลยว่าเป็นบรรยากาศที่ผู้เขียนเองไม่เคยพบเคยเห็นจากหนังเรื่องอื่นไหน แต่ที่ต้องยกให้เป็นฉากเด็ดแห่งปีที่ดูแล้วอึ้งได้มากที่สุดก็คือฉากกินหนอนใน apple ซึ่งต้องขอเปิดหมวกคารวะนักแสดงที่มารับบทบาทเป็นคุณครูสาว ที่สามารถถ่ายทอดสภาวะอารมณ์อันชวนอึดอัดใจออกมาได้อย่างน่าขนลุกสุด ๆ! ด้วยความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ Involuntary เป็นหนังทดลองที่ได้ทั้งความแพรวพราวในเชิงเทคนิคและการดิ่งลึกเข้าไปศึกษาพฤติกรรมหลงอัตตาของมนุษย์ที่ทำออกมาได้ ‘สุด’ ในทุก ๆ ด้านจริง ๆ

ฉากกินหนอนใน apple จาก Involuntary (2008)

ฉากสุดเทพเมพขิงประจำปี 2009 ของผู้เขียน

  1. 2. ผู้กำกับยอดเยี่ยมแห่งปี : VINCERE กำกับโดย Marco Bellocchio

สำหรับเรื่องนี้ก็มีโอกาสได้ฉายใน Bangkok International Film Festival กันไปแล้ว คิดว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ดูกัน จริง ๆ ผู้เขียนก็ติดตามผลงานของผู้กำกับ Marco Bellocchio มามากมายหลายเรื่อง แต่ก็ยังไม่ถึงกับถูกอกถูกใจอะไร ด้วยความที่สไตล์การกำกับส่วนใหญ่ของเขาจะออกแนวเก่า ๆ เชย ๆ มุ่งเน้นความประณีตละเมียดละไมจนไม่ถึงใจ ‘วัยสะรุ่น’ อย่างผู้เขียน (ภาษาวัยรุ่นยุคไหนกันละเนี่ย?) แต่พอได้ดู Vincere เรื่องนี้ก็มีอันต้องร้อง   ‘ว้าว!’ ออกมาทันที เพราะบทที่พี่แกคิดจะทำหนังออกแนวโฉบเฉี่ยวเปรี้ยวจ๊าบขึ้นมาก็สามารถทำให้ผลงานของ      ผู้กำกับร่วมชาติรุ่นหลานอย่าง Paolo Sorrentino ต้องกลายเป็นหนังโฆษณาแอ๊บแบ๊วไปได้ในทันที สิ่งที่น่ายกย่องมากที่สุดใน Vincere คือการประสานเอาลีลาการกำกับในแบบฉบับคลาสสิกมาหลอมรวมกับเทคนิคลีลาในแบบร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืนโดยใช้ความเคลื่อนไหวในวงการศิลปะและดนตรีกลุ่ม Futurism มาเป็นสไตล์หลัก เมื่อความหนักแน่นเข้มข้นของการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างงานระดับบรมครูรุ่นเก่าได้รับการแต่งองค์ทรงเครื่องกันด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์อันทันสมัย เรื่องราวเก่า ๆ เชย ๆ อย่างประวัติชีวิตสุดรันทดของเมียลืมของ Benito Mussolini จึงสามารถกลายเป็นหนังที่สุดกิ๊บเก๋ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดู Vincere แล้วก็ชวนให้รู้สึกสะท้อนใจว่าจะมี ผู้กำกับรุ่นหลังรายไหนทำหนังได้แน่นและเนี้ยบเทียบเท่ากับผู้กำกับรุ่น Marco Bellocchio กันอีกไหม เพราะผลงานชิ้นนี้ดูจะสามารถใช้เป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีว่า การทำหนังให้ดูเฉี่ยวเท่ทันสมัยนั้น จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นประการใด แต่ความลุ่มลึกคมคายในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างหากที่เป็นทักษะอมตะชนิดไม่ว่าจะเป็นคนทำหนังรุ่นไหนก็จำเป็นจะต้องฝึกฝนไว้เพราะมันจะเป็นสิ่งจีรัง การจับหัวใจคนดูให้รู้สึก climax ได้ถึงห้าครั้งในหนังเรื่องเดียวอย่าง Vincere เรื่องนี้ คงจะเป็นหลักฐานพิสูจน์ข้อความข้างต้นได้เป็นอย่างดี

  1. 3. ภาพยนตร์ประดับเหรียญกล้าหาญแห่งปี : ENTER THE VOID กำกับโดย Gaspar Noe

สำหรับวงการศิลปะแล้ว การมุ่งหน้าแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการเล่าเรื่องราวและการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกภายในนับเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะเป็นสิ่งชี้เป็นชี้ตายอนาคตของมันได้อย่างชัดเจนที่สุด นักทำหนังที่ไม่เคยจำนนต่อกรอบเกณฑ์อะไรใด ๆ ที่คนรุ่นก่อน ๆ ได้วางเอาไว้ จึงควรค่าที่จะได้รับการยกย่องไม่แพ้ผู้กำกับที่มุ่งสร้างความประทับใจด้วยฝีไม้ลายมือ สำหรับรางวัลภาพยนตร์ประดับเหรียญกล้าหาญประจำปีนี้ผู้เขียนก็มอบให้กับผู้กำกับ Gaspar Noe กับผลงานเรื่อง Enter the Void มหากาพย์ head trip หลงสมัยที่ทำออกมาได้อย่างไม่นึกเกรงกลัวอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น หนังถ่ายด้วยมุมมอง point-of-view ทั้งก่อนและหลังความตายของไอ้หนุ่มนักค้ายาชาวตะวันตกที่ไปอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียวกับปฏิบัติการปกป้องน้องสาวแท้ ๆ ของเขาที่ทำงานเป็นนักเต้นระบำเปลื้องผ้าตามคำมั่นสัญญา ตลอดความยาวเกือบสองชั่วโมงครึ่งเราจะได้ติดตามจิตวิญญาณของชายหนุ่มรายนี้ไปสัมผัสกับซอกหลืบอันสลัวรางด้วยแสงไฟนีออนของกรุงโตเกียวอย่างไม่หยุดหย่อน สลับกับการนึกย้อนไปถึงเรื่องราวความเป็นมาในอดีต หนังชวนตะลึงไปด้วยเทคนิคการถ่ายทำและตัดต่อที่ลื่นไหลผ่านตึกกำแพงอะไรต่าง ๆ ราวกับเป็นการติดตามดวงวิญญาณกันจริง ๆ ใครที่ยังไม่คุ้นกับการนั่งดูหนังที่ผู้กำกับใช้เครนเหวี่ยงกล้องไปมาราวกับนั่งรถไฟเหาะตีลังกา ก็ขอให้หาเรื่อง Irreversible (2002) ของผู้กำกับรายเดียวกันนี้มานั่งฝึกซ้อมสายตากันเสียก่อน แต่จุดที่น่าประทับใจจริง ๆ ในผลงานชิ้นนี้ก็คือ ต่อให้ลีลาการถ่ายทอดของหนังจะสุดแสนแพรวพราวขนาดไหน ผู้กำกับก็ไม่เคยละทิ้งที่จะใส่ใจมิติด้านอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเลย เมื่อเทคนิคก็แน่น ตัวละครก็ถึง ผลงานชิ้นนี้จึงนับเป็นความตื่นเต้นแปลกใหม่ที่น่าสนใจมากที่สุดในรอบปีเลยทีเดียว

  1. 4. บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี : ABOUT ELLY กำกับและเขียนบทโดย Asghar Farhadi

ต้องบอกกันตามตรงเลยว่าช่วง 30 นาทีแรกของหนังเรื่องนี้มันทำให้ผู้เขียนรู้สึกยี้แหวะได้อย่างสุดแสนคลื่นไส้   กับภาพความสนุกสนานสำราญอารมณ์ของการเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนริมทะเลของครอบครัวใหญ่ที่ตัวละครทุกรายต่างแสดงความ happy สุขีสโมสรออกมาได้อย่างน่าหมั่นไส้ยิ่งนัก แต่ทันทีที่เรื่องราวพลิกผันหลังตัวละคร Elly หายสาบสูญไปอย่างลึกลับ หนังก็หักเปลี่ยนโทนเรื่องไปในทันใด จากหนังครอบครัวที่ออกแนวปัญญาอ่อน ก็กลับกลายมาเป็นงาน suspense thriller ที่น่าตื่นเต้นระทึกใจได้มากที่สุดแห่งปี หนังเหมือนจะหยิบยืมกลิ่นอายจากทั้งนิยายสืบสวนสอบสวนในแบบฉบับของ Agatha Christie และผลงานอมตะอย่าง L’avventura ของ Michelangelo Antonioni แต่สุดท้ายก็คลี่คลายเรื่องราวออกมาในแบบฉบับหนังอิหร่านตัวจริงเสียงจริง ซึ่งก็คงมีแต่คนทำหนังชาตินี้เท่านั้นแหละที่จะเล่าเรื่องราวอะไรแบบนี้ออกมาได้ ไม่ขอเล่าอะไรให้เผยความไปมากกว่านี้ก็แล้วกันเผื่อหลาย ๆ คนที่ยังไม่ได้ดูอาจเสียอรรถรส เอาเป็นว่าหนังเรื่องนี้มี surprise ที่ไม่สามารถตัดสินอะไรได้จากเพียงช่วงค่อนแรกของหนังเลยจริง ๆ

  1. 5. ผู้กำกับหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี : VERSAILLES กำกับโดย Pierre Schoeller

หนังเรื่องนี้เหมือนจะถูกตีตราว่าเป็นหนังเกี่ยวกับคนจรจัดที่อาศัยอยู่ในเขตนอกรั้วของพระราชวัง Versailles แต่เอาเข้าจริงแล้วผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Pierre Schoeller ชิ้นนี้กลับมุ่งปอกเปลือกความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และปัจจัยในการดำเนินชีวิตเสียมากกว่า ด้วยการติดตามชีวิตของเด็กชายที่อาศัยอยู่ข้างถนนกับมารดาที่สามารถกินอะไรก็ได้ที่จะพอยาไส้และสามารถล้มตัวลงนอน ณ ตรงไหนก็ได้ที่มีพื้นที่เพียงพอให้เหยียดกายในฉากแรก ๆ จนเขาเติบโตมาเป็นเด็กหนุ่มวัยรุ่นเอาแต่ใจเลือกกินเฉพาะอาหารที่เขาถูกใจและมีห้องนอนส่วนตัวที่เต็มไปด้วยสิ่งของตกแต่งไร้ความจำเป็นในฉากท้าย ๆ การผจญภัยของเด็กเหลือขอที่เหมือนจะไม่มีใครสนใจ แต่สุดท้ายเขากลับมีผู้ใส่ใจให้ความดูแลถึงสี่รายใน Versailles เรื่องนี้ จึงเป็นเหมือนการเสียดเย้ยการใช้ชีวิตที่มักจะเกินล้นไปจากความต้องการพื้นฐานจริง ๆ ของมนุษย์เราในยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างเจ็บแสบ ผู้กำกับ Pierre Schoeller ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้ราวกับไม่ได้ทำเป็นเรื่องแรก เพราะเขาดูจะเข้าอกเข้าใจมนุษย์ในทุก ๆ สถานะและเพศวัยอีกทั้งยังนำเสนอออกมาได้อย่างลุ่มลึกราวกับคลุกคลีอยู่ในวงการนี้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยไม่มีเค้าแววของความเป็นมือใหม่ให้เห็นเลย ผู้เขียนจึงต้องขอยกตำแหน่งผู้กำกับหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีให้ไปโดยไม่มีอะไรต้องลังเล หนังเรื่องนี้ได้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ เมื่อกลางปีที่แล้ว

  1. 6. สารคดียอดเยี่ยมแห่งปี : DEAR ZACHARY: A LETTER TO A SON ABOUT HIS FATHER กำกับโดย Kurt Kuenne

ทั้งอึ้ง ทั้งซึ้ง ทั้งตะลึงแบบนึกไม่ถึงเลยทีเดียวสำหรับสุดยอดสารคดีชวนปวดหัวใจเรื่องนี้ จากบทลำนำแสดงความรำลึกอาลัยต่อ Dr Andrew Bagby คุณหมอหนุ่มใหญ่ที่เพิ่งจะเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม ซึ่งผู้กำกับ Kurt Kuenne ตั้งใจจะบันทึกไว้เป็นหนังสารคดีเพื่อให้ทายาทตัวน้อย ๆ ของคุณหมอ Andrew ผู้ต้องกำพร้าพ่อไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาอดีตแฟนสาวของคุณหมอได้มีโอกาสรู้จักกับบิดาบังเกิดเกล้าของตัวเอง  footage ต่าง ๆ ของ Dr Andrew Bagby ที่ผู้กำกับ Kurt Kuenne เคยบันทึกไว้ไม่ว่าจะเป็นบรรดาหนังสั้นทำมือที่คุณหมอ      เคยร่วมแสดงในวัยละอ่อน หรือวิดีโอบันทึกงานแต่งงานจึงถูกนำมาร้อยเรียงเป็นพงศาวดารชีวิตของชายหนุ่ม        ผู้เปี่ยมล้นไปด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ไม่น่าจะต้องลาจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควรเลย แต่มีหรือที่เรื่องราวชีวิตในโลกของความเป็นจริงมันจะดำเนินไปดั่งที่เราตั้งใจ เมื่อฟ้าดินช่างแสนโหดร้ายพลิกเหตุการณ์ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง    ในสารคดีเรื่องนี้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ทดสอบกำลังใจครั้งยิ่งใหญ่อันสุดแสนสะเทือนใจในระดับใจหายใจคว่ำ! โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะไม่มีความอดทนกับเทคนิคลีลาการนำเสนออันโฉ่งฉ่างวุ่นวายตัดไปตัดมาด้วยอัตราเร็วราวสายฟ้าแสบด้วยเหตุผลเพียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ในสารคดีเรื่องนี้ผู้เขียนกลับรู้สึกยินดีให้อภัยโดย     ไม่ถือสา ก็ในเมื่อมันเป็นสารคดีที่ตั้งใจทำให้เด็กที่เพิ่งรู้ความดูผู้กำกับก็ต้องสรรหาอะไร ๆ มาดึงดูดใจบ้างก็นับเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรพลังอารมณ์อันเปี่ยมล้นของตัวหนังก็ยังแข็งแกร่งพอที่จะกลบลบข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในส่วนของการนำเสนอเหล่านี้ไปได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าลึก ๆ แล้วจะอดคิดไม่ได้ว่าหนังไม่ได้มองประเด็นอย่างเป็นกลางและออกจะเข้าข้างฝ่ายครอบครัว Bagby กันอย่างชัดเจน แต่ก็นั่นแหละนะ หากจะมีใครโดนทำร้ายทารุณทางจิตใจได้อย่างหนักหนาสาหัสถึงเพียงนี้แล้ว การจะมานั่งฝักใฝ่อยู่ในทางสายกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดมันก็คงจะไร้หัวใจกันเกินไปสักหน่อย เพราะไม่ว่าใครจะผิดจะถูกอย่างไรครอบครัว Bagby ก็ไม่ควรที่จะต้องมาพบมาเจอกับวิบากกรรมที่หนักหน่วงอะไรเช่นนี้เลย จึงต้องขอยกให้ Dear Zachary: A Letter to a Son About His Father เป็นสุดยอดสารคดีแห่งปีที่อยากจะให้คุณผู้อ่านทั้งหลายมีโอกาสได้หามาชมด้วยตนเองโดยทั่วกัน!

  1. 7. นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมแห่งปี : CHRISTOPHE MINIE จากเรื่อง JOHNNY MAD DOG กำกับโดย Jean-Stephane Sauvaire

ก่อนอื่นขอให้ทุกท่านคลิกเข้าไปชม poster หนังกันที่

http://www.allocine.fr/film/fichefilm-111823/affiches/detail/?cmediafile=19001642

แล้วโปรดจำหน้าไอ้หมอนี่ไว้ หากคุณผู้อ่านไปพบเจอมันที่ไหนก็ฝากบอกมันด้วยว่าอย่าให้ ‘กัลปพฤกษ์’ ได้เจอหน้าโดยเด็ดขาด เพราะข้าพเจ้านี่แหละจะยินดีสละชีวิตวิ่งเข้าไปกระโดดเตะก้านคอมันให้ล้มทั้งยืนโดยไม่เกรงกลัวกระสุนจากปืนที่มันถืออยู่ในมือเลย ความกักขฬะเลวระยำของไอ้ Johnny Mad Dog รายนี้นี่แหละที่ทำให้ผู้เขียนต้องเกิดอาการ ‘ของขึ้น’ หมั่นไส้ไปกับพฤติกรรมสุดอันธพาลของมันอย่างสุดจี๊ด คงคิดละสิว่าพลังอำนาจของกระบอกปืนจะทำให้มันสามารถแสดงอาการกำแหงแกร่งกร่างกับใคร ๆ ให้ก้มหัวยินยอมไปทั้งหมดได้ ฝันไปเถอะ! ‘กัลปพฤกษ์’ คนนึงหละที่ไม่ขอกลัวตาย ถึงชีวิตต้องวอดวายก็ขอได้ตะบันหน้าหมา ๆ ของมันสักครั้ง แล้วขอเอาถ้วยรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมแห่งปียัดใส่ปากมันโทษฐานที่ทำให้ฉันต้อง in จนรู้สึกอยากจะฆ่าตัวละครขึ้นมาจริง ๆ!

  1. 8. นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี : KSENIYA RAPPOPORT จากเรื่อง THE DOUBLE HOUR กำกับโดย Guiseppe Capotondi

จริง ๆ เธอก็คว้ารางวัลเดียวกันนี้จากเวที VENICE FILM FESTIVAL กันไปแล้ว แต่ผู้เขียนก็อดไม่ได้จริง ๆ ที่จะขอมอบรางวัลส่วนตัวให้เธออีกสักหนึ่งรางวัล กับการแสดงอันสุดแสนจะละเอียดลุ่มลึกที่สะท้อนความเร้นลับที่ไม่อาจไว้วางใจของอิสตรี ผู้เขียนชอบเหลือเกินกับหนังที่ตีแผ่พฤติกรรมสุดประหลาดล้ำในระดับคาดเดาอะไรไม่ได้ของบรรดาสาว ๆ ไม่ว่าจะเป็น Post-coitum, animal triste (1997) ของ Brigitte Rouan / Claire Dolan (1998) ของ Lodge Kerrigan / The Dreamlife of Angels (1998) ของ Eric Zonka / A vendre (1998) ของ Laetitia Masson / Rosetta (1999) ของ Jean-Pierre & Luc Dardenne / La repetition (2001) ของ Catherine Corsini / Lovely Rita (2001) ของ Jessica Hausner / A tout de suite (2004) ของ Benoit Jacquot และ A Tale in the Darkness (2009) ของ Nikolay Khomeriki กระทั่งล่าสุดก็เห็นจะมี The Double Hour ของ Guiseppe Capotondi นี่แหละที่ถ่ายทอดอารมณ์อันเร้นลับของผู้หญิงได้ดิ่งลึกมากอีกเรื่องหนึ่ง ในเรื่องนี้ Kseniya Rappoport รับบทเป็นสาวเสิร์ฟที่มีโอกาสได้สนิทสนมกับอดีตนายตำรวจที่ต้องกลายมาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้คฤหาสน์ใหญ่หลังหนึ่งจากกิจกรรมการหาคู่แบบ speed date แต่หญิงสาวและชายหนุ่มคู่นี้ดูจะไม่ได้เป็นปุถุชนคนทำมาหากินธรรมดา ๆ เพราะทั้งคู่ต่างมีอดีตเป็นชนักปักหลังที่ไม่อาจจะฝังลืมไปได้ง่าย ๆ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอดีตเหล่านั้นมันคือสิ่งที่พวกเขาอยากลืมจริง ๆ? แม้โดยตัวบทหนังแล้วจะไม่ได้มีการสาดใส่อารมณ์อะไรกันมากมาย แต่ Kseniya Rappoport กลับสามารถใช้การแสดงออกทางสีหน้าและแววตามาถ่ายทอดความคิดอ่านในช่วงเวลาต่าง ๆ ของตัวละครรายนี้ได้อย่างน่าทึ่งยิ่ง ที่วิเศษที่สุดก็เห็นจะเป็นฉากสุดท้ายที่เธอสามารถสื่ออารมณ์ผ่านใบหน้าออกมาได้อย่างน่าฉงน จนคนดูเดากันไม่ถูกเลยว่าเธอกำลังคิดอ่านอะไรกันแน่ภายใต้สายตาอันแฝงไว้ด้วยปริศนาคู่นั้น . . .

  1. 9. รางวัลนักร้องเจ้าบทบาท : RAN DANKER จากเรื่อง EYES WIDE OPEN กำกับโดย Haim Tabakman

เป็นที่น่าสังเกตว่าหนังที่ออกฉายในช่วงปี 2009 นี้มีหลายเรื่องเลยทีเดียวที่มีการใช้นักร้องดังมาร่วมรับบทบาท เด่น ๆ หากไม่นับ No One Knows About Persian Cat ของ Bahman Ghobadi ที่มีการให้กลุ่มนักร้อง underground ในอิหร่านมารับบทบาทเป็นตัวเองแล้ว ก็ยังมีเรื่อง ‘นางไม้’ ของ เป็นเอก รัตนเรือง ที่มี กิ๊บซี่-วนิดา เติมธนาภรณ์ จากวง Girly Berry เป็นนางเอก เรื่อง Vengeance ของ Johnny To ก็นำแสดงโดย Johnny Hallyday ส่วนเรื่อง Precious: Based on the Novel Push by Sapphire ของ Lee Daniels ก็มีทั้ง Mariah Carey และ Lenny Kravitz มาร่วมเล่น ด้าน The Imaginarium of Doctor Parnassus ก็ยังมี Tom Waits มาร่วมสมทบ เรื่อง Eyes Wide Open ก็ได้ rocker หนุ่มมาดเซอร์ Ran Danker มาเล่นนำ แถมยังมีเรื่อง The Silent Army ของ Jean van der Velde ที่ได้นักร้องหนุ่มใหญ่ Marco Borsato มาเปิดซิงด้านการแสดงเป็นครั้งแรกอีกด้วย          ปีนี้ผู้เขียนเลยเกิดนึกสนุกอยากลองจับเอาบรรดานักร้องเจ้าบทบาทเหล่านี้มาลองประชันฝีมือไม้ลายมือด้าน     การแสดง ดูสักทีว่านักร้องรายไหนหนอจะมีแววรุ่งในวงการนี้ได้ดีที่สุด

และผลการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ (เพราะตัดสินเอาเองคนเดียว) ก็สรุปออกมาว่า ตำแหน่งนักร้องเจ้าบทบาทประจำปี 2009 นี้ ก็ได้แก่ rocker หนุ่ม Ran Danker จากเรื่อง Eyes Wide Open นั่นเอง . . . อย่า! อย่า! อย่า! อย่า! ไม่ต้องไปเที่ยวป่าวประกาศกับใครต่อใครเลยนะพ่อ Ran Danker ว่าตัวเองเป็นชายแท้ 100% เพราะคงไม่มีผู้ชายประเทศไหนจะสามารถมารับบทบาทเป็นเกย์หนุ่มชาวยิวในอิสราเอลที่หาญกล้าท้าทายข้อห้ามทางศาสนาแสดงอารมณ์สิเน่หารักใคร่กับหนุ่มใหญ่ที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วได้อย่างถึงพริกถึงขิงสมจริงแบบไม่อิงเทคนิคการแสดงเยี่ยงนี้ ก็ลองดูสายตาโหยหารสสัมผัสจากผู้ชายด้วยกันที่หนุ่มเซอร์รายนี้ถ่ายทอดออกมาบ้างสิ ว่าถ้าได้ลองประสานสบดูแล้วมันจะชวนให้ขนลุกซู่ได้ขนาดไหน ไม่น่าแปลกใจที่หนุ่มใหญ่ผู้เคยเคร่งครัดอยู่ในกรอบของศาสนาอย่างคู่ขาของเขาต้องเกิดอาการตบะแตกลืมลูกลืมเมียไปได้อย่างไม่ลืมหูลืมตา ถึงขนาดหาญกล้าที่จะปะทะคารมกับผู้นำทางศาสนาที่ขู่ว่าจะถูกคว่ำบาตรหากเขาไม่ละเลิกพฤติกรรมอันชั่วช้านั้นเสียด้วยประโยคเด็ดที่ว่า “ที่ผ่านมาผมเหมือนคนตายทั้งเป็น แต่วันนี้ผมกลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง . . . เพราะเขา” โอว! ได้ฟังแล้วต้องอึ้งกันไปตาม ๆ กัน  แรงเสียดทานอันมากมายมหาศาลที่สองหนุ่มยิวในชุมชนเคร่งศาสนาแห่งนี้จะต้องเผชิญนั้น มันอาจจะทำให้ ก้อง-พี ของพี่ไทย ต้องกลายเป็นคู่เกย์เบบี๋ไปเลยทีเดียว

  1. 10. รางวัลผ้าเช็ดหน้าขลิบทอง : LONDON RIVER กำกับโดย Rachid Bouchareb

พูดไปจะมีใครเชื่อมั้ยเนี่ย ว่า ‘กัลปพฤกษ์’ เป็นคนที่แพ้ทางหนังที่แสดงความรักอันยิ่งใหญ่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ โดยเฉพาะเรื่องราวประมาณ ‘กูยอมตายแต่ลูกกูต้องรอด’ นี่แหละที่ทำให้ผู้เขียนต้องมีอันต้องเสียน้ำตาได้ทุกครั้ง และสำหรับหนังที่ทำลายสถิติทำให้ผู้เขียนร้องห่มร้องไห้อย่างหนักที่สุดประจำปีนี้ก็ได้แก่ผลงานเรื่อง London River ของ Rachid Bouchareb ที่ถ่ายทอดการเผชิญชะตากรรมร่วมกันของ Elizabeth หญิงม่ายจาก Guernsey กับ Ousmane แรงงานหนุ่มร่างสูงโปร่งจากแอลจีเรียที่ทำมาหากินอยู่ในฝรั่งเศส ทั้งคู่ได้พบกันระหว่างการเดินทางมาตามหาบุตรสาวและบุตรชายที่หายตัวไปหลังเกิดเหตุระเบิดรถ bus และรถไฟใต้ดิน ณ กรุงลอนดอน เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 ก่อนที่พวกเขาจะต้องพบกับความจริงอันแสนเจ็บปวด ผู้กำกับ Rachid Bouchareb เล่นถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวชวนหัวใจสลายของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ตกอยู่ในห้วงความห่วงใยเลือดเนื้อเชื้อไขที่ยังไม่รู้ชะตากรรมหลังเกิดวินาศภัยครั้งใหญ่ได้อย่างสมจริงเป็นธรรมชาติปราศจากการปรุงแต่ง แถมยังได้แรงหนุนจากการแสดงระดับเมพฯ ของทั้ง Brenda Blethyn และ Sotigui Kouyate ที่ถ่ายทอดหัวอกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ออกมาได้อย่างชวนปวดหัวใจยิ่งนัก ทำให้น้ำหู น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย อะไรที่ไหลออกมาจากใบหน้าข้าพเจ้าได้มีอันต้องหลั่งทะลักออกมาอย่างต่อเนื่องราวกับท่อประปาแตกตั้งแต่เพิ่งเริ่มเรื่องจนกระทั่งหนังจบ จนคนข้าง ๆ คงต้องนึกสงสัยว่าคนดูหัวดำรายนี้เป็นญาติของตัวละครฝ่ายไหนหรือถึงได้ร่ำไห้อาดูรได้หนักถึงขนาดนี้ จึงต้องขอแสดงความซูฮกด้วยรางวัล ‘ผ้าเช็ดหน้าขลิบทอง’ แห่งปีให้แก่ผลงานเรื่องนี้ไปแบบไม่มีคู่แข่งเลยก็แล้วกัน!

รางวัลพิเศษ

ด้วยอารมณ์โศกซึ้งที่ยังคั่งค้างจาก London River ผู้เขียนก็ขอเพิ่มรางวัลพิเศษเป็นการแถมท้ายมอบให้แก่บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในหนังที่ทำให้เราตระหนักซึ้งถึงนิยามจริงแท้ของคนเป็นพ่อเป็นแม่กันอีกสักสองรางวัล

รางวัลพิเศษ 1

รางวัลคุณพ่อดีเด่นชุดพระราชทานสีปีกแมลงทับ ได้แก่ คุณพ่อ ฟรานซิส จากเรื่อง MY MAGIC กำกับโดย Eric Khoo

กับบทบาทของคุณพ่อนักมายากลหนุ่มร่างใหญ่แต่มีนิสัยสำมะเลเทเมา แต่เมื่อถึงเวลาที่เขาต้องทำเพื่ออนาคตของลูกชายหัวแก้วหัวแหวนแล้ว ต่อให้ต้องเจ็บปวดใจกายขนาดไหน หรือกระทั่งแลกด้วยลมหายใจ เขาก็ไม่ลังเลเลยที่จะเดินหน้าและลงมือกระทำ!

รางวัลพิเศษ 2

รางวัลคุณแม่ดีเด่นชุดซิ่นแขนกระบอกทอลาย ได้แก่ คุณแม่จูเลีย จากเรื่อง LION’S DEN กำกับโดย Pablo Trapero

กับบทบาทของคุณแม่ท้องอ่อนที่ต้องคดีฆาตกรรมจนทำให้เธอต้องหอบหิ้วทายาทตัวน้อยไปให้กำเนิดและเลี้ยงดูอยู่ในคุกกักขังแม่ลูกอ่อน  จากอุปนิสัยแบบสาวใจแตกที่เห็นลูกตัวเองเป็นมารหัวขนในช่วงแรก สัญชาตญาณความแม่ของจูเลียก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นจนทำให้เธอต้องกลายเป็นนางสิงห์ร้ายที่จะไม่ยอมให้ใครมาทำอันตรายหรือพรากเลือดในอกของเธอไป ฉากจบของหนังมันช่างชวนให้สะใจจนเผลอไปตบเข่าคนข้าง ๆ ดังฉาดกันเลยทีเดียว!

TOP 10 CINEMALADY: THE UNCLEARABLE HEPATITIS ATTACKS OF THE YEAR 2009

สิบอันดับหนังชวน ปวดตับระดับ มิไหวจะเคลียร์ประจำปี 2009

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’

เสร็จจากอันดับหนังที่ ‘โดนอกโดนใจ’ ไปแล้ว ก็ขอต่อด้วยหนังที่ ‘โดนทำร้ายอวัยวะภายใน’ จนก่อให้เกิดอาการ ‘ปวดตับ’ ระดับ ‘มิไหวจะเคลียร์’ กันบ้าง ขอบอกไว้ก่อนเลยว่ารายชื่อหนังต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นหนัง ‘เลว’ เสมอไป แต่จะเป็นหนังที่มีบางสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึก ‘ไม่ได้ดั่งใจ’ จนอยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่ามันน่าจะทำออกมาได้ดีกว่านี้ โดยจะขอไล่ลำดับความรุนแรงของอาการจากน้อยไปมากเรียงหลั่นกันไปในแต่ละอันดับ

10. LET THE RIGHT ONE IN กำกับโดย Tomas Alfredson

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้เขียนสนใจอยากรู้เรื่องราวชีวิตของบรรดาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องสังเวยโลหิตให้มากกว่าความเป็นไปของยายผีเด็กตนนั้น? ผู้เขียนมักจะอดรำคาญใจไม่ได้จริง ๆ เวลาที่คนทำหนังหันไปเข้าข้างตัวละครนำของตัวเองด้วยการยัดเยียดความรู้สึกที่ว่า ‘ก็ฉันเป็นนางเอกของเรื่องนี้นะ ทุกสิ่งอย่างที่ฉันทำจึงต้องเป็นอะไรที่ดีงามตามไปหมดสิ’ การที่ยายผีสาวตนนั้น ‘สมควร’ จะมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยต้องแลกกับลมหายใจของผู้บริสุทธิ์เพียงเพราะเหตุผลบ้องตื้นที่ว่า ‘ก็หนูยังไม่เคยมีความรักเลยนี่คะ จะปล่อยให้หนูตายอย่างเหี่ยวเฉาได้อย่างไร’ จึงเป็นอะไรที่ปวดตับรับไม่ได้เลยจริง ๆ ตัวละครที่ข้าพเจ้ารู้สึกสนใจและอยากติดตามความเป็นไปมากกว่าในหนังเรื่องนี้จึงกลับกลายเป็น หญิงสาวที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยแสงสุริยาหลังรู้ว่าตัวเองมีเชื้อผีดิบด้วยศักดิ์ศรีและ spirit ที่น่ายกย่องยิ่งกว่ามากมายนัก

9. SYNECDOCHE, NEW YORK กำกับโดย Charlie Kaufman

แหม! กว่าที่ Federico Fellini จะทำ 8 ½ (1963) เขาก็ใช้เวลาฝึกปรือฝีมือในการกำกับหนังอยู่ถึง 13 ปี เชียวนะ Charlie Kaufman หละเป็นใครอะไรยังไงถึงได้หาญกล้ากำกับหนังอย่าง Synecdoche, New York เป็นหนังเปิดตัวเรื่องแรกเช่นนี้  ไม่ปฏิเสธเลยว่าวัตถุดิบต่าง ๆ ของหนังนั้นก็ยังจัดว่าแปลกใหม่น่าสนใจแต่ทักษะและฝีไม้ลายมือในการกำกับของ Charlie Kaufman นั้นมันฟ้องชัดเลยว่าเอาไม่อยู่จริง ๆ เริ่มตั้งแต่การเดินเรื่องที่ออกจะอืดยืดสวนทางกับเนื้อหาอันแปลกเปรี้ยว  gimmick กิ๊บเก๋ของหนังก็ยังดูสะเปะสะปะกระจัดกระจายไม่ค่อยจะเห็นวัตถุประสงค์หรือความเชื่อมโยงอะไรที่ชัดเจนเท่าไหร่ ราวกับจะใส่มาให้ดู cool ๆ อย่างนั้น ด้านการแสดงนำของ Philip Seymour Hoffman ก็ยังติดสไตล์ ‘เล่นใหญ่’ และออกจะหมกมุ่นกับอาการ ‘noid ของตัวละครมากเกินไปจนเราไม่อาจเห็นเค้ารอยความสำเร็จในอดีตที่จะทำให้เชื่อได้เลยว่าเขาเป็นผู้ที่สมค่าคู่ควรแก่รางวัลอัจฉริยภาพนี้จริง ๆ ยิ่งมุกของการแสดงซ้อนตัวละครจริงของหนังในช่วงท้ายนั้น บอกได้คำเดียวเลยว่าเป็นอะไรที่‘เละตุ้มเป๊ะ’ จนต้องแอบจบกันแบบดื้อ ๆ ปล่อยให้คนดูต้องมานั่งมึนว่า สรุปแล้วทั้งหมดนี้จะทำไปเพื่ออะไร ความทะเยอทะยานอันยิ่งใหญ่ของ Charlie Kaufman ใน Synecdoche, New York เรื่องนี้จึงต้องกลายเป็นอารมณ์หมกมุ่นอันสุดฟุ้งซ่านฟูมฟาย ชวนให้นึกเสียดายว่าถ้าเขารอให้ฝีมือแกร่งกล้าและมีวุฒิภาวะมากกว่านี้อีกสักหน่อย หนังก็คงจะไปได้ไกลกว่านี้อีกเยอะ เฮ้อ! ถ้าอยากดูอะไรแบบนี้แนะนำให้ลองหา Cradle Will Rock (1999) ของ Tim Robbins มาแลเทียบกัน เพราะหนังดูจะทะเยอทะยานพอกันแต่ความมั่นแม่นในฝีไม้ลายมือนั้นยังห่างชั้นกว่ากันอยู่เยอะ

8. ANTICHRIST กำกับโดย Lars von Trier

สำหรับผู้กำกับที่ชอบทำอะไรสุดโต่งอย่าง Lars von Trier แล้ว เสียงตอบรับในเชิง ‘ห่วยแตก’ หรือ ‘แย่บัดซบ’ คงไม่ใช่อะไรที่ต้องมานั่งปวดหัวใจ เพราะมันย่อมเข้าทางลีลาในแบบขวางโลกของเขาอยู่แล้ว แต่เสียงตอบรับที่จะสร้างความเจ็บปวดให้ผู้กำกับตระกูลนี้ได้มากที่สุดก็คงจะเป็น ‘อืม . . . ก็เฉย ๆ งั้น ๆ ไม่เห็นมีอะไรน่าตื่นเต้นตรงไหน’ เสียมากกว่า แรกทีเดียวที่หนังได้ไปเปิดตัวในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์แล้วสร้างกระแสอื้อหือฮือฮาอู้หู้อ้าหาไปกับความโฉ่งฉ่างรุนแรงเกินพิกัดของหนัง ผู้เขียนก็มีอันต้องตั้งความหวังเอาไว้เต็มหัวใจว่า Lars von Trier ต้องมีทีเด็ดอะไรมาให้ได้ตื่นตะลึงกันอีกเป็นแน่ ยิ่งตอนที่ค่าย Artificial Eye ซื้อหนังเรื่องนี้มาฉายในอังกฤษด้วยท่าทีหวั่นเกรงว่าจะผ่านคมกรรไกรกองพิจารณาภาพยนตร์ที่นี่ได้หรือไม่ ผู้เขียนก็ถึงกับใจจดใจจ่อนั่ง refresh หน้าจอรายงานผล rating ของ BBFC กันเลยทีเดียวว่าหนังเรื่องนี้จะมีโอกาสฉายในอังกฤษในรูปแบบ uncut หรือเปล่า? ผลสุดท้ายปรากฏว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ผ่านการอนุมัติ rate 18 จาก BBFC โดยไม่มีการตัดทอน แถมกรรมการยังออกมาให้สัมภาษณ์ด้วยว่า “จริง ๆ แล้วความรุนแรงต่าง ๆ ใน Antichrist ก็ยังไม่ค่อยเท่าไหร่นะ ส่วนที่รุนแรงจริง ๆ ก็มีมาแค่แป๊บ ๆ หนังเรื่องอื่น ๆ ที่แรงกว่านี้ยังเคยผ่าน rate 18 โดยไม่มีการตัดมาหลายเรื่องแล้ว!” เอาหละสิ ได้ฟัง comment กรรมการแบบนี้แล้วก็ชักสงสัยว่าจะแรงจริงอย่างที่ใคร ๆ เขาว่าไหม จนผู้เขียนมีโอกาสได้ดูตอนหนังเข้าฉายวันแรกนั่นแหละถึงจะได้รู้ว่ามันก็ไม่เห็นจะอะไรสักเท่าไหร่อย่างที่กรรมการ BBFC เขาว่าจริง ๆ แต่ทำไม้ทำไมที่คานส์เขาถึงได้ hyperฯ อะไรกับหนังเรื่องนี้กันนักหนา สิ่งที่น่าผิดหวังที่สุดใน Antichrist ก็คือบทหนัง จากผู้กำกับที่ผู้เขียนเคยยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องตัวฉกาจรายหนึ่งของวงการ แต่เนื้อหาใน Antichrist เรื่องนี้กลับออกมาค่อนข้างจะธรรมดาจนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น แถมเขายังดันทะลึ่งตั้งชื่อหนังที่ฟังดู ‘แรว้งส์’ ว่า Antichrist ทั้งที่เนื้อหาส่วนใหญ่ก็อ้างอิงจากการเยียวยาในเชิงจิตวิทยา จะแทรกตำนานทางศาสนาอยู่บ้างก็มีแค่เป็นกระสายไม่ได้ขบประเด็นอะไรจริงจังนัก คงจะเพราะชื่อหนังนี่เองที่ทำเอาหลาย ๆ คนหยิบยกเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้ไปผูกโยงกับตำนานคริสต์ศาสนากันอย่างเป็นตุเป็นตะ ชวนให้สงสัยได้ต่ออีกว่า Lars von Trier เขาตั้งอกตั้งใจให้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ? ด้านฉากแรง ๆ ประเภทสับเฉือนอวัยวะดูยังไง ๆ ก็รู้ว่า fake ถ้าเล่นจริงเจ็บจริงขาดจริงแบบไม่ใช้ตัวแสดงแทน (แอบเห็นนะว่ามีการใช้ stand-in) อย่างนี้สิผู้เขียนถึงจะนับถือ ส่วนการแสดงระดับสติแตกของ Charlotte Gainsbourg นั้นเมื่อเอาไปเทียบกับความบ้าระดับตำนานของ Isabelle Adjani ใน Possession (1981) ของ Andrzej Zulawski แล้วก็ยังแรงได้ไม่ถึงครึ่ง โดยรวมแล้วหนังจึงดูดิบเถื่อนได้แค่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่สมศักดิ์ศรีผู้กำกับกลุ่ม Les enfants terribles ร่วมสมัยอย่าง Lars von Trier รายนี้เลย จะมีดีอยู่บ้างก็งานด้านการกำกับศิลป์ที่ปรุงแต่งตอแหลได้เตะตาดี จนแทบลืมไปเลยว่าเขาเคยเป็นหนึ่งในหัวหอกการสร้างหนังแบบ Dogma เพื่อแสวงหาลีลาบริสุทธิ์! สงสัยจริง ๆ ว่า Lars von Trier ได้ดูหนังเรื่อง Secret Sunshine (2007) ของ Lee Chang-dong ก่อนที่คิดจะทำหนังเรื่องนี้ไหม เพราะถ้าได้ดูเขาคงไม่คิดจะทำหนังเนื้อหาง่อย ๆ อย่าง Antichrist ออกมาให้เป็นที่อับอาย!

7. ‘นางไม้ กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง

เอ่อ . . . เหตุผลเชิญไปอ่านบทวิจารณ์ของผู้เขียนใน FILMAX ฉบับ 26 เดือนสิงหาคม 2552 เอาแล้วกันนะ

6. THE SEA WALL กำกับโดย Rithy Panh

Marguerite Duras / Isabelle Huppert / Rithy Panh แหม! แต่ละนามนี่ช่างเป็นอะไรที่ guarantee คุณภาพของงานได้ดีจริง ๆ แต่อย่าลืมว่านี่คือวงการหนังที่อะไร ๆ ก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ ต่อให้มีผู้ร่วมงานระดับแม่เหล็กขนาดไหน หนังก็สามารถจะ ‘ล่ม’ ได้แบบไม่เกรงใจบารมีใคร ๆ เลยเหมือนกัน จริง ๆ ตัวบทประพันธ์ของ Marguerite Duras ถึงจะไม่วิจิตรพิสดารเหมือนเรื่องอื่น ๆ แต่มันก็ยังมีเนื้อหาสาระที่หนักแน่นพอจะทำเป็นหนังดี ๆ สักเรื่องได้ แต่ที่ชวนใจหายก็คือฝีมือการเล่าเรื่องของ Rithy Panh และการแสดงของ Isabelle Huppert ที่ดูจะอ่อนแรงลงอย่างไม่น่าเชื่อ ส่งผลให้หนังดูเปิ่นเชยและจืดชืดจนไม่น่าแปลกใจที่แทบไม่มีเทศกาลใหญ่รายไหน ๆ เทียบเชิญไปร่วมฉายเลย จำได้ว่าตอนที่ดู Rithy Panh ทำหนัง drama อย่าง Rice People (1994) กับ One Evening After the War (1998) ฝีมือเขาก็ไม่ได้ย่ำแย่ขนาดนี้นี่นา แล้วเหตุไฉนถึงมาพลาดท่ากับเรื่องที่ไม่น่าพลาดอย่าง The Sea Wall นี้ได้ ทั้งที่ฝีมือในเชิงสารคดีของเขาก็ยังคงเฉียบร้ายไม่แพ้ใคร ๆ ในวงการ ส่วน Isabelle Huppert เคยเล่นเรื่องอื่นมาแบบไหน เธอก็ยังคงเล่นอยู่อย่างนั้น ไม่คิดจะปรับเปลี่ยน character ตัวละครให้มันเข้ากับบทสักหน่อยเลยเรอะเจ้าป้า? ที่น่าตกใจคือพอเธอไปรับเล่นบทคล้าย ๆ กันใน White Material (2009) ของ Claire Denis เธอก็ยังคงเล่นแบบเดียวกับใน The Sea Wall เรื่องนี้แบบเป๊ะ ๆ จนชวนให้ผู้เขียนต้องตั้งข้อสงสัยขึ้นมาสักหน่อยแล้วว่าเธอเป็นนักแสดงยอดฝีมือจริง ๆ หรือ ถึงเล่นทุกบทได้เหมือนกันไปหมดเช่นนี้? เอาหละ แต่อย่างน้อยนักแสดงที่มารับบทเป็นลูกชายและลูกสาวในหนังก็ช่างคัดเลือกรูปร่างหน้าตามาได้อย่างไร้ที่ติเลยจริง ๆ แต่ละคนเวลาเดินกันกลางคันนาจึงทำให้รู้สึกเหมือนว่ากำลังเดินอยู่บน catwalk ยิ่งเขาและเธอดูจะไม่คิดหวงเนื้อหวงตัวนุ่งซิ่นคาดขาวม้าโชว์สรีระกันอย่างไม่อายวัวอายควาย อย่างน้อยหนังก็ยังมีอะไรมาคืนกำไรให้คนดูกันแบบเต็ม ๆ ตาก็แล้วกันแหละน่านะ!

5. PONYO ON THE CLIFF BY THE SEA กำกับโดย Hayao Miyazaki

หากมีใครมาถามผู้เขียนว่ามี animation เรื่องไหนบ้างที่ไม่แนะนำให้เด็กดู นอกเหนือจากบรรดา animation เรท X ทั้งหลายแล้ว ก็คงจะมีเรื่องนี้แหละที่อยากจะฝากให้ผู้ปกครองทั้งหลายใคร่ครวญให้ดี ๆ ก่อนที่จะซื้อหาหรือพาบุตรหลานไปดูชม หากไม่อยากให้พวกเขาเห็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตแบบเอาแต่ใจแถมยังได้รับการสนับสนุนจากบรรดาตัวละครผู้ใหญ่ที่พฤติกรรมไม่ค่อยจะสมกับวุฒิภาวะนัก สิ่งที่น่ารำคาญมากที่สุดก็คืออาการง้อง ๆ แง้ว ๆ ของเจ้าปลาโปเนียวที่ดูจะใช้ชีวิตอย่างเฮฮาปาจิงโกะกันอย่างไร้สติเกินไปหน่อย เพียงคิดอยากจะได้อะไรก็แค่ร้อง อ๊าย้า อ๊าย้า จาอาว จาอาว โดยคิดเอาเองว่าความไร้เดียงสาและน่ารักของตนคงมีเสน่ห์เพียงพอที่จะทำให้คนอื่น ๆ ต้องจัดหามาให้ ถึงหนังจะใช้โครงเรื่องจากนิทาน The Little Mermaid ของ Hans Christian Anderson อย่างชัดเจน แต่บทหนังเหมือนจะลืมหยิบประเด็นสำคัญเรื่อง ‘ราคาแลกเปลี่ยน’ อันเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องราวมาใส่ไว้ในหนังด้วย ทุกสิ่งอย่างในหนังจึงดูจะคลี่คลายลงอย่างง่ายดายเกินไป อันอาจเป็นการกล่อมเกลาให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ว่าอยากได้อะไรก็แหกปากร้องโวยวายเข้าไว้ เดี๋ยวผู้ใหญ่เขาก็จัดหาให้เองหละ! เห็นอย่างนี้แล้วยังเห็นควรจะส่งเสริมให้เยาวชนได้ดูกันอีกไหมหากเราหวังจะให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้เหตุใช้ผลมากกว่าอารมณ์

4. THE BAD LIEUTENANT: PORT OF CALL – NEW ORLEANS กำกับโดย Werner Herzog

นี่ก็อีกรายที่พอจะหยิบจับงานสารคดีก็ทำออกมาได้เสียดิบดีดูมีรสนิยม แต่พอคิดจะหวนกลับมาทำหนังเล่าเรื่องกับเขาอีกครั้ง ไหงมันถึงกลายเป็นงานน่าปวดตับดับจิตถึงขนาดนี้? Werner Herzog คงจะคิดว่าบุญกุศลจากงานในยุคก่อน ๆ คงยังเหลืออีกเยอะเลยกระมัง จึงคิดจะเล่นอะไรยังไงก็ได้ใน The Bad Lieutenant: Port of Call – New Orleans เรื่องนี้   หนังจึงออกมาเหมือนพี่แกตั้งใจจะ ‘สั่ว ๆ’ ‘ชุ่ย ๆ’ แถมยังออกอาการประชดด้วยการไม่ยอมฝากฝีไม้ลายมือใด ๆ ให้ได้เห็นเขี้ยวเล็บกันอีก ไม่ว่าจะเป็นการเดินเรื่องที่น่าเบื่อถึงน่าเบื่อมาก การแสดงของ Nicolas Cage เองที่ออกแนวติ๊งต๊องเกินกว่าจะน่าเกรงขาม ไอเดียการสร้างอารมณ์ surreal กันด้วยสัตว์เลื้อยคลานนี่ก็ยังเด๋อได้อีก สรุปแล้วไม่ว่าจะมองมุมไหนอย่างไรก็ไม่อาจจะเรียกขานได้เลยว่านี่คืองานสร้างสรรค์ เล่นกันอย่างนี้บ่อย ๆ ระวังบุญเก่าจะหายหดหมดไปโดยไม่ทันตั้งตัวกันเลยนะคุณพี่!

3. KARAOKE กำกับโดย Chris Chong Chan Fui

อย่างนี้แหละที่เค้าเรียกว่า ‘แอ๊บอาร์ท’ กันแบบ Born To Be ใจคอจะไม่มีเนื้อหาสาระและความจริงใจแบบไม่ไก่กาให้คนดูบ้างเลยหรือพ่อ Chris Chong Chan Fui? หนังมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวชีวิตของตัวละครหลักที่ปราศจากเสน่ห์ชวนติดตาม แถมยังคิดจะทำเท่ด้วยการนำเสนอด้วยสูตรสำเร็จของหนังอาร์ทไม่เอาใจตลาดกันแบบตรงตัวเป๊ะ ๆ! แหม! ถ้าคิดจะทำหนังอาร์ทแล้วออกมาทื่อมะลื่อไร้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่กันแบบนี้ ก็ควรระวังให้จงดี เพราะงานตลาดที่ไม่ยี่หระต่อคุณภาพใด ๆ อย่างหนังของ พจน์ อานนท์ ก็อาจจะกลับกลายเป็นงานมีเนื้อหาสาระที่ทรงคุณค่าได้มากกว่าหนังแอ๊บอาร์ทที่ปราศจากหัวใจอย่างเรื่องนี้

2. A MOMENT IN JUNE กำกับโดย ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล

ไม่ใช่แค่แย่ แต่ถึงขึ้นสาหัสเลยทีเดียวสำหรับ A Moment in June นี่หากเป็นการตรวจข้อสอบก็เรียกได้ว่าผู้ตรวจต้องอ่านถึงสองรอบเพื่อหาที่ให้คะแนน แต่สุดท้ายก็จำใจต้องให้ 0 เต็ม 100 ไปเพราะไม่รู้จะหาจุดไหนพอจะชื่นชมได้เลย ตั้งแต่ลีลาการกำกับที่ออกจะหว่องการ์ไว้ หว่องการ์ไว ได้อย่างไม่คิดเอียงอาย ส่วนบทหนังก็เขียนขึ้นมาด้วยความไม่เข้าใจในตัวละครเอาเลย พฤติกรรมของพวกเขาจึงดำเนินไปอย่างคิดเองเออเองโดยปราศจากความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในแต่ละเพศวัย ด้านการซ้อนทับมิติของเรื่องราวก็เป็นไปอย่างขลุกขลักประดักประเดิด ส่งผลให้เรื่องราวเพ้อฝันอันแสนหมกมุ่นของตัวละครต้องกลายเป็นอะไรที่ละครน้ำเน่ายังต้องเรียกพี่ สรุปแล้วหนังเรื่องนี้จึงเป็นได้เพียงแค่ความพยายามในการเล่าเรื่องราวอันละเอียดอ่อนที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างแข็งกระด้างทั้งทางด้านบทพูด การแสดง การกำกับ production งานดนตรี หรือแม้แต่รายละเอียดแบบย้อนยุค!

1. SLUMDOG MILLIONAIRE กำกับโดย Danny Boyle และ Loveleen Tandan

เพิ่งรู้นะเนี่ยว่ากรรมการออสการ์เองก็มีรสนิยม Cult นิยมหนัง ‘เสื่อม ๆ’ อะไรแบบนี้กับเขาด้วย นึกแล้วก็น่าเสียดายที่ John Waters ทำ Pink Flamingos (1972) ออกมาเร็วไป 36 ปี มิเช่นนั้นแล้วเขาอาจจะแซงหน้า Slumdog Millionaire คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปครองในปี 2009 นี้เป็นแน่ อยากรู้จริง ๆ เลยว่าผู้กำกับ Danny Boyle กับ Loveleen Tandan เห็นคนดูเป็นโคเป็นกระบือหรืออย่างไรถึงคิดจะสนตะพายจูงไปทางซ้ายก็ไปซ้าย จูงไปทางขวาก็ไปขวาอย่างว่านอนสอนง่าย แหม! คนดูส่วนใหญ่เขาคงไม่ซื่อแบบคณะกรรมการออสการ์ไปทั้งหมดหรอกหนา ถึงจะคิดมาหลอกกันด้วยมุกง่าย ๆ แบบนี้ ถ้าจะเล่นกันถึงขนาดนี้ทางที่ดีก็ประกาศเตือนกันไว้หน้าโรงเลยดีกว่าว่า “คุณผู้ชมที่อยากจะสนุกสนานกับภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเต็มที่ กรุณาอย่าพกสมองติดเข้าไปในโรง กรุณาฝากไว้บริเวณ counter บริการทางฝั่งซ้าย และถ้าผู้กำกับเล่าอะไรก็ขอให้เชื่อ เชื่อ เชื่อ เชื่อ เชื่อ แล้วก็เชื่อ รับรองว่าท่านจะพบกับสุขีสโมสรไปกับเรื่องราวอันสุดบันเทิงเริงใจชนิดไม่ต้องใช้สติสัมปะชัญญะใด ๆ ให้ต้องหนักกบาลกันเลย” เฮ้อ! ไอ้เราดันลืมฝากสมองเอาไว้ ถึงต้องนั่งดูอย่างอึดอัดขัดใจกับเนื้อหาสุดปัญญาอ่อน ระอากับการแสดงอันสุดกระด้างของตัวละครคู่พระคู่นาง รำคาญกับจริตลีลาด้านภาพที่พยายามจะ ‘กิ๊บเก๋’ แต่กลับกลายเป็นความ ‘เก๊’ ชนิดเด็ก ป. 4 ก็สามารถทำได้กับการหมุนพลิกกล้องง่าย ๆ แบบนั้น สุดท้ายเจ้าสุนัขสลัมตัวนี้จึงเป็นเสมือนสุนัขพันธุ์พื้นเมืองขนปุยตากลมแป๋วหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู แถมนิสัยประจำตัวเวลาอยู่ต่อหน้าเจ้านายคือการวิ่งเข้ามาประจบประแจงเลียแข้งเลียขา แต่เวลาลับหลังแล้วสุนัขตัวนี้นี่แหละที่ชอบขี้เยี่ยวเรี่ยราดแล้วหันไปโทษตัวอื่น ๆ ยิ่งเวลามีขโมยขโจรเข้าบ้าน มันตัวนี้แหละที่จะวิ่งหนีเอาตัวรอดก่อนใคร ปล่อยให้สุนัขตัวอื่นเห่าเป็นตายไม่ยอมให้ใครมาบุกรุก! ใครที่คิดจะเลี้ยงสุนัขประเภทนี้ไว้ก็เชิญตามสบาย แต่ข้าพเจ้าไม่ขอเอาไว้ให้เสียข้าวสุกหรอก เฮ้อ! กาลเวลาช่วยพิสูจน์ทีเถิดหนาว่าเจ้าสุนัขสลัมตัวนี้มันมีดีอย่างที่คณะกรรมการออสการ์เขาว่าไว้จริงไหม?

สุดท้ายก่อนจากไปก็ไม่ขอลืมกราบสวัสดีปีใหม่ (แบบไม่ประจบประแจง) พ.ศ. 2553 กับคุณผู้อ่านที่รักทั้งหลาย ไว้ ณ โอกาสนี้ ขอให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีชีวีที่สุขสันต์สำราญกันตลอดทั้งศักราชนี้ด้วยเทอญ . .

ศีลภัทร ตั้งสุขนิรันดร์ นักดูหนัง

หลังจากผ่านเทศกาลหนังสั้นครั้งที่13มาสองจะสามเดือน หนังหลายๆเรื่องก็ได้รางวัลและมีที่ทางในการฉายครั้งต่อๆไป หลายเรื่องในนั้นผมก็พอมีโอกาสได้ดูซ้ำหรืออาจจะได้ยินเพียงข่าวการฉายแต่ ไม่สามารถตามไปดูได้ แต่ที่จะพิมพ์ต่อไปนี้เป็นหนังสั้นส่วนหนึ่งจากเทศกาลหนังสั้นปีนี้ที่ผมยัง จำได้และใคร่อยากจะดูซ้ำอีกที… ถ้ามีโอกาส

หนังสั้นสีขาว/ชั่วแสงเทียน/The White Short Film/The Candle Light/2009/20/ปราปต์ บุนปาน

เรา สามารถพบหนังวิพากษ์การเมืองหลัง2549ที่ทยอยออกมาแทบทุกปี แต่จะมีกี่เรื่องที่จับประเด็นอิทธิพลของสื่อที่มีต่อชนชั้นกลางแบบเราๆโดย ใช้สไตล์ของEssay Filmที่มีการลำดับความคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างหนังเรื่องนี้? ขอบอกว่าภายใต้ฟอร์มแข็งๆที่ไร้อารมณ์หนังได้ส่ง’ความคิด’ร่วมสมัยของผู้ กำกับได้อย่างชัดเจนและสนุกคิดสนุกตีความมากทีเดียว

สีบนถนน/Colours On The Streets/2009/62/วีรพงษ์ วิมุกตะลพ

นี้ ถือเป็นหนังสั้นที่สามารถส่งผ่านประสบการณ์ความรู้สึกมาถึงผมได้มากที่สุด เรื่องหนึ่งของปี แม้หนังจะมีเพียงเส้นเรื่องบางๆและฟุตเตจที่ไม่ได้พิสดารไปจากหนังเรื่อง อื่นๆแต่ตอนแรกที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ ผมรู้สึกถึงความกระหายใคร่รู้ ที่หนังส่งผ่านมาถึงคนดูได้อย่างบริสุทธิ์และชัดเจนซึ่งหาได้ยากยิ่ง
ถ้า ให้เปรียบความสงสัยต่อสิ่งรอบข้างในหนังคงมีความงดงามไม่ต่างกับอาการ ตื่นเต้นดีใจของเด็กน้อยที่เพิ่งมีโอกาสหลุดออกจากคอนโดทึบๆไปอยู่ในสวน สาธารณะเป็นครั้งแรก

(เข้าใจว่าดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์จะจัดฉายอีกทีกลางเดือนธันวาที่จะถึงนี้)

The Assignment/2008/17/พีร์ ภานุวัฒน์วนิชย์

หนัง ธรรมดาที่พูดถึงเหตุการณ์ธรรมดา(ตัวละครแอบติ๊งต๊องแต่พองาม)เรื่องนี้คงไม่ ได้ติดใจใครเป็นพิเศษมากนัก แต่การขยี้ซีนแต่ละซีนอย่างละเอียดก็ทำให้เราได้เห็นว่า แม้เหตุการณ์พื้นๆบ้านๆแต่ถ้าได้รับการใส่ใจในรายละเอียด ก็สามารถดูสนุกและ’ดี’ได้โดยไม่ต้องไปดัดเรื่องเปลี่ยนสไตล์ให้วุ่นวาย เพราะความธรรมดาก็มีเสน่ห์ของมันไม่จำเป็นจะต้องเป็นพิสดารแปลกประหลาดมาก มาย

ตะเพียนริมคลอง/2009/28/ณฐพล บุญประกอบ

หลายคนคงแอบ เสียดายที่หนังเรื่องนี้คลาดรางวัลช้างเผือกไป ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น หนังเรื่องนี้คงเป็นหนังที่ครูสอนภาพยนตร์หลายๆคนหวังจะเห็นในงานthesisของ ลูกศิษย์ตน(อย่างที่ณฐพลทำให้อาจารย์ของเขาได้เห็น) เรื่องราววิถีชีวิตริมคลองได้ถูกเล่าผ่านภาษาภาพที่ปราณีต ทั้งการผูกเรื่องและวางสัญลักษณ์ในบทภาพยนตร์ก็ถือว่าละเอียดและมีชั้นเชิง ที่ดี ไหนจะเรื่องActingและการเคลื่อนกล้องที่ได้ความลื่นไหลให้กับหนังอีก หนังเรื่องนี้ทำให้เห็นว่าหนังนักศึกษาไม่ใช่เพียงแค่งานทำพอจบป.ตรีหากได้ ยกระดับลวดลายและชั้นเชิงขึ้นไปเทียบ(และอาจเหนือกว่า)หนังใหญ่ในอุตสาหกรรม ได้เลยทีเดียว

นคร โพธิ์ไพโรจน์ กองบก. BIOSCOPE

10 อันดับหนังในดวงใจที่ได้ดูตลอดปี 2552 ของ นคร โพธิ์ไพโรจน์

1. Revolutionary Road (แซม แมนเดส) : เรื่องชีวิตคู่แสนเส็งเคร็งชาวอเมริกันคือสิ่งที่ผมยี้ที่สุดก่อนจะตีตั๋วเข้าไปดู เพราะ แซม เมนเดส ก็เคยเล่าเรื่องเน่าๆ ของชาวอเมริกันมาแล้วใน American Beauty นี่นา …แต่พอได้ชมจบแล้วก็พบว่า หนังเรื่องนี้มีความเป็นสากลกว่า American Beauty ด้วยซ้ำ ชอบตรงที่คราวนี้แมนเดสเล่าเรื่องพึงละอายของความเป็นมนุษย์ได้อย่างน่าชื่นตาบาน ไม่ได้มุ่งเน้นจะเสียดสีเย้ยหยัดเหมือนหนังออสการ์เรื่องก่อนของเขา แต่เล่ามันอย่างซื่อตรงและตกผลึกมาเต็มที่แล้ว และการแสดงของ เคต วินเสล็ต ก็น่ากราบกว่าใน The Reader ด้วย

2. District 9 (นีล บลอมแคมป์): ความชาญฉลาดของหนังเรื่องนี้คือ 1. เป็นหนังเอเลี่ยนที่เปิดมาด้วยรูปแบบสารคดีเชิงข่าว ทำให้ภาพยานอวกาศลำยักษ์ดูน่าเชื่อถือและน่าตื่นตา 2. การสลับสถานะของเอเลี่ยนให้เป็นผู้ถูกกระทำแทน ยิ่งเป็นการเน้นย้ำถึงปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ชนชั้น เชื้อชาติ และการเมืองที่เกิดขึ้นในแทบทุกอณูของพื้นที่โลก 3. ตัวละครในเรื่องไม่มีใครเป็นฮีโร่โดยสันดานเลยสักคน ซึ่งเป็นสัจธรรมที่ฮอลลีวูดพยายามเลี่ยงที่จะพูดถึงมาตลอด 4. การตลาดในอเมริกาที่ทำน้อยแต่คิดเยอะทำให้หนังดูน่าเชื่อถือขึ้นแยะ จนส่งผลให้ข้อ 2. ที่ผมเพิ่งกล่าวถึงเป็นที่น่าถกเถียงในวงกว้าง (ตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับการโปรโมตในไทยที่คิดน้อยทำน้อยจนกลายเป็นหนังเกรดบีที่ฉายในโรงแบบขอไปทีอย่างน่าเสียดาย)

3. เฉือน (ก้องเกียรติ โขมศิริ) : ลองของ กับ ไชยา หนังเรื่องก่อนหน้าของ ก้องเกียรติ โขมศิริ คืองานชั้นดีที่เหมือนถูกตีกรอบอย่างแน่นหนาจากนายทุน แต่จู่ๆ ก็เหมือนนายทุนใจดีขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขาปล่อยให้ก้องเกียรติใส่ความเน่าเฟะของสังคมไทยลงไปในหนังเขย่าขวัญอย่างไม่ยั้ง การเมดเลย์เรื่องชั่วช้าลงไปเป็นชุดอาจทำให้หนังดู ‘เกิน’ ไปสักหน่อย แต่ไหนๆ คนทำก็มีโอกาสปล่อยของแล้ว ก็จงใส่ไม่ยั้งแบบนี้นั่นแหละครับ ผมเชียร์

4. October Sonata รักที่รอคอย (สมเกียรติ์ วิทุรานิช): ผมว่าหนังยังมีอะไรไม่ลงตัวอยู่เยอะ กระนั้นผลงานก็ได้แสดงถึงความทะเยอทะยานของคนทำได้อย่างดี โดยเฉพาะความละเมียดละไมของความเป็นมนุษย์ที่ถูกโชคชะตาเล่นตลกให้ต้องระทมทุกข์กับการรอคอยเกือบทั้งชีวิต และที่สำคัญคือนี่เป็นงานที่สะท้อนได้อย่างดีว่า หนุ่มสาวในยุค 14 ตุลาฯ และ 6 ตุลาฯ ไม่ว่าเขาหรือเธอจะมีบทบาทขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือไม่ อย่างไรเสียทุกคนก็ย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางสังคมมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะทางความคิด)

5. สวรรค์บ้านนา (อุรุพงศ์ รักษาสัตย์): ยอมรับว่าตอนดูหนังเรื่องนี้ผมรู้สึกเบื่อปนง่วงเป็นบางช่วง อันเนื่องมาจากความคุ้นชินกับการดูหนังฮอลลีวูดแสนโฉ่งฉ่าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าหนังสะกดผมให้จดจ่ออยู่ได้เพราะความตื่นตาจากการได้พบเห็นวัฒนธรรมของตัวละครอันแสนแตกต่างจากที่จินตนาการเอาเอง จนเมื่อดูหนังจบแล้วนำจิ๊กซอว์มาต่อเอาเองก็แทบกรี๊ดเมื่อพบว่าคนทำช่างเข้าใจโครงสร้างของสังคมไทยตั้งแต่ระดับล่างสุดขึ้นไปจนบนสุด แล้วถ่ายทอดมันจนทำให้เราได้เห็นภาพมันอย่างชัดเจนภายในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

6.คนกราบหมา (อิ๋ง เค): สิ่งที่ผมจินตนาการไว้ถึงหนังเรื่องนี้คือ ‘แรง’ อันเนื่องมาจากผลงานต่างๆ ที่ผ่านมาของอิ๋ง เค นั่นเอง แต่พอได้ดูแล้วกลับพบว่า นี่เป็นหนังที่ บ้า ฮา และ สนุกมาก (จนล้างภาพลักษณ์ของอิ๋ง เคที่ผมเคยคิดไว้ออกไปได้เลย) นี่เป็นหนังที่ลงตัวที่สุดในการหยอดมุขตลก และสามารถสะท้อนสังคมไทยได้อย่างเจ็บแสบแต่น่ารักจนผมรู้สึกว่าโชคดีเหลือเกินที่ได้ดู

7. Black Water (เดวิด  เนอร์ลิช และ แอนดรูว์ ทรอคคี) : ตอนที่เช่าหนังเรื่องนี้มาดูก็แค่อยากหาหนังมาดูพักสมองสักเรื่อง แต่สำหรับหนังเรื่องนี้มันเป็นมากกว่านั้น …นี่เป็นหนังไอ้เข้คลั่งที่มีตัวละครหลักเพียง 3 คน  (มีคนท้องคนหนึ่งด้วย) และเล่าเรื่องอยู่บนต้นไม้แค่ไม่กี่ต้น  เห็นจระเข้กับตาก็แค่ไม่กี่ครั้ง แต่ทุกองค์ประกอบที่ว่ามานั่นแหละที่สร้างความระทึกจนหัวใจแทบจะหยุดเต้นได้ตลอดเรื่อง

8. พี่หมีอยากไปอียิปต์ + ฝรั่งเศส (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) : สองเรื่องนี้เป็นหนังที่มีโจทย์กำหนดไว้แล้ว (“พี่หมีฯ” เป็นหนังรณรงค์การสูบบุหรี่, “ฝรั่งเศส” เป็นหนังสร้างความเข้าใจเรื่องผู้พิการ) แต่นวพลก็สามารถเดินตามโจทย์นั้นได้โดยใช้วิธีคิดที่แหกขนบทุกหนังรณรงค์ออกมา จนทำให้ “พี่หมีฯ” กลายเป็นหนังที่หลอนที่สุด (ยิ่งกว่า Paranormal Activity อีก) ส่วน “ฝรั่งเศส” ก็สนุกที่สุดได้

9. The Rocky Horror Picture Show (จิม ชาร์แมน) : เพิ่งจะมีโอกาสได้ดู และก็พบว่า บางที …การทำหนังก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอะไรเลย หนังก็สามารถสนุกได้เหมือนกัน  นี่เป็นงานที่ผมรู้สึกเหมือนมีใครพามาปล่อยที่ซาฟารีเวิลด์โดยไม่มีแผนที่บอกทางอะไรทั้งสิ้น มันคือการผจญภัยที่เพลิดเพลินและตื่นเต้นที่สุดแล้ว

10. Hunger  (สตีฟ แม็กควีน): หนังที่เล่าเรื่องของคนคุกก็มีให้เห็นอยู่หลายเรื่อง แต่สำหรับเรื่องนี้มันช่างเต็มไปด้วยภาพ ที่รุนแรงและเจ็บปวด ทว่าสิ่งที่สัมผัสได้หลังจากดูจบกลับคือความละมุนละไมที่ทำให้เราได้ย้อนมองเรื่องราวในอดีตอันไม่น่าพิสมัยได้อย่างมีสติยิ่งขึ้น

ป.ล. เสียดายจริงๆ ที่ กระแต-ศุภักษร ไม่ได้เข้าชิงสาขาการแสดงจากสถาบันหลักใดเลย ทั้งที่เธอคือส่วนที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุดของ “กอด” (คงเดช จาตุรันต์รัศมี) แท้ๆ


กลแสงแห่งปี 2009 : A TRICK OF THE LIGHT TOP OF THE YEAR 2009 LIST ภาค2

อาดาดล อิงคะวนิช

1. El Perro, Francisco Goya

สะดุดเจอภาพนี้ในห้อง Black Paintings ที่พิพิธพันธ์ Prado ในสเปน เป็นห้องแสดงภาพสีน้ำมันที่โกย่าเขียนขึ้นในช่วงในเขา ‘เตลิดไปแล้ว’ ตรงมุมซ้ายด้านล่างของผ้าใบทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งผืนนี้ มีหัวหมาตัวน้อยโผล่มาให้เห็นนิดนึง พื้นที่ว่างเปล่าส่วนเหลือเปรอะเปื้อนด้วยลายพู่กันปาดสีทะมึนหม่น อะไรคือ subject ของภาพกันแน่? โกย่าวาดภาพนี้บนฝาผนังของบ้านตัวเองในช่วงบั้นปลายชีวิต ราวๆ ค.ศ 1820 หรือครึ่งศตวรรษก่อนที่ modernism จะปรากฏตัวเป็นรูปเป็นร่าง

2. มันต้องถอน ปอยฝ้าย มาลัยพร

หยั่งงี้ดิ national anthem!


3. Heremias Book 2

หนังที่ยังถ่ายทำไม่เสร็จสมบูรณ์ของผู้กำกับอินดี้ชาวฟิลิปปินส์ Lav Diaz แต่ใจดีให้ยืมไปฉายก่อนได้ ครั้งแรกที่ได้ดูเรื่องนี้ ย่องเข้าไปในห้องฉายหลังจากที่หนังเริ่มไปแล้วยี่สิบนาที ไม่สามารถปะติดปะต่อได้ว่าอะไรเป็นแกนเรื่อง ใครเป็นใคร ภาคแรกก็ยังไม่ได้ดู​ ถึงชอตสุดท้าย ชายผู้หนึ่งเดินตามทางคดเคี้ยวไปยังสุสานกับหญิงสูงอายุคนหนึ่ง พอไปถึงหินบนหลุมฝังศพที่ตั้งใจไปเยี่ยม ต่างคนต่างก็เอามือปัดเศษไม้ใบไม้แห้งบริเวณรอบๆ ทำอย่างเงียบๆ พอเสร็จก็นั่งนิ่ง หญิงผู้เดินกระย่องกระแย่งเอามือวางพาดบนเข่าของชายผู้นั้น เขาก้มหน้าลง ชอตนี้แช่นิ่งยาวนาน ถ่ายเป็นขาวดำ เห็นไกลไปถึงหลั่นเขาจรดทะเลในแบ๊คกราว์นด์ หรืออาจเป็นก้อนเมฆเทาทึม แว่วเสียงตุ๊กแกร้อง พอหนังจบลงปรากฏว่าลุกไม่ขึ้น หายใจไม่ออก

4. แก๊กตลก สิบยี่สิบสามสิบสี่สิบ ใน อีส้มสมหวัง


5. Nostalgia ของ Hollis Frampton

หนัง/ฟิล์ม/ภาพเคลื่อนไหว คืออะไร? สัมพันธ์กับภาพถ่ายอย่างไร? กับเวลาล่ะ? เสียงของนักทำหนังทดลอง Michael Snow ที่แอบอ้างเป็น Hollis Frampton บอกกับเราว่ามองเห็นอะไรบางอย่างในภาพถ่ายภาพนั้น เงาสะท้อนจากหน้าต่างโรงงานฝั่งตรงกันข้ามกับที่เขายืนถ่ายรูปอยู่ ณ วินาทีนั้น ไปสะท้อนอีกทีกับกระจกท้ายรถกระบะคันนั้น เกิดเป็นรายละเอียดเล็กๆ ที่ปรากฏตัวขึ้นบนภาพถ่าย มีพลังถึงขั้นทำให้เขาเกิดความรังเกียจ หวาดกลัว ไม่กล้าถ่ายภาพอีกเลย (Nostalgia เป็นหนังสั้นเรื่องแรกในซี่รี่ย์สหนังเจ็ดเรื่อง Hapax Lexagomina ของ Hollis Frampton นักทำหนังทดลองชาวอเมริกันยุค 1960s กับ 1970s)

6. On the Camera Arts and Consecutive Matters: The Writings of Hollis Frampton

คนทำหนังเก่งบรมครูที่เขียนหนังสือเก่งบรมครูด้วยเช่นกัน (สังเกตได้ด้วยว่าสองสิ่งนี้มักจะไปด้วยกัน) งานเขียนของ Frampton หนุนเน้นด้วยทฤษฏีแน่นปึ๊ก กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และตัวอักษร แต่คงมีไม่กี่คนที่สามารถเล่ามันออกมาเป็นนิทานติดตลกได้อย่าง Frampton จังหวะทิ้งลูกฮาของเขาไม่เป็นสองรองคาเฟ่ไหน สำบัดสำนวนก็สั้น ชัดเจน กระชับ กรอบความรู้ที่นำมาอ้างอิงนั้นกว้างจนอยากจะก้มลงกราบงามๆ

7. นิทานเล่าเรื่องจากตำนานจีน ว่าไว้ว่านานมาแล้ว โลกที่อยู่อีกด้านของบานกระจกนั้นเคยเป็นอาณาจักรที่ขึ้นกับตน สามารถก้าวข้ามติดต่อกันได้กับโลกมนุษย์ แต่ต่อมาพ่ายแพ้สงคราม ถูกจักรพรรดิแห่งโลกมนุษย์จับขัง สาบแช่งให้ผู้คนในอาณาจักรแห่งโลกที่อยู่หลังกระจกต้องเลียนแบบท่าทางของมนุษย์ที่อยู่ในโลกฝั่งตรงกันข้าม พวกเขากำลังรอคอยวันแห่งการปลดปล่อยอยู่ นิทานเรื่องนี้คัดสรรโดย Jorge Luis Borges ในหนังสือที่มีชื่อว่า The Book of Imaginary Beings

8. a cappella งาน choral orchestra ของ Richard Strauss

เผอิญเปิดเจอทางวิทยุ หลังจากนั้นรีบวิ่งไปซื้อซีดีมาฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก พลางนึกถึงเรื่องเล่าของ Frampton ใน Nostalgia คิดว่าคงกล่าวถึงสิ่งอันน่าสะพรึงกลัวสิ่งนั้นเหมือนกัน

9. โปรแกรมหนังเด็ดแห่งปี Garden Pieces

รวบหนังหลากประเภท เกี่ยวกับแมกไม้ใบหญ้า Eaux D’artifice ของ Kenneth Anger, All My Life และ Valentin de las Sierras ของ Bruce Baillie

10. Killer of Sheep

หนังนักศึกษาของ Charles Burnett ถ่ายทอดโลกของกรรมกรผิวดำใน LA ยุค 1970s ออกมาได้อย่างอ่อนโยน เศร้าสร้อย รู้ซึ้งถึงเนื้อในของโลกใบนั้น ที่กินใจเหลือเกินคือฉากสแตนเต้นสโลว์แดนซ์กับเมีย เปิดเพลง This Bitter Earth ของ Dinah Washington

กำกำก

ำกำก

11. หนังสารคดีชาติพันธุ์แนว ethnographic poetic สองเรื่องจาก ลาตินอเมริกา Araya (1959) ของผู้กำกับหญิง Margot Benacerraf และ Poetas Campesinos (1980) ของ Nicolas Echevarria สอนให้รู้ว่า หากจะลุกขึ้นมาทำหนังสารคดีแนวนี้ ขอให้สำเหนียกถึงความแตกต่างระหว่างสายตาจ้องมอง ‘ชาวบ้าน’ อย่างอ่อนโยน และให้เกียรติ อย่างที่หนังสองเรื่องนี้ทำได้ กับการมองอย่างน้ำเน่า ฟูมฟาย อันพบเห็นได้ทั่วไป ใกล้ตัวหน่อยก็อย่างเช่นหนัง ‘อิสระ’ ที่มีนามว่าเด็กโต๋

10 หนังประทับใจในปี 2009

โดย จิตรลดา อุดมประเสริฐกุล  นักดูหนัง

ปี 2009 จอยได้ดูหนังรวมแล้วทั้งหมด 187  เรื่อง เก่าใหม่คละกันไปนะคะ หนังที่ประทับใจก็มีอยู่ไม่น้อย ขอเลือกมา 10 เรื่องจากแต่ละทศวรรษก็แล้วกัน

1. L‘homme orchestre (1900)

กำกับและแสดง: Georges Méliès

คนส่วนใหญ่รู้จัก Georges Méliès จากหนังสั้น “จรวดทิ่มตาดวงจันทร์” Le voyage dans la lune (1902) แต่ว่าเขายังได้ทำหนังที่น่าทึ่งเรื่องอื่นๆ อีกกว่า 551 เรื่อง (น่าทึ่งไหม) และโชคดีที่หนังหลายๆ เรื่องของเขาได้ถูกบูรณะและหาดูได้ตาม Youtube จอยเพิ่งมาค้นพบผู้กำกับคนนี้ในปีนี้และเริ่มติดตามหาหนังของเขามาดู ซึ่งยิ่งดูก็ยิ่งทึ่งกับเทคนิคแปลกๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะได้เห็นจากหนังอายุมากกว่า 100 ปี  เพราะตัวของ Georges Méliès เองเป็นนักมายากลมาก่อน เมื่อเขาได้ค้นพบและทดลองเทคนิคภาพยนตร์ต่างๆ จึงนำมาประยุกต์กับมายากลได้อย่างน่าสนใจ จะเห็นได้จากหนังเรื่องนี้ที่ครีเอทีฟมากเพราะเค้าใช้เทคนิคการซ้อนภาพและตัดต่อ แสดงให้เห็นนักดนตรี 7 คน (แสดงโดย Georges Méliès เองด้วย) เล่นดนตรีพร้อมกันเป็นวงออร์เคสตร้า จอยอยากให้ผู้อ่านลองหาหนังเรื่องนี้ดู จะได้รู้ว่าหนังสร้างเมื่อ 110 ปีที่แล้ว มีเทคนิคที่น่าทึ่งแค่ไหน

2. Die Austernprinzessin (1919)

กำกับ: Ernst Lubitsch

แสดง: Victor Johnson, Ossi Oswalda, Harry Liedtke

Ernst Lubitsch (Shop Around the Corner, Ninotchka) นั้นเป็นผู้กำกับในดวงใจจอยอยู่แล้ว สไตล์หนังตลกโรแมนติคบวกทะลึ่งนิดๆ ของเขานั้นเป็นเอกลักษณ์ที่คนเรียกว่า “Lubitsch Touch“ ส่วนหนังเรื่องนี้ที่เลือกมาเพราะว่าไปค้นเจอโดยบังเอิญว่าเป็นหนังเงียบยุคแรกๆ ของลูบิชสมัยที่ยังเป็นผู้กำกับอยู่ในออสเตรีย พอได้ดูก็สุดแสนจะเซอร์ไพรส์เพราะ หนังเรื่องนี้นี่มันตลกเถิดเทิงกว่าหนังพูดของเขาในยุคหลังๆ เสียอีก แถมภาพก็สวยคมชัดแจ๋วซะไม่อยากจะเชื่อว่านี่เป็นหนังปี 1919 เนื้อเรื่องก็มีอยู่ว่า เศรษฐีเจ้าของบริษัทขายหอยนางรมกำลังกลุ้มหนักเพราะลูกสาววัยแตกพานอาละวาดทำลายข้าวของในคฤหาสน์เพราะอยากเป็นฝั่งเป็นฝาเสียที เลยรบกวนให้พ่อสื่อไปหาชายที่คู่ควร ซึ่งเคราะห์กรรมนี้ก็ไปตกที่เจ้าชายนุกกี้ ที่เป็นเจ้าชายแค่ในนาม เพราะฐานะจริงตกต่ำอาศัยอยู่ในห้องใต้หลังคาเล็กๆ ที่ชอบอีกอย่างคือตอนเปิดเรื่อง ตัวผู้กำกับและนักแสดงจะมายืนยิ้มแฉ่งอยู่หน้ากล้องแนะนำตัวว่าใครแสดงเป็นอะไร ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ดูซื่อๆ ดี สมัยนี้น่าจะทำอย่างนี้บ้างนะ

3. You Can’t Take It With You (1938)

กำกับ: Frank Capra

แสดง: Lionel Barrymore, James Stewart, Jean Arthur

„ตายไป ก็เอาติดตัวไปไม่ได้” นี่คือหลักการใช้ชีวิตของคุณตามาร์ติน แวนเดอร์ฮอฟ (แสดงโดย Lionel Barrymore) ที่สอนให้สมาชิกทุกคนในบ้านใช้ชีวิตอย่างที่อยากจะเป็น ไม่ว่ามันจะบ้าบอแค่ไหนก็ตาม เอ่อ เช่นลูกชายอยากจะทำโรงงานประทัดในห้องใต้ดิน อาอยากจะเป็นนักตีระนาด แม่อยากจะวาดรูปและเขียนนิยายไปพร้อมๆ กัน หลานสาวที่ดูจะเป็นมนุษย์ธรรมดาหน่อยก็ดันไปตกหลุมรักกับลูกชายเศรษฐี (รับบทโดย James Stewart) ที่พ่อมีแผนจะเอาเงินฟาดหัวคุณตามาร์ตินให้ขายบ้านตัวเองเพื่อมาทำห้างสรรพสินค้า คนส่วนใหญ่รู้จักหนังเรื่องนี้เพราะเป็นหนังยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ ประจำปี 1939 และเป็นการร่วมงานครั้งแรกระหว่างผู้กำกับแฟรงค์ คาปราและเจมส์ สจ๊วต ก่อนที่ทั้งคู่จะร่วมกันสร้างหนังคลาสสิคเรื่องอื่นๆ เช่น Mr. Smith Goes to Washington หรือ It’s a wonderful Life ต่อไป

4. How Green Was My Valley (1941)

กำกับ: John Ford

แสดง: Roddy McDowall, Donald Crisp, Maureen O’Hara

หนังเรื่องนี้น่าสงสาร เพราะดันได้ออสการ์สาขาหนังยอดเยี่ยมประจำปี 1942 แต่ที่หนักกว่านั้นคือนี่เป็นหนังที่ชนะ Citizen Kane กับ Maltese Falcon ทำให้โดนวิจารณ์อยู่เสมอว่าสมควรไหมที่ได้รางวัลนี้ แต่จอยคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง เพราะว่าผู้กำกับจอห์น ฟอร์ด ที่มักถนัดทำหนังคาวบอยร่วมกับจอห์น เวนย์หรือเฮนรี่ ฟอนด้า เลือกที่จะทำหนังเล็กๆ ที่ เกี่ยวกับชะตากรรมของครอบครัวหนึ่งและหมู่บ้านทำเหมืองแร่ในแคว้นเวลส์ ประเทศอังกฤษ เล่าเรื่องผ่านสายตา ฮิว น้องคนเล็กสุดของครอบครัวมอร์แกน ที่ต้องทนเห็นหมู่บ้านและหุบเขาที่เคย “เขียวขจี” ของเขา มืดหม่นลงพร้อมๆ กับการแตกสลายของครอบครัวของตัวเองที่เคยอบอุ่น เพราะพิษเศรษฐกิจและความโลภของคนในหมู่บ้าน ดูเรื่องนี้แล้ว อดที่จะหลงรัก Roddy McDowell ไม่ได้ เพราะว่าเขาเล่นได้ดูน่าสงสารและก็น่าเอ็นดูด้วย หนังเรื่องนี้ทำให้เขาเป็นดาราดัง ก่อนที่จะเติบโตไปเล่นเป็นลิงใน Planet of the Apes

5. 12 Angry Men (1957)

กำกับ: Sidney Lumet

แสดง: Henry Fonda, Lee J. Cobb, Jack Warden

ห้องเล็กๆ ที่มีโต๊ะตัวหนึ่งอยู่กลางห้อง เก้าอี้ 12 ตัว พัดลมที่เสียในวันที่ร้อนที่สุดแห่งปี และผู้ชายโกรษเกรี้ยว 12 คนที่ คนดูไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ รู้แต่ว่าเป็นลูกขุนหมายเลข 1 ถึง 12 ที่มาจากฐานะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ต้องร่วมกันตัดสินความเป็นความตายของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าสังหารพ่อตัวเอง เนื่องด้วยหลักฐานและพยานเพียงพอ และอากาศที่ร้อนอบอ้าวในห้อง ทำให้ลูกขุนทั้ง 11 คน (ที่อยากจะกลับบ้านเต็มแก่) พร้อมกันลงความเห็นว่าเด็กคนนี้ผิดจริง ยกเว้นลูกขุนหมายเลข 6 (แสดงโดยเฮนรี่ ฟอนด้า) ที่ยังเชื่อว่า ชีวิตของเด็กคนหนึ่งไม่ควรที่จะตัดสินกันลวกๆ แบบนี้ หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า จะทำหนังให้สนุกและตื่นเต้น ไม่จำเป็นต้องมีฉากหรือเครื่องแต่งกายหรือเอฟเฟกต์ราคาแพงอะไรมากมาย ขอแค่มีบทที่ดีกับนักแสดงสุดยอด ก็พอแล้ว

6. El ángel exterminador (1962)

กำกับ: Luis Buñuel

จอยชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุดจากหนังที่ดูในปี 2009 นี้ และในบรรดาหนังของหลุยส์ บุนเยลที่เคยดูมาด้วย หนังมีพล็อตเรื่องที่ง่ายมาก แขกทั้งหลายที่มาร่วมงานปาร์ตี้ไฮโซในคฤหาสน์แห่งหนึ่ง ค้นพบว่าไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน ก็ไม่สามารถเดินออกจากห้องนั่งเล่นได้ (ทั้งๆ ที่ไม่มีประตูหรือกำแพงอะไรกั้นเลย) เมื่อเวลาผ่านไปหลายวัน ไม่มีทั้งน้ำและอาหาร หน้ากากของคนชั้นสูงก็ค่อยๆ หลุดออกมา และเผยให้เห็นจิตใจอันเน่าเฟะและชั้นต่ำของแต่ละคน ดูหนังบุนเยลมากๆ แล้วจะรู้เลยว่าบุนเยลนี่คงเกลียดพวกไฮโซมากแน่ๆ

7. Cabaret (1972)

กำกับ: Bob Fosse

แสดง: Liza Minnelli, Michael York, Joel Grey

เขียนมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านคงต้องคิดแน่ๆ เลยว่า อะไรเนี่ย หนังออสการ์อีกแล้ว นี่เดี๋ยวจะเขียนถึง Crash หรือ Million Dollar Baby ด้วยหรือเปล่านี่ ขอตอบด้วยความสัตย์จริงว่าเป็นเรื่องบังเอิญ เพราะตอนที่เลือกหนังมาเขียนนี่ไม่ได้รู้เลยว่าหนังได้รางวัลอะไรมาบ้าง ในกรุงเบอร์ลินต้นยุคสามสิบ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีกำลังเริ่มขึ้นสู่อำนาจอย่างเงียบๆ ในขณะที่ผู้คนมัวหลงระเริงในชีวิตกลางคืนและบาร์คาร์บาเรต์อย่าง “คิทแคทคลับ” ที่มีนักร้องสาวเซ็กซี่ชาวอเมริกัน แซลลี่ โบล์ว เป็นดาราประจำคลับ ไลซ่า มินเนลลี่แสดงและเต้นได้สุดเหวี่ยงมากจนพิสูจน์ได้ว่าเธอไม่ใช่แค่ลูกสาวของจูดี้ การ์แลนด์แล้วนะ หนังเรื่อง Cabaret นี่เป็นหนังที่แปลก เพราะว่าตอนดูจบแล้วไม่ชอบเลย  แต่พอผ่านไปสองสามอาทิตย์ก็ไม่สามารถขจัดหนังเรื่องนี้ไปจากใจได้ โดยเฉพาะตัวละครอย่างแซลลี่ โบล์ว

8. The Purple Rose of Cairo (1985)

กำกับ: Woody Allen

แสดง: Mia Farrow, Jeff Daniels

ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำในอเมริกา เซซิเลีย (แสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์) หลบหนีความจำเจของงานและสามีเส็งเคร็ง โดยการเข้าไปดูหนังเรื่องโปรดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนวันหนึ่งตัวละครพระเอก (เจฟฟ์ แดเนียล) สังเกตุเห็นว่าเธอมาดูหนังบ่อยมากจนตกหลุมรักเธอ และตัดสินใจเดินออกมาจากหนังเข้าสู่โลกแห่งความจริงเพื่อมาใช้ชีวิตกับเซซิเลีย สร้างความปั่นป่วนให้กับผู้อำนวยการสร้าง คนดู เพื่อนนักแสดงที่โดนขังอยู่ในฉากเดิม และรวมไปถึงตัวของนักแสดงตัวจริง (แสดงโดยเจฟฟ์ แดเนียลเหมือนกัน) ที่พยายามตามหาตัวละครของเขาให้ไปเข้าฉากเหมือนเดิม จอยคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังในดวงใจของหลายๆ คนที่ชอบดูหนังนะคะ ยิ่งตอนจบนี่โดนมากๆ

9.  Festen (1998)

กำกับ: Thomas Vinterberg

งานเลี้ยงฉลองวันเกิดครบ 60 ปีของนายเฮลเก้ที่มีครอบครัวและเพื่อนๆ มาร่วมฉลองกันอย่างคับคั่ง แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกชายคนโตถือฤกษ์ดีงามนี้กล่าวอวยพรพ่อที่โต๊ะอาหาร โดยการแฉและประจานความลับชั่วของพ่อที่ตัวเองเฝ้าเก็บไว้คนเดียวมาหลายสิบปี สร้างความกระอักกระอ่วนกันไปทั่วหน้า นี่เป็นหนังด็อกม่าเรื่องแรก ใช้กล้องแฮนด์เฮลด์ แสงธรรมชาติ ภาพจึงไม่ได้คมชัด ดนตรีประกอบก็ไม่มี แต่ว่าผลงานของผู้กำกับหนุ่ม โทมัส วินเทอร์เบิร์ก เรื่องนี้จับคนดูไว้อยู่หมัด เราเนี่ยนั่งดูอยู่นอกจอแท้ๆ ยังรู้สึกอึดอัดกระสับกระส่าย เหมือนเราเป็นแขกที่อยู่บนโต๊ะอาหารไปด้วย ชื่อของหนังแปลว่า “งานเลี้ยงฉลอง” แต่ว่านี่คงเป็นงานเลี้ยงสุดท้ายของครอบครัวเฮลเก้แน่ๆ (ถึงจัดอีกก็คงจะไม่มีใครกล้ามา)

10. Black Snake Moan (2006)

กำกับ: Craig Brewer

แสดง: Samuel L. Jackson, Christina Ricci, Justin Timberlake

อย่าให้โปสเตอร์หนังเรื่องนี้หลอกคุณ ป๋า Samuel Jackson หน้าหื่นถือโซ่เส้นโตล่ามเอวน้อยๆ ของสาว Christina Ricci  ที่อยู่ในเสื้อผ้าเกือบโป๊ แต่จริงๆ แล้วหนังเรื่องนี้เป็นหนัง heartwarming ที่สุดเท่าที่จอยดูมา และเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า Christina Ricci เป็นนางเอกหนังในฮอลลีวู้ดไม่กี่คนที่ underrated และกล้ารับบทท้าทาย ไม่อายชาวบ้าน ก็ดูตัวละครเธอในเรื่องนี้สิ แรงมาก เรย์  สาวเล็กใจโตที่เป็นโรคบ้าเซ็กส์ จนเป็นที่ฉาวปากของคนทั้งเมือง วันหนึ่งเธอโดนข่มขืน ซ้อมจนสลบและถูกทิ้งไว้ข้างถนนหน้าบ้านของลาซารัส (Samuel Jackson) คนสวนผิวดำ ที่รักษาเธอจนหายเจ็บ และเชื่อว่านี่คงเป็นบททดสอบของพระเจ้ากระมัง สั่งให้เขามาปราบผีสิงในตัวเธอ โดยการล่ามโซ่เธอไว้กับเตาผิงจนกว่าเธอจะหายบ้าผู้ชาย (ซึ่งก็ไม่ได้ง่ายเลย) จอยชอบความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวละครนี้ที่แตกต่างกันสุดขั้ว แต่มาเติมเต็มกันและกัน ลาซารัสกลายมาเป็นเหมือนพ่อที่เรย์ไม่เคยมี ส่วนเรย์ก็มาเติมเต็มชีวิตที่ดูเหมือนจะไร้ค่าของลาซารัส หืม จบแบบซึ้งๆ เลย

Bonus: District 9 และ Inglourious Basterds


แถมท้ายเผื่อกันคนแซวว่า ปี 2009 ไม่มีหนังเรื่องไหนประทับใจเธอเลยเหรอ จอยขอเลือกสองเรื่องนี้มาแล้วกัน เพราะถือว่าเป็นประสบการณ์การดูหนังในโรงที่ตื่นเต้นเร้าใจที่สุดแห่งปี โดยเฉพาะที่ก่อนเข้าไปดูนี่แทบไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับหนังเลย รู้แค่ อี๋หนังเอเลี่ยน อี๋หนังนาซี แต่พอตอนหนังฉายนี่มันส์มาก ยิ่งหนังเรื่อง Inglourious Basterds ถ้าคนที่เคยดูคงจำไอ้ 20 นาทีแรกได้ ทุกคนในโรงที่จอยดูนั่งกันเงียบและเกร็งมาก จนจอยไม่กล้ากินป๊อปคอร์นเลย (กลัวเสียงดัง)

คนมองหนัง/ทัศนทรรศน์ คอลัมนิสต์ นิตยสาร bioscope

หนังที่ได้ดูในโรงภาพยนตร์ช่วงปี 2552 และยังหลงเหลืออะไรบางอย่างติดค้างอยู่ในใจมาจนถึงปัจจุบัน

The Class  (Laurent Cantet / 2008)

โรงเรียนไม่ได้มีเพียงอำนาจครอบงำจากบนลงล่าง หรือ จากระบบการศึกษา/ครูสู่นักเรียนเท่านั้น

Huacho (Alejandro Fernández Almendras / 2009)

หนังชนบทที่ไม่โรแมนติกและไม่แอนตี้โลกาภิวัตน์อย่างง่าย ๆ ทั้งยังแฝงประเด็นเรื่องเพศสภาพไว้อย่างแยบคาย

It’s a Free World (Ken Loach / 2007)

พูดถึงด้านโหดร้ายของระบบทุนนิยมทั้งในแง่โครงสร้างและมนุษย์ผู้ปฏิบัติการได้อย่างไม่เร้าอารมณ์จนเกินควร

Silent Wedding (Horatiu Malaele / 2008)

ไม่ได้เป็นเพียงแค่ “หนังตลก” แต่เป็นหนังในแนว “เมื่อบิดาต้องอาสัญ” อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ

Watchmen (Zack Snyder / 2009)

แอนตี้ฮีโร่ได้อย่างสุดร้าวราน

Eccentricities of a Blonde-haired Girl  (Manoel de Oliveira / 2009)

หนังของคนแก่ ซึ่งดูเหมือนว่าโลกปัจจุบันกำลังจะย้อนกลับไปยังจุดเปลี่ยนบางอย่างอันคล้ายคลึงกันกับสิ่งที่แกเคยประสบพบเจอมาสมัยยังเป็นหนุ่ม

A Frozen Flower (Ha Yu / 2008)

เรื่องวัง ๆ เลือด ๆ ยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดใจอยู่เสมอ

Antichrist (Lars von Tier / 2009)

รัก Charlotte Gainsbourg

Flooding in the Time of Drought (Sherman Ong / 2009)

ชอบเรื่องราวของตัวละครจากอินโดนีเซีย ส่วนเรื่องราวของตัวละครจากไทยก็ตลก สนุก พิลึก และชวนให้ขบคิดตีความได้อย่างมากมาย

Milk (Gus Van Sant / 2008)

หนังนำเสนอถึงวิถีทางการต่อสู้ทางการเมืองได้อย่างน่าสนใจ

Inglorious Basterds (Quentin Tarantino / 2009)

“ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง” ฉบับเก๋ ๆ เท่ ๆ และที่สำคัญคือสนุก

Dogtooth (Giorgos Lanthimos / 2009)

หนังวิพากษ์ “พ่อ-แม่” ที่ดุดันอีกหนึ่งเรื่อง

Vincere (Marco Bellocchio / 2009) และ The Viceroys (Roberto Faenza / 2007)

เรื่องแรกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพ่ออย่าง “มุสโสลินี” ผ่านมุมมองของเมียและลูกชายลับ ๆ เรื่องหลังเล่าเรื่องราวของ

“เจ้า” ที่พยายามปรับตัวเข้ากับสังคมการเมืองแบบใหม่ของอิตาลีซึ่งปกครองด้วยระบบรัฐสภา พอได้ดูหนังเหล่านี้ในช่วงเวลาปัจจุบันของประเทศไทย ก็ส่งผลให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่น่าสนใจตามมา

เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงศ์ / 2552)

คมคาย กล้าหาญ กล้าแตกหัก/ตัดขาด อย่างแนบเนียน

มหา’ลัยสยองขวัญ ตอน ลิฟท์แดง (บรรจง สินธนมงคลกุล และ สุทธิพร ทับทิม / 2552)

หนัง 6 ตุลาที่เดินทางมาไกลที่สุดในปัจจุบัน

October Sonata รักที่รอคอย (สมเกียรติ วิทุรานิช / 2552)

ชอบเรื่องราวความรักของลูก ๆ ที่ถูก “พ่อ(แห่งชาติ)” และ “มาตุ(ภูมิ)” ทอดทิ้ง ขณะเดียวกัน หนังก็นำเสนอประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองจากแง่มุมของปัจเจกบุคคล ไม่ใช่ในฐานะส่วนเสี้ยวอันพร่าเลือนของกลุ่มอัตลักษณ์ร่วม ได้อย่างน่าสนใจ

เฉือน: ฆาตกรรมรำลึก (ก้องเกียรติ โขมศิริ / 2552)

ประเด็นการเมืองเรื่องพื้นที่ การเมืองเรื่องเพศสภาพ การเมืองเรื่องความทรงจำ รวมทั้งการเมืองไทยร่วมสมัย? ถูกบรรจุอยู่ในหนังเรื่องนี้

ท้า/ชน (ธนกร พงษ์สุวรรณ / 2552)

พูดเรื่องวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยได้อย่างน่าสนใจ แม้จะไม่ได้ให้ความหวังในการหลุดพ้นออกจากวงจรดังกล่าวเอาไว้ด้วยก็ตาม

สวรรค์บ้านนา (อุรุพงษ์ รักษาสัตย์ / 2552)

ถ้าลดความโรแมนติก/ความหลงใหลในชนบทลงมาสักหน่อย หนังจะเด็ดขาดมากกว่านี้

วงษ์คำเหลา (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา / 2552)

นำสังคมไทยมากลับหัวกลับหางได้อย่างน่าสนใจ ด้วยเจตจำนงที่ว่าทั้งคนที่เป็นฝ่ายกดขี่และถูกกดขี่ (ซึ่งถูกนำมาพลิกด้านภายในหนังเรียบร้อยแล้ว) ควรอยู่ร่วมกันให้ได้ แม้จะมีความขัดแย้งระหองระแหงเกิดขึ้นเป็นระยะและไม่เคยจางหายไปก็ตาม

เพลงติดหูประจำปี 2552

ชอบอัลบั้มชุด “Schools” โดยเฉพาะเพลง “Heroes” (เพลงแอนตี้ฮีโร่ที่เลือดเย็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกันกับมิวสิควิดีโอ) ของญารินดา บุนนาค

ชอบอัลบั้มชุด “เดโม ซี้ด” ของชุมพล เอกสมญา

ชอบการแสดงสดและเพลง “อีกไม่นาน” ของจุ๋ย จุ๋ยส์

ชอบคอนเสิร์ตของดิ อินโนเซนต์

สำหรับเพลงฝรั่ง ในปีที่ผ่านมานั่งดูดีวีดี “Concert for George” อยู่หลายรอบมาก จุดประสงค์แรกเริ่มที่หาซื้อดีวีดีชุดนี้มาดู ก็เพราะต้องการชมฝีไม้ลายมือการเล่นกีต้าร์ของ Albert Lee แต่ Lee กลับไม่ได้โชว์ฝีมือในคอนเสิร์ตนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม หลังจากดูไปดูมา ผมก็กลายเป็นแฟนเพลงของ Tom Petty and the Heartbreakers และ Traveling Wilburys ซึ่งมีบทบาทสำคัญในคอนเสิร์ตดังกล่าวเข้าจนได้

หนังสือที่ชอบในปี 2552

นับถือ “ลับแล, แก่งคอย” ของอุทิศ เหมะมูล นวนิยายที่นำเรื่องเล่า/ประวัติศาสตร์ของสามัญชนมาเล่นกับประเด็นความจริง-ความลวง รวมทั้งท้าทายความคิดกระแสหลักของสังคมได้อย่างคมคายและสนุก

ชอบหนังสือประวัติศาสตร์อาหารชุด Edible ของสำนักพิมพ์ Reaktion Books ได้อ่านไปแล้วหนึ่งเล่มคือ “Hamberger: A Global History” ของ Andrew F. Smith ซึ่งเป็นหนังสือภาษาอังกฤษที่อ่านง่ายและมีเนื้อหาสนุกน่าสนใจมาก สำหรับหนังสือเล่มต่อไปในชุดนี้ที่ตั้งใจไว้ว่าจะอ่านก็คือ “Pizza: A Global History” ของ Carol Helstosky

ชอบหนังสือ “ฟุตบอล ประเด็นเล็กสะท้านโลก” ของคริส บราเซียร์ ที่แปลเป็นภาษาไทยโดยประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล จัดพิมพ์โดยคบไฟ แม้การแปลบางส่วนจะมีความบกพร่องอยู่บ้าง (เหมือนผู้แปลไม่ได้เป็นแฟนฟุตบอลเท่าไหร่?) แต่ก็ถือเป็นหนังสือที่น่าเอาใจช่วย และเป็นผลงานทางความคิดอีกส่วนเสี้ยวหนึ่งที่ได้แสดงให้เห็นว่าฟุตบอลนั้นเป็นมากกว่าเกมกีฬาทั่วไป

ยกย่องการแปลหนังสือ “ชุมชนจินตกรรมฯ” ของ เบน แอนเดอร์สัน โดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชอบ “ดีไซน์+คัลเจอร์ 2” ของประชา สุวีรานนท์ ได้รับความรู้จาก “สงคราม การค้า และชาตินิยม ในความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา” ของ พวงทอง ภวัครพันธุ์

ชอบ ได้รับแรงบันดาลใจ และรู้สึกสนุกกับการอ่าน “ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร” ของชาตรี ประกิตนนทการ ชาตรีอาจไม่ใช่นักวิชาการเพียงคนเดียวในรุ่นอายุของเขาที่ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อย่างจริงจัง จนสามารถทำให้ผู้อ่านหลายคนมองเห็นคณะราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากแบบเรียนประวัติศาสตร์กระแสหลัก ทว่าเฉดสีขององค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ผิดแผกจากรัฐศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ของเขา ก็ช่วยทำให้ประวัติศาสตร์กระแสรองมีชีวิตชีวาและสามารถต่อกรกับประวัติศาสตร์กระแสหลักได้อย่างหลากหลายมีพลังยิ่งขึ้น

ชอบ “1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ” และ “ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม” ของธเนศ วงศ์ยานนาวา นักวิชาการไทยผู้ทำงานอ่าน-เขียนหนังสือหนักที่สุดคนหนึ่ง

ชอบรัฐศาสตร์สารชุดพิเศษ “รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี รัฐศาสตร์สาร 30 ปี” (มี 4 เล่ม) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นบรรณาธิการที่ยิ่งใหญ่ของธเนศ วงศ์ยานนาวา

เป็นแฟนประจำของ “ฟ้าเดียวกัน” (โดยเฉพาะฉบับข้อมูลใหม่นั้นร้ายกาจมาก) และ “อ่าน”

ชื่นชม “มติชนสุดสัปดาห์” ที่จัดการกับความหลากหลายทางด้านความคิดได้อย่างค่อนข้างลงตัว นี่ถือเป็นความดีความชอบของบรรณาธิการ (หรือกองบรรณาธิการ) โดยไม่ต้องสงสัย

ชอบงานเขียนแทบทุกชิ้นในมติชนสุดสัปดาห์ของ “คำ ผกา” (รวมทั้งบทวิจารณ์ “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” ในอ่าน)

รัก “ไม้หนึ่ง ก.กุนที” โดยเฉพาะลีลาการอ่านบทกวี “บูชาคนตาสว่างทุกครัวเรือน” และ “สถาปนาสถาบันประชาชน” ที่หอศิลป์กทม. และมโนทัศน์ “ประชาทิพย์” ที่ปรากฏอยู่ในบทกวีหลายชิ้นของเขา

บุคคลแห่งปี (ขำ ๆ)

“พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์”

หลายปีที่ผ่านมา มักจะมีละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ทางโทรทัศน์ติดอยู่ในการจัดอันดับแห่งปีของผมเสมอ แต่ปีนี้กลับไม่มี เพราะ “เทพสังวาลย์” ก็จบเร็วเกินไปและมีอาการแผ่วปลาย ส่วน “ปลาบู่ทอง” ก็มีเรื่องราวที่ไม่ต้องตรงกับรสนิยมส่วนตัวของตนเองมากนัก

อย่างไรก็ตาม หลังจากพยายามโยงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องต่าง ๆ เข้ากับสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยมานานหลายปี ในปีนี้ นักแสดงจากละครประเภทดังกล่าวก็โผล่เข้ามามีบทบาทโดดเด่นในเวทีการเมืองไทยอย่างที่ผมไม่เคยคาดคิดมาก่อน

นักแสดงคนนั้นก็คือ “พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์” หรือ “เสด็จพี่” โฆษกพรรคเพื่อไทย

หลายครั้งการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของพร้อมพงศ์ก็ไม่ค่อยได้เรื่องได้ราวมากนัก (เช่นเดียวกันกับทีมโฆษกจากพรรคประชาธิปัตย์ที่มีเครดิตดีกว่าเสด็จพี่มากมาย)

และการขึ้นมามีบทบาทนำทางการเมืองของเขาก็อาจแสดงให้เห็นถึงผลเสียแห่งการพยายามจะชำระล้าง “นักการเมือง” ผ่านการยุบพรรคตัดสิทธินักการเมืองเป็นว่าเล่นด้วยกระบวนการตุลาการภิวัตน์ โดย “อำนาจหลัก” ในสังคมไทย

แต่มันเหมาะสมแล้วมิใช่หรือที่สังคมซึ่งวางหลักคิดทางการเมืองอยู่บนพื้นฐานเรื่องรามเกียรติ์หรือนารายณ์อวตารปะทะยักษ์อย่างสังคมไทย (แม้แต่การดำรงอยู่ของรูปปั้นยักษ์ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินกิจการของสนามบินสุวรรณภูมิ จนต้องถูกเคลื่อนย้ายไปในที่สุด) จะมีเสด็จพี่จากละครจักร ๆ วงศ์ ๆ มาเป็นนักการเมืองที่ได้ออกทีวีและลงหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน

แถมครั้งนี้ เสด็จพี่/เสด็จพ่อ/เทพ ยังแหกโผมาอยู่กับฝ่ายยักษ์เสียด้วย